**บอนด์กราวด์**ในตู้ MDB เนื่องจากหากราวด์ไม่เจอปลอดภัยไหมครับ

บางตำแหน่งปลั๊กมีกราวด์ ส่วนใหญ่ไม่มีหาไม่เจอ

ปลั๊กมีกราวด์ ช่างบอกว่า คงมีการต่อกราวด์ฝากไปกับโครงสร้างเหล็ก

ส่วนที่ไม่มีคือไม่มีกราวด์

บ้านมือสอง ช่างแก้ไข การหาสายกราวด์ไม่เจอโดย*บอนด์กราวด์**ในตู้ MDB และตอกกราวด์ลึก 3 เมตร

1 บอนด์กราวด์คืออะไรครับ

2 การต่อกราวด์ฝากไปกับโครงสร้างเหล็ก ปลอดภัยไหม  หรือควรแก้ไขอย่างไรครับ

By: ฟ้าแจ้งจางปาง
Since: 9 ก.ค. 55 03:45:17

คำค้นหา:

  • การติดตั้ง rcbo

5 thoughts on “**บอนด์กราวด์**ในตู้ MDB เนื่องจากหากราวด์ไม่เจอปลอดภัยไหมครับ

  1. admin Post author

    1. บอนด์กราวด์คืออะไร
    ในกรณีของคุณ ผมว่าบอนด์กราวน์ที่กล่าวมาก็คือ บัสบาร์ของระบบกราวด์ หรือกราวด์บาร์ ซึ่งเป็นจุดต่อรวมของสายไฟฟ้า
    ลักษณะจะเป็นแท่งโลหะตัวนำไฟฟ้า(ทองแดง หรือ ทองเหลือง) มีรูต่อสายและรูไว้ขันสกรูเพื่อยึดสายไฟฟ้า

    ในตู้ Load Center หรือ Consumer Unit แบบสำเร็จรูป ตามมาตรฐานจะมีบัสบาร์มาให้สองชุด
    ชุดหนึ่งเป็นจุดต่อรวมของสายนิวทรัล N และอีกชุดเป็นจุดต่อรวมของสายกราวด์หรือสายดิน G

    ตามหลักแล้ว สายกราวน์ที่มาจากเต้ารับทุกจุด และยังรวมไปถึงสายกราวน์ที่มาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น
    จะต้องเดินมารวมที่จุดกราวด์บาร์ เพื่อทำการต่อลงดินที่จุดนี้เพียงจุดเดียว

    และกราวด์บาร์ต้องมีการเชื่อมต่อกับขั้ว N ด้านไฟเข้าของ Main Circuit Breaker ตัวแรกของระบบไฟฟ้าในบ้าน
    ตามข้อกำหนดในมาตรฐานของการไฟฟ้าฯ

    2. การต่อกราวด์ฝากไปกับโครงสร้างเหล็ก ปลอดภัยไหม
    การต่อสายกราวน์เข้ากับผนังหรือพื้นคอนกรีต หรือแม้กระทั้งต่อฝากผ่านเหล็กโครงสร้างหรือโครงหลังคาเหล็ก
    เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง และไม่ควรทำอย่างยิ่งครับ เหตุผลง่ายๆคือ…สายกราวด์คือสายดินครับ ชื่อก็บอกว่าสายดิน ต้องต่อลงดิน
    ไม่ใช่สายโครงสร้างหรือสายโครงหลังคา

    ส่วนเหตุผลทางวิชาการที่ไม่สมควรการต่อกราวด์ฝากไปกับโครงสร้างเหล็ก ถึงแม้โครงสร้างเหล็กมีการลงไปสัมผัสกับดินข้างล่าง
    แต่ค่าความต้านทานทางไฟฟ้าและความต้านทานทางดินของเหล็กโครสร้างเชื่อถือไม่ได้ ไม่มีความแน่นอน เป็นกราวด์ที่ไม่มีคุณภาพ
    เหล็กโครงสร้าง นานวันผ่านไปจะเป็นสนิม และสนิมเป็นตัวขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้า
    ถ้าไฟรั่วละก็…มันก็จะหาทางผ่านลงดินที่สะดวก และไม่แน่ที่ว่า ร่างกายคนอาจจะมีความต้านทานน้อยกว่าเหล็กสนิมเขรอะ
    ทีนี้ก็…อันตรายถึงชีวิต

    ตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานของการไฟฟ้าฯ หรือทางสภาวิศวกร
    ระบุให้สายดินต้องมีการต่อลงดินด้วยแท่งโลหะชุบทองแดงหรือโลหะกันสนิมความยาวไม่น้อยกว่า 2.4 ม. ตอกลงดินจนจม
    และต้องมีค่าความต้านทานทางดิน ที่วัดได้ไม่เกิน 5 โอห์มครับ

    By: KanichiKoong
    Since: 9 ก.ค. 55 08:18:08

  2. admin Post author

    ถามช่างก่อนว่า "บอนด์กราวด์" หมายถึงอะไร ต่ออะไรกับอะไร

    "คงมีการต่อกราวด์ฝากไปกับโครงสร้างเหล็ก" แปลว่า ช่างเองไม่แน่ใจ

    อยากให้ช่างลองไล่สายใหม่ดูให้ดีๆ

    By: Zionism
    Since: 9 ก.ค. 55 12:02:25

  3. admin Post author

    **และกราวด์บาร์ต้องมีการเชื่อมต่อกับขั้ว N ด้านไฟเข้าของ Main Circuit Breaker ตัวแรกของระบบไฟฟ้าในบ้าน
    ตามข้อกำหนดในมาตรฐานของการไฟฟ้าฯ**

    สรุปตรงนี้ เอา N ต่อกับ G ซึ่งบางคนก็บอกว่าอันตราย บางคนก็ต่อไว้จนไม่รู้จะเชื่อใครดี

    By: Mondoval
    Since: 9 ก.ค. 55 15:34:58

  4. admin Post author

    ตอบ… คห.3 แรกเริ่มก็มีการถกเถียงอยู่พอสมควรครับว่าแบบไหน เหมาะสมกว่ากัน แต่ส่วนตัวผม ผมยึดถือตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า ปี 2545 ของสภาวิศวกรฯ และ เรื่องการเชื่อมต่อสาย N เข้ากับ G ตรงด้านไฟเข้าของเมนสวิตซ์ ก็เป็นหนึ่งในข้อกำหนดของการไฟฟ้า ที่กำหนดให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าประเภทครัวเรือน(ในปัจจุบัน) ต้องปฏิบัติตามครับ ถ้าไม่เข้าใจ ก็ลองดูตามภาพที่ผมแนบมา ผมได้ทำเอาไว้นานแล้ว และผมคิดว่าน่าจะดูเข้าใจได้ไม่ยาก ลองดูครับ

    By: KanichiKoong
    Since: 12 ก.ค. 55 20:43:12

Leave a Reply