รบกวนถามผู้รู้เรื่องการตอกเสาเข็ม ในแบบบ้าน กทม. ราชพฤกษ์16

สวัสดีทุกท่านนะคะ ตอนนี้มีโครงการจะปลูกบ้านในเขตพื้นที่ กทม. ย่านถนน นวมินทร์ โดยเลือกแบบบ้านของเขตไว้ คือ ราชพฤกษ์ 16 เป็นบ้านชั้นเดียวหลังเล็กๆ แต่ติดปัญหาเรื่องการตอกเสาเข็ม ตัดสินใจไม่ได้เพราะไม่มีความรู้เรื่องความแข็งแรง การรับน้ำหนัก และราคา  เนื่องจากในแบบได้กำหนดไว้ให้ตอก เข็ม 6เหลี่ยมกลวง  มีทั้งหมด 14 หลุม แต่ละหลุมตอกจำนวนไม่เท่ากัน บางหลุม 9 ต้นและ 7 ต้น  และ 5ต้น ทางผู้รับแกะแบบบ้านได้แนะนำให้ตอกแบบ สามเกลอ ซึ่งทางเราก็เป็นกังวลในเรื่องความแข็งแรงของเสาเข็มที่จะตอกแต่ล่ะหลุม เพราะข้างบ้านตัวบ้านติดกับรั้วเราเลย ห่างไม่เกิน 3เมตร ห่วงว่าจะทำให้ข้างบ้านร้าวหรือไม่กับการลงเข็มแบบนี้ และเมื่อปลูกบ้านไปนานๆ จะทรุดหรือไม่ เพราะเท่าที่อ่านกระทู้เก่าๆดู ส่วนใหญ่หลายๆท่านบอกว่าทรุดกัน และถ้าเปรียบเทียบกับเข็มเจาะราคาห่างกันมากมั้ยค่ะ  ทั้งนี้ได้แนบแบบบ้าน มาให้ช่วยดูด้วยค่ะ

คำค้นหา:

  • แปลนหลังคา
  • แปลนฐานราก
  • ฐานรากเสาเข็ม
  • แปลนคาน
  • แบบบ้านราชพฤกษ์ 16
  • แปลนฐานรากบ้านชั้นเดียว
  • ฐานรากบ้าน2ชั้น
  • การตอกเสาเข็มหกเหลี่ยม
  • แบบแปลนฐานราก
  • ฐานราก 6 เหลี่ยม

12 thoughts on “รบกวนถามผู้รู้เรื่องการตอกเสาเข็ม ในแบบบ้าน กทม. ราชพฤกษ์16

  1. KittySP

    ตอกตามแบบ ไม่ต้องกังวลบ้านข้างเคียงเสียหาย

  2. KittySP

    เรื่องทรุดตัว ก็เป็นปกติ ขึ้นกับพื้นที่

    ถ้าดินทรุด บ้านใช้เข็มสั้นก็ทรุดตามกันไป

    ถ้าใช้เข็มยาว บ้านไม่ทรุดดินทรุด ไม่ถมเติมดินก็ต้องปีนขึ้นบ้าน ถมดินไปเรื่อยๆ รถเข้าบ้านไม่ได้ เพราะถนนก็ทรุด

    ถมดินให้สูงกว่าถนนสักเมตร รถจะเข้าบ้านได้หรือไม่ สร้างเสร็จระดับเฉลียงก็เป็น ๑.๔๐ เมตร ถ้าแถวนั้นทรุดราวปีละ ๑ ซม. ก็อยู่ได้ ๑๔๐ ปี กว่าเฉลียงจะทรุดลงมาเท่าระดับถนนปัจจุบัน

