หา EM ไว้ปรับปรุงดิน

อยากได้ EM ไว้ปรับปรุงดินเหนียวบวกกับเศษปูน(ที่โครงการเค้าแถมมากับสวนที่บ้าน) ไม่ทราบว่าแถวจตุจักร/ราชพฤกษ์-นครอินทร์  มีหรือป่าวครับ

19 thoughts on “หา EM ไว้ปรับปรุงดิน

  1. konlennet

    เอาชัวร์ ไปสนามหลวง 2 ไม่ไกลจากราชพฤกษ์เท่าไร  ขายทุกอย่าง

  2. พี่นัทกะนู๋ปัท

    แนะนำตัวนี้ครับ หัวเชื้อ EM ของคิวเซ 1 ลิตร 90 บาท
    ขวดนิดเดียว เหมือนจะแพง แต่เอามาทำ em ขยายได้ปริมาณมาก
    มีขายที่สนามหลวง 2 ครับ

  3. Shallow Grave

    ชมรมมังสวิรัติ  ตรงข้าม อตก ก็มีขายค่ะ

    เป็นร้านแนวชีวจิต มีทั้งอาหารมังสวิรัติ  สมุนไพร น้ำหมักชีวภาพ กากน้ำตาล ทำ EM  ฯลฯ

    ร้านปิดทุกวันจันทร์ค่ะ

    http://www.yourhealthyguide.com/restaurants/rt1-veget-club-jj.html

  4. คุณป้ามหาภัย (jindawong)

    สนับสนุน คห 2 ใช้ผสมน้ำราดพื้นดับกลิ่นได้ดีนักแล เพราะที่บ้านเลี้ยงหมา

  5. skyviro (skyviro)

    รบกวนถามหน่อยคะ น้ำหมักชีวภาพ ที่ทำจากหอยเชอรี ซากพืช  กับ EM เป็นตัวเดียวกัน หรือเปล่าคะ ใช้แทน EM ดับกลิ่นสุนัขได้ไม๊คะ พอดีที่บ้าน มีคนให้มาใช้สำหรับผสมรดต้นไม้คะ เลยไม่ทราบว่าตัวเดียวกันหรือเปล่าคะ

  6. Liverpool

    ถ้าอยู่แถว ซอยท่าอิฐ ให้ไปที่ซอยช้างครับ ใช้เส้นขาออกมุ่งหน้าไปราชพฤกษ์ พอเลยทางเข้า ไทรม้า จะมีปั๊มเชลล์ ถ้าจำไม่ผิด เลยไปนิดเดียวจะมี ซอยเล็ก ๆ เลี้ยวเข้าไป ( ซอยช้าง ) เลี้ยวไป 50 เมตร ซ้ายมือจะมีร้านขายปุ๋ย ดิน ..ตรงนี้มีน้ำ EM ขายครับ ผมก็ไปซื้อมาใช้ ผสมน้ำ รดต้นไม้
    ราคาไม่แพงครับ

  7. บัวดินกับกลิ่นขจร

    ที่ จตุจักร ก็มีค่ะ ถ้าผ่านมาแถวนี้ แวะซื้อตามร้านอุปกรณ์เกษตร  เค้ามีวางขาย ลองหาดูค่ะ ใช้ปรับปรุง บำรุงดิน /เพิ่มธาตุอาหารในดินได้เป็นอย่างดี ทำให้ดินร่วนซุย

  8. sanshiro2

    จตุจักรเคยไปดูหลายรอบ เลยดูไม่ออกว่าร้านไหนขาย เพราะไม่เห็นวางโชว์หรือป้ายติด

  9. <<K@MoNE>>

    มา confirm มาที่สนามหลวง 2 มีแน่นอน ไม่ไกลจากราชพฤกษ์
    ตามร้านที่ขายปุ๋ยส่วนใหญ่จะมีค่ะ

    EM มันสารพัดประโยชน์นะคะ ปรับปรุงดิน ดับกลิ่น ทำความสะอาด กำจัดศัตรูพืช
    แล้วแต่สูตรในการผสมค่ะ ลองค้นๆสูตรตาม internet ดูได้ค่ะ

  10. ขยายได้ 7 วันต้องรีบใช้ให้หมด

    คห 2 นั่นแหละครับ ต้นฉบับ

    เชื้อพวกนี้ต้องทำในห้องปลอดเชื้อ

    เชื้อจะได้แข็งแรง

    ไม่ใช่มาทำขยายขายกันเอง

    เชื้อมันอยู่ไม่รอด

    ที่ทำขยายใช้กัน เก็บไว้ได้ไม่นาน เชื้อจะตาย

    ที่ทำขยายขายกัน เก็บไว้ได้ไม่นาน เชื้อจะตาย

  11. อาร์ทตัวแม่

    แบบ คห2 โฮมโปรมีขายนะคะ แกลลอนนั้น 90 ค่ะ

  12. อาร์ทตัวแม่

    ^^ ลืมบอกค่ะ โฮมโปรสุวรรณภูมิค่ะ
    ตรงโซนพวกยากำจัดแมลง+หัวปั๊มฉีด+ฝักบัวน่ะค่ะ

    เพิ่มเติมค่ะ ตรงแคชเชียร์จ่ายเงินมีอีก 1 จุดค่ะ

    วันก่อนเปิดเว็บเห็นร้านแถวจตุจักรมีค่ะ
    พอดีเราเสริชหาอุปกรณ์การเกษตรแล้วเจอ แต่จำเว็บไม่ได้
    ถ้าวันนี้หาเจออีก จะเอาลิงค์มาให้อีกทีค่ะ

  13. sanshiro2

    อีเอ็ม (EM) คืออะไร

    EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง " ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลกจากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ 2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ. 2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

    จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
    1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
    2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %
    3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย

    ดัง นั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป

    จุลินทรีย์มี 2 ประเภท
    1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
    2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)

    จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้
    จาก การค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

    กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

    กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ออร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

    กลุ่ม ที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้

    กลุ่ม ที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ

    กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

    ลักษณะทั่วไปของ EM

    EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็น สิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้

    ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
    ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
    เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและ ยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้
    เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
    EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
    เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย
    การดูแลเก็บรักษา

    หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝา ให้สนิท
    อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และ อย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
    ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปปะปน
    การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

    ข้อสังเกตพิเศษ

    หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชชพืชที่ไม่ต้องการได้
    กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
    เมื่อ นำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและ เป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

    จาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=p-path-56&month=16-05-2007&group=17&gblog=5

  14. sanshiro2

    ปุ๋ยและยาบำรุงกับหม้อข้าวหม้อแกงลิง
    Posted: 5 April, 2009 by nepenthessiam in ปุ๋ยและยาบำรุงกับหม้อแสนรัก
    Tags: ปุ๋ยชีวภาพ, ปุ๋ยปลา, ปุ๋ยละลายช้า, ปุ๋ยออสโมโคท, ปุ๋ยเกล็ด, เกอมาร์, ใส่ปุ๋ยหม้อได้ไหม, ใส่ปุ๋ยให้หม้อ, Effecttive MicroOrganism, EM, fertilize, fish emulsion, GOEMAR BM 86, osmocote, seaweed

    เมื่อสมัยครั้งโบราณกาล ที่ผมได้เริ่มเลี้ยงหม้อใหม่ๆ ได้ยินเค้าร่ำลือกันว่า เลี้ยงไม้กินแมลงนั้น ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ถ้าใส่แล้วจะตาย มาภายหลังเห็นชาวบ้านชาวเมืองเค้าใส่ปุ๋ยกัน ก็เลยใส่บ้าง เพราะกลัวไม่ทันสมัย อันที่จริงจะว่าไปแล้ว เจ้าเครื่องปลูกที่เราใช้กันนี้ไม่ค่อยมีธาตุอาหารที่เพียงพอนะ ใครจะไม่ใส่ปุ๋ยก็ได้ครับ แต่ถ้าอยากใส่ล่ะ เรามาดูกันว่าผมเคยใช้อะไรเป็นปุ๋ยและยาบำรุงให้กับหม้อแสนรักบ้าง

