ส้วมตัน กับ ส้วมเต็ม อาการมันต่างกันอย่างไรครับ

พอดีบ้านเป็นบ้านอยู่ริมแม่น้ำ อยู่มาเกือบ 20 ปีไม่เคยดูดส้วม เลยเข้าใจว่าบ้านคงถูกสร้างโดยไม่มีบ่อพัก ต่อตรงเหมือนหลังอื่นๆ ก้มไปดูใต้ถุนก็เจอเป็นลักษณะก่ออิฐขึ้นมา เลยไม่รู้ว่าสรุปมีบ่อหรือไม่มีบ่อ

วันนี้ชักโครกเกิดอาการเอ่อขึ้นมา มันหมุนไม่คล่อง น้ำเอ่อขึ้นซักพักแล้วค่อยๆลง นั่งเถียงกับแฟนว่าบ้านเราส้วมตันหรือส้วมเต็มกันแน่

มีใครเป็นเซียนส้วมบ้างครับ รบกวนไขข้อข้องใจที ^^ ขอบคุณครับ

By: hamtaew
Since: 4 ก.ย. 55 10:11:59

คำค้นหา:

  • อาการส้วมเต็ม
  • https://www thaider com/homepro/42294

7 thoughts on “ส้วมตัน กับ ส้วมเต็ม อาการมันต่างกันอย่างไรครับ

  1. admin Post author

    ถ้าส้วมตัน มันจะกดไม่ลงเลยค่ะ ยิ่งกด ก็ยิ่งเอ่อขึ้น

    อย่างกรณีของ จขกท ส้วมน่าจะใกล้เต็มมากกว่าค่ะ

    By: lovejustinkung
    Since: 4 ก.ย. 55 11:12:28

  2. admin Post author

    ลองราด EM ลงไปในชักโครกดูค่ะ
    ถ้าเต็ม น่าจะช่วยย่อยสิ่งปฏิกูลลงไปได้
    อาจจะไม่ต้องสูบ

    By: เหม่งคุง
    Since: 4 ก.ย. 55 11:25:32

  3. admin Post author

    ระบบบ่อส้วมซึมนั้น เป็นระบบธรรมชาติที่ใช้จุลลินทรย์เป็นตัวย่อยสลายอุจจารระที่ปล่อยลงไปในบ่อ (ปัจจุบัน ได้พัฒนามาเป็นแบบถังสำเร็จแล้วครับ) ซึ่งจุลลินทรีย์มีอยู่หลายชนิด แต่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทต้องการอ๊อกซิเจนมาก และประเภทที่ต้องการอ๊อกซิเจนน้อย

    ในบ่อส้วมซึมที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ต้องการอ๊อกซิเจนน้อย การย่อยสลายจะช้ากว่าประเภทแรก แต่ก็เพียงพอต่อการย่อยสลายแต่ละวันในจำนวนคนที่ใช้ครับ  (ปริมาตรของบ่อที่บรรจุ)

    ดังนั้น จึงต้องบอกว่า บ่อบำบัดชนิด บ่อเกรอะบ่อซึม จะไม่มีโอกาสเต็ม ถ้าไม่มีอะไรเข้าไปแย่งเนื้อที่ปริมาตรในบ่อครับ

    อะไรที่สามารถเข้าไปแย่งเนื้อที่ในบ่อ จะทำให้ เกิดอาการส้วมเต็มได้ ก็คือ "น้ำ" ครับ  ซึ่งโดยปกติแล้ว น้ำจะเป็นตัวช่วยนำพาอุจจาระไหลลงไปในบ่อเกรอะได้ง่าย แต่ก็ด้วยการต่อท่อภายในบ่อเกรอะ ทำให้ระดับน้ำส่วนที่จะเพิ่มสูงขึ้นนั้น ได้ไหลเข้าไปในบ่อซึมที่จะซึมออกไปในดินที่อยู่รอบๆบ่อซึมครับ (ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นถังแซคสำเร็จรูปที่รวมบ่อเกรอะบ่อซึมไว้ด้วยกัน โดยมีผนังแยกอยู่ในถังเดียวกันครับ)

    ถ้าระดับน้ำใต้ดินสูง (ส่วนใหญ่ระดับน้ำใต้ดินจะอยู่ระดับคงที่ แต่ที่ทำให้ระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้น เนื่องจากหลายๆกรณี แต่ที่มี%ที่เป็นไปได้มากที่สุดคือการทรุดตัวของดินบริเวณนั้นครับ) ทำให้น้ำในบ่อซึมสูงขึ้นตาม จนกระทั่งแทนที่จะซึมออกไปรอบๆบ่อ กลับกลายเป็น ไหลย้อนเข้าบ่อเกรอะ จนทำให้เนื้อที่ปริมาตรในการบรรจุอุจจาระน้อยลง อากาศภายในก็น้อยตามไปด้วย จุลลินทรีย์แม้ว่าต้องการอากาศน้อยก็ตาม แต่ถ้าน้อยเกินไปก็อยู่ไม่ได้ครับ ระบบการย่อยสลายก็จะด้อยประสิทธิภาพไปด้วยครับ ถึงแม้ว่า เราจะใช้วิธีสูบส้วมให้มีปริมาตรการกักเก็บมากขึ้นก็ตาม แต่ด้วยระดับน้ำใต้ดินสูง สูบไปไม่กี่วัน ส้วมก็กลับมาเต็มอย่างเดิมครับ หรือการเติม  EM ก็ตาม (EM ก็คือจุลลินทรีย์นั่นแหละครับ) สามารถช่วยได้ระยะเดียว เพราะว่า ปริมาณอ๊อกซิเจนในบ่อต่ำมาก ใส่ลงไปไม่นานก็ตายหมดครับ

    วิธีแก้ไข ป้องกันส้วมเต็มนั้น พอจะทำได้ 2 วิธีคือ

    – ทำให้บ่อเกรอะบ่อซึม สูงขึ้นมาจากระดับน้ำใต้ดิน
    – ใช้ถังแซคสำเร็จรูปที่ป้องกันระดับน้ำใต้ดินไม่ให้เข้าไปรบกวนระบบย่อยสลายภายในครับ (น้ำที่ล้นจากถังแซคจะออกไปตามท่อระบายออก ไปลงดินหรือท่อระบายน้ำครับ)

    By: Moonlight Sonata
    Since: 4 ก.ย. 55 12:13:21

  4. admin Post author

    เข้ามาเก็บความรู้จากคุณ Moonlight Sonata ขอบคุณมากคะ 

    By: Diesel Engine
    Since: 4 ก.ย. 55 15:28:51

  5. admin Post author

    สรุป ส้วมตัน ครับ ช่างมาจัดการเรียบร้อย ขอบคุณทุกท่านครับ

    By: hamtaew (hamtaew)
    Since: 4 ก.ย. 55 17:14:07

Leave a Reply