ผมสังเกตุ มานานหลายปีแล้วครับ ว่าทำไม ไม่สร้างให้เสร็จ ผมไปหาข้อมูลมาเห้นหยุดด่อสร้างไปตั้งแต่ปี 40 ซึ่ง ตอนนั้น ตารางเมตร ล่ะ 40000 ถึง 50000 เอง เพราะโดนพิษเศรษฐกิจ ปี 40 ด้วย แต่ตอนนี้ ที่แถวนั้น คง ขึ้น ไป ตรางเมตร เกือบแสน แล้ว หรือแสนกว่า
อันนี้เป็นข้อมูลคร่าว น่ะครับ เดีว ผมเอาข้อมูล มาโพสให้อ่านกันว่าเกิดไรขึ้น เพื่อ มี คนอยากรู้เหมือนผม
อ่อ แล้ว ท่านๆในที่นี้ มีความคิดเห็น อย่างไรกับโครงการ นี้ครับ
ผมคิดว่า โครงสร้างได้สร้างเสร็จแล้ว เหลือ เพียงแค่ตบแต่ง แล้ว นำมา resell ก็ ขายได้อยู่ดี
หรือ คิดว่า ไม่น่าจะกลับมาสร้างได้อีก ทุบทิ้งอย่างเดีว เพราะ ตัวอาคารไม่สามารถใช้ได้ แล้ว
หรือ ว่า ถึง resell ก็ไม่สามารถ ขายออกได้หมด ครับ
ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ
อันนี้รูปโครงการครับ เพื่อบางท่านนึกไม่ออก
ฟื้น’รัตนการเคหะ’ลงตัว ทุนสิงคโปร์-ไทย เสียบแทนพร้อมเปลียนชื่อใหม่เป็นไทย ‘ไทย พร็อพเพอร์ตี้’
ฟื้นซากรัตนะการเคหะลงตัว ดึงกลุ่มทุนสิงคโปร์ และไทยช่วยฟื้นเพิ่มทุนเป็น 2,000 ล้าน ในสัดส่วนกลุ่มไทย/ต่างชาติเป็น 68:32 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ไทย พร็อพเพอร์ตี้" มี "วิทวัส วิภากุล" กุมบังเหียน ส่วนกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม "ดร.ไวส์ ชัยพยุงพันธ์-ชายนิด โง้วศิริมณี" ยอมถอยเหลือหุ้นไม่ถึง 3% ประเดิมโครงกาแรกรคอนโดกลางเมือง "เมโทรโพลิส ราชประสงค์" ค่า 800 ล้านบาท และผุดบ้านเดี่ยว ในแลนด์แบงก์เก่าย่านรังสิต 40 ไร่ ชูนโยบายพัฒนาที่อยู่อาศัยเกาะแนวรถไฟฟ้า
นายวิทวัส วิภากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน ) หรือชื่อเดิม บริษัท รัตนะการเคหะ จำกัด (มหาชน ) เปิดเผย " ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่ครั้งสำคัญ โดยมีกลุ่มทุนจากประเทศสิงคโปร์และกลุ่มทุนไทย เข้ามาถือหุ้นใหญ่จำนวน 4 รายด้วยกัน ฝ่ายสิงคโปร์ ประกอบด้วย บริษัท โกลบอล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 35 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 17.42% และ Ever Effort Finance Limited จำนวน 31 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 15.78% รวมสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติ 32% โดยเป็นการชักชวนจากกรรมการของบริษัทท่านหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีนผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยอีก 2 ราย ได้แก่ บริษัท เอ็น.อาร์.