มีที่ให้เช่าแต่ไม่ต้องการนำค่าเช่าที่มารวมกับเงินเดือนประจำ ไม่ทราบมีวิธีใดบ้างคะ มีคนแนะนำว่าให้จดสิทธิเก็บกินในพ่อเป็นผู้รับคะ
มีที่ให้เช่าแต่ไม่ต้องการนำค่าเช่าที่มารวมกับเงินเดือนประจำ ไม่ทราบมีวิธีใดบ้างคะ มีคนแนะนำว่าให้จดสิทธิเก็บกินในพ่อเป็นผู้รับคะ
ผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่า ก.ม.ไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ที่ให้เช้่าค่ะ
งงคำถามครับ รวมกับเงินเดือนประจำคือ ?
จะทำอะไรหรือครับ
ไม่รู้ จขกท แต่งงานรึยัง ถ้าแต่แล้วอย่าลืมประเด็น เงินได้มาตรา 40 (2) – (8) ของภรรยาถือเป็นเงินได้ของสามีด้วยนะครับ
ค่าเช่า เป็น 40(5) ของภรรยา เวลาเสียภาษี ต้องเอาไปถือเป็นเงินได้สามีนะ
พูดง่ายๆ คือ จขกท ต้องการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
ก็ง่ายๆ เลยครับ
รายได้จากค่าเช่าที่ ออกในนาม พ่อแม่ เลยครับ
รายละเอียดเพิ่มเติมของเจ้าของกระทู้คะ
แต่งงานแล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียน มีลูก 1 คนอายุ 1 ปี 6 เดือนคะ
@คุณแม่ถ้วยฟูฯ แปลว่าให้พ่อทำสัญญษเช่ากับผู้เช่าแทนเจ้าของกระทู้ได้เหรอคะ
@คุณNongSunny19 เจ้าของกระทู้ทำงานบริษัทมีเงินเดือนประจำคะ จึงไม่อยากนำค่าเช่ามารวมกับเงินเดือนประจำ ในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคะ
@คุณi_am_np รายละเอีดเพิ่มเติมด่านบนคะ
ขอบคุณทุกท่านล่วงหน้าคะ
จดทะเบียนคณะบุคคล ร่วมกับ พ่อ แม่
เพื่อแยกบัญชีภาษีออกไปอีกบัญชีนึง
มาอ่าน
ให้สิทธิเก็บกินให้ลูก
แม่ทำหน้าที่แทนลูกแค่นี้ก็จบ
คุณเจ้าของกระทู้เข้าใจถูกแล้วค่ะ
ขอแย้ง คห. 1 นิดนึงครับ
เคสนี้เป้นเรื่องภาษี (วางแผนภาษี) ฉะนั้น จะเอาแต่หลัก กม.แพ่ง มาใช้อย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องดู กม.ภาษี ประกอบด้วย (ตามหลักที่ว่า บทกฎหมายเฉพาะยกเว้นบทกฎหมายทั่วไป)
จริงอยู่ว่า หลัก กม.แพ่ง ไม่ได้บังคับว่าผู้ให้เช่าจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน (ซึ่งถือเป็นหลัก กม.ทั่วไป) แต่ว่าเนื่องจากใน กม.ภาษี มีกำหนดไว้ว่า บุคคลใดมีชื่อในหนังสือสำคัญแสดงว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และทรัพย์สินนั้นก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีแก่เจ้าของกรรมสิทธิ์นั้น
ตอนนี้ เจ้าของกระทู้เป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินอยู่ ดังนั้น อยู่ๆ จะไปยกค่าเช่าให้พ่อแม่เป็นผู้รับและเสียภาษีไม่ได้ ถ้าจะทำ ก็ต้องอย่างที่มีผู้แนะนำให้จดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้แก่พ่อแม่นั่นแหละ ถึงจะทำได้
หรือไม่อย่างนั้น ก็จัดตั้งเป็นคณะบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญขึ้นมา โดยใช้สัญญาจัดตั้งคณะบุคคลหรือ หสม.
