หอบมาจากห้องหว้ากอ…เรื่องการคำนวณการออกแบบราวค่ะ

http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X9966230/X9966230.html#20

อยากทราบว่า ราวสำหรับทำผ้าม่านแบบเลื่อนได้ สามารถรองรับน้ำหนักได้เท่าไหร่คะ แล้วมีวิธีการคิดคำนวณมั้ยคะ

5 thoughts on “หอบมาจากห้องหว้ากอ…เรื่องการคำนวณการออกแบบราวค่ะ

  1. น้องปลาดาว

    ตามไปดูมาล่ะ
    เอาการคำนวณเป๊ะๆ เลยนี่ท่าจะยาก แต่ถ้าจะไปจ้างช่างทำ ช่างเค้าก็จะกะขนาดแล้วใช้เหล็กกล่องเชื่อมเป็นโครง ติดแผ่นเพลทเจาะรูยึดด้วยพุ๊กเหล็ก ก็แข็งแรงพอควรแล้ว พอติดตั้งเสร็จก็ค่อยยึดราวติดใต้โครงอีกที

  2. Waterman (LN106)

    1. ดูหน้าตัดของราว เพื่อหาขนาดของแรงหรือน้ำหนักมากที่สุดที่จะทำให้ราวเสียรูป ซึ่งการเสียรูปอาจเกิดจากการโก่ง หรือการบิดตัวของราว ส่วนแรงหรือน้ำหนักที่ถ่วงคานก็ต้องดูว่าตากผ้าอย่างไร เช่นวางบนรางโดยตรงก็เป็นน้ำหนักแผ่ (Distribution Load) หากใช้ไม้แขวนก็เป็น น้ำหนักลงเป็นจุด (Point Load) เลื่อนไม้แขวนก็เป็น Moving Load ต้องใช้ Influent Line วิเคราะห์อีก

    2. เมื่อได้น้ำหนักที่ทำให้ราวไม่เกิดการเสียหายในแต่ละกรณี ก็เอามาหา แรงที่กระทำที่ปลายทั้งสองข้าง (Reaction) ฝั่งซ้ายควรเป็นแบบบานพับ (Hinge) จะมีแต่แรงในแนวดิ่งกับแนวราบไม่มี Moment คำนวณง่ายหน่อย (2 สมการ 2 ตัวแปร) ส่วนปลายทางขวาเมื่อ ใช้ปลายซ้ายเป็นจุดหมุน ก็จะได้แรงดึงในเส้นลวดที่ขึง  เส้นลวดที่ว่าก็ต้องรับแรงดึงปลอดภัยได้ไม่น้อยกว่าที่คำนวณ ส่วนจุดยึดทางซ้าย พุกทุกตัวรวมกันแล้วต้องรับแรงเฉือน (Shear) ได้ไม่น้อยกว่า Reaction ราวรับมา (ไม่มีแรงถอน เพราะเป็น Hinge หากเป็น Fixed End ถึงจะมีแรงถอนในบางตำแหน่ง คิดยากอีกต่างหาก)

    3. จุดปลายที่ยึดเส้นลวดไว้จะมีทั้งแรงในแนวราบ ต้องหาแรงที่ต้านทานการถอนของพุกให้พอ กับแรงในแนวดิ่ง (แกนพุกต้องรับแรงเฉือน)

    ก็เท่านี้แหละ

    แต่ใช้แบบเดาเอาดีกว่า เอาราวมาพาดกับพื้นหาอะไรมาหนุนให้เท่ากับที่จะใช้ แล้วหาน้ำหนักถ่วงเอา ดูว่ามันเริ่มแอ่นเมื่อไหร่ นั่นก็คือหากใส่น้ำหนักน้อยกว่านี้ราวไม่พังหรอก ครับ

    ป.ล. ไอ้ข้างบน น่ะ เอาไว้คำนวณสะพานขึง สะพานแขวน น่ะครับ

  3. ก้นกบ

    รางมันรับน้ำหนักม่าน สบายๆอยู่แล้ว  คงไม่มีม่านขนาดทำให้รางฉีกได้

    เรื่องรางแอ่น รางโก่ง จะเป็น จุดยึดมากกว่า ว่าติดตั้งได้เหมาะสมหรือปล่าว
    กลัวแอ่น ก็ ติดถี่ๆ

  4. ปลาซาบะสีทอง

    ขอบคุรนะคะ…สำหรับคำแนะนำดีดี เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

Comments are closed.