แอล. บิสซิเนส จำกัด จำนวน 30 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 14.93% และบริษัท สตาร์ แอนด์ สกาย จำกัด จำนวน 25 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 12.44% ซึ่งเมื่อรวมกับผู้ถือหุ้นรายอื่นแล้วคิดเป็นสัดส่วนฝ่ายไทย 68% ซึ่งในการเพิ่มทุนครั้งนี้จะมีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมทั้งสิ้น 200 ล้านบาท และบริษัทได้ทำการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 800 ล้านบาท เป็น 2,009 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ฝ่ายไทย 2 รายดังกล่าวได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ให้กับนายเสรี ติยวุฒิโรจนกุล และนายสมบัติ บวรสมบัติ ซึ่งเป็นกลุ่มทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย ส่งผลให้นายเสรีฯ มีหุ้นในบริษัทจำนวน 31 ล้านหุ้น สัดส่วน 15.78% และนายสมบัติ จำนวน 23 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 11.60% และมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2548 ให้เปลี่ยนชื่อจากบริษัท บริษัท รัตนะการเคหะ จำกัด (มหาชน ) เป็น บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน ) โดยมีเป้าหมายในการทำธุรกิจคือพัฒนาที่อยู่อาศัยในเมืองตามแนวรถไฟฟ้าตอบสนองชีวิตคนเมืองภายใต้คอนเช็ปท์ "ชีวิตทันสมัยใจกลางกรุง" โดยจับกลุ่มเป้าหมายระดับบีบวก ราคาบ้านตั้งแต่ 2-5 ล้านบาท และสถานที่ตั้งของโครงการจะต้องห่างแนวรถไฟฟ้าไม่เกิน 1 กิโลเมตร โดยไม่ได้จำกัดการพัฒนาว่าจะเป็นแนวสูงหรือแนวราบ หากเป็นคอนโดมิเนียม ขนาดห้องจะอยู่ประมาณ 30 ตร.ม. สูงสุดไม่เกิน 70 ตร.ม.
นายวิสวัส กล่าวต่อว่า การกลับเข้ามาสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เต็มตัวในครั้งนี้ ภายใต้ชื่อ บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน ) จะเริ่มพัฒนาโครงการเมโทรโพลิส ราชประสงค์ ขนาดความสูง 26 ชั้น ด้านบนของอาคารประตูน้ำ เซ็นเตอร์ จำนวน 309 ยูนิต ราคาขายตร.ม. 40,000-50,000 บาท มูลค่าโครงการประมาณ 800 ล้านบาท จับกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักธุรกิจและอินเวสเมนท์ที่ต้องการซื้อไว้ลงทุน โดยจะเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ส.ค.นี้ ปัจจุบันนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงสร้างของโครงการซึ่งเกือบเสร็จสมบูรณ์ เหลือแต่งานวางระบบและงานอาคิเตท คาดว่าในอีก 1 เดือนให้หลังจะสามารถเข้าอยู่ได้ สำหรับโครงการประตูน้ำ เซ็นเตอร์ บริษัทได้โอนสิทธิการเช่าไปให้กับกลุ่มผู้ถือหุ้นจีนคือ บริษัท เกรทไชน่า มิลเลนเนียม (ไทยแลนด์ ) จำกัด เป็นสัญญาต่างตอบแทนปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนหุ้นเหลืออยู่ประมาณ 30% เท่านั้น
นอกจากนี้บริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาที่ดินอีกหนึ่งแปลงในย่านรังสิต ซึ่งเป็นที่ดินเาของบริษัทขนาดพื้นที่ 40 ไร่ ปัจจุบันกำลังพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวภายใต้ชื่อโครงการบ้านสินธร รังสิต จำนวน 40 กว่ายูนิต มูลค่า 170 ล้านบาท เปิดขายในเดือนก.ย.