ทราบว่าคนหนึ่งมีสิทธิ์เป็นเจ้าบ้านได้หลังเดียว สมมุตินะคะ ว่ามีสามบ้าน เคยเป็นของพ่อ ของแม่ และของลูก หากพ่อและแม่จากไป
1. ลูกคนนั้นจะทำนิติกรรมกับบ้านหลังทั้งสองอย่างไร ต้องย้ายตัวเองเข้าไปทีละหลังเพื่อทำเรื่องต่าง ๆ ใช่หรือไม่
2. แต่ถ้ายังไม่ต้องทำอะไรกับบ้าน สามารถปล่อยบ้านสองหลังนั้นให้ไม่มีชื่อเจ้าบ้านได้หรือไม่ ถ้าได้มีระยะเวลาเท่าไร
3. ไม่ทราบว่ากฏหมายนี้เพื่อประโยชน์ในการนับทะเบียนราษฏร์เท่านั้นเองหรือคะ ทำให้คนไม่สามารถมีบ้านได้หลายหลัง หรือว่าเพื่ออะไร
คำค้นหา:
- ค้นหาบุคคลในทะเบียนราษฎร์
- ทะเบียนบ้าน เจ้าบ้าน
- เป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง
- ค้นหาที่อยู่จากชื่อจากทะเบียนราษฎร์
- เจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน
- หา คน จาก ทะเบียน ราษฎร์
- ค้นหาบุคคลจากทะเบียนราษฎร์
- ค้นหา ชื่อ คน จาก ทะเบียน ราษฎร์
- ค้นหา ทะเบียนบ้าน จาก ชื่อ
- ค้นหา บุคคล ใน ทะเบียน ราษฎร์
ปูเสื่อรอครับ อยากรู้ด้วยคน
จะมาบอกว่า เจ้าบ้าน กับเจ้าของบ้าน มันคนละความหมายกันคะ
คนสามารถมีบ้านได้หลายหลัง เป็นเจ้าของบ้านได้หลายหลัง แต่เป็นเจ้าบ้าน หรืออยู่ในทะเบียนบ้านได้แค่ที่เดียว ซึ่ง เจ้าบ้านมีหน้าที่แจ้งคนเข้าออกบ้านคะ
ส่วนเจ้าของบ้านคือคนที่มีกรรมสิทธิเป็นเจ้าของบ้านนั้นๆ
เจ้าบ้านอาจไม่ใช่เจ้าของบ้านก็ได้หากกรรมสิทธิ์บ้านนั้นเป็นของคนอื่่่น เจ้าบ้านจะมีหน้าที่หลักตามกฎหมายคือแจ้งคนเข้าออกบ้านคะ
ดังนั้น คนหนึงสามารถมีบ้านได้หลายหลังแต่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่เดียว อาจเป็นเจ้าของบ้านหรือไม่เป็นเจ้าของบ้านก็ได้ คะ
ในทะเบียนบ้านจะมีสองที่ในตัวเจ้าของบ้านจะอยู่ข้างล่างสุดของหน้าแรก คนละคนกับเจ้าบ้านก็ได้
ส่วนระยะเวลาปล่อยบ้านไม่มีชื่อเจ้าของบ้านนี้ไม่ทราบเหมือนกันเพราะเราก็มีบ้านหลังหนึงที่เราเป็นเจ้าของแต่ไม่มีเจ้าบ้าน
เจ้าของกระทู้อย่าพึ่งสับสนระหว่างคำว่าเจ้าบ้านและเจ้าของบ้าน ลองหาดูในกู้เกลได้คะว่าสองคำนี้ต่างกันคะ
…
ถูกต้องตามที่ คุณฮิปโป (jiravd) คคห.2 ว่าไว้นั่นแหละครับ
สรุปสั้นๆ….
เจ้าของบ้าน คือ เจ้าของกรรมสิทธิ จะมีสักกี่หลังก็ไม่มีใครว่า
ส่วนเจ้าบ้าน…เป็นหน้าที่ของบุคคลตาม พรบ.ทะเบียนราษฎร์
http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Law1/Law-ta-bian-rat.htm
…
ใช่ครับ ตามความเห็นด้านบนที่บอกกล่าวไว้ และ..
ผมเอง ตามทะเบียนบ้าน เปลี่ยนจากผู้อาศัยเป็น"เจ้าบ้าน" (ของตายาย,คุณแม่)
แต่กรรมสิทธิ์ ความเป็นเจ้าของตามโฉนดและที่แม่เคยบอกไว้คือ เท่ากันทุกคนนับจํานวนพี่น้องทั้งหมดครับ..
แปลว่า ผมมีกรรมสิทธิ์เพียง 1 ใน 3 ของบ้านทั้งหลัง ยุติธรรมที่สุดแฟร์กับพี่น้องแล้วครับ ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง..
…
ทีนี้มาถึงสถานการณ์สมมุติของ จขกท.
เมื่อบ้านของพ่อ และบ้านของแม่….เจ้าบ้านเสียไปแล้วทั้งคู่
ถ้าในกรณีที่ยังมีคนอยู่อาศัย
ก็ให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านนั้น…..เลื่อนฐานะจาก ผู้อาศัย เป็นเจ้าบ้าน
เรื่องนี้เข้าใจว่า….จะต้องได้รับการยินยอม…เป็นลายลักษณ์อักษร
จาก เจ้าของบ้าน หรือ เจ้าของกรรมสิทธิ……ในการยื่นคำร้องด้วย
ทั้งนี้ ต้องเข้าใจด้วยว่า…."เจ้าบ้าน"….ตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์
ไม่มีสิทธิอะไร…นอกจาก รับรองการแจ้งย้ายเข้า-ออกทะเบียนบ้าน
แจ้งเกิด-ตาย….หากเจ้าบ้านไม่ทำ…มีความผิดตาม กม.อีกต่างหาก
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับบ้าน…..ไม่ว่าจะใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
โอนกรรมสิทธิ์ ซื้อขาย ขอมิเตอร์น้ำ/ไฟ….เป็นสิทธิของเจ้าของบ้าน
หรือเจ้าของกรรมสิทธิ เท่านั้น…."เจ้าบ้าน" ไม่เกี่ยว
ถ้าในกรณีที่ไม่มีคนอยู่อาศัย
บ้านหลังนั้น จะมีสถานะเป็น…บ้านร้าง….ไม่ต้องมีเจ้าบ้านในทะเบียน
เพราะไม่มีคนย้ายเข้า ย้ายออก ไม่มีคนตาย ไม่มีคนเกิด…ในบ้านร้าง
ต่อมาเมื่อจะมีคนเข้าไปพักอาศัย…..ก็ไปขอเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฏร์
โดยมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของบ้าน/เจ้าของกรรมสิทธิประกอบคำร้อง
ขอบคุณมาก ๆ ทุกท่านค่ะ รับกิ๊ฟจากใจ จขกท ไปคนละเล็กละน้อยนะคะ