พอดีที่บ้านมีพื้นที่ทำสวนประมาณ 10 * 16 เมตร
จะปลูกต้นไม้ และปูหญ้า ติดสปริงเกล สำหรับรดน้ำ ไปถามที่ร้านมา เค้าให้คำแนะนำว่า แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนละ 6 ตัว เป็นแบบฝังดิน ระยะ 5 เมตร
เป็นของ hunter
แต่ทางร้านบอกว่า ให้เดินปั้มใหม่สำหรับเฉพาะตัวสปริงเกล เป็นขนาด 1.5 HP เพราะกลัวว่าปั้มที่ต่อน้ำใช้ในบ้านจะเสีย ถ้าใช้ร่วมกัน ปั้มของที่ใช้ในบ้าน เป็นของ fujika 280 watt เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น สามห้องน้ำ แท็งน้ำขนาด 1100 ลิตร
พอดีไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้ เลยขอคำแนะนำหน่อยค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ สำหรับทุกความคิดเห็น
ปูเสื่อรอครับ อยากรู้เหมือนกัน
เรื่องปั๊มเสียคงไม่เสียหรอกครับ แต่แรงดันน้ำที่ได้จากพวกปั๊มใช้ตามบ้านนี่ไม่ค่อยสม่ำเสมอ ทำให้การกระจายน้ำของหัวสปริงเกอร์ทำได้ไม่ดี เพราะปริมาณน้ำที่ออกไปยังสปริงเกอร์ โซนละ 6 หัว ต้องมีแรงดันสม่ำเสมอและปริมาณน้ำมากพอและแรงพอที่จะกระจายน้ำได้รัศมีพอตามที่ Spec ของหัวสปริงเกอร์ด้วย เพราะถ้าน้ำแรงบ้างค่อยบ้างหัวสปริงเกอร์จะทำงานได้ไม่ดี บางจุดชุ่มบางจุดไม่ชุ่ม แต่ถ้าใช้ปั๊มใหม่คงเพิ่มงบอีกเยอะเหมือนกันเพราะราคาไม่ถูกของดีทนๆก็ต้องของอิตาลีร่วมหมื่นได้ ของจีนจะไม่ทนนะ
ปั๊มจะพังหรือไม่ ไม่เกี่ยวกัน
ต้องดูว่าสปริงเกอร์ มีอัตราไหลเท่าไหร่ รวมทุกตัวเท่าไหร่
ดูปั๊มตัวนี้ ว่ามีอัตราไหลมากกว่าหรือไม่
ท่อแยกออกจากปั๊ม ขนาด ๑" ใส่วาวล์ ใส่สามทาง เป็นวงกลมรอบสนาม
ท่อที่เดิน ควรเดินท่อขนาด ๑" หรือ ๑ ๑/๒"
ระยะระหว่างหัวแค่ 5 ม. น่าจะเป็น Pop-Up แบบ Spray ซึ่งกินน้ำไม่มาก
แต่ทำไมต้องใช้ปั็มใหญ่ขนาดนั้นด้วย
ดูที่ Spec ของหัวว่า ใช้น้ำเท่าไหร่ ที่แรงดันเท่าไหร่ด้วย
วันนี้ว่างๆ จะอธิบายเเบบอย่างละเอียดให้ครับ
โจทย์คำถาม
-คุณเเบ่งพื้นที่รดน้ำสนามหญ้าเป็น 2 โซน ในพื้นที่ขนาด 10 X 16 เมตร ( โซนพื้นที่เเต่ละโซนน่าจะขนาดประมาณ 10 X 8 เมตร ) โดยใช้สปริงเกลอร์เเบบ POP-UP ของยี่ห้อ HUNTER โดยเฉลี่ยหัวสปริงเกลอร์เเบบนี้ จะจ่ายน้ำมากสุดอยู่ที่ประมาณ 1-20 ลิตร/นาที( อยู่ที่องศาการฉีด เเละ เเรงดันน้ำ ) จำนวน 6 ตัว
