บ้านเดี่ยวสองชั้น โครงการแลนด์ ติดปั๊มอัตโนมัติ(ตัวกลม)มาให้เป็นตัว 160w ของฮิ ชั้นสองไม่แรงเลยโดยเฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่น
พื้นที่ 65 ตรว. บ้านมีระบบสปริงเกอร์รดน้ำสวนด้วย แยกเป็นสามท่อ ทำงานทีละท่อ
อยากเปลี่ยนเป็นปั๊มแรงดันคงที่(ถังเหลี่ยม) 250w
แต่มีเพื่อนบ้านปรึกษาช่างที่โครงการแล้วเค้าให้เปลี่ยนตามนี้ครับ
1. ใช้ถังกลม 250W ต่อขึ้นชั้นสองอย่างเดียว
2. ชั้นล่างไม่ผ่านปั๊ม
โดยให้เหตุผลว่า ถ้าให้ปั๊มจ่ายชั้นล่างด้วย แรงดันจะเยอะเกินอาจทำให้ท่อรั่วได้ ต้องซ่อมวุ่นวาย และให้ใช้ปั๊มอัตโนมัติ เพราะประหยัดค่าไฟกว่า
ผมฟังดูแล้วแปลกๆ จึงรบกวนผู้รู้อีกที โดยเฉพาะเรื่องแรงดันน้ำกับท่อรั่ว/แตก ขอบคุณครับ
ถ้าใช้ปั๊มเฉพาะชั้นสอง แสดงว่าสามารถแยกท่อชั้นล่างกับชั้นสองได้….
ปั๊มน้ำดูดจากถังเก็บน้ำ หรือดูดจากท่อประปาโดยตรงครับ?
เรื่องราวคล้ายบ้านน้อง
ติดปั้มสี่เหลี่ยม 250 วัตต์ ใช้ไปสักพักท่อนํ้าแตกรั่ว
และเวลาเปิดมีเสียงดังรำคาญเลยเอาปั้มออก
ตอนนี้ใช้นํ้าธรรมดา นํ้าไหลแค่ชั้นสอง ชั้นสามไหลตอนดึกๆ
แต่ที่ท่อนํ้ารั่วความจริงมาปรากฏทีหลังว่าเนื่องจากต่อเติมหลังบ้าน
ทำให้ท่อโดนทับ แตก จากตึกที่ต่อเติมทรุด
เจ้าของบ้านบอกไม่อยากติดปั้มแล้วเพราะเสียงดังรำคาญ
เขาอยู่แค่ชั้นหนึ่งและสองเท่านั้นเอง ไม่ได้เดือดร้อนอะไร
เห็นด้วยว่าชั้นหนึ่งไม่ควรผ่านปั้ม.. ลดเสียง ลดค่าไฟ ยืดอายุปั้ม
น้ำชั้นสองไม่แรง ตอนนั้นเปิดชั้นสองก๊อกเดียวใช่ไหม
หากใช่ ให้ถอด,งัดปลายก๊อกออกมาทำความสะอาด เพราะอาจมีเศษท่อpvcที่ผ่านการตัดท่อด้วยเลื่อย ลอยตามน้ำไปอุดตันที่กรองได้ รวมถึงกรองก่อนเข้าเครื่องทำน้ำอุ่นด้วย
และท่อภายในของคทอ. ท่อจะเล็กกว่าท่อประปาและขดอยู่ภายใน ทำให้แรงดันตกลงไปพอประมาณ
ส่วนการเปลี่ยนปั๊ม เปลี่ยนไปใช้ปั๊ม ๒๕๐ ว.ได้เลยทันที ความดันของปั๊มบ้านๆ ไม่สามารถทำให้ท่อรั่วได้ หากตอนนี้ใช้ปั๊มตัวเดิมแล้วไม่รั่วอยู่ เว้นแต่ท่อที่ต่อไม่ดีอยู่แล้ว
ท่อกับกาว หากต่อถูกวิธี ท่อกับข้อต่อจะละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สามารถรับแรงดันของปั๊มที่ออกแบบมาใช้ในบ้านพวกนี้ได้อีกมากกว่า สามเท่าตัว