    1. ใช้ฉี่ผสมน้ำ สำหรับฉี่นั้น ผมไม่มีภาพแสดง ถ้าไม่รู้จักฉี่นะ เอาไปเลย ค.ควาย ว.แหวน สระอา ย.ยักษ์ ผมขอมอบให้ด้วยความจริงใจ ผมใช้ฉี่ผสมจางๆ และสูตรนี้ผมใช้ตอนเริ่มปลูกเลี้ยงหม้อใหม่ๆ ผมเข้าใจว่าในฉี่น่าจะมียูเรียอยู่เยอะ ซึ่งเร่งใบดีมากๆ เนื่องจากใช้รดผักสวนครัวที่บ้านอยู่เป็นประจำ ปรากฏว่ารดไปรดมาอาการชักไม่ค่อยดี บางต้นพาลจะเน่า อาจจะเป็นเพราะว่าตอนนั้นผมใส่ดินเป็นส่วนผสมมากเกินไปซึ่งมันไม่ใช่ดินใบ ก้ามปูอีกต่างหาก เมื่อเห็นท่าไม่ดี ผมจึงนำหม้อแกงทั้งหมดมาล้างเครื่องปลูกออกหมด แล้วเปลี่ยนเครื่องปลูกใหม่ ปรากฏว่าอาการดีขึ้นเป็นลำดับครับ ผมเลิกใช้วิธีนี้ในที่สุด และขอย้ำว่า สำหรับฉี่มนุษย์นั้นผมว่าเหมาะที่สุดกับพืชผักสวนครัว ใช้รดจางๆ อาทิตย์ละครั้ง ใบจะเขียวขจี อีกทั้งประหยัดเงินค่าปุ๋ยด้วย ทุกวันนี้ที่บ้านยังคงใช้ฉี่ผสมน้ำกับพืชผักสวนครัวอยู่เสมอ
    2. ใช้ปุ๋ย osmocote (ออสโมโคท) หน้าตาของเค้าแสดงไว้ในรูปด้านบน ปุ๋ยชนิดนี้เป็นปุ๋ยที่ถูกหุ้มโดยสารสังเคราะห์ เมื่อถูกน้ำจะค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาช้าๆ ในอัตราที่ไม่ค่อยแน่นอน ปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก เท่าที่เห็นขายๆ กันในท้องตลาดทั่วไปมีอยู่ 3 สูตรคือสูตรเสมอ 14-14-14 และ 16-16-16 อัตราการละลาย 3 เดือน ส่วนสูตรเร่งดอก 13-26-7 จะมีอัตราการละลายที่ 6 เดือน รักชอบสูตรไหนเชิญใช้ตามสบาย ใช้ได้หมดเลย แต่การให้ปุ๋ยหม้อแกงนะครับควรใช้ให้น้อย กว่าปกติ โรยลงไปสัก 5-15 เมล็ด (เห็นที่จตุจักร บางทีคุ้ยขึ้นมาเจอ ออสโมโคท เพียบเลยครับ เอ๊ะ…แต่ก็ไม่ตายนะ) ก็โรยลงไปในกระถางเลยนะครับ อีกแบบหนึ่งก็คือผมเคยลองเอาปุ๋ยที่ว่านี้ 1 เม็ด ใส่ลงไปในหม้อแกงที่ฝาเปิดแล้ว สูตรนี้เค้าลือกันว่ามันจะทำให้หม้อต่อไปใหญ่ ก็ลองมาแล้ว ก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง เลยไม่อยากสรุปครับว่าได้ผลหรือไม่ วิธีนี้ใช้ไปใช้มาผมก็ลืมครับว่าใส่ลงในหม้อใบไหนมั่ง ในที่สุดก็เลิกใช้ไปครับ อีกวิธีหนึ่งก็คือนำปุ๋ยลงมาคลุกเคล้ากับเครื่องปลูกเลยครับ ก็ให้ผลดีเช่นกัน ลืมไปเลย 14-14-14 หมายถึง N-P-K นะครับ N=ไนโตรเจน P=ฟอสฟอรัส K=โปตัสเซียม หากพืชขาดไนโตรเจน จะมีอาการใบเล็กเหลือง ลำต้นแคระแกร็น แตกใบช้า ขาดมากๆ ถึงตาย ขาดฟอสฟอรัส รากไม่งามและอ่อนแอ ใบเหลืองเล็ก ลำต้นเล็ก ติดดอกยาก ขาดโปตัสเซียม จะมีผลถึงการออกดอกที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนความถี่ในการให้ก็ตามอัตราการละลายนั่นเลย
    3. เปลือกไข่ผสมน้ำ สูตรนี้ผมได้มาจากคุณมนุษย์งง (??? ใน thaicps หรือ !!! ใน nepenthessiam) โดยเอาเปลือกไข่มาผสมน้ำแล้วนำไปตากแดดไว้ แล้วก็เอามาฉีดๆๆๆๆ ครับ เค้าว่าเป็นยาบำรุง ส่วนบำรุงอะไรผมก็ไม่รู้ครับ ว่าในเปลือกไข่มันจะมีธาตุอะไรอยู่บ้าง สงสัยแคลเซี่ยมเยอะแน่ๆ เลย สูตรนี้บ้าอยู่พักนึง ไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงก็เลยเลิกไป
    4. ใช้ ปุ๋ย EM เจ้า EM นี่ตัวเต็มมันคือ Effecttive MicroOrganism แต่ ที่แน่ๆ มันทำมาจากน้ำตาลโมหลาด (กากน้ำตาลนั่นแหละ) หรือใช้น้ำตาลทรายแดงก็ได้ แล้วก็ใส่น้ำใส่ผักใส่หัวปลา หรืออะไรก็ได้ที่เค้าทำๆ กัน มันมีสูตรของมันนะว่าใส่อะไรจะให้ผลทางไหน ท่านก็ไปหาอ่านเอาเอง แต่ที่บ้านผม ผมใช้ผักที่ซื้อมาทานแล้วก็ใส่ๆ มันลงไป บางทีก็ผสมหัวปลาลงไปด้วย บางทีก็หอม บางทีก็ส่งกลิ่นไปทั่ว ถ้าน้ำตาลไม่พอ สูตรนี้ผมผสมน้ำรดแบบเจือจางมากๆ ผมรดอยู่พักนึง ไม่เห็นผลครับ หรือไม่ได้สังเกตก็ไม่รู้ก็เลยเลิกไปอีก ก็กลัวเหมือนกันครับว่าถ้ารดแบบต่อเนื่องกลัวมันจะตาย ฮ่ะๆๆ
    ข้อมูล กลุ่มสีม่วงด้านล่างทั้งหมดนี้ ผมได้ save มาจาก web แห่งหนึ่ง ซึ่งนานมากแล้ว และไม่ได้เก็บ reference ไว้เลย ดังนั้นหากใครเป็นเจ้าของ ผมขออนุญาตนำมาลงไว้ ณ ที่นี้เลยนะครับ เพื่อเป็นความรู้กับผู้อ่านทุกๆ ท่านครับ ขอบพระคุณมากครับ
    EM ย่อมาจาก Effecttive MicroOrganism ถูกคิดค้นครั้งแรกในญี่ปุ่นโดย ศ. ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น EM เป็นของเหลวสีน้ำตาล กลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลอินทรีย์ต่างๆ EM เป็นกลุ่มจุลอินทรีที่มีชีวิตจึงไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะ และยาฆ่าเชื้อต่างๆได้ EM ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตเช่น คน สัตว์ พืช ซึ่งได้รับการรับรองจากญี่ปุ่น อเมริกา และเยอรมันแล้วถึงความปลอดภัย ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลอินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัย มีแต่ประโยชน์ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกแล้วกว่า 30 ประเทศ อาทิ International Nature Farming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Organization (EMRO) JAPAN, International Federation of Agriculture Movement (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ.1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลอินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100% EM เกิดจากการรวบรวมจุลอินทรีย์ที่มีประโยชน์ 5 กลุ่มใหญ่ๆ เข้าด้วยกันคือ
    กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลอินทรีย์เชื้อราที่มีเส้นใย ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลายอินทรีย์สาร สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีประโยชน์ในการทำให้ดินบริสุทธิ์ปราศจากเชื้อโรค
    กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลอินทรีย์สังเคราะห์แสง ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น กรดอะมิโน น้ำตาล วิตามิน ฮอร์โมน เพิ่มประสิทธิภาพความสมบรูณ์ให้แก่ดิน รวมทั้งสามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ
    กลุ่มที่ 3 เป็นจุลอินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก ทำหน้าที่เป็นตัวทำให้ดินเปลี่ยนสภาพต้านทานโรคเข้าสู่วงจรการย่อยสลายแบบ หมักและแบบสังเคราะห์ เป็นหัวเชื้อในการผลิตปุ๋ยหมัก
    กลุ่มที่ 4 เป็นจุลอินทรีย์ตรึงธาตุไนโตรเจน มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่ายและพวกแบคทีเรีย ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศสู่ดิน