นี้ และบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อซื้อที่ดินเข้ามาอีก 2 แปลง เพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคตคือในย่านถนนรัชดา ขนาดแปลง 3-4 ไร่ และถนนสุขุมวิท ขนาดแปลง 2 ไร่ โดยนโยบายหรือทิศทางการดำเนินธุรกิจและการลงทุนของบริษัทจากนี้ไปคือ สัดส่วนหนี้สินต่อทุนจะต้องไม่เกิน 1:1 จากอดีตที่เคยสูงถึง 4:1 โดยปัจจุบันนี้มีสัดส่วนหนี้สินไม่ถึง 0.5 พร้อมทั้งระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้นจับกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงน้อย
ส่วนรายได้ในปีนี้ นายวิทวัส กล่าวว่า น่าจะมียอดขายที่เกิดจากโครงการเมโทรโพลิส 830 ล้านบาท และจากโครงการบ้านสินธร รังสิต 170 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ฯ หรือชื่อเดิม รัตนะการเคหะ คาดว่าจะกลับเข้ามาเทรดในตลาดได้ในต้นปีหน้า ภายใต้ชื่อหลักทรัพย์ TPROT เนื่องจากมีกำไรที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้ใน 2 ไตรมาสติดต่อกัน ปัจจุบันนี้อยู่ระหว่างการหาที่ปรึกษาทางด้านการเงิน
ทั้งนี้ บริษัทได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปี 2547 แม้จะใช้ระยะเวลานานแต่ก็ยังเป็นความโชคดีที่ไม่ได้ใช้กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ และเงินทุนจากต่างประเทศ ทำให้ปัญหาการปรับโครงสร้างหนี้ไม่ยุ่งยากเหมือนผู้ประกอบการรายอื่นๆ โดยมีมูลหนี้ขณะนั้น 4,300 ล้านบาท หนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินไฟแนนท์ที่ถูกปิดกิจการ, หนี้การค้า และหนี้ของกรรมการ ในช่วงต้นของการปรับโครงสร้างนี้ขณะนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากเนื่องมูลหนี้ยังไม่นิ่ง ต่อมาหนี้ได้ถูกโอนมายังบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) โดยแฮร์คัดลงมาเหลือหนี้ 1,200 ล้านบาท และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) อีก 800 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทได้ชำระหนี้คืนหมดเรียบร้อยแล้วโดยนำที่ดินโครงการสินธร อ่อนนุช พื้นที่กว่า 30 ไร่ และที่ดินโครงการสินธร มหาชัย อีก 100 ไร่ รวมมูลค่าประมาณ 600 ล้านบาทมาตีทรัพย์ชำระหนี้ ส่วนที่เหลือชำระเป็นเงินสดจากทุนจดทะเบียน
ปัจจุบัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน 10 อันดับแรกของบริษัทในปัจจุบันได้แก่ บริษัท โกลบอล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากประเทศสิงคโปร์ สัดส่วนการถือหุ้น 17.42% จำนวน 35 ล้านหุ้น, นายเสรี ติยวุฒิโรจนกุล สัดส่วน 15.78% จำนวน 31.7 ล้านหุ้น, Ever Effort Finance Limited สัดส่วน 14.93% จำนวน 30 ล้านหุ้น, นายสมบัติ บวรสมบัติ สัดส่วน 11.60% จำนวน 23.3 ล้านหุ้น, บริษัท เดอะซี.อี.ซี.