สอบถามเพื่อน ๆ ชายคาหน่อยค่ะ
หากคุณรู้ว่า " ถนนเข้า-ออกหมู่บ้านจัดสรร เป็นถนนภาระจำยอม "
คุณจะซื้อบ้านในหมู่บ้านนั้นมั้ย
หรือถ้ามารู้ทีหลังจากที่ซื้อบ้านแล้ว(โอนแล้ว)
คุณมีความรู้สึกอย่างงัยและจะทำอะไรบ้าง
ปล. เพิ่งมารู้ว่าบ้านที่ซื้อมีถนนเข้าออกเป็นถนนภาระจำยอม // questionสงสัยจังว่าคนอื่น ๆ คิดอย่างงัยกับเรื่องนี้
คำค้นหา:
- ภาระจํายอม
- ถนนภาระจํายอม
- ถนนภาระจํายอม คือ
- ถนนในหมู่บ้านจัดสรร
- ถนน ภาระจํายอม
- ถนนภาระจำยอม
- ถนน ภาระจำยอม
มันก้อยังดีกว่าถนนสมัยก่อนที่ไม่ยอมโอนเป็นทางสาธารณประโยชน์เทศบาลจะเข้าไปพัฒนาถนนก้อไม่ได้..ทุกวันนี้หมู่บ้านจัดสรรกฎหมายเขากำหนดให้ต้องยกถนนในโครงการเป็นทางสาธารณประโยชน์เเล้วครับ..
รู้ทันทีว่าหมู่บ้านอะไร ถนนเข้า-ออกหมู่บ้านจัดสรรนั้น เป็นถนนที่อยู๋ข้างบ้านเราเองค่ะ คาดว่าไม่น่าจะมีผลอะไรนะค่ะ
จาก คห.ที่ 1 ผมเจอหมู่บ้านหนึ่งสร้างมานานแล้วและทางโครงการยังไม่ได้ยกถนนให้เทศบาลหรือเขต เป็นทางสาธารณประโยชน์ และตอนนี้ตัวโครงการก็ไม่มีอยู่แล้ว
แบบนี้ควรทำอย่างไรครับ
ไม่มีผลต่อความรู้สึกค่ะ
ต้องดูก่อนค่ะ ว่าภาระจำยอม ที่ว่า เป็นของใคร
หมู่บ้านเรามี 2 เฟส
ตอนซื้อบ้าน ทางโครงการโฆษณาว่า มีทางเข้าออกสองทาง
หลังจากโอนแล้ว ระหว่างจัดตั้งนิติบุคคล ถึงได้ทราบว่า ถนนที่เราผ่านเข้าออกทุกวัน เป็นภาระจำยอม
และทางโครงการก็ให้สิทธิในการผ่าน สำหรับทั้ง 2 เฟส
ซึ่งตอนจดทะเบียนนิติฯ ภาระจำยอมนี้ก็จะติดตามไปด้วย
ดูๆ แล้วก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไรนะคะ
Connect Bearing??
หมู่บ้านผมก็เป็นตอนซื้ิอไม่รู้ มารู้ตอนโอนเสียความรู้สึกเล็กน้อย
ไม่รู้ว่าอีกหน่อยพอโครงการขายหมดเวลาจะเข้าบ้านต้องเสียเงินหรือเปล่า
ดิฉันว่าทางเข้าหมู่บ้านไหนก็ตาม ไม่ว่าจะเอกชนสร้างขาย
หรือของผู้คนในหมู่บ้านสร้างมานานแล้วก็ตาม ควรต้องเป็นถนนสาธารณะ
ตปท.ที่ดิฉันอยู่ ต้องมีถนนสาธารณะก่อนจึงประกาศเป็นเขตที่อยู่อาศัยได้
ถนนส่วนบุคคลก็มี แต่น้อยมาก
เป็นเราก็คงเสียความรู้สึก และต้องคอยหวาดระแวงว่าวันไหนเจ้าของที่ดินที่จำยอมให้ผ่านทางนั้นจะตั้งด่านเก็บเงินเป็นค่าผ่านทางหรือเปล่า
ถ้าเจ้าของที่ดินนั้นยอมขายที่ให้โครงการหรือยอมเสียที่ดินเป็นทางสาธารณะประโยชน์ก็ดีไป แต่ประการหลังเป็นคุณจะยอมง่ายๆ หรือ??