    กลุ่มที่ 5 เป็นจุลอินทรีย์ที่สร้างกรดแลคติด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษจุลอินทรีย์พวก นี้ส่วนใหญ่เป็นพวกไม่ต้องการอากาศ
    ข้อสังเกต EM ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือนกลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่าๆ แต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นอีก (EM ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืช หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชได้) กรณีที่เก็บไว้หลายๆวันโดยไม่มีการเคลื่อนไหวในภาชนะจะมี ฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ นั่นคือการทำงานของ EM ที่พักตัว เมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ใน EM เหมือนเดิม เมื่อนำ EM ไปขยายเชื้อในน้ำผสมกากน้ำตาล น้ำนม น้ำผลไม้ EM จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาวๆ ภายใน 2 – 3 วัน (หาก EM มีกลิ่นเหม็นแสดงว่า การขยายไม่สำเร็จ) EM ที่ขยายควรใช้ให้หมดภายใน 1 – 2 สัปดาห์ และเมื่อใช้แต่ละครั้งควรปิดฝาให้แน่นและเก็บไว้ในที่ที่ไม่โดนแสง เพราะจุลอินทรีย์ EM ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอากาศ ก่อนการใช้งานทุกครั้งต้องตรวจดูก่อนว่ายังมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวานหรือ ไม่ ถ้ามีแสดงว่า EM ยังใช้ได้อยู่
    การเก็บรักษา EM
    1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บรักษาไว้ได้ประมาณ 1 เดือน ในอุณหภูมิห้องโดยปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้า อย่าตั้งทิ้งไว้ให้โดนแสงแดดที่ร้อนและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น
    2. ทุกครั้งที่ใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท
    3. การขยาย EM ควรใช้ภาชนะ และน้ำสะอาดที่ไม่มีคลอรีนและควรใช้ EM ที่ขยายแล้วให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม
    5. ใช้ปุ๋ยปลา ผมใช้ 2 แบบ คือแบบแรกผมใช้ปุ๋ยปลาสำเร็จรูปที่เค้าบรรจุขายในขวด ขนาดเท่าขวดลิโพฯ โดยผมใช้ปุ๋ยปลา 1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดครับ ฉีดเข้าไป ปรากฏว่าเหมือนกับว่าใบหม้อแกงมันจะมันเงาอย่างแรง ไม่รู้ว่ามันได้ผลหรือเปล่า แต่ว่าหม้อบางชนิด หม้อไหม้ไปเลยครับ แล้วเหี่ยวไปเลยในวันนั้น ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจ ในเดือนถัดมาจึงลองดูอีกปรากฏว่าอาการเดิมครับ เลยเลิกไป และด้วยเหตุผลที่ว่าขวดเล็กๆ แบบนี้ ราคา 25 บาท คิดดูแล้วไม่คุ้ม ผมจึงเลิกใช้ครับ วิธีนี้เซียนบางท่าน(ขอสงวนนาม) บอกผมว่าสูตรนี้ใช้แล้วใบจะเรียวยาวกว่าปกติ หม้อจะใหญ่โตมากมาย ฮ่ะๆๆ ไม่รู้จริงแท้แค่ไหน ในที่สุดผมก็ใช้แค่ 2 ครั้ง ก็เลิกไปครับ กลัวครับกลัว ปัจจุบัน ผมใช้ปุ๋ยปลาที่ทำขายในแบบ 1 แกลลอน เป็นของ USA ครับ แกลลอนละ 480.- บาท ตอนนี้ราคาคงขึ้นแหละครับ
    หน้าตาของปุ๋ยปลา จะเป็นน้ำสีน้ำตาลเหนียวหนืด เนื่องจากมีความเข้มข้นสูงมาก มีกลิ่นคาวที่รุนแรง และอาจส่งกลิ่นไปยังบ้านข้างๆ (ประมาณครึ่งวัน) แต่ประสิทธิภาพกับต้นไม้นั้นเหลือเฟือ ดังนั้นก่อนใช้ ต้องคิดให้ดีและคิดให้หนักว่าจะไม่ทะเลาะกับเพื่อนบ้านนะจ๊ะ
    ส่วน ภาพบนคือบัวรดน้ำคู่ใจในปริมาตร 3 ลิตร ที่ใช้ในการผสมปุ๋ยครับ ผมใช้ปุ๋ยปลาในอัตรา 1 ส่วน 4 ฝาขวดชาโออิชิ ต่อ 1 บัวรดน้ำครับ ความถี่ในการให้ปุ๋ยของผมคืออาทิตย์ละครั้ง หรือถ้าไม่ว่างก็ 2 อาทิตย์ครั้งก็ได้ครับ ไม่ได้ใช้ตามฉลากข้างขวด เพราะถือหลักว่าใช้น้อยไว้ก่อนปลอดภัยครับ หม้อผมราคาแพงครับ ใช้มากถึงตายนะครับ จะบอกให้
    ข้อ ควรระวังของปุ๋ยปลา เก็บไว้อย่าให้โดนแดด, ปิดฝาให้สนิทเมื่อใช้เสร็จ, ผสมแล้วให้ใช้ให้หมด อย่าค้างไว้ เพราะกลิ่นคาวจะกลายเป็นกลิ่นเหม็นเน่าอย่างแรง ในช่วงเวลาข้ามคืน, ระวังจะมีปัญหาทะเลาะกันในเรื่องของกลิ่นกับคนในบ้านและกับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเพื่อนบ้านที่มันดุๆ คุณอาจเสียชีวิตเลยก็ได้, กลิ่นคาวปลาจะกวนท่านประมาณ 3-6 ชั่วโมง แต่ถ้าลมดี ปัญหาจะน้อยลง และจงอย่าใช้เกินขนาด ไม่งั้นหม้อคุณลงนรกแน่นอน
    6. ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ ก็จัดเป็นปุ๋ยเคมีที่ก่อนใช้ต้องนำมาละลายน้ำก่อน ใช้ส่วนผสมในอัตรากึ่งหนึ่งของที่ระบุไว้ก็พอ ตัวนี้เป็นปุ๋ยเร่งดอกครับ (ตามภาพด้านบน) สูตร 16-27-21 ไม่แน่ใจว่าสูตรเสมอจะมีจำหน่ายหรือไม่ แต่ปุ๋ยนี้ ผมจะใช้กับไม้ที่แขวนไว้ในโรงแขวน ที่ให้น้ำโดยระบบให้น้ำอัตรโนมัติ โดยผสมลงไปในถังเก็บน้ำเลย เพราะเป็นการให้ปุ๋ยได้ทั่วถึงที่สุดแล้วครับ สำหรับการแขวนไม้ในโรงแขวน เพราะการที่ท่านปีนขึ้นไปใส่ปุ๋ย osmocote หรือรดปุ๋ยปลานั้น มันอาจทำให้ท่านไดรับบาดเจ็บจากการล้มหัวฟาด หรือตกจากที่สูงแล้วแข้งขาหักได้ ท่านอาจประยุกต์ใช้แทนปุ๋ยปลาก็ได้ครับ ความถี่ในการให้ปุ๋ยอาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอ
    7. เกอมาร์ บีเอ็ม 86 (GOEMAR BM 86) ตัวนี้ผมจัดเป็นยาบำรุงหรืออาหารเสริมครับ ไม่อยากเรียกเลยว่าเป็นปุ๋ย เพราะวิตามินนั้นมาแบบเต็มๆ เมื่อก่อนผมไม่รู้จักเจ้านี่เลย แต่ว่าวันนึงมีพี่ท่านนึง บอกมาว่าให้ใช้ “เกอมาร์” ผสมกับ Start b1 แล้วรด แล้วยอดจะงอกเร็วสุดขีด ผมได้ยินแล้วก็ขำแล้วบอกว่า อะไรนะพี่ เกอมาร์ เหรอ ไม่เคยได้ยินว่ะ พี่เค้าบอก “เออ..ใช่ เกอมาร์ หูท่านตึงรึไง” ด้วยความเกรงใจผมก็ไม่กล้าถามต่อ แต่ผมจะจำไว้ ฮึ่ม..และแล้ววันหนึ่ง ผมก็ได้มาสวนจตุจักร และผมก็เดินไปร้านที่ผมซื้อ perlite, peatmoss,vermiculite ถุงเล็กๆ เป็นประจำ (ผมไม่บอกชื่อร้านนะครับ เพราะใบ้ให้ถึงขนาดนี้แล้วถ้ายังไม่รู้อีก อย่าใช้เลยครับ) พร้อมกับถามด้วยเสียงค่อยๆ ว่า “ป้าครับมีเกอมาร์มั้ยครับ” ป้าแกก็ไม่ค่อยได้ยิน “ตอบกลับมาว่า จะซื้อซีม่าน่ะ ไปร้านขายยาเลยไป” อ้ะนะ…เลยเถิดครับ ป้าแกบอกว่ามีครับ มีขายใน 3 ขนาดคือขนาดเล็กสุดกี่ c.c. จำไม่ได้แล้ว ขนาดครึ่งลิตร และ 1 ลิตร ซื้อมาขวดนึงครับ เจ้าเกอมาร์ เป็นผลิตภัณฑ์ของฝรั่งเศสครับ สกัดจากสาหร่ายทะเล Ascophylum nodosum ซึ่งผมอ่านธาตุอาหารจากข้างกล่องแล้ว อืม..สุดยอดครับ อยากรู้ใช่ไหมครับ ว่ามันมีธาตุอาหารอะไรมั่ง คุณก็ไปซื้อมาอ่านเอาเองสิครับ ฮ่ะๆๆ