แต่จะต่อท่อต่อปั๊มแยกชั้นบนชั้นล่างแบบที่ว่า เพื่อความประหยัดไฟ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะทำก็ได้
รูป วิธีทำความสะอาดกรองของเครื่องทำน้ำอุ่น
ขอบคุณมากครับสำหรับคำแนะนำดีๆ
ท่อชั้น 1 กับ 2 แยกกันได้อยู่แล้วคับ(รวมก็ได้แล้วแต่ปรับวาล์ว) แต่ระบบสปริงเกอร์สวนต่อกันชั้น 1 คิดว่าจะต่อปั๊ม 250w แบบเหลี่ยมกับทั้งสองชั้น คิดว่าค่าไฟไม่น่าต่างกันมาก ใช้น้ำไม่เยอะ แต่อยากได้แรงๆ
กังวลอย่างเดียวเรื่องท่อรั่ว/แตก ฟังดูแล้วไม่น่ามีผลก็สบายใจครับ
ถ้าท่อแยกกันได้จริง ลองพิจารณาใช้ปั๊มแยกชั้นล่างกับชั้นสองดู
น่าจะช่วยให้เครื่องทำน้ำอุ่นลดปัญหาลงไปได้นะครับ
ท่อน้ำถ้าออกจากหลังปั้ม ให้เป็นท่อใหญ่หน่อย แล้วค่อยไปลดตามจุดแยก ก็ช่วยเรื่องแรงดันน้ำได้พอควรละครับ
ปล. ว่า ท่อจะไม่แตกจากปั้มน้ำหรอกครับ
แยกกันแล้วจะทำให้น้ำจากเครื่องทำน้ำอุ่นแรงขึ้นได้เหรอครับ ปกติไม่ได้เปิดพร้อมกับชั้นล่างอยู่แล้ว เข้าใจว่าตอนนี้ที่ฝักบัวไม่แรงเพราะท่อในเครื่องทำน้ำอุ่นเล็กทำให้เสียแรงดันไป ถ้าใช้ปั๊มที่แรงดันสูงขึ้นอาจช่วยได้นิดหน่อย ช่วยอธิบายหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ
แรงดันน้ำจากปั๊ม ไม่แรงพอทำให้ท่อแตกรั่วหรอกครับ ถ้าท่อเดิมไม่ได้ชำรุด หรือต่อไว้ไม่ดี
ขนาดปั๊ม ไม่ได้เพิ่มแรงดันในระบบ แต่เพิ่มปริมาณน้ำที่ส่งผ่านได้ครับ
หมายความว่า ปั๊มส่วนใหญ่ก็จะตั้งแรงดันที่ปั๊มตัดไว้เท่าๆ กัน ต่างกันน้อยมาก ไม่เกี่ยวกับขนาด watt ของปั๊ม
และต่ำกว่า spec ที่ท่อน้ำจะรับได้พอสมควรครับ
แสดงว่าฝักบัวที่ต่อผ่านเครื่องทำน้ำอุ่น เปลี่ยนปั๊มยังไงก็ไม่แรงใช่ป่าวครับ เพราะมันผ่านท่อเล็กๆในเครื่องทำน้ำอุ่น
สิ่งที่จะทำให้น้ำไหลได้น้อยมีหลายอย่าง
– ท่อน้ำเล็กทำให้มีความฝืดสูง………….แก้ไขด้วยการเพิ่มแรงดันปั๊มเพื่อเอาชนะความฝืด
– ท่อน้ำมีสิ่งกีดขวาง เช่น
สิ่งสกปรกที่ตะแกรงกรองฝุ่น……………………ทำความสะอาดตะแกรง
ผงของท่อที่ช่างติดตั้งไม่ทำความสะอาด……..ถอดข้อต่อ หรือก๊อกออกมาทำความสะอาด