และเห็นด้วยกับ คห.1 เพราะว่ามีหมู่บ้านหนึ่งในระยอง
จนป่านนี้ก็ยังไม่ยอมยกถนนในหมู่บ้านให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์เลย
ทั้งๆ ที่เป็นหมู่บ้านเปิด ใครอยากเข้าก็เข้า อยากออกก็ออก รถขายอะไรจะผ่านก็เข้ามา ไม่ได้มีหวงห้าม
ทั้งๆ ที่เจ้าของที่ก็เฝ้าปากทางไว้ เกิดปัญหาขโมยอยู่เนืองๆ และสารพัดปัญหา
การที่เทศบาล อบต. อบจ. จะเข้ามาพัฒนา ทำถนน วางท่อใหม่ก็ทำไม่ได้
เพราะไม่ใช่ที่ของรัฐ เจ้าของหมู่บ้านไม่อนุญาตนี้ ก็ไม่รู้ว่าเขาได้ผลประโยชน์อะไรจากตรงนี้
และเขารู้หรือไม่ว่าปัจจุบันคนที่อาศัยอยู่ที่นั่นก่นด่าสาปแช่งเขาอยู่ทุกวัน
ยิ่งเวลาที่ฝนตกหนักมีน้ำท่วมเป็นประจำ น่าสงสารมากๆ
เราเข้าไปทำงานแล้วเห็นสภาพก็พูดไม่ออก ทำอะไรให้ก็ไม่ได้มาก
รัฐก็ได้แต่แก้ที่ปลายเหตุคือบริจาคของกินช่วยเวลาน้ำท่วมเท่านั้น
ไม่ยกให้รัฐ ไม่จัดตั้งนิติฯ เปิดหมู่บ้านวิ่งเข้า-ออกได้ตลอด
แถมยังเก็บค่าใช้จ่ายทุกๆ เดือน ไม่จ่ายก็ให้คนมาก่อความรำคาญแก่ลูกบ้าน
เพิ่มเติม…มาคิดๆ ดูให้ตกเป็นภาระจำยอมก็ดีเหมือนกันนะ แต่ต้องจดทะเบียนหรือเขียนสัญญาชัดเจน
โครงการที่มีมากกว่า 1 เฟส
มักเป็นแบบนี้ทั้งนั้นครับ
แง่ดีคือ ไม่ต้องทำโครงการเป็นโครงการเดียวขนาดมหึมา
แต่ทำเป็นโครงการเล็กๆติดต่อกันแบบที่เรียกว่า Cluster และใช้เส้นทางนี้ร่วมกัน นึกถึงแกนก้างปลาหลักคือถนนภาระจำยอม ก้างปลาย่อยคือทางแยกเข้าแต่ละโครงการย่อย
แง่เสียคือ ภาระจำยอมนั้นอาจทำให้ที่แปลงอื่นของบุคคลอื่นที่ได้ภาระจำยอมนั้น สามารถใช้ทางร่วมได้ด้วยครับ
หมู่บ้านจัดสรรกฎหมายเขากำหนดให้ต้องยกถนนในโครงการเป็นทางสาธารณประโยชน์เเล้วครับ.
ไม่มีข้อบังคับนี้
มีแต่สิ่งที่เป็นสาธารณูปโภค ต้องเป็นของสมาชิกหมู่บ้าน โดนสมาชิกรวมตัวกันบริหารด้วยนิติบุคคล
จากนั้นถ้าสมาชิกที่ผ่านระบบนิติบุคคลเห็นว่า ด้วยการลงมติว่า ถนนจะยกให้เป็นสาธารณะก็ได้
ถ้าเป็นทางสาธารณประโยชน์ยิ่งมีปัญหานะครับ เพราะหมายความว่าใครจะเข้าออกหมู่บ้านก็ได้ ไม่มีความปลอดภัย
วิธีที่ดีที่สุดคือการเข้าสู่กระบวนการจัดสรรที่ดิน แต่ก็ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นมาก เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง
ภาระจำยอมเป็นทางออกสุดท้ายที่ดีที่สุด ส่วนเรื่องนิติบุคคล ถ้าไม่มีการจัดสรรที่ดินไม่ทราบว่าตามกฏหมายแล้วสามารถตั้งนิติบุคคลได้หรือไม่
ภารจำยอม นั้นเป็นประโยชน์แก่เรานะครับ พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินกำหนดบังคับไว้เลยว่า สาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดินที่ตั้งขึ้นภายหลังปี 2543 ไม่ว่าจะเป็น ถนน สวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น ให้ตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรร (ก็หมายถึงว่า ให้เป็นประโยชน์แก่บ้านทุกๆ หลังที่ตั้งอยู่ในโครงการนั้น ไม่ใช่ว่าให้เสียประโยชน์)
พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
มาตรา ๔๓ สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น ให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้น และยังอยู่ในความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาของผู้จัดสรรที่ดินตามวรรคหนึ่งกับคณะกรรมการ และให้นำมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้ายกให้เป็นถนนสาธารณะของ อบต. หรือเทศบาล ก็หมายความ พลเมืองทุกคนมีสิทธิจะเข้าใช้ประโยชน์ในถนนสาธารณะนั้นได้ ไม่มีใครมีสิทธิหวงกั้น อย่างนี้ก็เท่ากับว่า ไม่มีความเป็นส่วนตัวทันที ใครจะเข้าจะออกก็ได้ทุกเมื่อ ถ้าไปปิดกั้นทางเข้า มีป้อมยาม รปภ. คอยตรวจบัตร อย่างนี้ทำไม่ได้ ขืนทำ อาจจะโดนฟ้องศาลให้เปิดทางเสรี อย่างนี้ ผลเสียตกอยู่กับเจ้าของบ้านในหมู่บ้านนั้นเอง
ขึ้นกับว่าภาระจำยอมนั้นจะมีผลต่อความวุ่นวายและการจัดการของหมู่บ้านแค่ไหน
ถ้ามีชุมชนหนาแน่นที่ต้องมาใช้ทางร่วม จะก่อปัญหาเรื่องความปลอดภัย จะจัดการบริเวณนั้นให้สะอาดเรียบร้อยก็ทำได้ยาก
เอ เรื่องถนนในหมู่บ้าน
ถนนในหมู่บ้านก้อต้องเป็นสิทธิของคนในหมู่บ้านซิครับ
เจ้าของหมู่บ้านก้อคือสมาชิกทุกคนในหมู่บ้านนั่นแหล่ะ
จะยกให้เป็นของรัฐหรือไม่ ก้อขึ้นอยู่กับมติในที่ประชุม
ในเมื่อเสียงส่วนใหญ่ของคนในหมู่บ้านลงมติว่าไม่ยอมยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ก้อต้องยึดตามนั้น
ว่าแต่ ยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ มันดีจริงหรือครับ
ความเห็น13 ละเอียดแล้วค่ะ
แต่เวลาโอน อย่าโอนแต่บ้านและที่ดินที่เราซื้อ
ต้องจดภาระจำยอมด้วย แปลว่า แปลงถนนนั้น เราสามารถเข้าออกได้ตลอดไม่มีการปิดถนนไม่ให้เราเข้า
สรุป อย่าลืมให้จดภาระจำยอมเพิ่มด้วยค่ะ
แต่ถ้าเราไม่จดภาระจำยอมไว้ อีกหน่อยอาจมีปัญหาในการเข้าออกได้ค่ะ
ปล.ถนนในโครงการ ถ้ามีภาระจำยอม แสดงว่า ณ ปัจจุบัน ยังเป็นพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวของโครงการนั้นๆๆ เค้าต้องจดภาระจำยอมให้เราในแปลงที่เป็นถนน
ส่วนในอนาคต ถ้าเจ้าของโครงการจะยกให้เป็นสาธารณประโยชน์ก็ดีไป
แต่ถ้าไม่ยกเราก็ไม่มีปัญหาค่ะ
ตามความเห็นคุณจูออน07เลยค่ะ (ชื่อน่ากลัวจังค่ะ)
ภารจำยอมไม่เหมือนทางจำเป็น เค้าจะมาปิดหรือเก็บเงินค่าเข้าออกไม่ได้ค่ะ เป็นหน้าที่เจ้าของที่ดินที่เป็นทางเข้าออกต่อเจ้าของที่ดินที่ได้สิทธิเข้าออก (คนชอบเอาภารจำยอมไปปนกับทางจำเป็นซึ่งมีสิทธิทางกม.แตกต่างกันค่ะ)
ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นค่ะ
คุณละอ่อนธรรม : ถนนเข้าออกหมู่บ้านเป็นถนนอยู่หน้าเข้าทางโครงการค่ะ ไม่ใช่สาธารณูปโภคของโครงการ(ไม่ใช่ถนนในหมู่บ้านค่ะ)
