การสร้างบ้านระบบ Cast in place

ใครพอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างบ้านระบบ Cast in place บ้างครับ พอดีบ้านจัดสรรที่กำลังจะซื้อเค้าก่อสร้างในระบบนี้ เท่าที่ศึกษามาระบบ Cast in place จะเป็นการหล่อคอนกรีตแทนเสาคานและก่ออิฐมอญ ความคงทนความแข็งแรงจะสู้อิฐมอญได้รึเปล่า ยังไงช่วยกันแสดงความเห็นหน่อยนะครับ

By: จะเป็นเธอได้รึเปล่า
Since: 21 เม.ย. 55 11:46:16

คำค้นหา:

  • cast in place คืออะไร

6 thoughts on “การสร้างบ้านระบบ Cast in place

  1. admin Post author

    ที่เชียงใหม่ กกน ใช่ไหม
    เราว่ามันแข็งแรงมากกว่าใช้อิฐมอญมากมาย
    เพราะผนังทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ซีเมน CPAC
    น่าจะทนต่อแรงแผ่นดินไหวได้ดีกว่าโครงสรัางก่ออิฐ
    เหมือหล่อปูนขึ้นมาเป็นกล่องผนัง4ด้านพร้อมกัน
    เวลาเขย่ากล่องทั้งใบ กับ เขย่าจิกซอที่ต่อเป็นโครงรับน้ำหนักอย่างไหน
    จะรักษารูปทรงได้ดีกว่ากัน เวลาโดนเขย่า
    มีพื้นที่รับ นน ชั้นบน คือผนังทั้งผืนรอบตัวบ้าน มากกว่าขนาดเสาหลายเท่า

    แต่ข้อเสีย คือ ต่อเติมบ้านไม่ได้ และให้ระวังเรื่องทำกันซึมห้องน้ำ และการระบายอากาศภายในบ้าน รวมทั้งบริเวณห้องน้ำให้ดี ผนังแบบนี้มันกันความร้อนจากภายนอกดี ขณะเดียวกันถ้าภายในบ้านมีความชื้นสะสมการระบายอากาศไม่ดี มันก็จะเก็บความชื้นไว้ในบ้าน แต่เจ้านี้ทำหน้าต่างระบายอากาศในห้องน้ำไว้เล็กมาก และมีแค่ตำเหน่งเดียว ของพฤกษา แลนด์ กลับออกแบบได้ดีกว่า

    By: ?
    Since: 21 เม.ย. 55 15:56:01

  2. admin Post author

    ถ้าจำไม่ผิดนะค ระบบ cast in place คือการตั้งแบบที่หน้างานจริงโดยใช้ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อตั้งแบบเสร็จก็ทำการหล่อคอนกรีต ณ ที่หน้างานจริงเลย ต่างจากอีกระบบที่เรียกว่า prefab ที่ต้องหล่อมาจากโรงงานเป็นชิ้นๆแล้วนำมาต่อกันที่หน้างานอีกที

    ถามว่าแข็งแรงเท่ากับการก่ออิฐหรือเปล่า  สมัยแรกๆ เคยประชุมและถามคำถามพวกนี้จากกลุ่มวิศวกรมาแล้ว ช่วงที่กำลังจะนำระบบนี้มาใช้ในโครงการบ้านจัดสรรค์ที่เราทำงานอยู่   เค้าก็ยืนยันว่า มีความแข็งแรงคงทนไม่ต่างกันนะคะ เพราะจริงๆลำพังคอนกรีตเสริมเหล็กก็มีความทนทานอยู่แล้วอ่ะคะ  สามารถรับน้ำหนักได้ดีพอๆกับการก่ออิฐเลย  แถมมีข้อดีตรงที่ไม่มีพวกเสา คาน เวลาตกแต่งบ้านจะเรียบ สวยเชียวค่ะ และที่โครงการนำระบบนี้มาใช้ ความจริงไม่ได้แปลว่ามันถูกกว่าการก่ออิฐธรรมดานะคะ  จริงๆเพียงกว่าด้วยซ้ำ เพียงแต่มันไปลดต้นทุนค่าช่าง คนงาน และรวดเร็วกว่า ทำให้ระยะยาวเกิดผลดีต่อโครงการแน่นอน เพราะได้กำไรมากกว่า จากการผลิตบ้านได้รวดเร็วกว่าที่ต้องมารอผู้รับเหมาสร้างหลังหนึ่งตก 5-8 เดือน จึงนิยมทำระบบนี้ออกมาขายกัน เพราะสามารถย่นระยะเวลาก่อสร้างได้เยอะเชียวค่ะ  เซลก็มีบ้านให้ลูกค้าขายไวด้วย  ที่สำคัญผนังก็เรียบดี ไม่ค่อยมีรอยร้าว  