คอนสตรัคชั่น จำกัด สัดส่วน 7.96% จำนวน 16 ล้านหุ้น, นายสมชาย กอประสพสุข สัดส่วน 9.96% จำนวน 20 ล้านหุ้น, บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย ) จำกัด สัดส่วน 1.99% จำนวน 4 ล้านหุ้น,ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน ) สัดส่วน 1.63% จำนวน 3 ล้านหุ้น และนางสาวจันทรา-พุทธนารถ วัฒนโสภณ รายละ 1.10% คิดเป็นสัดส่วนคนละ 2.2 ล้านหุ้น โดยนายชายนิด โง้วศิริมณี ถืออยู่ 0.97% และนายไวท์ ชัยพยุงพันธ์ 1.30% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 2,009 ล้านหุ้น โดยมีสัดส่วนระหว่างผู้ถือหุ้นไทยและต่างชาติ 67.40 : 32.60
ในส่วนของคณะกรรมการนั้น ได้มีกรรมการใหม่เข้ามาเพิ่มเติม ได้แก่ ดร.เสรี วงษ์มณฑา, มร.คล้าย วอลล์, นายวิษณุ วรรณพฤกษ, นายสมบัติ บวรสมบัติ และนายเสรี ติยวุฒิโรจนกุล ส่วนกรรมการเก่า ประกอบด้วยนายชายนิด โง้วศิริมณี, นายลิขิต สมนวลตาด, นายสุรินทร์ พลยะศรีสวัสดิ์, นายสุพจน์ ศิริพรเลิศกุล และนายเฉลิมชนม์ บุปผาคำ นอกจากนั้น บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) มีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ในปี 2546 1,895 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 2,433 ล้านบาท และปี 2547 มีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 235 ล้านบาท
ย้อนตำนานเหตุการณ์สำคัญ ‘รัตนะการเคหะ’
บริษัท รัตนะการเคหะ จำกัด (มหาชน ) เดิมเป็นของคุณหญิงพัชรี ว่องไพฑูรย์ เจ้าของฉายา "คุณหญิงเหล็กแห่งตลาดหุ้น" ภรรยา ดร.วีระนนท์ ว่องไพฑูรย์ และบุตรสาวของ ดร.พิชัย รัตตกุล พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในแถบชานเมืองภายใต้แบรนด์บ้าน "สินธร" และ "สราญรมย์" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2528 ผู้ร่วมก่อตั้งคือ ดร.ไวส์ ชัยพยุงพันธ์ และดร.วีระนนท์ ว่องไพฑูรย์ ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท
หลังคุณหญิงพัชรีฯ ถูกทางการดำเนินคดีข้อหาปั่นหุ้นและทุจริตจนต้องทิ้งกิจการให้กับกลุ่มใหม่ที่มี บงล.นวธนกิจ, นายสุริยะ สุระสนิทธานนท์ และนายโชติมา ทวีวงศ์ ณ อยุธยา โดยมี ดร.ไวส์ ชัยพยุงพันธ์ เป็นกรรมการผู้จัดการ ได้พารัตนะการเคหะฯ กลับเข้าสู่เส้นทางธุรกิจอีกครั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนยักลงทุน โวยการเจรจาเช่าที่ดินบริเวณตลาดเฉลิมโลก ประตูน้ำ เพื่อสร้างโครงการประตูน้ำ คอมเพล็กซ์ มูลค่าโครงการกว่า 6,000 ล้านบาท ต่อมาเดือนพ.ย. 2538 การก่อสร้างโครงการดังกล่าวต้องหยุดชะงักลงอันเนื่องมาจากผลกระทบทางวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้บริษัทรัตนะการเคหะฯประสบปัญหาขาดสภาพคล่องและการขาดทุน โดยมีมูลหนี้ 4,300 ล้านบาท กับไฟแนนซ์ที่ถูกปิดกิจการไปจากเหตุการณ์ปี 2540
