ยึดกระเบื้องกับโครงหลังคาอย่างไรดี

กระเบื้องลอนคู่  ปกติเคยเห็นเข้าใช้เหล็กรูปตัวเจ   เมื่อสองวันก่อนเห็นข้างบ้าน  ให้ตะปูเกลียวยิงทะลุกระเบื้องและโครงเหล็กเลย  ช่างบอกว่าแน่นกว่า  อยากรู้ว่าวิธีที่ถูกต้องและดีที่สุดในการยึดกระเบื้องลอนคู่กับโครง
หลังคาคืออะไรครับ  พอดีกำลังจะซ่อมบ้าน  ขอบคุณครับ

คำค้นหา:

  • ตะขอยึดกระเบื้องลอนคู่

8 thoughts on “ยึดกระเบื้องกับโครงหลังคาอย่างไรดี

  1. Bug Gerd

    เดี๋ยวนี้มันมีตะปูเกลียว ยิงลงลอนล่าง ยึดกับหลังคา
    โดนหัวตะปูจะมียางบางๆรองไว้กั้นน้ำซึม
    ช่างที่มาทำให้ที่บ้านผม ก็ทำแบบนี้ ผมไม่รู้หรอกนะว่าผิดหรือถูก
    เห็นครั้งแรก ยังไปโวยกับช่าง แต่ช่างบอกว่าเดี๋ยวนี้เป็นแบบนี้แล้ว

    ผลคือ ไม่นาน รั่วแล้วครับ เพราะผมว่ายางมันโดนแดด โดนฝน เสื่อมสภาพอย่างรวดร็ว

    ตอนนี้รื้อหลังคากระเบื้องออกหมดเลยแล้วเปลี่ยนเป็น metal sheet ทั้งหมด
    ต่อไปก็ถึงเวลาลุ้นดูว่า ฝนตกแลวจะดังมั้ย
    แต่เรื่องตะปูเกลียว ช่างที่มาเปลี่ยนหลังคาบอกว่า ไม่เคยเจอ ใครเค้ายิงลอนล่างกัน

  2. ต้นโพธิ์ต้นไทร

    การใช้ตะปูเกลียวปลายสว่าน มียางดำรอง มีข้อดีคือทำง่ายทำเร็ว ช่างชอบ
    แต่ข้อเสียคือเมืองไทยแดดจัด ยางดำเสื่อมสภาพได้เร็วมาก แม้เจาะที่สันด้านบนก็รั่วได้

    การใช้ขอ " ป " ไม่สวย เหล็กขอคุณภาพไม่ดี ขึ้นสนิมได้ เหล็กรองกันรั่วก็บาง ไม่มีมาตรฐาน ไม่นานก็ขึ้นสนิมได้

    ใช้แบบขอเกี่ยวดีที่สุด ไม่ต้องเจาะกระเบื้อง ไม่ต้องกลัวลมพัดปลิว แต่การติดตั้งจะช้ากว่าสองแบบแรกเล็กน้อย

    สโลปน้อย ต้องเน้นช่างให้บากกระเบื้องด้วย

  3. Tzarina

    เราก็ลองของไปแล้วเหมือนกันค่ะ  ผลคือ ช่างทำงานสบาย ๆ ๆ ๆ  แต่ผลลำบากมันอยู่เรา  ตอนนี้มีบางส่วนรั่ว  เซ็งเป็ดอยู่นี่ล่ะค่ะ  

    คงต้องใช้อะครีลิคแบบที่ใช้ทาหลังคาช่วยอุด ก็ไม่รู้ว่าจะอยู่ทนได้สักกี่ปี

  4. ภูผาฟ้าทะเล

    การใช้สกรูปลายสว่านดีกว่าขอ ป ปลา ทุกประการ
    – ทำงายง่ายกว่า
    – สกรูจะเจาะกระเบื้องได้โดยไม่แตกร้าว เทียบกับแบบเดิม ช่างมักไม่สว่านเจาะ แต่ใช้ตะปูตอกให้ทะลุ ทำให้กระเบื้องร้าว ในระยะยาว อาจรั่วซึมได้
    – การยึดของสกรู ยึดทะลุทั้งกระเบื้องแผ่นล่างและบน แต่การยึดขอ ป ปลา ยึดแผ่นบน โดยแผ่นล่างถ่ายแรงยกมายังแผ่นบนแผ่นเดียว

