ช่วงรอยต่อระหว่างหัวเสากับกลางเสานะครับ ผรม.ทำมาเป็นแบบนี้ใช้ได้หรือไม่ครับ
1.เห็นบางอันก็งอ บางอันไม่งอครับ
2.บางอันวางเหลื่อมกัน บางอันวางไม่เหลื่อมกันครับ ตามความคิดผมว่าวางยิ่งเหลื่อมกันน่าจะดีกว่าหรือเปล่าครับ
By: Mr.unknow
Since: 10 ก.ย. 55 20:55:05
คำค้นหา:
- เหล็กคอม้า
คานตรงนี้ มีทั้งที่งอปลาย กับไม่งอปลายครับ
By: Mr.unknow
Since: 10 ก.ย. 55 20:55:59
อันนี้ไม่งอทั้งคู่ครับ แล้วระยะมันเหลื่อมกันนิดเดียวเอง
By: Mr.unknow
Since: 10 ก.ย. 55 20:57:08
ด้านนี้ดูตรงที่วงแดงๆไว้ มันไม่เหลื่อมกันเลย
By: Mr.unknow
Since: 10 ก.ย. 55 20:58:50
อันนี้งอปลายทั้งคู่ แถมวางเหลื่อมกัน แต่ยังน้อย เหล็ก 20มม. วัดระยะเหลื่อมกันได้แค่ 20ม. เอง
By: Mr.unknow
Since: 10 ก.ย. 55 21:00:29
ขอคำแนะนำจากเพื่อนๆสมาชิกด้วยครับ
By: Mr.unknow
Since: 10 ก.ย. 55 21:01:40
ขอภาพมุมกว้าง คือเห็นตลอดแนวคาน ได้เปล่าครับ
ที่เห็นมันเป็นเหล็กเสริมพิเศษครับ
ถ้ามีแปลนขยายคานประกอบด้วยจะดีมาก
มันจะมีระยะบังคับอยู่ในแปลนขยายคาน
แบบขยายก็จะประมาณนี้ครับ
By: หน้าต่างไร้กลอน
Since: 10 ก.ย. 55 22:46:31
คุณหน้าต่างไร้กลอน พอดีไม่ได้ถ่ายภาพตลอดแนวคานไว้เลยครับ เดี๋ยวเช้าจะถ่ายภาพเพิ่มเติมให้นะครับ
ส่วนเรื่องแปลน ในพิมพ์เขียวไม่เห็นมีแปลนขยายคานเลยครับ มีแค่ส่วนหัวเสา กับกลางคานว่าใช้เหล็กอะไรเท่านั้นเอง
By: Mr.unknow
Since: 10 ก.ย. 55 22:57:29
ดูไม่ค่อยรู้เรื่อง ถ้าระหว่างเสาประมาณ 4 เมตร
รูปที่ 2 กับ 4 คงทำผิดแล้วหละครับ สำหรับเหล็กเสริม
By: ปุเลงปุเลง
Since: 10 ก.ย. 55 23:56:30
ตามที่เห็นขอแสดงความคิดเห็นนะครับ
1.เหล็กหลักหรือเหล็กเสริม ในคาน จะงอแบบในรูปหรือไม่งอแบบในรูปก็ได้ครับไม่มีผลอะไรในการรับแรงอยู่แล้ว ทั้งแรงดึงและแรงอัด ถ้าปลายคานไม่งอ อันนั้นจะเป็นผลทำให้ระยะ cover อาจจะไม่ได้ตามที่ออกแบบไว้จึงต้องงอเพื่อให้ได้ระยะ cover นะครับ
2. การต่อทาบเหล็กกลม (RB) ต้องวางทาบเหลื่อมกัน 50 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กนั้น
การต่อทาบเหล็กข้อออ้ย (DB) ต้องวางทาบเหลื่อมกัน 40 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กนั้น
3.ถ้าจะเอาให้ตามหลักวิชาออกแบบนะครับ
ห้าม ทาบเหล็กในส่วนที่เกิดแรงดึง ในที่นี้คือ
กลางคานห้ามทาบเหล็กล่าง
หัวเสาห้ามทาบเหล็กบน
ลองตรวจสอบดูนะครับก่อนที่จะเข้าแบบ ^_^
By: นาย IDEA
Since: 11 ก.ย. 55 00:24:43
ระยะของเหล็กเกี่ยวข้องกับลักษณะคานด้วย ว่าเป็นคานพาดช่วงเดียวหรือคานต่อเนื่อง
ภาพถ่ายชัดเจนดีแต่ไม่เห็นลักษณะที่ว่า
หากเป็นคานพาดช่วงเดียว มีเสารองรับสองด้าน ความยาวเหล็กล่างเสริมกลางควรยาว 5/7 L
L คือความยาวคานจะวัดหน้าเสาถึงหน้าเสา หรือวัดกึ่งกลางถึงกึ่งกลาง แต่วัดอย่างหลังใส่เหล็กยาวกว่า
ส่วนเหล็กเสริมบนที่บริเวณหัวเสา ให้ใส่ยาว L/4 เลย
เอาไปใช้ก็ให้ใส่เหล็กเสริมล่าง 5/7L เหล็กเสริมบน L/4 วัด L โดยวัดระยะกึ่งกลางเสาถึงกึ่งกลางเสา
ส่วนการงอฉาก เน้นที่หัวเสาเพื่อให้เหล๋กคานฝังตัวในคอนกรีตหัวเสาให้มากที่สุด โดยคานลึก 50 ซม. ให้วางเหล็กเลยกึ่งกลางเสาเข้าไปราวแนวเหล็กเสริมเสา หักฉากขึ้นมา 40 ซม. เลย
ระวังช่างจะไม่ใส่เหล็กปลอกเสาในช่วงที่มีคานด้วย จะต้องให้ใส่ก่อนผูกเหล็กคาน ไม่งั้นจะบอกว่าใส่ยาก
และระวังเรื่องลูกปูนหนุนเหล็ก ช่างมักจะบอกว่าใส่ทีหลัง ขึ้นรูปคานพอได้แล้ว ให้ใส่ลูกปูนเลย หนุนตรงเหล็กปลอก
ก่อนเท ซื้อระดับน้ำร้านยี่สิบบาท เอาไปพาดบนเหล็กปลอก วัดระยะขึ้นมา 2 ซม. ให้ตอกตะปูทะลุปลายเข้าไปในแบบหล่อหน่อย เป็นระดับเทคอนกรีต (แต่ถ้าเป็บแบบเหล็ก คงต้องเอาลูกปูนผูกแทน
ถ้าเทแล้ว คานสูงไปบ้างก็ไปปรับแก้ที่บันได ระวังอีกอย่างคือตอเหล็กเสา ต้องยาวพอระยะทาบ
เหล็กเสาขนาดเท่าไร คูณในใจด้วย 50 ที่จริงระยะที่ต้องการจะน้อยกว่านี้เยอะ ถ้าปูนกำลังต่ำสุดตามข้อบัญญัตื ระยะทาบสัก 40 ก็เหลือเฟือแล้ว
หากช่างโวยก็บอกว่า เผื่อเกิดแผ่นดินไหว บ้านจะได้ไม่เสียหาย
By: KittySP
Since: 11 ก.ย. 55 07:15:30