ในระหว่างปี 2546 จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ได้มีการเจรจากับผู้ให้กู้และเจ้าหนี้ต่างๆ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ โดยเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2545 บริษัทได้เข้าทำสัญญาต่างตอบแทนกับผู้ลงทุนรายใหม่ บริษัท เกรทไชน่า มิลเลนเนียม (ไทยแลนด์ ) จำกัด ในโครงการประตูน้ำ คอมเพล็กซ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่อง โดยโอนสิทธิการเช่าให้บริษัท เกรทไชน่าฯ ในราคารวม 2,037 ล้านบาท เป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยรัตนะการเคหะยังได้รับสิทธิการเช่าพื้นที่เช่ารวม 24,136 ตร.ม. ในอาคารบี ชั้น 14-39 เพื่อพัฒนาเป็นห้องชุดอาศัย พร้อมกับถือหุ้นในโครงการดังกล่าว 30%
โดยเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2547 (ข้อมูลจากกรมทะเบียนการค้า ) ระบุว่าได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 2,009 ล้านบาท ต่อมาวันที่ 14 ก.ค 2547 ที่ประชุมคณะกรรมการได้มีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 2,009 ล้านบาท เป็น 5,109 ล้านบาท โดยเสนอขายให้กับนางสาวสุมนมาศ ลีปิสุนทร จำนวน 310 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาท พร้อมมีมติให้ซื้อที่ดิน 2 รายการ จากนางสาวสุมนมาศฯ จำนวน 448 ไร่ ในจังหวัดสมุทรสาคร ราคารวม 1,073 ล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 มีมติให้ยกเลิกการซื้อที่ดินดังกล่าว และยกเลิกการเพิ่มทุนจดทะเบียน ที่ต้องการให้เพิ่มอีก 3,100 ล้านบาท รวมเป็น 5,109 ล้านบาท
ต่อมาในวันที่ 30 ก.ย. 2547 (ข้อมูลจากกรมทะเบียนการค้า ) ปรากฎรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 อันดับแรก ประกอบด้วย บริษัท โกลบอล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด สัดส่วน 17.42% บริษัท เอ็น.อาร์.แอล. บิสซิเนส จำกัด 14.92% EVER EFFORT FINANCE LIMTED 14.93% บริษัท สตาร์ แอนด์ สกาย จำกัด 12.44% นายสมชาย กอประสพสุข 9.95% และเดอะซี.อี.ซี. คอนสตรัคชั่น จำกัด 7.96% โดยกลุ่มบริษัท โกลบอล ฯ และกลุ่ม EVER EFFORT เป็นผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากประเทศสิงคโปร์
จากนั้นในวันที่ 10 พ.ค. 2548 บริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ฝ่ายไทย 2 ราย โดยบริษัท เอ็น.อาร์.แอล บิสซิเนส จำกัด ซึ่งเดิมถืออยู่ 30 ล้านหุ้น สัดส่วน 14.93% และบริษัท สตาร์ แอนด์ สกาย จำกัด ซึ่งเดิมถืออยู่ 25 ล้านหุ้น สัดส่วน 12.44% ได้ขายหุ้นออกไป โดยมีนายเสรี ติยวุฒิโรจนกุล เข้ามาถือหุ้นแทนในจำนวน 31 ล้านหุ้น สัดส่วน 15.78% และนายสมบัต บวรสมบัติ จำนวน 23 ล้านหุ้น สัดส่วน 11.60% บริษัท ศูนย์ฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย ) จำกัด จำนวน 4 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.99% และการประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2548 มีมติให้เปลี่ยนชื่อจากบริษัท บริษัท รัตนะการเคหะ จำกัด (มหาชน ) เป็น บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน ) พร้อมกับการเปิดตัวโครงการ เมโทรโพลิส ราชประสงค์ มูลค่า 800 ล้านบาท ในวันที่ 18 ส.ค.ที่จะถึงนี้
