คือพ่อเราบอกว่า
การปลูกบ้านแบบขวางตะวันคือ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือตะวันตก
แต่ถ้าปลูกบ้านแบบตามตะวันคือ หันหน้าบ้านไปตามทิศเหนือหรือทิศใต้
แต่เรามาสังเกตุดูจากในพันทิพ กลับบอกต่างออกไป แบบไหนถูกค่ะ
คำค้นหา:
- ปลูกบ้านขวางตะวัน
- https://www thaider com/homepro/11526
- บ้านขวางตะวัน
- ปลูกบ้านหันหน้าไปทิศไหนดี
- หน้าบ้านควรหันไปทางทิศไหน
- บ้านหันหน้าทางทิศตะวันตก
- ปลูกบ้าน
- ควรหันหน้าบ้านไปทางทิศไหน
- สร้างบ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
- ปลูกบ้านแบบไหนดี
แบบที่คุณพ่อบอกถูกแล้ว
ไม่เกี่ยวกับหน้าบ้านครับ
เกี่ยวกับรูปทรงบ้าน ถ้าด้านยาวของบ้านอยู่ในแนวตะวันออก – ตะวันตก คือขวางตะวัน
พูดง่ายๆ ก็คือด้านยาวของตัวบ้าน ได้รับแดดเช้า – บ่าย มากกว่า ด้านสั้น
ทำให้บ้านร้อน
^
ขออนุญาต แย้งนะครับ
ตามคติเดิม ถ้าปลูกเรือนหมู่แบบไทย
ถ้าปลูกหันหน้าตามแนวออก-ตก
ลานกลางบ้าน จะโดนแดดเกือบทั้งวัน ร้อนมาก
ถ้าปลูกตามแนวเหนือ-ใต้จะได้ร่มจากตัวเรือนที่ขนาบอยู่ซ้าย-ขวา
โดนแดดเต็มๆฉะเพราะช่วงเทียงวัน
เพราะฉะนั้น
ขวางตะวันคือ ห้ามหน้าหลังหันตะวันออก-ตก
ถ้าคติเป็นแบบมอญ
จะปลูกบ้านหันหน้าตามตามแนว ตะวันออก-ตก
เพราะบ้านอยู่ติดพื้นดิน ต้องการแสงแดด
ส่องเข้าในบ้านมากๆ ช่วยแก้เรื่องความชื้นจากพื้น
ขวางก็คือหันหน้าไปเหนือกับใต้ ถูกแล้วครับ หน้าบ้านจะไม่อยู่ในทางพระอาทิตย์
^
^
อื้ม ผมอิงหลักออกแบบ ผมแน่ใจว่าขัดกับหลักความเชื่อหรือไม่
:::::::::::::::
สมมติว่า มีอาคารหลังหนึ่ง เป็นอาคารตามยาว แนวลึก
หน้าอาคารหันหน้าไปทางใต้
แต่ตัวอาคารลึก ตามแนว ตะวันออก-ตะวันตก ได้รับแดดเต็มๆ
อย่างนี้ ผมเรียกขวางตะวัน
แม้หน้า-หลังไม่หันไปทางตะวันออก ตะวันตกก็ตาม
::::::::::::::::::::
ขวางมอญ กับ ขวางตะวัน มันคนละแบบครับ
หลักของมอญ เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำ นิยมให้หน้าบ้านหันทิศเหนือ
แบบที่ว่ามาถูกแล้วครับ มอญชอบแดดเยอะๆ
แต่หากทิศของแม่น้ำ ไม่เื้อื้อ มอญก็อิงตามแม่น้ำมาก่อนทิศ ใช่มั้ยครับ
เท่าที่ทราบมา ตามที่ #4 ว่าค่ะ
ผมเข้าใจครับ
การปลูกบ้านแต่ละที่ ก็มีวิถีและความเชื่อต่างกัน
ผมถึงบอกว่าเป็นคติไงครับ
ถ้าว่ากันที่ความเชื่อนะครับ
ข้อความนี้
"ไม่ปลูกบ้านขวางตะวัน นิยมปลูกหันหน้าไปในแนวเหนือใต้ เพื่อหลบแสงแดดที่จะส่องเข้าบ้าน"
ก็เอามาจากที่นี่ ข้อ 3
http://www.tkc.go.th/index.aspx?pageid=121&parent=110&directory=2845&pagename=content
ผมไม่ได้หมายความว่าที่นี่จะถูกเสมอไป
แต่ข้อมูลเรื่องนี้ผมได้มาจากตอนไปสัมมนา เมื่อนานแล้ว
จากผู้ช่วยศาสตราจารย์พรชัย ตระกูลวรานนท์
คณบดีคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่เคยศึกษาเรื่องวิถี ขนบธรรมเนียม ที่อยู่อาศัยของคนแถบนี้
มันเป็นคติ ที่เชื่อกันต่อมา
ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้กับบ้านทุกรูปแบบในปัจจุบันครับ
เท่าที่ศึกษามานะครับ
คำว่าบ้านขวางตะวัน หมายความว่า"แนวแกนเรือน"อยู่ในทิศทางขวางตะวัน
นั่นหมายความว่า "แนวแกนเรือน"อยู่ในทิศทางเหนือ-ใต้
ซึ่งบ้านแบบล้านนาจะวางลักษณะนี้
เหตุผลเพราะว่าภาคเหนืออากาศหนาว ต้องการแสงแดดเข้ามาอย่างเต็มที่
ประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่งคือ การวางผังเมืองสมัยก่อนจะมีการวางด้านสกัดหรือ"ด้านกว้าง"ในแนวทิศเหนือใต้ เรียกว่า"ขื่อเมือง"
ส่วน"ด้านยาว"จะวางในแนวตะวันออก-ตะวันตก เรียกว่า"แปเมือง"
ฉะนั้นบ้านในแบบล้านนาจึงออกมาในภาษาช่างภาคกลางว่า"บ้านวางแกนเรือนขวางตะวัน"
^
ถ้าแบบนั้นเรียก ขวาง ของทางเหนือ
ก็คงขัดกับข้อมูลข้างบน
เพราะตามคติความเชื่อคือ ห้ามขวางตะวัน
ที่น่าจะจำกัดอยู่ภาคกลางมากกว่าที่จะใช้ทั่วไป
น่าจะเป็นความสับสนของการนำคติท้องถิ่นหนึ่ง
ไปอธิบายความอีกท้องถิ่นหนึ่ง
หรือเรียกไม่เหมือนกันทำให้เข้าใจต่างกันไป
ตาม คห7
คือคติความเชื่อทางใต้ครับ
ก็ถูกต้องอย่างที่ผมอธิบายนี่ครับ
ทางใต้มักหันหน้าบ้านในทิศเหนือใต้ นั่นคือไม่ขวางตะวัน
ดังนั้นแนวแกนเรือน(บ้านสมัยก่อนเรียกขื่อ)ก็อยู่ในแนวออก-ตก
ส่วนทางล้านนาวางหน้าบ้านในแนวออกตก ซึ่งขวางตะวัน
เพราะแนวแกนเรือน(ขื่อ)อยู่ในทิศเหนือ-ใต้
ผมก็ไม่เห็นขัดกับ คห7 ตรงไหนนี่ครับ
ความเชื่อคือ ห้ามขวางตะวัน
ถ้าวางแบบทางเหนือคือ ขวางดี
ก็ขัดไงครับ
ก็เจ้าของกระทู้ถามว่า
"ตกลงอะไรคือขวางตะวัน" เพราะอธืบายไม่ตรงกัน
ไม่ได้ถามว่าขวางดีหรือไม่ดีนี่ครับ
ผมก็ไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี
ผมแค่อธิบายว่า
คำว่า"บ้านขวางตะวัน" คือการวางทิศทางบ้านอย่างไร หน้าบ้านไปทางไหน
แนวแกนบ้านไปทางไหน
ซึ่งอาจจะผิดไปจากคนอื่นก็ได้ครับ
สมมุติอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านแคบที่สุดอยู่แนวทิศเหนือ-ใต้ คือขวางตะวัน
แต่ถ้าเอาด้านแคบหันทิศตะวันออก-ตก คือตามตะวัน ด้านที่เป็นผนังฝั่งแคบที่สุดจะรับแดดบ่าย เมื่อผนังบ้านฝั่งที่รับแดดบ่ายมีพื้นที่น้อย บ้านก็จะร้อนน้อยลงตามไปด้วย
ประตูจะอยู่ทิศไหนก็ได้ครับ แต่ถ้าอยู่ทิศตะวันตกก็ทำหลังคายื่นบังแดดฝนยาวๆหน่อย
หลักการปลูกบ้านจะตรงกันข้ามกับหลักการทำสวนเกษตร ถ้าเป็นสวนเกษตรจะปลูกเป็นแนวขวางตะวัน เพื่อให้ต้นไม้ได้รับแสงแดดทั่วถึง มีผลกับการผลิดอกออกผลครับ
คิดแตกต่างได้แต่ไม่แตกแยกเน้อ
ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อความเพื่อความชัดเจนอีกครั้ง