สปริงเกลอร์เเบบ POP-UP จำนวน 6 ตัว ผมตีเเบบหยาบๆ จ่ายน้ำอยู่ประมาณ 8-10 ลิตร/นาที( เนื่องจากคุณไม่บอกรุ่น เเละ องศาจ่ายน้ำที่ใช้เป็นเเบบไหน )
คิดเเบบหยาบๆสปริงเกอร์จ่ายน้ำ 10 ลิตร/นาที ที่เเรงดัน 1.4 บาร์ X 6 ตัว = 60 ลิตร/นาที ที่เเรงดัน 1.4 บาร์/ 1 โซน
เนื่องจากตัวสปริงเกอร์ดดยทั่วๆไปถูกออกแบบให้ใช้งานที่แรงดัน 1.4 บาร์ ณ. จุดหัวฉีดสปริงเกลอร์ เเต่ในการใช้งานจริงเราจะมีอุปสรรค หรือ ตัวเเปรปัญหา เช่น มีความสูญเสียจากแรงเสียดทานของท่อ, จุดข้อต่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆแล้ว ทำให้ต้องใช้ปั๊มน้ำที่จ่ายน้ำ+ทำแรงดันสูงกว่าแรงดันที่ต้องการ
ดังนั้นปั๊มที่ต้องการเพื่อใช้สำหรับระบบตามโจทย์ต้องมีความสามารถ ณ จุดใช้งานดังนี้
H (Head) = 24 เมตร หรือ 2.4 บาร์
Q (อัตราการจ่ายน้ำ) = 3.6 ลบ.ม./ชม.
วิธีการคำนวณเพื่อหาปรืมาณน้ำ,แรงดันที่เหมาะสมนั้น มีสูตรคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้องฯ เเต่ในกลุ่มช่างมักจะใช้วิธีคำนวณง่ายๆที่ได้จากประสบการณ์คือ ให้มีการเผื่อแรงดันจากแรงดันที่ต้องการ ณ. จุดหัวฉีดสปริงเกลอร์เพิ่มขึ้นไปอีก 50-70% ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ ลักษณะการวางท่อ,ขนาดท่อ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากสปริงเกอร์โดยทั่วไปจะบอกสเปคเเรงดันน้ำที่ใช้ค่อนข้างต่ำ จึงควรเผื่อแรงดันไปที่ 70 % ดังนั้นแรงดันที่ปั๊มน้ำที่เราต้องการใช้ จะต้องทำเเรงดันฯอยู่ที่ 1.4 X 1.7 เท่า =2.38 หรือปัดเศษเป็น 2.4 บาร์ หรือ Head ที่ 24 เมตร ( เป็นวิธีคิดเเบบง่ายๆของช่างประปา )
เอาค่าแรงดัน หรือ Head ของปั๊มน้ำที่เราต้องการ+ปริมาณน้ำที่ต้องการมใช้ เอาไปเลือกปั๊มน้ำที่ต้องการใช้ คือต้องการปั้มน้ำที่ทำเรงดัน หรือ เฮด ที่ 24 เมตร เเละต้องการปั้มน้ำที่มีอัตราการจ่ายน้ำไม่น้อยกว่า 3.6 ลบ.ม./ชม.( 60 ลิตร/นาที ) เมื่อเทียบค่า PERFORMANCE CURVE ของปั้มน้ำเเบบ Centrifugal Pump จะอยู่ที่ประมาณ 1.0-1.5 เเรงม้า( เเบบ ใบพัดเดียว ) ถ้าใช้ปั้มน้ำยี่ห้อดีๆเช่น PENTAX,FORAS,PEDROLLO,EBARA จาก อิตาลีขนาด 1 เเรงม้า ก็น่าจะพอเพียงเเล้วครับ เเต่ถ้าเป็นปั้มน้ำจีน หรือ ของไทย เช่นยี่ห้อ VENZ เเนะนำขนาด 1.5 เเรงม้าเพราะสเปคค่าต่างๆไม่ค่อยตรงตามสเปคเท่าไร ดังนั้นขนาดปั้มน้ำ 1.0-1.5 เเรงม้า อยุ่ที่คนวางระบบ สำหรับผมถือว่าเลือกขนาดได้ถูกต้องเเล้วครับ