ไทยพร็อพเพอร์ตี้จีบแบงก์นอกร่วมทุน ปั้นภาพลักษณ์ปูพรมก่อนเทรดรอบ2
สุกัญญา สินถิรศักดิ์
จับตาแนวทางแสวงหาทุนก้อนใหม่ของ "ไทย พร็อพเพอร์ตี้" หลังดึงเม็ดเงินจาก 2 กลุ่มทุนสิงคโปร์ เข้าฟื้น "รัตนะการเคหะ" พร้อมยกเครื่องใหม่ทั้งองค์กร "วิทวัส วิภากุล" ฐานะหัวเรือใหญ่ เล็งดึงกลุ่มแบงก์ต่างชาติเข้าร่วมทุน หวังสร้างภาพลักษณ์ ความมั่นคงขององค์กรให้นักลงทุนมั่นใจ ก่อนติดปีกกลับเข้าเทรดในตลาดอีกครั้ง
—————————–
หวนกลับมาเดินหน้าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกครั้ง หลังหยุดชะงักไปนาน 4-5 ปีสำหรับกลุ่มผู้บริหาร "ไทย พร็อพเพอร์ตี้" ที่แปลงโฉมหน้าใหม่จาก "รัตนะการเคหะ" อดีตผู้บริหารโครงการใหญ่ "ประตูน้ำ เซ็นเตอร์" และกลุ่มผู้ประกอบการบ้านชานเมืองราคาถูก เจาะกลุ่มลูกค้าระดับล่าง มาสู่ภาพลักษณ์ใหม่ ในฐานะผู้ประกอบการบริหารโครงการที่พักอาศัยย่านใจกลางเมือง ภายใต้คอนเซปต์ "ชีวิตทันสมัยใจกลางธุรกิจ" ชิมลางเปิดตัวโครงการแรกคอนโดมิเนียม "เมโทรโปลิส ราชประสงค์"
ทิศทางการทำตลาดพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ถูกเปลี่ยนแปลงจากบริษัทเดิมอย่างสิ้นเชิง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการมองเห็นโอกาสทองของการพัฒนาที่ดินบริเวณใกล้แนวรถไฟฟ้า หรือย่านที่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดี และมองเห็นช่องว่างที่จะเจาะเข้าไปได้ จึงวางเป้าหมายที่จะพัฒนาที่พักอาศัยเกาะแนวรถไฟฟ้าแทนทำตลาดย่านชานเมือง
นอกจากนี้ การดึง 2 กลุ่มทุนจากสิงคโปร์เข้ามาร่วมถือหุ้น รวมสัดส่วนการถือหุ้นกว่า 30% ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการบริหารองค์กร ที่จะต้องสรรหาแหล่งเงินทุนที่หนาแน่น และมั่นคงเข้ามาร่วม เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ในภาวะที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เหมือนรัตนะการเคหะในอดีต ซึ่งการแสวงหากลุ่มทุนใหม่ของไทย พร็อพเพอร์ตี้ จะไม่หยุดอยู่เพียงกลุ่มทุนของผู้ประกอบการเรียลเอสเตทต่างชาติเท่านั้น แต่กำลังก้าวไปสู่กลุ่มทุนที่จะช่วยเสริมทั้งเงินและภาพลักษณ์ความมั่นคงให้กับองค์กรด้วย
วิทวัส วิภากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับกลุ่มทุนของแบงก์ต่างชาติ ที่มีสาขาอยู่ในไทยให้เข้ามาร่วมถือหุ้นด้วย อาจจะมีสัดส่วนการถือหุ้นที่ 10-20% ซึ่งการที่มีกลุ่มแบงก์เข้ามาถือหุ้นด้วย จะยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของบริษัทมั่งคงขึ้น สามารถสนับสนุนการทำธุรกิจในระยะยาว หรือการทำตลาดให้กับไทย พร็อพเพอร์ตี้ได้เป็นอย่างดี