    หลังจากที่ผมอ่านวิธีใช้จนเข้าใจแล้ว ผมก็เริ่มดำเนินการทันที โดยผมใช้เกอมาร์ 1 ซีซี และใส่ start b1 ลงไปนิดหน่อย (เจ้าตัว start b1 นี่ผมใช้ผสมอยู่ 2-3 ครั้ง ครับ เนื่องจากนึกได้ว่าจริงๆ แล้วเจ้าเกอมาร์ก็มี b1 อยู่แล้ว จะผสมเข้าไปอีกทำไม แน่ะ…แสดงความเป็นไอ้ทุยออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน) อ้ะ..สรุปเลยครับ ใช้เกอมาร์ 1 ซีซี หรือครึ่งฝาขวดชาโออิชิก็ได้ ผสมน้ำ 3 ลิตร โดยประมาณ ใครอยากใช้มากหรือน้อยกว่านี้เชิญท่านลองกันเอาเอง แล้วรดอาทิตย์ละครั้ง หลังจากรดไปได้ 4 ครั้งคุณจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนโดยใบใหม่ที่โผล่ออกมา โอ้ว…แม่ยาย ผีตายทั้งกลม มันใหญ่มากๆ เอาเป็นว่าใหญ่กว่าเดิมก็แล้วกัน และหลังจากหยุดรดไปแล้วต้นไม้ไม่เกิดอาการช็อคแต่อย่างใดครับ
    นี่ เลยครับ หลังจากโดนเจ้า เกอมาร์แสดงอิทธิฤทธิ์ มันก็เป็นแบบนี้ โอ…แม่เจ้า มันอะไรกันวะนี่ แต่ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีนะครับ ข้อเสียข้อแรกคือใบหม้อแกงมันจะหงิกๆ บิดๆ ไปมา ไม่สวย คือแบบว่าดูรู้เลยว่าโดนปุ๋ย ข้อเสียที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ มันจะส่งผลให้ต้นหม้อแกงอันเป็นที่รักของคุณไม่ผลิตหม้อเลยครับ หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป บางต้นผลิตบ้างแต่หม้อเล็กกว่าเดิม ดังนั้นถ้าคุณจะใช้เจ้านี่ คุณต้องทำใจด้วย
    ปิดท้ายกับเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เรื่องปุ๋ย ที่ผมตั้งคำถามไว้ใน Web board แล้วป๊อบ ภัทราวุธ โสภา เข้ามาตอบไว้ครับ
    คำถาม : เรื่อง ของเรื่องคือ ผมใช้ปุ๋ยปลา ดังที่แสดงไว้ตามภาพด้านบน ที่ข้างแกลลอนเขียนสูตรว่า 5-2-2 ลงมาดูข้างล่าง เค้าอธิบายไว้ว่าอย่างนี้ ที่สงสัยก็คือ เมื่อเทียบกับ osmocote 14-14-14 ทำไมอานุภาพของปุ๋ยปลาซึ่งมีสูตรเพียงแค่ 5-2-2 ถึงได้รุนแรงมากมายนัก ช่วยทำให้ผมกระจ่างทีครับ ?
    คำตอบ : ผมไม่รู้ว่าพี่จะถามใครนะครับ แต่เจอกระทู้อย่างนี้แล้วชอบ ไอ้ให้แสดงความเห็นเนี่ย ผมขอแจมนะครับท่านพี่
    ความแตกต่างหลักของปุ๋ยปลากับปุ๋ยออสโม โคตเลย ผมว่ามันคือองค์ประกอบที่อยู่ข้างในน่ะครับ ปุ๋ยตัวหลังเนี่ย มันคือการนำธาตุบางตัวซึ่งสลายให้ N P K ได้เร็วมาเป็นส่วนผสม และอย่างที่ทราบกันว่าธาตุ 3 ตัวนี้เป็น Macronutrient พบมากในส่วนประกอบต่างๆของพืช (ผมเคยเขียนไปนานแล้วอ่ะครับ) ซึ่งตัวที่เขาใช้ปล่อยให้ธาตุทั้ง 3 มันมีอยู่ไม่กี่ตัว N เนี่ยเขาว่ามันให้โดยตรงได้เลย ส่วน P จะต้องให้ในรูป P2O5 (Phosphoric anhydride) และ K ให้ในรูป K2O (Potassium oxide ) (เป็นสูตรเคมีนะครับ ต้องเขียนมีตัวห้อย) และจากสูตรที่ให้ อย่างเช่นที่ท่านพี่ บอกมาว่าสูตร 14-14-14 แสดงว่ามี N 14% นั่นคือถ้าใช้ osmocote สูตรนี้ 100 กรัม มันจะปล่อย N ให้เรา 14 กรัม ในรูป N โดยตรง ส่วน P และ K ถ้าจะหาค่าโดยตรงมันต้องมีสูตรเนื่องจากสารทั้งคู่อยู่ในรูปสารประกอบอย่าง ที่เขียนมา สูตรที่ว่าคือ % ของ P = 0.436 x [P2O5] ส่วน K มีสูตรคือ % ของ K = 0.83 x [K2O] ดังนั้นจากข้างกล่องที่เขียนมาว่ามี P และ K ทั้งหมดอย่างละ 14 มันจึงมี P = 0.436 x 14 = 6.104 และ K = 0.83 x 14 = 11.62 แสดงว่าค่า P และ K จริงๆจากปุ๋ยสูตรเสมอ 14 นี้มี P และ K จริงๆแค่ 6% และ 11.6% ตามลำดับ และอย่างที่ผมเน้นว่า ทั้ง P และ K รวมทั้ง N นี้มีอยู่ในรูปเดียว (N ตรงๆ แต่ P ในรูป P2O5 ส่วน K ในรูป K2O) ทำให้ผมคิดว่าปุ๋ย osmocote หรือปุ๋ยเคมีนี้ปล่อยธาตุแค่ 3 ตัว ในรูปแบบที่ตายตัวอย่างที่เขียนไป (ธาตุตัวที่เขียนไปอย่าง P2O5 และ K2O เป็นรูปยอดนิยมที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย) แต่เมื่อมาดูการผลิตปุ๋ยปลา คือการเอาตัวปลามาหมักในน้ำหมักชีวภาพ ทำให้ส่วนประกอบต่างๆของตัวปลาสลายลงให้ได้ธาตุหรือสารประกอบต่างๆ ในหลักการของสิ่งมีชีวิต ตัวสิ่งมีชีวิตคือก้อนสารเคมี สิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนประกอบด้วยเซลล์ซึ่งทำงานร่วมกัน หรืออาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยเซลล์เดียว เซลล์นั้นประกอบสารเคมีต่างๆมารวมตัวกัน มีการทำงานอย่างเป็นระบบและมีแบบแผนที่แน่นอน เมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆของเซลล์จะพบว่า เซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยสารเคมีพื้นฐานคล้ายๆกัน และยังแบ่งธาตุออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ที่พบมาก (ธาตุที่พบมาก (Major Element) เช่น Oxygen, Carbon, Hydrogen, Nitrogen เป็นธาตุอโลหะที่พบมาก Calcium, Sodium เป็นธาตุโลหะที่พบมาก เป็นต้น) และพบน้อย (ธาตุที่พบน้อย (Minor Element หรือ Trace Element) เช่น Manganese, Cobalt, Copper และ Zinc เป็นต้น) ตรงนี้เองที่ผมคิดว่าในปุ๋ยปลามีความสมบูรณ์ของสารอาหารชนิดต่างๆมากกว่า เพราะเหมือนเอาก้อนสารเคมีที่มีส่วนผสมต่างๆมากมาย มาสลายรวมกัน แม้ว่าจากข้างขวดพี่ท่านพบว่ามี N P K แค่ 5% 2% และ 2% ตามลำดับ แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่าเขาเขียนไว้ว่า Organic Nitrogen, Organic Phosphorus และ Organic Potassium นั่นคือสารประกอบอินทรีย์ที่พืชเอาไปใช้ได้และสิ่งมีชีวิตผลิตขึ้นมาได้ เอาง่ายๆแค่ Nitrogen ก็มีตั้งหลายแบบแล้ว ทั้ง Ammonia (NH3), Nitrate (NO3), Potassium nitrate (KNO3), Calcium nitrate (Ca(NO3)2), Ammonium sulfate ((NH4)2SO4), Ammonium nitrate (NH4NO3), Diammonium anhydride ((NH4)2HPO4 ส่วน Phosphorus ในรูปของสารอินทรีย์ที่พืชเอาไปใช้ได้ Phosphoric anhydride (P2O5), Phosphate (PO4), Monopotassium phosphate (KH2PO4)), Diammoniums phosphate ((NH4)2 HPO4), Phosphoric acid (H3PO4) ส่วน Potassium ในรูปของสารอินทรีย์ที่พืชเอาไปใช้ได้ Potash (K20), Potassium nitrate (KNO3), Monopotassium phosphate (KH2PO4), Potassium chloride (KCl), Potassium sulfate (K2SO4)
    จะเห็นได้ว่ามีทางเลือกให้พืชเลือกใช้ N P K ได้หลายทาง แล้วยิ่งถ้าพืชต้องการตัวใดตัวหนึ่งเจาะจงเป็นพิเศษ ซึ่งนั่นขึ้นอยู่กับชนิด (Species) ของพืชนั้นๆ มันก็มีทางเลือกให้ใช้ได้ อย่างเช่น ถ้า พืชไม่ชอบ K2O แต่ถ้าใช้ปุ๋ยปลามันก็มีทางเลือก มากมายที่มันจะดึงมาใช้ได้ แต่ผมไม่ได้หมายความว่าในปุ๋ยปลาจะมีครบทั้งหมดนะครับ และปริมาณเท่าไหรก็ไม่ทราบเพราะเนื่องจากเป็นปุ๋ยชีวภาพ แค่บอกว่าพวกสารประกอบที่ยกตัวอย่างข้างต้นมีความเป็นไปได้ที่จะพบในปุ๋ยปลา และสารประกอบที่ผมยอกตัวอย่างไปนั้น เป็นรูปต่างๆของ N P K ที่พืชเอาไปใช้ได้ และสิ่งมีชีวิตผลิตได้ ซึ่งที่เขียนมายาวมาก ยังไม่รวมพวก Micronutrient ที่พบในปุ๋ยปลา อย่าลืมนะครับ ปลาเป็นสิ่งมีชีวิต มี Micronutrient ที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆในตัวปลาเอง และส่วนใหญ่ Micronutrient พวกนี้ก็มักจะเป็นพวก Coenzyme ต่างๆช่วยในการทำงานของพวก Enzyme บางชนิด ซึ่งพืชแต่ละตัวก็ต้องการ Micronutrient ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อรดต้นไม้ มันเหมือนเราราดอาหารที่สมบูรณ์มาก แล้วให้ต้นไม้เลือกใช้ แต่การรดปุ๋ย N P K มันเหมือนรดตัวพื้นฐานให้ครับ ดังนั้นตรงนี้ผมว่านี่เป็นผลดีอย่างหนึ่งของปุ๋ยปลา เขียนมายืดยาว เริ่มงงเอง ใครมีไอเดียยังไงก็ช่วยแสดงความเห็นนะครับ แล้วนี่คือข้อดีข้อเสียของปุ๋ย 2 ชนิดที่ไปเจอมาในเน๊ตครับ ลองอ่านดูนะครับ
    ปุ๋ย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
    1. ปุ๋ยอินทรีย์
    2. ปุ๋ยเคมี
    1. ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สารซึ่งผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ และจะเป็นประโยชน์ต่อพืชก็ต้องผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางชีวภาพเสียก่อน
    ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์
    1. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพเช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย การอุ้มน้ำ
    2. อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ จึงมีโอกาสสูญเสีย น้อยกว่าปุ๋ยเคมี
    3. เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ มีธาตุอาหารรอง – เสริม อยู่เกือบครบถ้วนตามความต้องการของพืช
    4. ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดิน
    5. ช่วยดักจับอนุภาคธาตุอาหารต่างๆให้อยู่ได้นานขึ้น ทั้งในดินเดิมๆและจากปุ๋ยเคมี
    ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์
    1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
    2. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
    3. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
    4. หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการใช้เป็นปริมาณมาก
    5. ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อเกิดการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรท
    6. การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น ขี้เลื่อย จะทำให้เกิดการหมักในสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก
    7. มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักหรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนจะมีโรค แมลงศัตรูพืช วัชพืช
    8. ปุ๋ยอินทรีย์สลายตัวอยาก เช่น ขี้เลื่อย จุลินทรีย์จะแย่งไนโตรเจนในดินไปใช้ในขบวนการย่อย
    9. ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ส่งกลิ่นเหม็นไม่เป็นที่จูงใจผู้ใช้และสกปรก
    10. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครก มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท
    11. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อน
    12. ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและการใส่มากกว่า
    2. ปุ๋ยเคมี ให้ธาตุอาหารหลักแก่พืช ( N, P , K ) สูญสลายได้ง่าย แต่สะดวกและราคาถูกว่าปุ๋ยอินทรีย์เมื่อคิด%ที่เท่ากัน เบาแรง เก็บรักษาขนย้ายได้ง่าย ควบคุมปริมาณธาตุอาหารที่ต้องการใช้ได้แม่นยำ
    ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ไม่สามารถใช้แทนกันได้ ต้องใช้ร่วมกัน
    หลังจากที่ท่านได้อ่านเรื่องปุ๋ยจบแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านๆ คงจะนำไปปรับใช้งานจริงได้นะครับ ภาคปฏิบัติของผม ยังไงๆ มันก็แค่ภาคทฤษฎีของท่านเท่านั้นเอง ถ้าอยากเห็นผลท่านต้องลองด้วยตัวท่านเองครับ