สุภาษิตโบราณมีอยู่ประโยคนึงที่เค๊าบอกว่า"น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือไปขวาง" นั่นก็หมายถึงการเอาด้านข้างหรือที่เค๊าเรียกว่ากราบเรือ(ด้านยาว)ไปขวางทางน้ำ เรือมันก็จะล่มเอา เปรียบได้กับการเอาบ้านด้านยาวหันรับทิศตะวันออก-ตกนั่นแหละครับ
เข้าใจว่าถ้าเราไปยืนกลางแดดหันหน้าขวางตะวัน ให้ตะวันส่องหน้าก็คงจะแสบร้อนใช่มั๊ยครับ การยืนหันด้านข้างเข้าหาตะวัน น่าจะร้อนแค่ทีละด้าน ร้อนน้อยกว่า กับหน้าบ้านหันหน้าหาแดดซึ่งมีประตูหลักเป็นส่วนที่เปิดกว้าง คนเดินเข้าเดินออก แดดส่องหน้าเต็มๆ
เมาหัว
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=195636
http://board.palungjit.com/f16/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99-181560.html
สรุปให้
ขวางตะวัน มีทั้งแบบตาม คติ กับตามทฤษฎี
ขวางมีหลายแบบ ขวางตะวัน ขวางมอญ ขวางเหนือ ขวางใต้
เอากันให้งงไปข้าง
แต่ก็ดีนะครับ ได้แชร์ความรู้
ขอบคุณทุกคนมากเลยน่ะค่ะ ได้ความรู้มาก ๆ เลยค่ะ อยากให้กิฟท์ แต่ใช้หมดไปหลายวันแล้ว เดี๋ยวได้แล้วจะกลับมาแจกน่ะค่ะ
เรือนมอญ
เป็นคติของมอญในการปลูกเรือน เรือนมอญตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จะปลูกขวางแม่น้ำหันหน้าบ้านไปทางทิศเหนือ มีบันไดลงทางทิศเหนือ ส่วนมากมอญจะนอนหันศีรษะไปทางทิศใต้ การปลูกเรือนของชาวมอญ จะสงวนพื้นที่ไว้ให้ลูกหลาน คือจะปลูกเรือนสุดเขตพื้นที่ไปทางทิศเหนือ และสุดเขตทางทิศใต้ เว้นพื้นที่ตอนกลางไว้ให้ลูกหลาน เป็นการป้องกันผู้อื่นไม่ให้รุกล้ำพื้นที่
การปลูกเรือนของมอญที่มีลักษณะขวางแม่น้ำดังกล่าว ฝ่ายไทยเห็นว่าเป็นเรื่องแปลกและน่าขบขัน จนมีสำนวนพูดว่ามอญขวาง ดังเช่นคำประพันธ์ที่กล่าวไว้ในนิราศพระประธมว่า
ถึงบางขวางลางก่อนว่ามอญขวาง เดี๋ยวนี้นางไทยลาวสาวสลอน
ทำยกย่างขวางแขนแสนแง่งอน ถึงนางมอญก็ไม่ขวางเหมือนนางไทย
ดังนั้นเรือนมอญซึ่งปลูกอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ แทนที่จะหันหน้าเข้าหาแม่น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งไหลจากทิศเหนือลงทิศใต้ ซึ่งก็จะทำให้เรือนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก แล้วแต่ว่าเรือนนั้นปลูกอยู่ฝั่งใดของแม่น้ำ แต่เรือนมอญหันหน้าไปทางทิศเหนือ เมื่อมองจากการสัญจรทางเรือ ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาล่อง จะเห็นเรือนมอญตั้งอยู่ในลักษณะหันข้างให้แม่น้ำหรือเรียกว่าขวางแม่น้ำ
จาก
http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/nontaburi3.htm
แบบนี้ต้องถาม จขกท. ก่อนว่าจะสร้างแถวไหน
จะได้บอกถูกว่าแบบไหนถึงจะขวาง 🙂
ตามทฤษฎีไม่อิงความเชื่อนะคะ
เส้นตรง A-B เป็นทิศทางการเดินของตะวัน
