คือตั้งใจจะไปประมูลคอนโดที่ขายทอดตลาดครับ
ก็ต้องไปถามเสมียนคอนโด(ผู้จัดการไม่อยู่ มาเฉพาะเสาร์หรืออาทิตย์) ว่าห้องที่เขาจะขายทอดตลาด มีหนี้ค้างชำระหรือไม่
เสมียนตอบว่า ค่าส่วนกลาง ไม่มีหนี้ค้างชำระ สามารถออกใบปลอดหนี้ให้ได้ โดยจะแจ้งผู้จัดการให้ทราบ หากประมูลได้
เมื่อได้ข้อมูลดังนี้ ในวันต่อมา ผมจึงไปประมูลคอนโดดังกล่าว และประมูลได้คอนโดมา
จึงไปหาเสมียนเพื่อขอใบปลอดหนี้ แต่..เสมียนบอกว่า ได้ถามผู้จัดการแล้ว ปรากฏว่า ห้องดังกล่าวยังมีหนี้ค้างชำระอยู่อีก 2 หมื่นบาท คราวก่อนที่บอกว่า ไม่มีหนี้ค้างนั้น ดูผิดห้อง (หรือ ดูไม่ละเอียด แต่ผู้จัดการแจ้งมาอย่างนี้ว่ายังมีหนี้ค้าง) ดังนั้นต้องจ่ายหนี้ค้างอีก 2 หมื่นบาทก่อน จึงจะออกใบปลอดหนี้ได้
เพื่อนๆครับ อย่างนี้เคยเจอ หรือ เป็นไปได้หรือไม่ครับ…ขอบคุณครับ
หนี้ของคนอื่นทำไมเราต้องรับผิดชอบ
เป็นไปได้ว่านิติโกหกคุณเพราะอยากได้หนี้คืน จริงๆแล้วราคาต้องหักลบด้วยหนี้ที่มีอยู่ไม่งั้นก็ไม่คุ้ม ในกรณีของคุณประมูลได้แล้วแสดงว่าเสียเงินไปแล้ว จะต่อรองได้มั้ยนี่ เงิน20,000จะว่ามากก็มาก น้อยก็น้อย เคยเห็นคอนโดชานเมืองราคาล้านกว่าๆแต่มีหนี้ส่วนกลางสะสมอยู่4แสนกว่า เหตุเพราะไม่ชำระค่าส่วนกลางหลายปี นิติเรียกค่าปรับเท่าตัวทบไปเรื่อยๆ ราคาประมูลเลยเริ่มต้นไม่กี่แสนเท่านั้น
อุตส่าถามแล้วยังหลอกกันแบบนี้
เง้อ เซ้งจิต
ถ้าผมเจอแบบนี้หงอยเลยครับ
ถ้าเป็นเราจะขอดูหลักฐาน อีกที เพื่อความแน่ใจ
แต่หนี้ค้างสองหมื่นเอง เด็กๆ ค่ะ ของเราเจอมา มารู้ทีหลังเจ็ดหมื่นกว่า ยังยอมจ่ายเลย แฮ่ะๆ รอดมาแล้วก็ถือว่าคุ้มอยู่ดีค่ะ เพราะได้ห้องที่ถูกใจ
ใจเย็นๆค่ะ เรื่องเล็กน้อย
สองหมี่นเที่ยวเกาหลีได้เลย
สองหมื่น ลงอ่างได้หลายวันอยู่
ขอบคุณครับ
แล้วจะมีวิธีป้องกันอย่างไร ไม่ให้เกิดปัญหาอย่างนี้ได้
ส่วนการขอดูหลักฐาน เขาก็อาจทำบัญชีขึ้นเองก็ได้ว่า ห้องนี้ตั้งแต่เดือนนั้น ปีนั้น ยังไม่มีการชำระค่าส่วนกลาง (ช่องยังว่างอยู่ ไม่มีการลงชำระค่าส่วนกลาง) ห้องว่างอยู่หลายปี (แต่จริงๆอาจว่างแค่ 2-3 เดือนที่ผ่านมาเอง)
ว่าแต่ไปคุยกับ เจ้าของสิทธิในการประมูลแล้วรึยัง ปรกติเค้าจะโอนให้เราได้ ก็ต้องไปเคลียร์หนี้ส่วนกลางทั้งหมดก่อนนิครับ
จขกท กัย #7 ข้อมูลยังแย้งกันชอบกล
สรุปแล้วเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงๆแล้วยังคะ? ถ้าเกิดขึ้นแล้ว ทำไมถามถึงวิธี "ป้องกัน"?