    เอาไว้ให้เหลนรื้อบ้านสร้างใหม่

  3. วิศวกรแนะนำ

    เรื่องบ้านอย่าตะหนี่กับงานฐานราก ครับ แบบที่ได้มาจากเขต เป้นการคำนวณที่อาศัยผลดินตามทฤษฎีที่ว่าดินในกทม รับกำลังแบกทานที่ 2 ตัน/ตรม ดังนั้นการออกแบบ้านชั้นเดียว เน้นที่ประหยัดเป็นหลัก แต่อาจจะไม่คำนึงอัตราการทรุดตัวในระยะยาว ซึ่งเข็มกลุ่มตามแบบอาจตอบโจทย์การทรุดตัวในระยะยาวไม่ได้ ซึ่งแนะนำว่าให้นำแบบดังกล่าวมา ทำการปรับปรุงงานโครงสร้างใหม่โดยหาวิศวกรเป้นผุ้ออกแบบ งานฐานรากใหม่ โดยใช้เป้นเข็ม ตอก หรือเจาะ จะดีกว่าครับ ค่าใช่จ่ายอาจเพิ่มขึ้นกว่าการใช้ฐานรากแบบเสาเข็มหกเหลี่ยม คงไม่มากมายเท่ากับราคาบ้านทั้งหลัง แต่จะคุ้มในระยะยาวครับ ดังเช่นที่ว่า ชีวิตคนหรือต้นไม้ จะยืนอยุ่ทามกลางลมฝนได้ดี อยุ่ขึ้นอยุ่กับรากฐานเป้นสำคัญ

  4. pinhead2000

    ควรยึดถือตามเเบบเเปลนที่กำหนดไว้

    บ้านที่คุณสร้างเป็นเเค่บ้านพักอยู่อาศันเเค่ชั้นเดียว ใช้เสาเข็มกลวง 6 เหลี่ยม ตอกตามจำนวนในเเบบที่กำหนดไว้ เพราะมันมีการออกแบบ-คำนวณมาเรียบร้อยเเล้ว

    คุณควรที่จะหนักเเน่นเเละเชื่อถือในเเบบเเปลนที่คุณเลือกใช้ อย่าบ้าจี้ไปเชื่อไปใช้เข็ม ตอก หรือ เข็มเจาะ  ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากมายต้องเเก้ไขเเบบ เเละ เซ็นรับรองใหม่ เเล้วที่สำคัญคุณจะไปให้ใครเซ็น ?

    คุณเจ้าของกระทู้ควรทราบว่ามีอาคารชั้นเดียวเป็นเเสนๆหลังในกรุงเทพมหานคร ใช้เสาเข็มสั้นเเบบโดยเฉพาะพวกที่ใช้นิยมใช้เสาเข็มไม้ในอาคารที่สร้างก่อนปี พ.ศ.2530 ( เสาเข็มกลวง 6 เหลี่ยมถ้าจำไม่ผิดเริ่มได้รับความนิยมประมาณปีพ.ศ.2530 ) เเถมการใช้เป็นเสาเข็มไม้ที่มีคุณสมบัติที่ด้อยกว่าเข็ม6เหลี่ยมกลวง ก็ใช้งานมาก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย

    เร็วๆนี้ผมก็มีสร้างศาลาอเนกประสงค์วเป็นอาคารชั้นเดียว ก็ใช้เป็นเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง ผมยังเเปลกใจที่มีคนหวังดีอ้างเป็น วิศวกร เเนะนำให้เจ้าของกระทู้ผลาญเงินเอาไปจมอยู่ในดินเล่นๆไปทำไม

    หรืออย่างบ้านผมเป็นอาคารบ้านชั้นเดียว คุณพ่อผมปลูกก่อสร้างปี พ.ศ.2502 -2503 ตัวบ้านมีอายุ 50 ปี ก็ใช้เป็นเสาเข็มไม้ซุงไม่เห็นจะมีการทรุดตัวอะไรให้เห็น พวกโบสถ์วัดอาคารต่างๆในกรุงเทพก็เป็นเข็มไม้,เสาเข็ม 6 เหลี่ยมกลวงตอก ก็ไม่มีปัญหาการใช้งานอะไร พูดกันตรงๆผมว่าคุณอย่าจิตตกในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องเลยครับ