ก่อนอื่นขอขอบคุณทุกความคิดเห็นคะ
จากข้อมูลของทุกท่าน จึงได้ข้อสรุปว่า จะไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกิน (ที่กรมทีดิน) ให้พ่อเป็นผู้รับค่าเช่าคะ
ขอบคุณอีกครั้งคะ
มาไม่ทัน…
ตกลง Case นี้เป็น การวางแผนภาษี หรือ หลบเลี่ยงภาษี…งง
เพราะ การเก็บกินประโยชน์อื่นใดในทรัพย์สินให้เช่า ของ จขกท.
ย่อมถือเป็นเงินได้พึงประเมินของจขกท. มิใช่หรือ?
ส่วนการโอนสิทธิเก็บกิน..(กรมที่ดิน) นั้น
หาก จนท.ยอมให้จด…จนท.จะมีความผิดร่วมด้วยหรือไม่?
(เพราะเจตนาของ จขกท. ไม่ต้องการเสียภาษีเยอะ)
แล้วการจดสิทธิเก็บกิน เพื่อโอนผลตอบแทนที่จะได้รับไปเป็นของคุณพ่อคุณแม่ หรือ จดเป็น หสม. คณะบุคคล ถูกต้องแล้วหรือ?
นี่เรียกว่า วางแผนภาษีนั้นใช่หรือไม่?
และจะมีผลย้อนหลังหรือไม่
หากกรมสรรพากรตรวจเจอและประเมินผลย้อนหลัง….
ใครรู้ช่วยตอบทีค่ะ
เจ้าของกระทู้มีสิทธิจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้บุคคลใดๆ ก็ได้อยู่แล้ว ยิ่งเป็นบิดามารดาของเจ้าของกระทู้เอง ก็ยิ่งเป้นสิทธิ์ของเจ้าของกระทู้ ไม่มีใครสามารถห้ามได้ และเวลาไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกิน ก็ไม่จำเป็นต้องไปบอกเจ้าพนักงานทีดินว่าจะมาจดเพื่อลดภาษีเงินได้ลง
และในเมื่อ บิดามารดาของเจ้าของกระทู้เป็นผุ้มีสิทธิเก็บกิน ก็มีสิทธิจะทำสัญญาเช่ากับบุคคลใดๆ ก็ได้ และมีสิทธิได้รับค่าเช่า ส่วนเมื่อได้รับค่าเช่าแล้ว จะยกค่าเช่านั้น ให้แก่ลูกของตัวเอง ก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ครับ
อย่าพูดว่าหลบเลี่ยงภาษี จขกท. เขามีสิทธิ์ใช้สิทธิ์ของตนเองถ้าเป็นไปได้
เพื่อไม่ให้ผิดกฏ ก็เหมือนกับท่านๆเวลาซื้อของกับทางร้านถามว่าเอาใบกำกับภาษีไหม ถ้าเอา + 7 % ถ้าไม่เอาก็คิดเท่านี้
อย่าไปว่า ท่าน จขกท เลยครับ
อัตราภาษี บุคคล ธรรมดา ยิ่ง มาก
ยิ่งเสียมาก เป็นอัตราก้าวหน้า
ผมขอ ใช้ คำว่า การวางแผน ภาษีครับ…
จดเป็นชื่อ พ่อแม่ได้ครับ
แต่ถ้า .. ผู้เช่า … ไม่ได้ จดทะเบียนบริษัท
กล่าวคือ เป็นบุคคลธรรมดา … ก็ … ไม่ต้องเสียก็ได้ครับ
เพราะ กรรมสรรพากร ตรวจสอบไม่ได้
ส่วนตัว…ไม่ได้ว่า จขกท. ค่ะ
แต่อยากได้ความชัดเจนในการวางแผนภาษี
เพื่อความปลอดภัยแก่ จขกท.เอง
เมื่อกรมสรรพากรมาตรวจ จขกท. จะได้โต้แย้งได้ว่า
เป็นการวางแผนภาษี มิใช่เลี่ยงภาษี (พร้อมให้เหตุผล+กม.ภาษีอ้างอิง)
เพราะ ถ้า จนท.ตรวจสอบหลักฐาน+ใช้ดุลยพินิจ
ตัดสินว่าเข้าข่ายเลี่ยงภาษี ก็จะต้องถูกประเมินผลย้อนหลัง
ถ้าไม่ยอมก็ต้องต่อสู้กันที่ศาลภาษี
แล้วมักจะไม่คุ้มค่ากันเท่าไร (เสียเวลา+เสียสุขภาพจิต+เสียเงิน)