ถ้ายังไม่เกิด…
ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้
จริงๆแล้ว มันไม่ใช่หน้าที่ของผู้ประมูลตั้งแต่ต้นแล้ว ที่จะต้องไปสืบเสาะหาข้อมูลแบบนี้ ผู้จัดการประมูลต้องรับผิดชอบ (ต้องเคลียร์ค่าส่วนกลางค้างจ่ายมาให้เลย) หรือถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ต้องสามารถแสดงข้อมูลได้ ณ ขณะทำการประมูลเลย ว่าเท่าไหร่ และระบุให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรเลย ว่าตั้งใจให้เป็นภาระของผู้ประมูล
ถ้าไม่ได้ทำอย่างหนึ่งอย่างหนึ่งที่กล่าวมา ถือว่าไม่ใช่ผู้จัดการประมูลมืออาชีพ
คห.8 ครับ ถูกต้องครับ ต้องเคลียร์หนี้คงค้างก่อน ถึงจะโอนได้ครับ อันนี้ถูกต้องแล้วครับ
เจ้าของสิทธิการประมูล..อันนี้ยอมรับว่า ไม่ทราบจริงๆว่า คือใครครับ(ไม่ทราบว่า เป็นเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี หรือ ผู้รับอำนาจมาจากเจ้าหนี้ ที่ฟ้องยึดทรัพย์ หรือไม่)
คห.9 ครับ
คือว่า ผมยังไม่เคยเจอนะครับ แต่คิดว่ามันจะเกิดเรื่องทำนองนี้ ขึ้นได้หรือไม่ (เกรงว่าจะมาเกิดกับผม ที่กำลังสนใจประมูลคอนโดขายทอดตลาด)
ที่ว่า "ผู้จัดการประมูลต้องรับผิดชอบ (ต้องเคลียร์ค่าส่วนกลางค้างจ่ายมาให้เลย)" อันนี้ ผมว่าต้องเป็นหน้าที่ของผู้ประมูลคอนโดได้ ต้องไปใช้หนี้คงค้าง(เช่นค่าส่วนกลางคอนโด) ให้เรียบร้อยก่อน ทางนิติฯ จึงจะออกใบปลอดหนี้ให้ เพื่อนำไปเป็นเอกสารประกอบการโอน ที่กรมที่ดิน
ผมไปฟังการประมูลขายคอนโดดังกล่าวครั้งแรก เจ้าหน้าที่ประมูลแจ้ง(ประกาศ) ว่า ลำดับการขายที่… (พูดไปเรื่อยๆ พอพูดถึงเรื่องภาระหนี้คงค้าง) ภาระหนี้คงค้าง ให้ผู้ประมูลสอบถามทางนิติบุคคลเอง เนิ่องจากไม่ได้รับข้อมูลมา….
