ซื้อคอนโดมือสองโดยตรงจากเจ้าของค่ะ ผู้ขายเป็นคนจ่ายค่าธรรมเนี่ยม ค่าภาษีเองทั้งหมด เราจ่ายแค่ค่าจดจำนอง สัญญาจะซื้อจะขายทำไว้ที่ 4,100,000 วางมัดจำไว้ 10% ธนาคารอนุมัติ วงเงินกู้ที่ 90% ของราคาขายและเซ็นสัญญากู้เงินกับธนาคารไปเรียบร้อยแล้ว (ธนาคารเตรียมเช็คไว้ให้ในนามผู้ขายเลย แยกเป็น 2 ฉบับตามที่ผู้ขายขอ)
พรุ่งนี้กำลังจะไปโอนคอนโดกันที่กรมที่ดิน วันนี้ผู้ขายเขาเอาสัญญาจะซื้อจะขายมาให้เซ็นอีกฉบับ ลดราคาขายลงไปล้านนึง บอกว่าเพื่อลดธรรมเนียมกับค่าภาษี ที่แยกเช็ึคเป็น 2 ฉบับ ก็เพื่อทำให้ราคาเป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายใหม่ แล้วเขาก็ฉีกสัญญาจะซื้อจะขายเดิมทิ้งไป
อยากถามว่า ทำอย่างนี้เราจะมีปัญหากับกรมที่ดิน หรือ ทางธนาคารไหมคะ ในเมื่อธนาคารอนุมัติ 90% ของราคาซื้อขายแล้วผู้ขายมาขอเปลี่ยนแปลงตัวสัญญาหลังเราทำสัญญากู้เงินไปแล้ว ธนาคารจะดูราคาซื้อขายที่จะแจ้งกรมที่ดินรึเปล่าคะ กลัวมีปัญหาจังไ่ม่รู้จะปรึกษาใคร เพิ่งซื้ออสังหาเป็นครั้งแรกค่ะ
คำค้นหา:
- สัญญาจะซื้อจะขายคอนโดมือสอง
- สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดมือสอง
- สัญญาซื้อขายคอนโดมือสอง
- สัญญาซื้อขายห้องชุดมือสอง
- หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายคอนโดมือสอง
- โอนคอนโดมือสอง
- หนังสือสัญญาซื้อขายคอนโดมือสอง
ไม่มีปัญหาครับ ของผมซื้อบ้านราคา 3.5 โครงการก็ยื่นกุ้ว่าตัวบ้านราคา 4 ล้านครับ พอธนาคารตกลงให้กู้ ค่อยมาทำสัญญาซื้อขายใหม่ที่ราคา 3.5 ล้านครับ
จริงๆคุณก็จ่าย 4.1 ล้านเหมือนเดิมใช่ไหม แต่ทำใบสัญญาราคาลดไปล้านนึงเพื่อผลประโยชน์ในการลดค่าภาษี ทั้งนี้ทางผู้ขายเป็นฝ่ายที่ต้องชำระค่าภาษีทั้งหมด ทางคุณก็แค่เสมอตัว ผลประโยชน์เป็นของผู้ขายครับ
ตอนเราซื้อคอนโดมือสองเราก็ทำสัญญาจะซื้อจะขายสองฉบับ ฉบับแรกเป็นราคาจริงที่ซื้อขายกัน อีกฉบับใช้ราคาลดไปล้านนึง เพื่อที่จะทำให้เสียค่าธรรมเนียมกับภาษีให้น้อยลง แต่จริงๆ แล้ว มันไม่ได้ช่วยเลยค่ะ กรมที่ดินไม่ดูสัญญาพวกนี้เลย เค้าถามเราปากเปล่าเลยว่าซื้อกันเท่าไหร่ เราก็บอกราคาที่ต่ำไป เค้าก็ไปเช็คดูเอกสารอะไรไม่ทราบแล้วก็บอกว่า เราแจ้งมาต่ำไป (ราคาที่เราแจ้งนี่ก็สูงกว่าราคาประเมินของกรมแล้วนะ) เค้าเห็นเงินที่เรากู้แบงค์แล้วบอกว่าถ้าที่เหลือเป็นค่าตกแต่งก็มากเกินไป เราเลยคุยกับเจ้าหน้าที่ให้ทำราคาที่เพิ่มขึ้นมาอีกห้าแสน (อย่างน้อยก็ประหยัดค่าภาษีกับธรรมเนียมได้อีกห้าแสน) เค้าถึงยอมค่ะ
เราแนะนำว่า เซ็นสัญญาอีกอันที่คนขายมาให้เซ็นก็ได้ค่ะ แต่อันเก่าให้เก็บไว้ด้วย (อันราคาจริง) แล้วให้สลักหลังสัญญาจะซื้อจะขายราคาจริงไว้ด้วยว่าอันไหนเป็นราคาจริงกันแน่ แล้วก็เก็บไว้ืทั้งสองสำเนา
ส่วนเรื่องธนาคาร ไม่มีผลค่ะ เพราะคุณได้รับอนุมัติและทำสัญญากู้เงินกับธนาคารไปแล้ว
