เครื่องทำน้ำร้อนระบบโฟล กับระบบเพรสเชอร์ แบบไหนดีกว่ากัน

เครื่องทำน้ำร้อนระบบโฟล กับระบบเพรสเชอร์  แบบไหนดีกว่ากัน

  และเครื่องทำน้ำร้อนยี่ห้อ TURBORA กับ พานาโซนิค  ตัวไหนน่าใช้กว่าครับ  มีใครเคยใช้ยี่ห้อ TURBORA เป็นแบรนด์ของประเทศอะไรครับ

คำค้นหา:

  • flow switch เครื่องทำน้ำอุ่น
  • https://www thaider com/homepro/4062

7 thoughts on “เครื่องทำน้ำร้อนระบบโฟล กับระบบเพรสเชอร์ แบบไหนดีกว่ากัน

  1. entaneer_cmu

    แนะนำ PANA ดีกว่าครับ ส่วนเทอร์โบล่า ไม่รู้ครับ

  2. pinhead2000

    เครื่องทำน้ำร้อน,น้ำอุ่น ที่ใช้ระบบ เพรสเชอร์  ควบคุมมีปัญหาน้อยกว่าครับ

  3. piya_kasi

    Pressure switch เจตนาการออกแบบต้องการให้เครื่องทำงานเมื่อเกิดความดันจากการไหลของน้ำที่เพียงพอ เป็นลักษณะ Dynamic pressure
    ปัญหา
    – เมื่อเกิดการอุดตันในตำแหน่งหลัง switch ไม่ว่าจะด้วยการติดตั้งก๊อกน้ำผิดฝั่ง คือติดไว้ฝั่งน้ำขาออก หรือเกิดตะกรันในตัวเครื่อง เครื่องอาจจะทำงานได้โดยที่ไม่มีน้ำไหลผ่าน หรือน้ำผ่านได้น้อย เป็นลักษณะ Static pressure สุดท้ายจะเกิด OVer heat
    – สปริงในชุดสวิตซ์ จะล้า(แรงน้อยลง) เมื่อใช้งานไปนาน ๆ

    Flow switch เจตนาการออกแบบต้องการให้เครื่องทำงานเมื่อเกิดการไหลของน้ำที่เพียงพอ
    ปัญหา
    -Flow switch จะมีระยะหน้าสัมผัสที่น้อยมาก เมื่อใช้งานไปนาน ๆ จะเสีย

  4. pinhead2000

    ความคิดเห็นที่ 3  น่าจะเข้าใจเรื่อง Flow switch ในเครื่องทำน้ำร้อน,น้ำอุ่น ไม่ถูกต้องนัก Flow switch  ในเครื่องทำน้ำร้อน,น้ำอุ่น มักจะเป็นเเบบ อีเล็คโทรนิคส์ประเภท  current sensor ครับ

    เพราะโดยปรกติโดยตัวเซ็นเซอร์จะตรวจสอบทำการ NO เเละ NC ตรวจจับผ่านก้อนเเม่เหล็กเล็กๆที่อยู่ในช่องทางน้ำเข้า ก่อนที่จะจ่ายไฟไปที่หม้อต้ม ( จริงๆน่าจะเป็น NC  ครับ เพราะเวลาเปิดเครื่องทำน้ำร้อน-น้ำอุ่นพวกนี้ไม่มีเสียงรีเลย์ทำงานครับ )

      เท่าที่เจอๆมาเครื่องทำน้ำร้อน,น้ำอุ่น พวกนี้หากมีอาการเสียประเภทเปิดไม่ติดส่วนใหญ่จะรื้อเปิดดู ตรวจสอบอยู่ประมาณ 2-3 จุดใหญ่ เเต่เท่าที่เคยสอบถามช่างบริการเครื่องทำน้ำร้อนประเภท โฟลสวิทช์ มักจะเป็นปัญหาที่ ก้อนเเม่เหล็กที่อยู่ในช่องทางน้ำเข้าชำรุด( ลูกเหมือนลูกน่ำเลี๊ยบเล็กข้างในมีก้อนเเม่เหล็กสีดำ  อาการเสียชำรุดคือก้อนเเม่เหล็กที่อยู่ข้างในเเตก  ส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนตัวก้อนเเม่เหล็กใหม่ก็หายครับ ราคาอะไหล่ประมาณ ร้อยปลายๆ เเต่ค่าบริการ+ค่าเดินทางประมาณ 500-600 บาท ( ค่าเเรงซ่อมเเพงกว่าครับ ) ส่วนประเภท เเผงวงจร,ตัวไตรเเอค หรือ ตัวop-amp เสีย , ตัวเทอร์โมสตัท ตัดเพราะความร้อนเกิน ส่วนใหญ่มักไม่เจอเท่าปัญหาเท่าไร

      ดังนั้นหากคุณเลือกใช้โดยเฉพาะเครื่องทำน้ำร้อน เมื่อใช้งานน้ำร้อนเสร็จเเล้วควรที่จะปิดเครื่องให้น้ำเย็นผ่านตัวเครื่องก่อนที่จะยกเลิกการใช้งานปิดเครื่อง เพื่อไม่ให้น้ำร้อนค้างอนุ่ในหม้อต้ม เเละ ช่องทางน้ำเข้า จนทำให้ก้อนเเม่เหล็ก ที่ตัวเซ็นเซอร์ตรวจจับเสื่อมชำรุดเร็วกว่าทั่วๆไป

      อีกอย่างเรามักจะเจอข้อมูลที่บอกว่า เครื่องทำน้ำร้อน,น้ำอุ่น ระบบ Flow switch มีข้อดีสำหรับบ้านที่มีแรงดันน้ำประปาต่ำๆได้ถึงเเม้น้ำจะไหลอ่อนก็สามารถใช้งานได้ตรงนี้ผมไม่เถียงนะ ….. เเต่ในการใช้งานจริงมักมีปัญหาการตั้งปรับความร้อนผ่านฝักบัวมันลำบากมากๆในการใช้งานอยู่ดีครับ

  5. อาร์ต (อาร์ต-1)

    จขกท….
     ผมใช้แต่อาบน้ำเป็นหลัก ใช้ฝักบัวอย่างเดียวเลย เพราะทุบอ่างอาบน้ำออก และท่อเค้าเดินระบบรองรับเครื่องทำน้ำร้อนไว้ก่อนแล้ว
     สรุป…ผมใช้ระบบไหนดีกว่าเหรอครับ  (คืออ่านแล้วยังงง)  คือไม่ได้ใช้อ่างอาบน้ำเลย  แบบไหนผสมง่ายก็คุ้มค่า

  6. piya_kasi

    Flow switch ที่ใช้ในเครื่องทำน้ำอุ่นไม่ใช่ Current sensor ครับ
    แต่เป็นสวิตซ์ที่ทำงานโดยแรงแม่เหล็กก้อนเล็ก ๆ ตาม คคห 4 อธิบาย โดยส่วนมากชุดหน้าสัมผัสจะเป็น Ruthenium เฉพาะตัวชิ้นส่วนนี้คือ Reed switch ตามรูปที่ผ่าให้ดูภายใน

Comments are closed.