ส่วนท่อเมนที่เดินระบบท่อเมนสปริงเกอร์ ผมเเนะนำท่อขนาด 1-5 นิ้ว ผมอาจจะเเปลกกว่าคนอื่นๆผมเเนะนำเป็น ท่อ PVC ชั้นความหนา 13-5 จะดีกว่าพวกท่อ PE / PN6 เพราะระยะหลังๆท่อพวกนี้ลดคุณภาพลงเอามากๆใช้งาน 2-3 ปี เเตกรั่วซึมกระจาย อีกอย่างท่อ PVC เเตกรั่วคุณสามารถซ่อมเองได้ง่ายๆ เเละ พวกข้อต่อก็หาซื้อไม่ยากเหมือนพวกท่อ PE
การรดน้ำสนามหญ้าโดยทั่วๆไปหากเป็นดินปนทราย ไม่ใช่หน้าเเล้งเราจะรดน้ำสนามหญ้าประมาณ 10-15 นาที ทุกๆ 2 วัน
ดังนั้นเท่ากับทุกครั้งที่คุณเปิดระบบสปริงเกอร์คุณจะต้องใช้น้ำประมาณ 60 ลิตร/นาที X เวลารดน้ำ 30 นาที = 1,800 ลิตร ดังน้นคุณควรเเยกเเทงค์เก็บน้ำออกมาต่างหากกับที่ใช้ในบ้านครับ เเนะนำขนาดประมาณ 1,600-2,000 ลิตร ครับ เเนะนำเป็นเเบบถังเก็บน้ำใต้ดินไปครับ เพื่อความสวยงามของภูมิทัศน์สวนสวยๆของคุณครับ หรือ จะใช้เป็นลดน้ำวันเว้นวันในเเต่ละโซน ก็สามารถเซฟขนาดถังเก็บน้ำลงไปเหลือเเค่ 1000-1200 ลิตร
ส่วนระบบคอลโทรลคั้งเวลารดน้ำ,สปริงเกอร์ POP UP ,วาล์วโซลินอลย์,ชนิดขนาด-ยี่ห้อปั้มน้ำที่ใช้ฯ เเละ การคำนวณต้นทุนค่าน้ำ เเละ ค่าไฟที่คิดเเบบหยาบๆว่าครั้งละกี่บาท ซึ่งผมของไม่ขอพูดถึงครับ
ค่า PERFORMANCE CURVE ของปั้มน้ำเเบบ Centrifugal Pump ของ ปั้มน้ำ PEDROLLO คุณคงจะต้องเลือกรุ่นปั้มน้ำ 4 รุ่นที่อยุ่ในกรอบสี่เหลี่ยมสีเเดงที่วางกรอบไว้มาใช้งาน โดยยึดอัตราส่งน้ำอย่างน้อย 60 ลิตร/นาที เเละ เฮดความสูงไม่น้อยกว่าที่ 24 เมตร ก็น่าจะเป็นปั้มน้ำขนาด 1.0-1.5 เเรงม้าครับ
ป.ล. วิธีคำนวณผมส่วนใหญ่มาจากประสบการณ์ที่ผ่านการซ่อม เเละ ติดตั้งระบบปั้มน้ำ ในมุมมองช่างวิชาชีพ เเละ พวกห้างร้านปั้มน้ำในเวิ้งนครเกษมมักจะใช้กัน ดังนั้นการคำนวณหาปั้มน้ำเเบบนี้อาจจะไม่เหมือนเเบบพวกที่เรียนเเละยึดวิชากลศาสตร์ฯมาใช้อ้างอิง ( สูตรใครสูตรมัน )
60 ลิตร/นาที = 3,600 ลิตร/ชม. = 3.6 ลบ.ม./ชม.
36 ลบ.ม./ชม. หรือ 10 ลิตร/วินาที หรือ 0.01 ลบ.ม./ชม. ที่แรงดัน 24 ม.