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับทุกๆคำตอบ สบายใจแล้วล่ะ กลัวมีปัญหากับธนาคารต้องมาึควักส่วนต่างเองล้านนึง
ปกติก็ไม่มีใคร แจ้ง ราคาเต็มกันอยู่แล้วครับ
ราคาขายที่แจ้ง ที่ สนง ที่ดิน ปกติก็ไม่ตรงกับ สัญญาจะซื้อจะขาย
คุณเป็นคนซื้อ ไม่เห็นต้องไปเครียดอะไร
คนขายต่างหากที่ต้องคิดมาก กลัวโดนคุณจ่ายตามราคาใหม่
ปกติ ขายที่ดินกัน 6-7 แสน ก็แจ้งราคาแค่ 1 แสน
บางคนที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างยังแจ้งว่าเป็น ที่นา ก็ยังมี
จนท ไม่ได้เดินไปดูนะครับ
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นใหม่หรือมือสอง ไอ้ที่จะมีสัญญาจะซื้อจะขายแค่ฉบับเดียว ใช้ทั้งธนาคาร ใช้ทั้งที่ดินฯ มีน้อยมากถึงมากที่สุดค่ะ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้ว ที่จะทำกัน 2 ฉบับ
จริงๆแล้ว ทางผู้ซื้อก็ไม่เชิงว่าจะเสมอตัวนะ เพราะ ราคาประเมินจะต่ำ (กรณีในอนาคตต้องการขายต่อ) ผู้ซื้อเค้าก็เอาราคาประเมินที่ที่ดินมาเป็นปัจจัยในการต่อรอง,กดราคาเราได้
แต่ถ้าตั้งใจซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง ก็ไม่มีผล
สัญาเช่าที่ดิน
ผมก็ทำ งี้แหล่ะ
ผมแจ้งราคาเต็มล่ะ เหอๆ แต่ผมเป็นผู้ซื้อ ส่วนผู้ขาย จ่ายภาษีเต็มๆ ครับ T_T
วันโอน ไม่เห็นใช้ หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเลย เขาเพียงแค่ถาม
ที่ดิน ประเมินภาษีตามราคาซื้อจริง และ ราคาประเมิน มากกว่า
คุณจะบอกมากกว่าหรือน้อยกว่า ราคาซื้อขายไปแค่ไหน
กรมที่ดินเค้าไม่สนหรอกค่ะ เพราะเค้าเจอเอกสารตบตาอยู่เกือบทุกราย
เค้าจะประเมินใหม่ แล้วคิดภาษีตามราคาที่เค้าประเมิน ไม่แลสัญญาซื้อขายซักนิดเดียว
ส่วนธนาคารเค้าก้ไม่สน เค้าสนใจราคาประเมินที่ธนาคารให้การรับรองเท่านั้น เพราะเค้ารู้ว่าลูกค้าเกือบทุกราย ก็ทำราคาปลอมๆ
ตามความเห็น10เลยคับ ไม่ได้เกี่ยวกับราคาซื้อ-ขาย แต่ขึ้นอยู่กับราคาประเมิน ของผมเป็นทาวเฮาส์ประเมินที่700,000 เจอค่าภาษี+จำนองต่างๆจากกรมที่ดิน 39,000
โอนเรียบร้อยแล้วค่ะ ไม่มีปัญหาอะไร
ค่าธรรมเนียม ค่าภาษีแพงจัง ขนาดผู้ขายเราไม่โดนภาษีธุรกิจนะเนี่ย ต้องรีบไปแจ้งย้ายชื่อเข้าคอนโดซะแล้วสิเรา (เผื่อปีหน้าขาย)
อ้อ นิดนึง ถ้าคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ แล้วธนาคารบังคับให้ใช้สถานภาพสมรสแบบไม่จดทะเบียนในการกู้ คู่สมรสชาวต่างชาติต้องไปโอนด้วยนะคะ วันที่เราไปเซ็นสัญญากู้ที่สำนักงานใหญ่ ธนาคารบอกไม่ต้องไปก็ได้เซ็นยินยอมไปก็พอ แต่ไม่พอค่ะ เจ้าหน้าที่กรมที่ดินบอกว่าเกือบไม่ได้โอนซะแล้วถ้าสามีไม่มาด้วย เพราะชาวต่างชาติต้องมาเซ็นเอกสารยินยอมว่าไม่ใช่สินสมรส ถึงแม้จะไม่ได้จดทะเบียนก็ตาม และในสัญญาซื้อขายจะต้องเซ็นหลังเอกสารตั้งหลายใบ
ถ้าคนไทยกู้เอง ไม่ได้จดทะเบียนในไทย ธนาคารยอมให้ใช้สถานะโสด ก็ไม่เป็นไรค่ะ ไม่ต้องเอาคู่สมรสมาเกี่ยว (พอดีเราลูกสองแล้ว จะแอบเนียนใช้นางสาว เป็นโสด ธนาคารไม่ยอมให้กู้ในสถานภาพโสดอ่ะ)