(การประมูลห้องคอนโดดังกล่าว ครั้งแรกนี้ ไม่มีผู้ใดเสนอราคา)
นี่แหละครับ ที่ผมได้ฟังมาในที่ทำการประมูลขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ผมจึงสงสัยว่า ทำไมไม่ได้ร้บข้อมูลภาระหนี้มา(รายการขายทอดตลาดคอนโดห้องอื่น ยังประกาศภาระหนี้คงค้างเลยครับ) หากผมไปถามกับทางคอนโดถามแล้ว จะเกิดเรื่องโกหก หลอกเงินทำนองนี้ได้หรือไม่
ข้อมูลที่ว่ามา ก็เป็นอย่างนี้แหละครับ ผมจึงสงสัยเรื่องทำนองนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ หรือใครเคยเจอมาหรือไม่
ผมก็ยังรอความคิดเห็นของเพื่อนๆอยู่ครับ ขอบคุณครับ
ประมูลกับกรมบังคับคดีต้องทำใจเลยครับ ขอบอก เพราะบอกได้คำเดียวครับ ว่า ปัดความรับผิดชอบเก่งมาก หากคุณไปถามทางกรมฯ เขาคงตอบคุณว่า เจ้าหนี้ไม่ได้ส่งข้อมูลหนี้ค้างให้ ทำนองนี้แหละครับ เรียกว่า เจ้าหนี้ไม่ส่งข้อมูลบางตัว หรือ ส่งไม่ครบ ก็ยังมีหลุดออกมาประมูลกันเยอะแยะครับ
กรมฯนี้ จัดการประมูลมาก็หลายปีแล้ว ยังพัฒนาไปไม่ถึงไหนเลยครับ เรียกว่า เสี่ยงมาก ๆ ที่จะประมูลที่กรมฯ นี้จัดขึ้น
มีการเขียนกันตัวเองไว้อีกต่างหากว่า เป็นหน้าที่ของผู้ประมูลเองที่ต้องตรวจสอบหนี้และตรวจสอบทรัพย์สินเอง เพราะจะไม่รับผิดชอบ
มีอย่างที่ไหน คอนโดที่ออกประมูลบางห้องบอกมูลหนี้ค้างไว้หมด แต่บางห้องไม่มีบอก มีแบบนี้เยอะแยะไปหมด จึงไม่รู้ว่า ข้าราชการพวกนี้ทำงานกันยังไงถึงออกมาเป็นแบบนี้ได้หลายปีแล้วก็ยังไม่พัฒนา
งานพวกนี้เขาจะแบ่งกันรับผิดชอบเป็นคดี ๆ ไปครับ หากไปเจอ เจ้าพนักงานคนที่ขี้เกียจก็ไม่ค่อยตามเรื่อง หากเจอคนรับผิดชอบก็จะได้รายละเอียดมากหน่อย
ส่วนเรื่องค่าส่วนกลาง 2 หมื่นนั้น ผมว่า คุณไม่มีทางเลี่ยงแล้วครับ นอกจากเข้าไปคุยกับ ผจก.นิติ เพื่อขอความเห็นใจ โดยอธิบายถึงว่าได้เข้ามาถามแล้ว แต่ทางเสมียนนิติดูผิดห้องให้เรา อันเป็นสาเหตุให้เราเข้าใจผิดไป ให้อ้างไปว่าค่าคอนโดยังไม่รู้จะหาเงินมาจากไหนเลย ต้องไปยืมญาติมายังไม่แน่ใจจะได้หรือเปล่า ให้เขาช่วยเหลือโดยลดราคาหนี้ให้เหลือสักครึ่งนึงได้ไหม แล้วจะพยายามหาเงินมาให้ โดยให้เขาเห็นใจเราด้วยในประเด็นความผิดพลาดของเขาที่ทำให้เราต้องมารับภาระครั้งนี้
ถ้าป้องกันขนาดนั้น แล้วยังเจอก็คงทำอะไรไม่ได้ละครับ
คิดว่านิติคงไม่ได้โกหกหรอก
ต้องตรวจสอบ ให้แน่ๆครับ
อะไรที่ผิด พลาด เขาจะปัดให้เราทั้งหมด
เป็นเรื่อง ปกติ ของ คนทำงานราชการครับ
ถ้ากลัวคอนโดโกหก
ก็ให้ทำหนังสือยืนยันเป็นหลักฐานซิครับ
ตอนโทรไปสอบถามนิติฯ คุณก็อัดเสียงไว้ด้วยสิ
เกิดมีรัยขึ้นมา อย่างน้อยก้อเอาคลิปเสียงไว้ยืนยันได้
ขอบคุณมากครับ คห.11
ความคิดเห็นของท่าน แสดงได้ละเอียด ทุกแง่มุม
ทำให้พอทราบแนวทางแก้ไข หรือป้องกันได้ครับ..
และขอบคุณ ทุก คห. ครับ