ถ้า พี่ ยืนยันว่า สามารถทำได้
จนท.มาตรวจ+ใช้ดุลยพินิจ และลงความเห็นว่าเป็นการวางแผนภาษี
ก็ ok. ค่ะ จะได้นำเทคนิคไปแนะนำคนอื่นได้บ้าง….อิอิอิ
จาก tax clinic ใน Nation E-Job ค่ะ
วันที่: 2010-11-23 00:00:00
เช่าพื้นที่ขายของ
การเช่าพื้นที่ในอาคารนั้นมีหลายแห่งหลายทำเล คนให้เช่าเขาก็ต้องเรียกเงินประกันความเสียหายเอาไว้ และตกลงเช่ากันนานเป็นปีก็ได้หรือจะทำแบบรายเดือนรายวันก็มี บางทีก็เรียกเป็นการให้บริการพื้นที่บ้าง แตกต่างกันไป
ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องดูลักษณะข้อตกลงไว้เป็นสำคัญ การนำพื้นที่หรือห้องก็ดีให้คนคนหนึ่งเข้าไปครอบครองและใช้ประโยชน์โดยเก็บค่าตอบแทน เป็นการให้เช่าตามกฎหมาย และเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
คนให้เช่ามีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีโรงเรือนจากการให้เช่า ต่อให้เขียนสัญญาว่าเป็นการให้บริการ ก็ต้องอธิบายให้ได้ว่าเป็นการบริการอะไร การให้บริการพื้นที่นั้น เป็นการให้ช่า แต่ถ้าเป็นการจัดบริการ เช่น ให้น้ำไฟ ดูแลรักษาความปลอดภัย จัดการจราจรลูกค้าทีมาซื้อของให้ นั้นและใช่แล้วการบริการ
เมื่อการให้บริการกับการให้เช่าปนเปกันไป ก็จะเหมารวบให้เป็นการบริการไม่ได้ เพราะอาจน่าเชื่อได้ว่าต้องการเลี่ยงกฎหมายไม่ต้องจ่ายภาษีโรงเรือน กรณีอย่างนี้ต้องแยกให้เป็นส่วนๆ ไป ภาษีที่ต้องจ่ายก็จากรายได้จากการให้ใช้พื้นที่ไป ส่วนรายได้จากการให้บริการ ก็เป็นเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
แม้ไม่ได้ตั้งใจหลีกเลี่ยงอะไร แต่หากไม่เข้าใจกฎหมายแล้วจ่ายภาษีผิดไปหรือพาลไม่จ่ายเพราะความไม่รู้กฎหมาย ก็ยังไม่อาจอ้างได้อยู่ดี
คนที่มาเช่าก็ต้องเข้าใจสถานะเช่นกัน แม้จะไม่ได้ไปเกี่ยวพันกับการเสียภาษี แต่ก็ต้องมีความเข้าใจว่าใครกันนะที่มาให้เราเช่าใช้พื้นที่หรืออาคาร
ไม่จำเป็นที่เจ้าของต้องเป็นผู้ให้เช่าเสมอไป อาจเป็นใครก็ได้แต่ต้องเป็นใครที่เจ้าของเขาอนุญาตให้เอาทรัพย์สินไปทำประโยชน์ได้ และคนมีเงินได้จากการให้เช่าก็คือคนที่ต้องจ่ายภาษีนั่นเอง
การเช่าที่ไม่ได้กำหนดเวลากันไว้ จะเช่านานเท่าไหร่ก็เช่ากันไป จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญา แต่ก็ต้องบอกกันล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งระยะเวลาการจ่ายค่าเช่าแต่ไม่ต้องนานเกินกว่าสองเดือน
อีกอย่างที่ต้องรู้เอาไว้ก็คือว่า คนที่เขามีสิทธิมาให้เราเช่านั้น เขาได้สิทธิจากเจ้าของอย่างไร เพราะเจ้าของดองญาติหรือเอื้อเฟื้อให้หรือให้ออกหน้าเพื่อเจ้าของจะได้ไม่มีเงินได้ต่อปีมากเกินไป ก็ถือเป็นเหตุผลของพวกเขา เราก็คงไม่ต้องสนใจนัก