เส้นตรง C-D เป็นความยาวของตัวเรือน
เอาเส้นตรง 2 เส้นมาทาบกัน
ถ้า A-B และ C-D วางเป็นเส้นขนาน = ตามตะวัน
ถ้า A-B และ C-D วางเป็นเส้นกากบาท = ขวางตะวัน (ขวางทางเดินของตะวัน)
ขออธิบายก่อนค่ะว่าบ้านอยู่ราชบุรี
คือบ้านพ่อแม่อยู่ติดถนนเส้นเขางู-ช่องพรานน่ะุค่ะ (อธิบายง่าย ๆ) สร้างหันหน้าตามถนนซึ่งก็คือ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ทีนี้พ่อก็บอกว่าพ่อเนี่ยสร้างบ้านขวางตะวัน ซึ่งเรามาคิด ๆ เอาเองว่ามันจะขวางตรงไหน ก็ตะวันขึ้นทางทิศตะวันออก ตกทางทิศตะวันตก หันหน้าไปทางนี้มันก็ตามทิศทางการเดินของดวงอาทิตย์แล้วนี่ แต่ถ้าขวางมันต้องหันข้างตัวบ้านให้ทางเดินของตะวันสิ คือ หันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือใต้ มันถึงจะถูก ออกแนวพายเรือ หันหัวเรือไปตามกระแสน้ำ แต่ถ้าขวางก็ต้องหันหัวเรือเข้าฝั่งสิ ก็เลยมาเกิดเป็นกระทู้นี่แหละค่ะ
แต่ตามที่ได้อธิบายกันมาตามข้างต้น เห็นว่าความคิดพ่อออกจะผิดแนวไปเสียหน่อยเพราะ ตัวบ้านจะลึกเข้าไปถ้ามองจากถนน ไม่ได้สร้างตามยาวของถนนน่ะค่ะ
ถ้าเป็นแบบนั้น
คือตามทฤษฎี ก็ไม่ขวางตะวันครับ เพราะบ้านด้านยาวรับแดดน้อยกว่าด้านสั้น
แต่ถ้าเอาตาม คติ ที่ หลายๆท่านกล่าวมา ก็น่าจะขวาง
ส่วนผม ขอบ้านไม่ร้อนก่อน ตามทฤษฎี
ผมชอบคำอธิบายของเฒ่าอนุบาลแฮะ
สั้น ง่าย เข้าใจดี
เพราะกระทู้นี้แหละเลยไปถามสถาปนิกเพื่อนกัน
ได้ความรู้มาเยอะเลย
ได้ความมาว่า(ตามที่เค้าว่านะ)
ขวางหรือไม่อยู่ที่แบบบ้าน ตามมุมมองของคุณโสดจัง
ปัจจุบันบ้านออกแบบไปแนวโมเดิร์น ยึดlandscape เป็นสำคัญ
ก็เลยเล่นระดับหลังคาช่วยคลายร้อน
แล้วก็ใช้วัสดุยุคใหม่เช่นฉนวนกันความร้อน โฟม ฯลฯ ติดแอร์ซะ
แล้วก็ลืมทางระบายลมบนช่องฝ้ากับเพดานไปซะ กันนกกันหนูด้วย
ทีนี้ก็เลยถามต่อว่าแล้วบ้านทางเหนือล่ะ
ก็ได้ความแบบที่เคยโพสท์ใน คห8 มีแถมให้หน่อยว่า
ช่างโบราณนั้นฉลาด เช้าพอโดนแดดพอแล้ว สายมากๆเข้าก็จะเริ่มร้อน
ก็เลยวางจั่วหน้าซ้อนเข้าไป เพื่อลดความร้อน หลังคาหลักยกสูง
มีช่องระบายลมทุกทิศทาง
เลยถามเรื่องบ้านมอญ นึกว่ามันไม่รู้ ดันรู้อีกว่าทำไมวางขวางแม่น้ำ
ก็มอญอยู่ทางตะวันตก หน้าร้อน ร้อนแค่ไหนไปถามคนแถวเมืองกาญจ์ดูได้
ทีนี้ลมน่ะมันจะพัดมาตามลำแม่น้ำ เนื่องจากความกดอากาศของลำน้ำกับ
อากาศแวดล้อมไม่เท่ากัน พอลมพัดผ่านลำน้ำก็จะได้ไอเย็นของน้ำมาช่วย
เลยต้องวางขวางรับลมไง
ยังๆยังไม่หมด ถามบ้านทางใต้อีกว่าทำไมถึงนิยมสร้างบ้านหันหน้าไปแนวเหนือใต้
มันบอก "ไอ้โง่" ทางใต้มันมีลมมรสุมทั้งปี เจอทั้งอันดามันทั้งอ่าวไทย
จะหันหน้าไปรับมันเรอะ หันข้างให้มันสิ แล้วก็สร้างต่ำหน่อยเพื่อหลบลม
ไม่งั้นมันจะหอบขึ้นฟ้าไปซะ
มานั่งคิดๆจริงของมันแฮะ ช่างสมัยก่อนนี่เก่งจริงๆ