    จาก http://nepenthessiam.wordpress.com/2009/04/05/fertilization/ มีรูปอธิบาย

  15. sanshiro2

    การทำ EM หรือ ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ไว้ใช้เองแบบง่ายๆ ประหยัด EM BALL ดังโงะ การบำบัดน้ำเสีย กากน้ำตาล

    ถ้าหากท่านใด สนใจอยากทำปุ๋ยชีวภาพ แบบง่ายๆ ประหยัด และสามารถทำได้เอง ก็ทดลองหรือศึกษาข้อมูลได้นะคะ เพราะเศษอาหารหรือผัก ผลไม้ จากครัวเรือน ก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แบบง่ายๆ ซึ่งจะมีหลายวิธีดังนี้นะคะ

    การขยายจุลินทรีย์ EM

    1. จุลินทรีย์ EM 2 ช้อนโต๊ะ
    2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
    3. น้ำสะอาด 1 ลิตร

    วิธีทำ

    ผสมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล และน้ำเข้าด้วยกัน ใส่ขวดพลาสติกชนิดฝาเกลียวปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ 3 – 5 วัน

    จะเป็นหัวเชื้อขยายเป็นการนำจุลินทรีย์มาขยายให้ได้จำนวนมาก ลดต้นทุนนำไปใช้หรือขยายต่อได้อีก
    ( เก็บไว้ได้นาน 3 เดือน)

    วิธีใช้

    ใช้ทำปุ๋ยน้ำ ฮอร์โมน สารไล่แมลง และปุ๋ยแห้ง ฯลฯ
    หมายเหตุ

    1 แก้ว ประมาณ 250 ซีซี
    2 ช้อนโต๊ะ ประมาณ 10 ซีซี

    การทำฮอร์โมนผลไม้

    1. มะละกอสุก 2 กก.
    2. ฟักทองแก่จัด 2 กก.
    3 . กล้วยน้ำว้าสุก 2 กก.
    4. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
    5. กากน้ำตาล 1 แก้ว
    6. น้ำสะอาด 1 ถัง หรือ 10 ลิตร

    วิธีทำ

    สับมะละกอ ฟักทอง กล้วยทั้งเปลือกและเมล็ดให้เข้ากันผสม EM และกากน้ำตาล อย่างละ 1 แก้ว ใส่น้ำ
    10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากันปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 7 – 8 วัน เปิดก๊อกแล้วกรองใส่ขวดเก็บได้นาน 3 เดือน

    วิธีใช้

    4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตรหรือถัง 1 ถัง ฉีด พ่น ราด จะทำให้ดอกติด ผลดก ขนาดโต น้ำหนักดี
    รสชาติอร่อย

    การทำปุ๋ยน้ำ ( ใช้ทันที)

    1. จุลินทรีย์ EM 2 ช้อนโต๊ะ
    2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
    3. น้ำสะอาด 1 ลิตร หรือ 1 ถัง

    วิธีทำ

    นำจุลินทรีย์ EM และกาน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน
    วิธีใช้
    พืช ผัก ใช้ ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน ไม้ดอกไม้ผล พืชสวน ฉีด พ่น ทุก 7 วัน เดือนละ 1 – 2 ครั้ง
    ใช้ให้หมดภายใน 1 วัน หากไม่หมดให้นำไปราดห้องน้ำ ล้างพื้นซีเมนต์หรือเทลงท่อระบายน้ำ

    สูตรไล่แมลง ( สุโตจู , EM 5)
    1. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
    2. กากน้ำตาล 1 แก้ว
    3. น้ำสมสายชู 5% 1 แก้ว
    4. เหล้าขาว 28 – 40 ดีกรี 2 แก้ว
    5. น้ำสะอาด 10 ลิตร

    วิธีทำ

    นำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากัน ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 7 – 10 วัน เขย่าถังเบาๆ ทุกวันและเปิดฝานิดๆ
    ให้ก๊าซระบายออก ครบกำหนดเก็บใส่ขวดพลาสติกเก็บไว้ใช้ได้นาน 3 เดือน

    วิธีใช้

    4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืชผัก ไม้ใบ ไม้ดอก พืชสวน ทุกสัปดาห์

    สูตรไล่หอย , เพลี้ยไฟ

    1. ยอดยูคาลิปตัส 2 กก.
    2. ยอดสะเดา 20 ยอด หรือ 2 กก.
    3. ข่าแก่ 2 กก.
    4. บอระเพ็ด 2 กก.
    5. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
    6. กากน้ำตาล 1 แก้ว

    วิธีทำ

    นำยอดยูคาลิปตัส ยอดสะเดา ข่าแก่ และบอระเพ็ด แต่ละอย่างแยกกันใส่ปิ๊บ ใส่น้ำให้เต็ม ต้มให้เหลือน้ำ
    อย่างละครึ่งปิ๊บ ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทรวมกันในถังใหญ่หรือโอ่ง ใส่จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว

    วิธีใช้

    ใช้แก้วผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ในแปลง ผัก พืช ในนาข้าว ป้องกันใบข้าวไหม้ด้วย

    การทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ)

    1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน ( กระสอบ)
    2. แกลบดิบ 1 ส่วน ( กระสอบ)
    3. รำละเอียด 1 ส่วน ( กระสอบ)
    4. จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
    5. กากน้ำตาล 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
    6. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง

    วิธีทำ

    ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ

    ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์ + รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

    ขั้นที่ 3 นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วบีบพอหมาดๆ

    นำมาคลุกกับส่วนผสม ขั้นที่ 2 ให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40 – 50 %( กำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ)
    การหมัก เอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน , ถุงปุ๋ย ที่อากาศถ่ายเทได้ โดยบรรจุลงไป ? ของกระสอบไม่ต้องกดให้แน่น นำไปวางลงในที่มีฟางรอง เพื่อการระบายอากาศในส่วนส่วนล่างพลิกกลับกระสอบ ในวันที่ 2,3,4 ทุกๆ วัน ในวันที่ 2 – 3 อุณหภูมิ จะสูงถึง 50 0c – 60 0c วันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิเย็นลงจนปกติตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ปุ๋ยแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ได้

    การเก็บรักษา

    เก็บรักษาเมื่อโบกาฉิแห้งสนิทควรเก็บรักษาในที่ร่ม ไม่โดนฝนและไม่โดนแดด สามารถเก็บรักษา
    ได้นานประมาณ 1 ปี

    วิธีใช้

    1. ใช้ปุ๋ยแห้งในแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิดในอัตราส่วนปุ๋ยแห้ง 1 กำมือ/พื้นที่ 1 ตรม. แล้วทำการเพาะปลูกได้

    2. พืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น ฟักทอง , แตงกวา , ถั่วฝักยาว , กระหล่ำปลี ใช้ปุ๋ยแห้งรองก้นหลุมก่อนปลูกใช้ประมาณ 1 กำมือ

    3. ไม้ยืนต้น , ไม้ผล ควรรองก้นหลุ่มด้วย เศษหญ้า – ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยแห้งประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ส่วนไม้ยืนต้น , ไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยแห้ง ให้รอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง , ฟางแห้ง

    4. ไม้ดอก , ไม้ประดับ , ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยแห้งสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ รอบๆ โคนต้น

