จากข่าวนี้ อยากทราบว่าจะมีผลต่อดอกเบี้ยชื้อบ้านหรือไม่ครับ
กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็น 2% มีผลทันที-ชี้ ศก.ไทยโตต่อเนื่อง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2553 15:15 น.
บอร์ด กนง.มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมาที่ 2.00% โดยมีผลทันที เนื่องจากเห็นว่านโยบายการเงินผ่อนคลายมาก ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อทรงตัว แม้ระยะต่อไปเจอแรงกดดันด้านต้นทุน แต่ศก.โลกยังคงฟื้นตัว
วันนี้ (1 ธ.ค.) นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.75% มาที่ 2.00% โดยให้มีผลทันที เนื่องจากเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเช่นปัจจุบันมีความจำเป็นน้อยลง
ทั้งนี้ ปัจจุบันพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ดีและมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องในปีหน้า โดยมีอุปสงค์ในประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ การลงทุนยังอยู่ในวัฏจักรขาขึ้น ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวดีต่อเนื่อง ถึงแม้ในระยะสั้น เศรษฐกิจจะชะลอลงบ้างจากที่เร่งตัวขึ้นมากในช่วงก่อนหน้า
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันทรงตัว แต่ในระยะต่อไปแรงกดดันด้านต้นทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแรงกดดันด้านอุปสงค์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต
ส่วนเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามคาด และนโยบายการเงินของสหรัฐมีความชัดเจนมากขึ้น แม้ว่าตลาดการเงินระหว่างประเทศยังคงผันผวนจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป แต่มีมาตรการรองรับที่เป็นรูปธรรม เศรษฐกิจเอเชียยังมีแนวโน้มขยายตัวแข็งแกร่งจากการบริโภคและการลงทุน
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศให้ไหลเข้ามา เพราะนักลงทุนจะดูปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตได้ดี ราคาหุ้นดี ดังนั้น จึงมองว่าพื้นฐานเศรษฐกิจที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยที่ดึงดูดเงินทุนไหลเข้ามามากกว่า
สำหรับเศรษฐกิจไทยดีขึ้นและแนวโน้มขยายตัวดีในปี 54 เมื่อเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวกลับสู่ภาวะปกติ อัตราดอกเบี้ยที่รักษาไว้ในระดับต่ำเกือบ 2 ปีก็ควรปรับเข้าสู่ระดับปกติเช่นกัน ซึ่ง ธปท.ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาแล้ว 2 ครั้งในปีนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้จึงเป็นการดำเนินการต่อเนื่อง
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ระดับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ 3.5% ในปี 54 ไม่เหมาะสมกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบถึง 1.6-1.7% หากเทียบกับเงินเฟ้อล่าสุดที่ 2.8% กับอัตราดอกเบี้ยในระบบที่ 3.4% เทียบกับประเทศอื่นที่เคยใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเช่นเดียวกับไทยนั้น หลายประเทศกลับเข้าสู่นโยบายการเงินปกติแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยก็ติดลบเกือบสูงสุดในภูมิภาคนี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม กระบวนการในการปรับเข้าอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติจะพิจารณาจากสถานการณ์ในช่วงที่กำหนดจัดประชุม ณ เวลานั้นๆ ด้วย
ส่วนในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้พักการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาระยะหนึ่งเพื่อความรอบคอบ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกปั่นป่วนและผันผวนมาก แต่ในที่สุดแล้วพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดีนั้น หากกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำมากๆ นานจะไม่เหมาะสม เพราะจะกลายเป็นการสะสมความเสี่ยงเรื่องการเก็งกำไรในสินทรัพย์ และไม่สนับสนุนภาคการออม อาจจะเป็นปัญหาโดยรวมเมื่ออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น และกลายเป็นภาวะฟองสบู่
“เศรษฐกิจของไทยค่อนข้างดีแล้วในปี 53 และ 54 ก็ยังโตต่อเนื่อง ซึ่งช่องว่างทางด้านศักยภาพจริงมันก็จะกว้างขึ้น ดังนั้นเศรษฐกิจที่โตตามศักยภาพจะกดดันเงินเฟ้อตามมา แต่อย่างไรก็ตาม กนง.ให้น้ำหนักความสำคัญของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ ซึ่งบิดเบือนกลไกตลาด และไม่สนับสนุนภาคการออมและนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่” นายไพบูลย์ กล่าว
นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า ในปีนี้เหลือเวลาแค่เดือนเดียวก็จะสิ้นปีแล้ว เชื่อว่าไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นแล้ว แต่ ธปท.ก็จะต้องติดตามความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา แม้เศรษฐกิจไทย Q3/53 จะแสดงถึงการขยายตัวที่ดีขึ้น แม้จะชะลอตัวในระยะสั้น แต่ก็เป็นเพราะจากฐานเศรษฐกิจที่สูง จึงถือเป็นเรื่องปกติ
จาก Manager
แล้ว MLR จะขึ้นเท่าไรล่ะครับนี่
ปรับขึ้น 0.25% !!!!
จากนั้นดอกเบี้ยเงินกู้ก้อจะรีบปรับขึ้นตามไปติดๆ
ส่วนดอกเบี้ยเงินฝาก ขอปรับขึ้นช้านิดนึง และคงขึ้นให้มากเท่าดอกเบี้ยงเงินกู้ไม่ได้
เงินเดือนผม ขึ้นไม่ทัน ดอกเบี้ย และเงินเฟ้อ ทำไงดีหละทีนี้
ช่วงนี้ MLR MRR อยู่ที่ประมาณเท่าไหร่กันบ้าง(ไม่ได้เช็กนาน)
ต่อๆไป บ้านและที่อยู่อาศัย มีแต่จะขึ้น ไม่มีลง เพราะดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในช่วง ขาขึ้น นี่แหละที่ทำให้ราคา อสังหาขยับไปอย่างรวดเร็ว เชื่อได้่ว่าอย่างน้อยอีก 3ปีต่อจากนี้จะขยับไปอีกเยอะเลย
MLR 6.0
MRR 6.5 ครับ
ไทยพานิชย์
กสิกร
กรุงเทพ
กรุงไทย MRR 6.6 ครับ
เซ็ง
เซ็งเป็ดเหมือนกัน พี่กรณ์เล่นกันซะแระ
ความเห็นที่ 8 ครับ คนที่เล่นคุณอะ เป็น ท่าน ประสาร นะครับ ไม่ใช่ กรณ์
การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นเรื่องของ แบงค์ชาติไม่ใช่ กระทรวงการคลัง นะครับ
แล้วสรุปมันมีผลกับดอกเบี้ยกู้ซื้อ MLR / MRR แค่ไหนครับ ผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