ส่วนกลุ่มนักพัฒนาที่ดินจากสิงคโปร์นั้น จะช่วยสนับสนุนทั้งด้านการเงินและโนว์ฮาว ในการพัฒนาโครงการตึกสูง เพราะมูลค่าที่ดินในสิงคโปร์ บังคับให้ดีเวลลอปเปอร์พัฒนาโครงการตึกสูงเป็นหลัก กลุ่มทุนกลุ่มนี้จึงมีความเชี่ยวชาญ มีเทคโนโลยี การออกแบบตึกสูงมาก สอดรับกับนโยบายใหม่ของไทย พร็อพเพอร์ตี้ ที่ต้องการพัฒนาโครงการในใจกลางเมือง รวมถึงการทำตลาดจะไม่จำกัดเฉพาะในประเทศ สามารถขยายวงกว้างไปในประเทศของกลุ่มทุนที่มีอยู่ ทำให้ได้ลูกค้าในระดับวงกว้างมากขึ้น
การสรรหากลุ่มผู้ร่วมทุนที่น่าเชื่อถือ ทั้งด้านเงินทุน และความเป็นมืออาชีพในการบริหารโครงการ ถือเป็นทางลัดในการสร้างภาพลักษณ์ที่มั่นคงให้กับองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่เพิ่งกลับมาฟื้นตัวใหม่อย่างไทย พร็อพเพอร์ตี้ และวางแผนจะกลับเข้าไปเทรดในตลาดอีกครั้งต้นปี 2549 ภายหลังปรับโครงสร้างหนี้เสร็จ ซึ่งการที่ไทย พร็อพเพอร์ตี้จะกลับเข้าไปเทรดในตลาดอีกรอบ จำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับการเดินเข้าตลาดในครั้งแรก เพราะจะต้องล้างภาพที่เคยล้มให้หมด แต่งองค์กรใหม่ให้ดูแข็งแรงน่าเชื่อถือ มองเห็นอนาคตการลงทุนที่สดใส ได้อย่างชัดเจน
โครงการอาคารชุด "เมโทรโปลิส ราชประสงค์" จำนวน 26 ชั้น 309 ยูนิต มูลค่าโครงการกว่า 800 ล้านบาท ราคา 1.5-3 ล้านบาท ตั้งอยู่บนโครงการประตูน้ำ เซ็นเตอร์ เป็นโครงการแรกของไทย พร็อพเพอร์ตี้ แต่เป็นโครงการปัดฝุ่นจากโครงการเก่าของรัตนะการเคหะ ซึ่งด้วยทำเลที่อยู่ใจกลางเมือง และอยู่ใกล้แอร์พอร์ตลิ้งค์มักกะสัน ทำให้ไทย พร็อพเพอร์ตี้ มั่นใจว่า จะสามารถขายหมดได้ภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันจำหน่ายไปได้แล้ว 30% หรือประมาณ 200 ล้านบาท
โครงการที่สองต่อจากนี้ เป็นบ้านเดี่ยว ย่านรังสิต จำนวน 40 หลัง มูลค่า 160 ล้านบาท ระดับราคาประมาณ 3 ล้านบาท ก่อสร้างเสร็จไปแล้ว 50% เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการปลายเดือน ก.ย.นี้ พัฒนาที่ดินเหลือจากโครงการเดิมของสินธร รังสิต (เดิมพัฒนาโดยรัตนะการเคหะ) ประมาณ 10 ไร่เศษ
วิทวัส กล่าวว่า แผนขยายโครงการใหม่ต่อไปวางไว้ประมาณ 3-5 โครงการ เน้นทำเลใจกลางเมืองเป็นหลัก ทำราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท ทยอยพัฒนาปีละ 2 โครงการ จะไม่ทำพร้อมกันหลายโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินประมาณ 3-4 ไร่ คาดว่า จะพัฒนาเป็นโครงการแนวสูง ที่ดินย่านสุขุมวิท ใกล้ศูนย์การค้าเอ็มโพเรี่ยม และที่ดินบริเวณลาดพร้าว 71 ซึ่งแม้ว่าจะไม่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าแต่ใกล้ทางด่วนเอกมัย รามอินทรา ถือว่าสะดวกในการเดินทางเช่นกัน
"ตอนนี้ราคาน้ำมันแพง และไม่รู้ว่าราคาจะนิ่งที่เท่าไร ทำให้คนต้องการที่อยู่อาศัยใกล้แมส ทรานซิส สะดวกในการเดินทาง แต่เราจะทำที่ระดับราคาไม่สูงนักตามความต้องการของตลาดในขณะนี้ แต่ถ้าทำเลไหนราคาที่ดินสูงมาก อาทิ สุขุมวิท อาจจะปรับขนาดห้องให้เล็กลง เพื่อคุมราคาให้อยู่ในระดับ 5-6 ล้านบาทได้"