    ข้อควรจำ

    เมื่อใช้ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ต้องใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นด้วยเสมอ เพื่อให้จุลินทรีย์ ที่พักตัวทำงานได้ดี

    ตรน้ำซาวข้าว

    1. น้ำซาวข้าว (ประมาณ) 2 ลิตร
    2. จุลินทรีย์ EM 1 ? ช้อนโต๊ะ
    3. กากน้ำตาล 1 ช้อนชา
    4. น้ำสะอาด ? แก้ว

    วิธีทำ
    1. น้ำซาวข้าว ( น้ำเพื่อล้างฝุ่นข้าวและส่งสกปรกออกก่อนนำไปหุง) ประมาณ 2 ลิตร หากไม่ถึงให้เติมน้ำสะอาดลงไปกรองด้วยผ้าขาวบางให้ใส

    2. ผสมกากน้ำตาลที่ละลายน้ำเจือจางแล้ว 3 ช้อนโต๊ะ ลงในน้ำซาวข้าวใส่จุลินทรีย์ EM 1 ? ช้อนโต๊ะ แล้วบรรจุ ในขวดพลาสติกชนิดฝาเกลียวปิดฝาให้สนิท

    3. เก็บไว้ประมาณ 3 – 5 วัน น้ำที่ได้มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมจึงนำไปใช้

    วิธีใช้

    1. ใช้แทนผงซักฟอก โดยใช้สูตรน้ำซาวข้าว ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 20 แช่ผ้าทิ้งไว้ 1 คืน กรณีใช้เครื่องซักผ้าประมาณ 500 ซีซี วันรุ่งขึ้นซักน้ำสะอาด และน้ำผ้าตากให้แห้ง ผ้าจะสะอาดไม่มีกลิ่น ไม่กระด้าง รีดง่าย

    2. ใช้เป็นสเปรย์ดับกลิ่น โดยนำสูตรน้ำซาวข้าว ใส่ขวดที่มีหัวฉีดเป็นละออง ดับกลิ่นเหม็นติดเสื้อผ้า กลิ่นอับในรถยนต์

    3. ใช้ผสมน้ำถูพื้นบ้าน พื้นครัว ( อัตราส่วนตามความสกปรก)

    4. กรณีมีตะกอนที่ก้นขวด ให้ใช้เฉพาะน้ำใสเท่านั้น

    5. ใช้ให้หมดภายในเวลาประมาณ 3 – 5 วัน

    สูตรสารไล่แมลง

    1. ลูกยอสุก 1 กก.
    2. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
    3. กากน้ำตาล 1 แก้ว

    วิธีทำ

    นำลูกยอสุกมาสับให้ละเอียด ใส่น้ำพอท่วมผสมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล คนให้เข้ากัน หมักไว้ 10 วัน พอได้ที่คั้นเอาแต่น้ำมาใช้

    วิธีใช้

    สารไล่แมลง 1 แก้ว ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด

    วัตถุที่ใช้แทนกากน้ำตาล

    – น้ำผึ้ง , น้ำตาลทรายแดง , นมสด
    – น้ำผลไม้สดทุกชนิด เช่น น้ำมะพร้าว น้ำส้ม น้ำสับปะรด น้ำอ้อน ฯลฯ
    – น้ำซาวข้าว

    – ฯลฯ

    เอาไปทดลอง ปรับปรุงใช้ได้ หรือหาอย่างอื่นมาเป็นส่วนผสมด้วยก็ได้ เช่น น้ำมะพร้าว เปลือกกุ้ง กระดองปู 3 อย่างข้างต้นเมื่อหมักแล้วจะได้สารจำพวก ไคโตซาน อยากรู้ว่าสารไคโตซานได้ประโยชน์อย่างไรลองเสิร์ซหาดูได้ค่ะ

    สำหรับคนที่มีเศษอาหารสดในครัวเรือนมากมายต่อวัน
    อย่าขุดฝังใต้โคนต้นไม้นะคะ เพราะจะเน่าเสีย นอกจากคุณจะมีพื้นที่บ้านมากพอ
    อย่าโยนใส่รถขยะเทศบาล เพราะจะเน่าเสีย กว่ารถจะนำไปกลบฝังหรือบำบัดแบบอื่นๆ

    กรุณาร่วมใจ ช่วยกันบำบัดสดครัวเรือน ด้วยการหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพ

    เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ที่เหลือจากการบริโภค ทุกอย่าง ยกเว้นน้ำมัน

    ใส่ถังหมัก หรือ ภาชนะ หรือแม้แต่ถุงดำหนาๆ
    เติมน้ำตาล หรือ กากน้ำตาล และน้ำเปล่า ใช้สูตรการหมักโดยน้ำหนัก

    เศษอาหาร 5 ส่วน ต่อกากน้ำตาล 1 ส่วน ต่อน้ำเปล่า 1 ส่วน เคล้าให้เข้ากัน
    ปิดฝาถัง ตั้งไว้ในที่ร่ม อย่าให้โดดแดดส่อง เพราะจุลินทรีย์จะตาย

    ฝาไม่ต้องปิดสนิท เพราะจะมีแก๊ซบางชนิดเกิดในระหว่างการหมัก
    เติมเศษอาหารใหม่ได้ทุกวัน ใช้สูตรผสมตามเดิม
    น้ำตาลเป็นส่วนสำคัญในการหมัก เพราะจุลินทรีย์ที่มีในถังหมัก ต้องกินน้ำตาล

    น้ำปุ๋ยชีวภาพ ใช้ผสมน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ต่อน้ำ 1 ถัง ใช้รดน้ำต้นไม้ สัปดาห์ละสองครั้งกำลังดี
    เพิ่มเติมค่ะ
    ชนิดเข้มข้น ใช้ราดในโถส้วม ราดท้องร่อง หรือบริเวณน้ำขังเน่าเสีย
    ชนิดเจือจางสามถึงห้าเท่า ใช้ราดดับกลิ่นมูลสัตว์ หรือผสมน้ำอาบสุนัข
    ล้างคอกสัตว์เลี้ยง ดับกลิ่นต่างๆ

    เนื้อปุ๋ย ใช้ผสมดิน 5 เท่า สำหรับปลูกผัก
    หรือขุดหลุมฝังที่โคนต้นไม้

    -จุลินทรีย์ EM ไม่มีสารเคมีเจือปน เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ปราศจากสารเคมี ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และลดสภาวะโลกร้อนด้วยค่ะ

    จุดเด่นสำคัญของ EM คือใช้ได้หลากหลาย

    ปลูกพืชผัก การปลูกผัก ไม้ผล และพืชไร่ และการทำนา

    ปศุสัตว์ ไก่ สุกร โคเนื้อ โคนม รวมไปถึงการทำฟาร์มขนาดเล็ก และขนาดใหญ่

    การประมง การเลี้ยงปลา กุ้ง กบ ตะพาบ รวมถึงสัตว์น้ำทุกประเภท

    สิ่งแวดล้อม การใช้ EM ในครัวเรือน ชุมชน ตลาด แหล่งขยะ และโรงงานอุตสาหกรรม
    โรงแรม ร้านอาหาร โรงเรียน อพาสเม้น บ้านเรือน

    จุลินทรีย์ EM มีประโยชน์มากกว่า 10 สกุล 80 ชนิดปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ เป็นของศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ มหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ผู้ค้นคิด (EM) ใช้ในด้านปศุสัตว์ ด้านการเกษตร ด้านการประมง ด้านสิ่งแวดล้อม

    ประโยชน์ของจุลินทรีย์ EM

    จุลินทรีย์ กำจัดกลิ่นได้อย่างหมดจด โดยไม่มีสารตกค้าง

    จุลินทรีย์ จะกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นได้แทบทุกชนิด ยกเว้นกลิ่นที่เกิดจากสารเคมี (จุลินทรีย์ ไม่สามารถย่อยสลายสารเคมีได้ ) ดังนั้นการจุลินทรีย์ ใช้กำจัดกลิ่นจึงไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีใดๆ เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ตายหรือเสื่อมสลายไปได้ จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มีประโยชน์ต่อทั้งพืชและสัตว์รวมไปถึงก ารรักษาสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย

    น้ำจุลินทรีย์ทำความสะอาดกำจัดกลิ่น

    น้ำจุลินทรีย์ทำความสะอาดกำจัดกลิ่น น้ำจุลินทรีย์ทำความสะอาด กำจัดกลิ่น(สูตรเข้มข้น) เหมาะมากสำหรับฟาร์มสัตว์เลี้ยงหรือผู้ที่เลี้ยงสัตว์

    น้ำจุลินทรีย์สูตรเข้มข้น(ไม่ใช่EMที่เกิดจากกรรมวิธีขยายธรรมดา) ใช้ผสมน้ำทำความสะอาดบริเวณคอกของสัตว์เลี้ยง เพื่อขจัดกลิ่นคาว กลิ่นสาป กลิ่นฉี่ อึของสัตว์เลี้ยงและยังช่วยไล่แมลงไม่ให้มารบกวนสัตว์เลี้ยงของคุณ หรือจะผสมน้ำใช้เช็ดตัวสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ก็ไม่เป็นอันตราย หรือจะใช้ผสมน้ำถูบ้านก็ช่วยไล่แมลงสาป หนูและแมลงอื่น ๆได้ด้วย แถมยังมีกลิ่นหอมของธรรมชาติ เพราะไม่ได้ใช้สารเคมีเป็นส่วนผสม จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยต่อทั้งคุณ สัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อม สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์เหมาะที่จะใช้มาก