ตัวลดแรงดันน้ำซึ่งผู้ผลิตติดตั้งมากับฝักบัว……ถอดตัวลดแรงดันทิ้ง
– มีการใช้น้ำพร้อมๆ กันหลายจุด ปั๊มน้ำไม่สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำได้………ต้องเพิ่มขนาดปั๊ม หรือขนาดท่อ
ขออนุญาตถามเพิ่มเติมน่ะค่ะ คือที่บ้านใช้ mitsu 250 w แล้วก็ใช้หัวฝักบัวอันใหญ่ ๆ หากต้องการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นต้องมีขนาด 3500 w ขึ้นไปหรือเปล่าค่ะ น้ำถึงจะไหลแรง แล้วถ้าใช้อาบน้ำพร้อมกันทั้ง 3 ห้อง ปั๊มจะไหวไหมค่ะ ที่บ้านมีถังเก็บน้ำขนาดประมาณ 1000 ลิตร ค่ะ ขอบคุณค่ะ
เครื่องทำน้ำอุ่นถ้าน้ำแรง ความร้อนก็จะน้อยลง ถ้าคุณใช้ฝักบัวใหญ่ๆ ก็ต้องการปริมาณน้ำมาก
ตามปกติฝักบัวที่มากับเครื่องทำน้ำอุ่นจะเหมาะกับปริมาณน้ำไหลประมาณ 6-8 ลิตรต่อนาที
เครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 3,500 วัตต์ เปิดร้อนเต็มที่จะทำให้น้ำ 7 ลิตรต่อนาทีมีอุณหภูมิสูงขึ้นไม่เกิน 7 องศา
ถ้าเป็นขนาด 4,500 วัตต์ เปิดร้อนเต็มที่ก็จะทำให้น้ำ 7 ลิตรต่อนาทีมีอุณหภูมิสูงขึ้นไม่เกิน 9 องศา
ถ้าคุณใช้ฝักบัวใหญ่อาจจะต้องการน้ำสูงถึง 10 ลิตรต่อนาที อุณหภูมิของน้ำที่ออกมาก็จะลดลงไปตามส่วน
ส่วนปั๊มน้ำ 250 วัตต์ ของคุณจะสามารถส่งน้ำได้ถึงประมาณ 25-30 ลิตรต่อนาที…แต่
ถ้าคุณเดินท่อน้ำรอบบ้านขนาด 1/2 นิ้ว ท่อน้ำของคุณสามารถรองรับน้ำได้ประมาณ 16- 20 ลิตรต่อนาทีเท่านั้น
เมื่อคุณใช้น้ำพร้อมกัน 2-3 จุด น้ำก็จะถูกแบ่งออกไปใช้ มาก-น้อย ตามความฝืดของท่อแต่ละจุด
จุดไหนมีความฝืดน้อย น้ำก็จะออกมาก ไม่ต้องพูดถึงเครื่องทำน้ำอุ่นกับฝักบัว…มันฝืดมากกว่าเขาแน่ๆ
คุณก็จะได้น้ำผ่านฝักบัวเครื่องทำน้ำอุ่นน้อยหน่อย…แต่อุณหภูมิของน้ำก็จะสูงขึ้นครับ
ขอบคุณมากครับ คุณสันทัดอธิบายละเอียด เห็นภาพเลย
ขออนุญาตถามต่อหน่อยครับ
ตัวกรองใน คห.3 ในภาพที่ คุณต้นโพธิ์ต้นไทร ลงไว้
หาซื้อแยกได้ที่ไหนบ้างครับ
ตามหากระทู้นี้มา 2วันแล้วเพื่อรอดูคำตอบเพิ่งจะเจอวันนี้เอง ขอบคุณคุณสัดทัดค่ะ สรุปว่าเดี๋ยวจะไปถอยเครื่องทำน้ำอุ่นพร้อมกับก๊อกน้ำที่ออก 2 ทางแทน