    ส่วนเรื่องที่ยางหมดสภาพ คงไม่เร็วนัก

  5. Truss_me

    นึกถึงบ้านที่กระเบื้องปลิวแล้วเหมือนหนังในฮอลลีวูด ตอนโดนเทอร์นาโด

    กระเบื้องลอนคู่เป็นกระเบื้องไม่มีขอเกาะบริเวณหัวกระเบื้อง คือเป็นแผ่นบางเท่ากันๆทุกแผ่น ผู้คิดค้นจึงออกแบบขอเกาะที่เรียกกันว่า "ป.ปลา" เพื่อให้กระเบื้องเชื่อมต่อกันจากบนลงล่างเพื่อเพิ่มน้ำหนักซึ่งกันและกัน ยึดปลายแถวบนแล้วกดลงหัวกระเบื้องแถวล่าง แล้วคล้องกับแปอีกที

    การยิงสกรูยึดกับแปเลยของกระเบื้องลอนคู่ เป็นการต่อยอดการใช้งานจากกระเบื้องโมเนีย แต่เนื่องจากโมเนียมีน้ำหนักมาก และด้านหลังกระเบื้องมีขอเกาะ จึงสามารถยิงได้เลย และเมื่อมุงแถวต่อไปปลายกระเบื้องจะซ้อนทับรูที่ยิง ปลายกระเบื้องโมเนียจะมีบัวดักน้ำอีก 3 ชั้นเพื่อดักน้ำเวลาฝนตกแล้วโดนลมตีย้อน

    อนิจจากระเบื้องลอนคู่ไม่บัวดักน้ำตรงปลายกระเบื้องเพราะมันเป็นแผ่นบางๆเท่ากันหมด แล้วคุณพี่ช่าง(ประเทศไทย) ผู้เก่งกาจในด้านการ Adapt เอานู้นนี่นั่นมาโมใหม่ จึงเอาความสะดวกจากการติดตั้งนั้นมาใช้กับกระเบื้องลอนคู่ พอแล้วเสร็จ ฝนตก……ลมตี….ไ่ม่มีขอ ป.ปลา กดปลายกระเบื้อง กอปรกับไม่มีบัวดักน้ำ ฝนตก…ลมตี…ปลายกระเบื้องเปิด…. ก็รั่วสิครับ

    ถึงแม้จะมีแหวนยาง แต่ที่น้ำมันเข้ามันไม่ได้เข้าตรงที่สกรู มันไหลย้อนไปเลย  

    อย่าเอาเบ็ดตกปลาไปล่าวัวกระทิงดิ มันผิดประเภทครับ

  6. ภูผาฟ้าทะเล

    ผมยังไม่ค่อยเข้าใจความหมายของคุณ Truss_me ไม่ทราบมีภาพประกอบไม๊ครับ

  7. Truss_me

    รอภาพแปร๊บนึงนะครับ ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลา

  8. TaTum0022

    อืม… ไม่รู็ว่าจะกลับมาอ่านกันอีกไหม ผมคือผู้ผลิตอุปกรณ์ยึดกระเบื้องนะครับ อุปกรณ์แต่ละตัวมันความแตกต่างกันครับ ผมขอพูดแต่แปรเหล็กนะครับ สกรูปลายสว่านยึกลอนคู่เป็นของใหม่สุดในวงการ ติดตั้งง่าย แข็งแรงพอสมควร แต่ข้อเสียหลักๆ คือมันต้องเจาะ แถมเจาะทั้งกระเบื้องและแปรอีกต่างหาก ใช้ได้ทัั้งแปรตัว C และแปรเหล็กกล่อง ขอยึดกระเบื้องตัวC มีลักษณะคล้ายขอยึดแปรไม้แบบรูปด้านบน แต่หางมีลักษณะงอเพื่อรับกับปากแปรตัว C ข้อดีคือติดตั้งเร็วที่สุดเพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไร ไม่ต้องเจาะ น้ำไม่รั่ว แต่ข้อเสียคือ ให้การยึดเกาะไม่สูง แต่ช่างมักแก้โดยใช้สกรู หรือ ป. ปลา กดแถวแรกไว้ ก็จะแข็งแรงดี ใช้ได้เฉพาะแปรตัว C เท่านั้น สุดท้าย ขอยึดพรีม่า ติดตั้งง่าย ไม่รั่ว แรงยึดเกาะสูงมาก แต่ข้อเสียหลักๆ คือ ราคาแพง แปรต้องเป็นเหล็กกล่อง
    อ่อ แล้วมีอีกวิธี ช่างจะใช้ขอยึดกระเบื้องแปรไม้แบบรูปด้านบน มาเชื่อมกับแปร มันก็แข็งแรงดีนะครับ แต่เสียเวลามาก และถ้าช่างไม่ชำนาญเชื่อมไม่ดีอาจหลุดได้ครับ

Comments are closed.