ทั้งนี้ หลังจากรัตนะการเคหะขายโครงการ ประตูน้ำ เซ็นเตอร์ ที่ประกอบด้วย ศูนย์การค้า, โรงแรม และอาคารสำนักงาน ให้กับบริษัท เกรทไชน่า มิลเลนเนียม จำกัด กลุ่มทุนจากประเทศจีนแล้ว เหลือเพียงส่วนของคอนโดมิเนียมที่ยังเป็นทรัพย์สินของไทย พร็อพเพอร์ตี้ และหุ้นบุริมสิทธิในโครงการดังกล่าวอีกประมาณ 30%
โดยโครงการประตูน้ำ เซ็นเตอร์ มีด้วยกัน 3 อาคาร จำนวน 39 ชั้น โดยฐานด้านล่างจะเป็นศูนย์การค้าประมาณ 7 ชั้น เริ่มเปิดให้บริการบางส่วน และอยู่ระหว่างเจรจากับเทสโก้ โลตัส และแม็คโคร เพื่อเสริมในส่วนของการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค และตั้งแต่ชั้น 9 และ 10 จะเป็นส่วนของอาคารสำนักงาน โรงแรม และคอนโดมิเนียม ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง หากแล้วเสร็จทั้งหมด โครงการนี้จะมีมูลค่าประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท
"ผมเป็นคนเริ่มโปรเจคนี้ ผมอยากเห็นมันเสร็จ เพราะอยู่ในย่านชอปปิง สตรีท มีทั้งประตูน้ำ เซ็นเตอร์, สยามพารากอน, มาบุญครอง, เกษร พลาซ่า, เซ็นทรัล เวิลด์, แพลทตินั่ม ซึ่งแม้จะมีรีเทลจำนวนมาก แต่ไม่ถือว่าซัพพลายล้น เพราะทุกรีเทลมีโพซิชันแตกต่างกัน" วิทวัส กล่าวและว่า
โครงการประตูน้ำ เซ็นเตอร์ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัตนะการเคหะในยุคนั้นต้องแบกภาระหนี้สินก้อนโต จากการก่อสร้างโครงการมูลค่ามหาศาล จนต้องปิดม่านให้กับวงการนี้ชั่วคราวเมื่อเจอพิษเศรษฐกิจปี 2540 ถือเป็นบทเรียนราคาแพงต่อการทำธุรกิจให้ไทย พร็อพเพอร์ตี้ในปัจจุบัน
อันบนนั้น ข้อมูลที่ผมได้มาจากเวป นึงน่ะครับ ลองอ่านๆแล่ว แสดงความคิดเห็นด้วยน่ะครับ
เท่าที่รู้เป็นที่ดินเช่ากรมการศาสนาระยะยาว
ในตอนหลังโดน เฮีย ปอ ประตูน้ำ เทคโอเวอร์โครงการไป
แถวประตูน้ำเป็นที่ทรัพย์สินหรือเปล่า อยากรู้ครับ
มันอาจเป็นบาปกรรม ครับ
คนประตูน้ำ เค้าค้าขายกันอยู่ดีๆ จำใจต้องทิ้งทำเล เพื่อสร้างโครงการ
ตอนแรก เกณ เด็ก คนแก่ไปประท้วงอาม่าผมก็ไปด้วย ตอนหลัง … อยากรู้ ต้องไปถาม คนเดิมแถวนั้นดู รันทดใจจิงๆ
สำหรับผม ที่ที่ทำมาหากินไม่ขึ้น ใครไปอยู่ ก็ลำบากหน่อย
ต้องหาแม่เหล็ก ไปวาง อย่าง เทสโก้โลตัส น่าจะช่วยฉุด คนได้
ผมไม่ได้อ่าน ที่ จขทก เอามาลงละเอียดนัก นะ
ดูเวิลเทรด เปลี่ยนฮวงจุ้ย แล้ว นึกว่าดี ยังโดนเผาจนได้
ผมผ่านเห็นมันไม่มีคน สมน้ำหน้าในใจตลอด บ้านผม เคยอยู่ ซ.จารุรัตน์
บ้านอาม่า ผมอยู่ ตรงประตูน้ำคอมเพล็กเลย
ถ้าที่ดินเป็นของกรมการศาสนา
ไม่ใช่เป็นการซื้อขาด ราคาไม่ควรเป็นแสน/ตรม.
ผู้ซื้อบางคนอาจไม่เข้าใจต้องระวังให้ดี
#6 เรื่องจริงครับ
ตอนนึ้ไม่ได้เป็นของเฮียปอแล้วครับ เท่าที่รู้ เป็นของคนเยาวราช ครับ
มีตึกใกล้กันด้วยนะครับ ติดริมถนนใหญ่ ร้างเหมือนกัน
Lease hold นะท่าน
เคยเห็นโครงการแถวนั้น ให้จองผ่อนดาวน์ 13,000 บาท ก็ไม่แพงค่ะ แต่ไม่เข้าใจเรื่องกรรมสิทธิ์ครอบครองค่ะ
อ่านแล้วรู้สึกโครงสร้างการถือหุ้นซับซ้อนนะครับ และกรรมสิทธิ์ที่ดินตรงประตูน้ำนี่เป็นของใครกันแน่ครับ