    แต่ แต่ว่าระบบนี้ที่รำลือกันมาหนาหูจากลูกค้าในช่วงแรกๆที่เข้าอยู่ พอผ่านหน้าฝนไปแล้ว มักจะมีปัญหาเรื่องน้ำซึมอ่ะคะจากรอยต่อ  ดังนั้นปัญหานี้มากกว่าที่น่าห่วงไม่ใช่เรื่องความคงทนแข็งแรงนะคะ อ้อ มีอีกปัยหาคือ เรื่องเวลาจะเจาะพวกผนังอะไรด้วยอ่ะค่ะ เจาะแค่เล็กๆได้ แต่จะทุบเฉพาะที่เพิ่มประตงประตูนี่ไม่ได้เลยนะคะ

    By: glamor
    Since: 21 เม.ย. 55 16:06:49

  3. admin Post author

    คงหมายถึงหล่อผนังในที่แล้วแล้วใช้ผนังเป็นโครงสร้างแทนคานเสาไปเลย คือความจริงจะว่าระบบไหนแข็งแรงกว่าคงไม่ได้ มันก็ขึ้นอยู่กับการเสริมเหล็กว่าดีแค่ไหนด้วย ความจริงบ้านที่ทำกันตอนนี้เห็น ทำเป็นหล่อสำเร็จแล้วมาประกอบทีหลังก็มี ความทนทานถ้าไปถามเค้าก็ต้องบอกว่าได้มาตรฐานทั้งนั้นแหละ แต่มีเรื่องจะบอกอย่างว่าถ้าบ้านเราซื้อจัดสรรเราไมควรคิดว่าจะอยู่บ้านนี้ไปสามสิบ สี่สิบปี เพราะบ้านพวกนี้ว่าไปแล้วมันไม่ค่อยจะถาวรเท่าไหร่ คนขายก็คิดแค่จะทำขายเอาตังเท่านั้น ขายเอากำไรไปแล้วก็เลิกกัน เขาไม่สนใจเท่าไหร่หรอกว่ามันจะดีแค่ไหน?

    By: ไม่รู้เรื่องอะไร?แต่ขอก่อน
    Since: 21 เม.ย. 55 16:33:24

  4. admin Post author

    จาก โครงสร้าง ก็ถือว่ามีความแข็งแรง กว่าระบบ เสา คานเดิม ครับ
    ลด ความอ่อนแอ ตรง รอยต่อ เสา คานได้มาก
    ถ้าโดนเขย่ามากๆ ตรงรอยต่ออาจจะพังก่อนได้ ในระบบเดิม

    แต่ขึ้นกับวิธีและ จำนวนการ เสริมเหล็กต้านทาน แผ่นดินไหวด้วยนะครับ
    นอกจากนี้ การที่อาคารมีน้ำหนัก เบา กลับจะช่วยลด โมเมนตัม ที่เกิดเมื่อเทียบ
    อาคารเดียวกัน ที่มีน้ำหนัก มากกว่า

    เช่น ญี่ปุ่น ก็ไม่ทำ หลังคา แบบมุงกระเบื้องและ การก่ออิฐ เหมือนเรา ครับ

    By: ถ้าช้างอมบ๊วยจะร้องยังไงคะ
    Since: 21 เม.ย. 55 19:04:41

  5. admin Post author

    ระบบ Prefabrication = หล่อจากโรงงาน มาประกอบที่หน้างาน

    และ

    ระบบ  Cast in place = เทคอนกรีตลงในแบบหล่อที่หน้างาน ที่เราคุยกันมักเป็นการสร้างบ้านคอนกรีตแบบไร้เสา

    /

    By: pinhead2000
    Since: 22 เม.ย. 55 16:15:48

Leave a Reply