คุณMoody-Angle : ที่บอกว่า " ตอนจดทะเบียนนิติฯ ภาระจำยอมนี้ก็จะติดตามไปด้วย " ทำอย่างงัยค่ะ มีขั้นตอนอย่างไร แล้วป้อมรปภ. ใครดูแลค่ะ เพราะบอกว่ามี 2 เฟส ตอนจดนิติ จดเป็นนิติเดียวหรือค่ะ
คุณMirrorLake : เราก็กังวลเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักค่ะ
คุณจูออน07 : " อย่าลืมให้จดภาระจำยอมเพิ่มด้วยค่ะ " ให้โครงการ จดภาระจำยอมให้เราหรือค่ะ ทำอย่างไรค่ะ
เคยเจอแต่ก่อนหน้าเป็นของหมู่บ้าน พอสักพักโอนไปเป็นของคนอื่นแล้วจดภาระจำยอม
เรื่องเลยท่าจะแย่ เพราะตอนนี้ก็มีการฟ้องร้องกันค่ะ ไม่แน่อาจจะมีร้องเรียนเจ้าหน้าที่รัฐ
ต้องถามก่อนว่าใครเป็นฝ่ายจำยอม
เพราะอย่างหมู่บ้านที่ผมซื้อ ทางโครงการเป็นฝ่ายจำยอมให้ชาวบ้าน
แถวนั้นใช้ทางสัญจรตัดผ่านโครงการได้ ถ้าไม่ให้เป็นภาระจำยอม
ชาวบ้านแถวนั้นก็คงเดือดร้อนกัน
ส่วนใหญ่แล้วโครงการบ้านต่างๆ น่าจะเข้าเงื่อนไขนี้ เพราะถ้าเป็น
ตรงข้าม มันคงเป็นไปได้ยาก เพราะนั้นหมายถึงโครงการไปตั้งอยู่
เป็นไข่แดงในที่ทางของคนอื่น จึงต้องขอให้เจ้าของที่ยอมให้ผ่าน
เป็นภาระจำยอม ถ้าเป็นแบบนี้ คงไม่มีใครยอมซื้อบ้านโครงการนั้นแน่
แล้วทางเจ้าของโครงการเองจะลงทุนมหาศาลขนาดนั้นก็คงไม่โง่ไปทำ
โครงการในที่ดินแบบนั้น
อย่างน้อยทางโครงการต้องซื้อที่ดินในส่วนของทางเข้าออกเพื่อให้
คนซื้อบ้านได้สิทธิ์ในการผ่านได้แบบชัวร์ๆ หรือไม่ก็ไม่ทำโครงการ
ในที่ดินที่มีทางเข้าออกเป็นสาธารณะอยู่แล้ว
ดังนั้น คำตอบคือ ถ้าทางโครงการเป็นฝ่ายยอมให้คนอื่นผ่าน ก็อาจเกิด
ปัญหาคนภายนอกเข้าออกได้โดยอิสระ ควบคุมความปลอดภัยได้ยาก
ก็ไม่ถือว่าเลวร้ายมากนักถ้าจัดรปภ.ให้ทำงานอย่างเข้มงวด ความน่าสนใจ
ที่จะซื้อบ้านในโครงการแบบนี้ก็ลดลง
แต่ถ้าโครงการต้องขอให้คนอื่นยอมให้ใช้ถนนเป็นทางผ่านเข้าออก อันนี้
ถือว่าแย่สุดๆ เป็นผมไม่ซื้อแน่นอน แทบไม่ต้องคิดเลย
ผมเดาว่ามีหลายท่านหลงประเด็นนะครับ ถ้าผมเข้าใจไม่ีผิด เจ้าของกระทู้น่าจะหมายถึงทางเข้าหมู่บ้านก่อนเข้าภายในโครงการ ถามว่าแปลกไหมคงไม่แปลกหรอกครับ ถ้ามองในแง่ดีคือผู้ขายจัดการเรืื่องทางเข้าออกก่อนเข้าให้ภายในโครงการ (เบอร์ 1 ของวงการก็มีบางที่ใช้แบบนี้)
ส่วนถนนภายในโครงการ ก็ยืนยันว่าไม่มีข้อกำหนดบังคับว่าถนนภายในโครงการต้องยกเป็นทางสาธารณประโยชน์
ภารจำยอมก็คือการให้สิทธ์การใช้ประโยชน์(ตามที่เขียนไว้ในบันทึกข้อตกลง)
เพียงแต่ไม่ได้ถือกรรมสิืทธิ์เท่านั้นเองครับ
เราอยู่่มาสามปีแล้ว เจ้าของเขาเพิ่งลงมือสร้างเฟสสองด้านในที่ลึกเข้าไป
ไมไ่ด้เซ็งเรื่องคนที่อยู่เฟสข้างในเข้าออกหรอก เซ็งตอนก่อสร้างนี่แหละ
ทั้งรถใหญ่เข้าออก ทั้งฝุ่น ทั้งสะเทือน ปัญหาขยะแคมป์คนงาน
วันไหนมีตลาดนัด คนงานพวกนี้จะเดินสวนสนามในหมู่บ้าน ตั้งแต่
ช่วงห้าโมงไปถึงสองทุ่มโน่น พร้อมทั้งเสียงโหวกเหวกโวยวาย และเสียงหมาเห่าหอน
เฮ้อ เซ็งคอดๆ