แต่หากผู้ให้เช่าเราเขาเป็นผู้เช่าจากเจ้าของอีกทอดหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า ให้เช่าช่วง คนเช่าช่วงจะมีสิทธิมากไปกว่าคนให้เช่าช่วงไม่ได้ งานนี้อย่าได้นอนใจต้องตรวจสอบเห็นหลักฐานให้แน่ใจว่าเขาให้เช่ากันได้กี่ปี
บางทีก็มีให้เช่ากันยาวถึง 30 ปีโดยมีการจดทะเบียนการเช่ากันไว้ แล้วผู้เช่าก็เอาพื้นที่หรือห้องในอาคารมาซอยแบ่งให้คนเช่าช่วงต่อไป จะเช่ากันอย่างไรก็ทำได้ไม่เกิน 30 ปี
ถ้าคนเช่าเขาหมดสัญญาเมื่อไหร่ คนเช่าช่วงก็ต้องออกจากพื้นที่เช่าไป จะมาอ้างว่าทำสัญญากันไว้ยังไม่ครบเวลาไม่ได้ ต้องไปว่ากล่าวเอาเรื่องกับผู้ให้เช่าช่วงเอง แต่เจ้าของเขามีสิทธิทวงพื้นที่คืนมาได้ หากดื้อแพ่งไม่ไปก็ต้องจ่ายค่าเสียหายเต็มแม็กเลย
หลายรายที่ต้องกลายเป็นจำเลยในคดีขับไล่เพราะไปทำสัญญาเช่าช่วงเอาไว้โดยไม่รู้ว่าคนให้เช่าเขาหมดเวลากับเจ้าของเมื่อไหร่ สำหรับผู้ที่กำลังอยู่ในความสงสัยขอให้รีบเคลียร์กับผู้ให้เช่าช่วงเสียก่อนที่เขาจะจากหายไป ทิ้งให้เราทะเลาะกับเจ้าของเอง
โดย : ศรัณยา ไชยสุต
"แม้ไม่ได้ตั้งใจหลีกเลี่ยงอะไร แต่หากไม่เข้าใจกฎหมายแล้วจ่ายภาษีผิดไปหรือพาลไม่จ่ายเพราะความไม่รู้กฎหมาย ก็ยังไม่อาจอ้างได้อยู่ดี"
คนที่มาเช่าก็ต้องเข้าใจสถานะเช่นกัน แม้จะไม่ได้ไปเกี่ยวพันกับการเสียภาษี แต่ก็ต้องมีความเข้าใจว่าใครกันนะที่มาให้เราเช่าใช้พื้นที่หรืออาคาร
ไม่จำเป็นที่เจ้าของต้องเป็นผู้ให้เช่าเสมอไป อาจเป็นใครก็ได้แต่ต้องเป็นใครที่เจ้าของเขาอนุญาตให้เอาทรัพย์สินไปทำประโยชน์ได้ และ
"คนมีเงินได้จากการให้เช่าก็คือคนที่ต้องจ่ายภาษี" นั่นเอง
————————————
แล้วโอนสิทธิให้คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้เก็บกินผลประโยชน์ ย่อมถือว่า คุณพ่อคุณแม่ เป็นผู้มีเงินได้หรือไม่ค่ะ?
เงินได้ 1 = รับโอนสิทธิเก็บกินจากบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมถือเป็นเงินได้หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับด้วยหรือไม่?
เงินได้ 2 = เงินได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
—————–
คุณ ศรัณยา ไชยสุต เป็นใครคะ
เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร (ฝ่ายกฎหมาย)
อัยการ ผู้พิพากษาศาลภาษี ใช่หรือไม่คะ?
บทความนี้ น่าจะกล่าวถึง…การรักษาสิทธิประโยชน์ ผู้เช่า ผู้เช่าช่วง
และมีน้ำหนักเพียงพอที่จะเทียบเคียงกับ เนื้อหาสาระสำคัญตามเจตนารมณ์ของ จขกท. ได้หรือไม่ค่ะ?
ขอบคุณค่ะ