    เพราะช่วยขจัดกลิ่นอันไม่พึงประสง ค์ภายในฟาร์มของคุณได้เป็นอย่างดีแถมยังช่วยลดต้นทุนเรื่องน้ำยาดับกลิ่นท ำความสะอาดได้อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้น้ำจุลินทรีย์ยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆอีกเช่น ใช้ล้างห้องน้ำ ห้องครัว ราดโถส้วม ขจัดคราบ ทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว ราดอ่างล้างจาน- ล้างหน้า บริเวณที่เตรียมอาหาร จะช่วยไล่แมลงวัน แมลงสาปและหนู ราดท่อน้ำ รางน้ำ ร่องน้ำ ช่วยลดการอุดตัน ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้ช่วยบำรุงดิน เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน ผสมน้ำ อาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง ช่วยลดกลิ่นสาป และอื่น ๆอีกมากมาย ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้จึงเห็นได้ว่าน้ำจุลินทรีย์มีประโยชน์ต่อชีวิตประ จำวันของเรามาก และที่สำคัญยังช่วยอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

    1.ด้านระบบในการกำจัดน้ำเสีย ในบริเวณบ้าน ในโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ คู คลอง หนองบึง

    2.กำจัดกลิ่นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนต่าง ๆ

    3.ปรับสภาพของเสียจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ ต่อสัตว์เลี้ยง และการเพาะปลูก

    4.กำจัดขยะด้วยการย่อยสลายให้มีจำนวนที่ลดน้อยลงนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ได้

    5..ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าทำให้การใช้ไฟฟ้าลดน้อยลง

    6.ใช้ล้างผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ได้ และสามารถล้างเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นเหม็นให้ดีได้

    7.ใส่กระบอกฉีดน้ำ ฉีดในห้องในที่ทำงานได้แทนการใช้สารเคมีที่มีราคาแพง ช่วยปรับสภาพอากาศเสียให้สะอาดขึ้นและลดเชื้อแบคทีเรียได้ดี

    8.ใช้อาบน้ำสุนัขได้ดีไม่มี เห็บ หมัด และกลิ่นสุนัขไม่เหม็นสาบ และสามารถใส่ผสมกับน้ำให้สุนัขกินได้มูลสุนัขจะไม่มีกลิ่นเหม็น และทำให้สุนัข เจริญอาหาร

    9.ใช้ทำเป็นน้ำยาผสมล้างจาน ชามได้ดี

    10.ใช้ทำความสะอาดถูบ้านได้

    11.ใช้ลาดในห้องน้ำ ตามท่อระบายน้ำ ห้องส้วมจะไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่ทำให้ห้องส้วมอุดตัน บ่อเกรอะ ส้วม ห้องน้ำ ตามบ้านที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนี่ยม โรงพยาบาล โรงแรม จากตลาดสด ร้านอาหาร

    12.ใช้EMผสมกับ แฟ๊บ น้ำยาซักผ้าเพื่อทำให้เสื้อผ้านิ่มรีดผ้าได้ง่ายขึ้น

    13.ใช้ EM ล้างทำความสะอาดตู้เย็น แทน แฟ๊บ และน้ำยาล้างจาน

    14.ใช้ล้างรถยนตร์ได้ ไม่ทำให้สีของรถเสียหาย ช่วยดักฝุ่นละอองที่มาเกาะรถได้ดี และ
    เช็ดที่เบาะในข้างในรถได้ดีด้วย

    15.ใช้ทำความสะอาดแผลสดได้ดี นำEMสดทาบริเวณที่เป็นบาดแผล เวลาโดนของมีคมบาด เช่น มีด

    16.หรือโดนน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้ ทำ EM สด ได้จะทำให้แผลเย็น แล้วไปพบแพทย์

    17.ทาEM สด ในกรณี โดนยุงกัด รักษาอาการคัน ผื่น ผด ลมพิษ ขึ้นตามผิวหนัง เพราะทาบริเวณ แขน หรือตามผิวหนังจะทำให้เย็น และหายคันได้ ผื่นก็จะหายไป

    18.ใช้สระผมหมักก่อนสระผม จะทำให้ผมนิ่มสลวย และไม่มีรังแค

    19.ใช้เช็ดหน้าล้างเครื่องสำอางให้สะอาด แทนการใช้สารเคมี

    20.ประหยัดค่าใช้จ่าย – ลดต้นทุนการผลิต -เพิ่มรายได้

    21.บำบัดน้ำเสีย กำจัดคราบไขมัน กำจัดขี้เลนก้นบ่อ เพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ

    22.ช่วยให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อแข็งแรง

    23.ย่อยสลายกากของเสีย ที่เป็นอินทรีย์ในบ่อเกาะ-บ่อบำบัดน้ำเสีย อย่างได้ผล

    24.ปลอดภัยต่อชีวิต และลดสภาวะโลกร้อนด้วยค่ะ

    25.วิธีการใช้จุลินทรีย์ กำจัดกลิ่นเน่าเสีย กลิ่นเหม็น กลิ่นคาว กลิ่นสาบ ฯลฯ จากสิ่งปฏิกูลต่างๆ

    คุณสมบัติพิเศษของน้ำจุลินทรีย์

    1. ใช้ล้างห้องน้ำ – ห้องครัว

    2. ดับกลิ่นห้องน้ำ – ราดโถปัสสาวะขจัดคราบ

    3. ราดโถส้วมทำให้ไม่เต็มเร็ว ประหยัดค่าดูดส้วมอย่างเห็นได้ชัด

    4. ราดที่อ่างล้างหน้า- ล้างจาน บริเวณที่เตรียมอาหารจะช่วยไล่แมลงวัน แมลงสาปและหนู

    5. ราดท่อน้ำร่องน้ำช่วยลดการอุดตัน ช่วยกำจัดกลิ่นในท่อน้ำทิ้ง

    6. ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้ ช่วยบำรุงดิน เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน

    7. ผสมน้ำอาบน้ำสัตว์เลี้ยงในน้ำสุดท้ายช่วยลดกลิ่นสาปอันเนื่องมาจากไขมันใต ้ขุมขน (สุนัขขี้เรื้อน อาบแล้วขนจะขึ้น) ทำให้แมลงวันไม่มารบกวนสัตว์เลี้ยง

    8. สเปรย์เข้าในบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง จะช่วยปรับสภาพน้ำไม่เน่าเสีย สัตว์น้ำจะแข็งแรงไม่มีโรค

    9. ใช้ทาหน้ายางพาราหลังกรีดยาง จะช่วยให้หน้ายางขึ้นมาเรียบเสมอและผิวนิ่ม เพราะจุลินทรีย์จะช่วยป้องกันเชื้อราได้

    10. ตัดวงจรชีวิตของแมลงวัน (ทำให้แมลงวันเป็นหมัน)

    11. ใช้ล้างเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นคาวก่อนการประกอบอาหาร

    ประโยชน์โดยทั่วไปของจุลินทรีย์

    ด้านการเกษตร
    12. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ

    13. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ให้เป็นอาหารแก่พืช พืชจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่สูญเสียพลังงานมาก

    14. ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสม

    15. ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืช และโรคระบาดต่าง ๆ

    16 ช่วยสร้างฮอร์โมนแก่พืช เพื่อให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น

    17. ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานมีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ

    18. ช่วยให้ระบบนิเวศวิทยา หรือวงจรธรรมชาติ กลับคืนมา

    ด้านปศุสัตว์

    19. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ เช่น ไก่ และ สุกร
    20. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์

    21.ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์ แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้

    22. ช่วยกำจัดแมลงวันด้วยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเ ป็นแมลงวัน

    23.ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูงและอัตราการตายต่ำ

    ด้านการประมง

    24. ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้

    25.ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อ กุ้ง ปลา หรือสัตว์น้ำอื่น ๆ ที่เลี้ยงได้

    26. ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี

    ด้านสิ่งแวดล้อม

    27. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร การปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชมและสถานประกอบการ ทั่วไป

    28 ช่วยกำจัดกลิ่นขยะ ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนต่าง ๆ

    29. ปรับสภาพของเสีย เช่น เศษอาหารจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก

    30. กำจัดขยะด้วยการย่อยสลายให้มีจำนวนน้อยลง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้
    31. ช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดใส และมีสภาพดีขึ้น

    —-หากทุกครัวเรือน ทุกสถานประกอบการ เช่น ร้านอาหาร หอพัก ภัตตาคารต่าง ๆ ใช้น้ำจุลินทรีย์นี้แทนเคมี ก็จะช่วยการบำบัดน้ำเน่าเสียได้

    จุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข-แมวและสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ

    น้ำจุลินทรีย์ สามารถนำไปประยุกต์ในการดับกลิ่นสัตว์เลี้ยงได้หลากหลาย เช่น ดับกลิ่นสาบ กลิ่นคาวของสุนัขและแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

    จุลินทรีย์ กำจัดกลิ่นได้อย่างหมดจด โดยไม่มีสารตกค้าง

    จุลินทรีย์ จะกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นได้แทบทุกชนิด ยกเว้นกลิ่นที่เกิดจากสารเคมี

    (จุลินทรีย์ ไม่สามารถย่อยสลายสารเคมีได้ )
    ดังนั้นการจุลินทรีย์ ใช้กำจัดกลิ่นจึงไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีใดๆ เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ตายหรือเสื่อมสลายไปได้ จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มีประโยชน์ต่อทั้งพืชและสัตว์รวมไปถึงก ารรักษาสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย

    น้ำจุลินทรีย์สูตรเข้มข้น(ไม่ใช่EMที่เกิดจากกรรมวิธีขยายธรรมดา)