  5. boxbo

    เท่าที่คิดดูใช้เข็ม 6 เหลี่ยมก็ดีครับเวลาพื้นดินทรุดตัวบ้านก็จะทรุดแนบตาม
    พื้นดินไปด้วย  ระบบท่อ  ถังน้ำใต้ดิน  ถังบำบัดจากส้วม  พื้นที่รอบบ้านจะไม่แตกหรือแยกตัว   แต่ถ้าใช้เข็มเจาะทุกอย่างที่บอกไปจะมีการทรุดแยกระดับเมื่อเวลาผ่านไป    ถ้าเป็นผมปลูกก้จะเลือกเข็ม 6 เหลี่ยมตามแบบครับ
    อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับดีหรือไม่แล้วแต่ตัดสินใจ

  6. วิศวกรแนะนำ

    เปรียบเทียบหลักการคิดของวิศวกรตาม คห.5 และหลักการก่อสร้างของผรม คำตอบก็จะได้ตาม คห.6 ดังนั้นคงไม่มีใครอ้างเป็นวิศวกรแนะนำตาม ที่คห.5 เพราะวิศวกรจะไม่อ้างหรือให้ข้อมูลที่ทำให้อาคารที่ก่อสร้างไปแล้วไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินถึงแม้จะแพงไปนิดแต่คุ้มค่าระยะยาวไม่ใช่ได้แบบอะไรก็ใส่แบบไม่คิดหน้าคิดหลัง แบบก่อสร้างที่เจ้าของได้มามันเป้นแบบมาตราฐานจะสร้างตามก็ได้ไม่ผิดหลักการ หรอกครับ เพราะพื้นฐานและข้อมูลการวิเคราะห์และคำแนะนำที่ให้ไปไม่ได้หวังว่าจะให้เจ้าของบ้านทำตามทุกอย่าง ซึ่งอยู่ที่วิจารณญาณ ของเจ้าของบ้านเอง ซึ่ง อาคาร คสล.ตามแบบแปลนดังกล่าว ถ้าสร้างใน กทม คงไม่ผิดว่าเจ้าของบ้านจะเลือกเอาแบบไหน เข็มกลุ่มตามแบบหรือ เข็มตอก เข็มเจาะ ซึ่ง ค่าก่อสร้างมันจะแปรผันกับอายุการใช้งานอาคาร ฐานรากดี อาคารก็ดีตาม ครับ ฐานรากไม่มั่นคงแข็งแรงสร้างให้สวยงามขนาดไหนก็แตกร้าวได้

  7. KittySP

    พระปรางค์วัดอรุณฯ ไม่ได้ใช้เสาเข็มเลย ช่างสมัยนั้นก็ไม่ได้เรียนวิศวฯ

  8. อารียาaupa

    ขอบคุณทุกท่านนะคะ รบกวนถามอีกเรื่องนึง คือการลงเข็มแบบใช้แรงคนกด กับแบบใช้รถแบคโฮกด แบบ ไหนดีกว่ากันค่ะ แรงสั่นสะเทือนแบบไหนน้อยกว่า เพราะบ้านข้างๆก็ 33 ปีเหมือนกัน กลัวบ้านเค้า้ร้าวจังค่ะ ขอบคุณค่ะ

  9. ส้นติรักสงบ (สันติรักสงบ)

    ป้องกันปัญหา ควรถ่ายรูป บ้านข้างเคียงไว้ก่อนเข้าก่อสร้างนะครับ

  10. KittySP

    เสาเข็มสั้น จะทำยังไงก็ได้ แต่ใช้แบ็คโฮกด ระวังศูนย์เข็มเคลื่อน

    แรงคนก็ต้องระวังศูนย์เข็มเหมือนกัน

    ความเสียหายจากงานก่อสร้าง

    ไม่มีผู้รับเหมาหรือครับ ผู้รับเหมา ชื่อก็บอกอยู่แล้ว ไปทำความเสียหายก็ต้องรับผิดชอบไป

Comments are closed.