    —ใช้ผสมน้ำทำความสะอาดบริเวณคอกของสัตว์เลี้ยง เพื่อขจัดกลิ่นคาว กลิ่นสาป กลิ่นฉี่ อึของสัตว์เลี้ยงและยังช่วยไล่แมลงไม่ให้มารบกวนสัตว์เลี้ยงของคุณ หรือจะผสมน้ำใช้เช็ดตัวสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ก็ไม่เป็นอันตราย หรือจะใช้ผสมน้ำถูบ้านก็ช่วยไล่แมลงสาป หนูและแมลงอื่น ๆได้ด้วย แถมยังมีกลิ่นหอมของธรรมชาติ เพราะไม่ได้ใช้สารเคมีเป็นส่วนผสม จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยต่อทั้งคุณ สัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อม สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์เหมาะที่จะใช้มาก

    —เพราะช่วยขจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ภายในฟาร์มของคุณได้เป็นอย่างดีแถมยังช่วยลดต้นทุนเรื่องน้ำยาดับกลิ่นท ำความสะอาดได้อย่างเห็นได้ชัด

    นอกจากนี้น้ำจุลินทรีย์ยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆอีกเช่น ใช้ล้างห้องน้ำ ห้องครัว ราดโถส้วม ขจัดคราบ ทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว ราดอ่างล้างจาน- ล้างหน้า บริเวณที่เตรียมอาหาร จะช่วยไล่แมลงวัน แมลงสาปและหนู ราดท่อน้ำ รางน้ำ ร่องน้ำ ช่วยลดการอุดตัน ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้ช่วยบำรุงดิน เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน ผสมน้ำ อาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง ช่วยลดกลิ่นสาป และอื่น ๆอีกมากมาย ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้จึงเห็นได้ว่าน้ำจุลินทรีย์มีประโยชน์ต่อชีวิตประ จำวันของเรามาก และที่สำคัญยังช่วยอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

    EM จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

    EM กลุ่มจุลลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและให้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรม โดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ได้รับคัด และเลือกสรรเป็นอย่างดีจากธรรมชาติที่มัประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมารวมกัน

    EM คืออะไร

    EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่ม จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

    ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาตร์ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา
    ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง "ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498)

    บิดาแห่งเกษตรธรรมชาติของโลก จากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 และค้นพบ
    EM เมื่อปี พ.ศ. 2526 ท่านอุทิศทุ่มเทการทำวิจัยพบว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้น
    ศาสตราจารย์ วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านประธาน มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

    จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ

    1.กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโรคทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10 %

    2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมี ประมาณ 10%

    3.กลุ่มกลางมีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย

    ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดินก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวน มากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโคลงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีก หลังจากที่ถูกทำลาย

    สารเคมีจนตายไป จุลินทรีย์มี 2 ประเภท

    1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
    2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)

    จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกัยได้ จากการค้นคว้าดังกล่าวได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรร อย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์

    ต่อพืชสัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Famillies) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

    กลุ่มที่ 1

    เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนมีคุณสมบัติต้านมานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

    กลุ่มที่ 2

    เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สงเคราะห์
    สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins)
    ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

    กลุ่มที่ 3

    เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic หรือ Fermented Microorganisms)

    ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ต้านทานโรค (DiseasesResistant) เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี
    ช่วยลดการพังทลายของดินป้องกัน โรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสีย ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้

    กลุ่มที่ 4

    เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae)
    และพวกแบคทรีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ เพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต
    เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch หรือ Carbohydrates)
    ฮอร์โมน (Hormones) วิตามิน (Vitamins)ฯลฯ

    กลุ่มที่ 5

    เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทรีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปลื่อยและดินก่อโรค ให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสนหรือทำให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพืช
    ช่วยให้เมล็ดงอกงาม และแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

    ลักษณะทั่วไปของ EM

    EM เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์หรือเรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้นจะใช้

    EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็นสิ่งที่มีชีวิต และมีลักษณะดังนี้

    1. ต้องการที่อยู่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไปอยู่ในอุณภูมิปกติ

    2. ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอัตรายต่อสิ่งมีชีวิต

    3. เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี และยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้

    4. เป็นต้นเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

    5. EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวันเป็นตัวทำลาย ความสกปรกทั้งหลาย

    การดูแลรักษา

    1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท

    2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้นตู้เย็นเก็บรัษาไว้ในอุณภูมิปกติ

    3. ทุกครั้งที่แบงไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษเข้าไปปะปน

    4. การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

    ข้อสังเกตพิเศษ

    1. หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกให้นำ

    EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้

    2. กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเข่ยาภาชนะฝ้าขาวจะสลายตัว
    กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้

    3. เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอม และเป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ำนิ่งสนิท

    แสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

    จุลินทรีย์ EM มีประโยชน์อย่างไร

    จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ EM มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในด้านการผลิตอาหารที่ปลอดจากสารเคมี
    จุลินทรีย์จะมีบทบาทที่ช่วยจทดแทน การใช้สารเคมีได้มาก

    การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมาบถึง การใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้แปลสภาพ

    วิธีใช้และประโยชน์ของ EM สด

    1. ใช้กับพืช (ปุ๋ยน้ำ)

    – ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10
    ลิตร) ใช้ฉีดพ่น รด ราด พืชต่างๆ ให้ทั่วพื้นดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม

  16. sanshiro2

    ต่อ #17

    – พืช ผัก ฉีดพ่น รด ราด ทุก 3 วัน

    – ไม้ดอกไม้ประดับเดือนละ1ครั้งการใช้จุลินทรีย์สดในดินควรมีอินทรียวัตถุปก คลุมด้วยเช่นฟางแห้งใบไม้แห้ง

    เป็นต้นเพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป

    2. ใช้ในการทำ EM ขยายปุ๋ยแห้ง

    3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)

    – ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตรให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง

    – ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตรใช้พ่นคอกให้สะอาดกำจัดกลิ่น

    – หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะผสมกับอาหารให้ สัตว์กินฯลฯ

    4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

    – ใส่ห้องน้ำห้องส้อมและในโถส้อมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์1/2แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลายไม่มีกากทำให้ส้อมไม่เต็ม

    – ใช้กำจัดกลิ่นด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาลในอัตราส่วน1:1 1000(EM1ช้อนโต๊ะ:น้ำ1ลิตร)ฉีดพ่นทุก3วัน

    – บำบัดน้ำเสีย 1:100หรือEM2ช้อนโต๊ะ:น้ำ200ลิตร

    – ใช้กำจัดเศษอาหารหรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร

    – แก้ไขท่ออุดตันEM1ช้อนโต๊ะใส่5-7วัน/ครั้ง

    – ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน

    – กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำใช้ฉีดพ่น หรือ ราดลงไปใน

    แหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม. กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำแล้วแต่สภาพความแห้ง หรือความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วนขยะแห้งประเภทกระดาษใบตอง เศษอาหาร ใช้ฉีดพ่น อัตรา

    EM ขยาย 1ส่วยผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร

    วีธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย

    1.ใช้กับพืชเหมือน EM สด

    2.ใช้กับสัตว์

    -ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน
    -ผสมน้ำ 1 : 1000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น
    -ผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้งเป็นอาหารสัตว์

    3.ใช้ทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยแห้ง เหมือนใช้ EM สด

    4.ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด

    ประโยชน์ของปุ๋ยแห้ง

    1.ใช้กับพืช

    – รองก้นหลุม ร่วมกับอินทรียวัตถุ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง

    – คลุมดิน คือโรยผิวดินบนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้

    – ใช้ในนา ไร่ ร่วมกับ EM ขยาย ใส่ถุงแช่น้ำในอัตรา 1 กก. :น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไปรดพืชผัก

    2.ใช้กับการประมง

    – เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงในน้ำ
    – เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง
    – ผสมอาหารสัตว์

    3.ใช้กับปศุสัตว์

    – ผสมอาหารให้สัตว์กิน

    4.ใช้กับสิ่งแวดล้อม

    – เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับ EM ขยาย

    – เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย

    -ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำปุ๋ยน้ำ

    – ใช้ในขยะเปียกอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

    ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปทั่วโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัย มีแต่ประโยชน์ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและ

    -องค์กรทั่วโลกกว่า 30 ประเทศ อาทิ Internationnal Nature Farming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Organization (EMRO) JAPAN, International Federation of Agriculture Moverment (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers ประเทศสหรับอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติ ได้ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ. 1993 ว่า เป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100%

    คุณประโยชน์ของ EM ที่กล่าวมานี้ได้เป็นที่รู้จักกันในแพร่หลายทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศค่ะ

    ราคา ของ จุลินทรีย์ EM

    EM ขวดใหญ่ 10 ลิตร ราคา 850 บาท

    EM ขวด 1 ลิตร 90บาท

    กากน้ำตาล 10 ลิตร 300 บาท

    กากน้ำตาล 1 ลิตร 30 บาท

    โบกาฉิ (ปุ๋ย) 1 กระสอบ 20 โล 300 บาท

    โบกาฉิ (ปุ๋ย) ถุงละ 2 โล 30 บาท

    ดังโงะ 1 ถุง 6 ลูก 60 บาท

    จาก http://www.taradnoi.com/-2/posts/29-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/168-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89-%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99/14196-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C-EM-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5-%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%87%E0%B8%B0-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-EM-BALL-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8-%E0%B8%94%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B9.html

Comments are closed.