Break Horse Power = 2.4 Kw.
ค่านี้เป็นค่าพลังสุทธิที่ปั๊มต้องให้กับน้ำ เพื่อยกน้ำให้ได้สูง 24 ม.ในอัตราสูบที่ 10 ลิตร/วินาที ซึ่งหากคิดว่าปั๊มมีประสิทธิภาพเพียง 60 % ก็ต้องการกำลังมอเตอร์มาขับปั๊ม ไม่น้อยกว่า 4 Kw. หรือ 5 HP.
และหากเป็น 60 ลิตร/นาที หรือ 1 ลิตร/วินาที ก็เหลือเพียง 400 วัตต์ หรือ 0.5 แรงม้า
ความคิดเห็นที่ 7 เจ้าของกระทู้ก็ลองบ้าจี้ใช้เปั้มน้ำขนาด 400 วัตต์ หรือ 0.5 เเรงม้าดูก็ได้ครับ ผลเป็นยังไงก็มาคุยกันเอง หรือ คุณจะปรึกษาทางร้านที่ติดตั้ง หรือ ร้านอื่นๆดูก็ได้ครับว่าน้ำมันจะออกมาดีหรือไม่ ? การที่ทางร้านเลือกปั้มน้ำขนาด 1.5 เเรงม้า ส่วนใหญ่มีเหตุผลดังนี้ครับ
ในงานติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ตัวโซลินอลย์วาล์ว หรือ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วาล์วไฟฟ้า ภายในการออกแบบวาล์วใช้เเผ่นไดอะเเฟรมปิด-เปิดจากตัวโวลินอลย์ที่มากดไกคานงัดเล็กๆ เเละ ตัววาล์วนี้สามารถกำหนดปริมาณน้ำไหลออกได้ หลักการทำงานคล้ายๆเหมือนหัวจ่ายก๊าซถังหุงต้ม LPG ซึ่งเจ้าตัวนี้เป็นตัวปัญหาที่ทำให้ช่างที่ติดตั้งมักจะเผื่อขนาดปั้มให้เฮดมากขึ้น อุปกรณ์ตัวนี้มักทำให้คนที่ไม่เคยติดตั้งระบบสปริงเกอร์พลาดซื้อปั้มน้ำผิดขนาด มีกำลังวัตต์น้อยไป จะเเลกคืนร้านก็ไม่ได้มาเยอะต่อเยอะเเล้วครับ
เดี๋ยวต้องให้แฟนเข้ามาอ่านด้วย จะได้เข้าใจมากกว่าเราแน่เลยค่ะ
ขอบคุณทุกคนที่มาช่วยตอบนะค่ะ ถ้ามีรายละเอียดเพิ่มเติม รบกวนลงเพิ่มให้หน่อยนะค่ะ จะได้ คิดทำเสียเงินทีเดียว แบบที่เราไหวนะค่ะ
แนะนำว่า ลองไปเช็คที่ Super Products ดูด้วย เค้ามีช่างคำนวนให้
บ้านเราเนื้อที่ราว 100 ตารางวา ก็ใช้สปริงเกอร์ และ Pop Up ใช้ปั๊มบ้าน
Hitachi 320 Watt ก็ โอเค ใช้ได้ดี
หลักคือถ้าคุณซอยพื้นที่ย่อยลงอีกนิด แรงปั๊มจะส่งไปที่หัวสปริงเกอร์น้อยตัว แรงน้ำจะดี แต่ถ้าคุณหัวสปริงเกอร์เยอะ แรงน้ำจะเบา ต้องใช้ปั๊มที่มีแรงดันมาก
อีกอย่างตอนที่ให้พ่นน้ำนั้น เราต้องหยุดใช้น้ำในบ้าน มิฉะนั้น แรงจะไม่พอค่ะ
ดิฉันแบ่งโซนออกเป็น 4 โซน จริง ๆ อยากได้ 6 โซน แต่ตู้คอนโทรลตอนนั้นมีแค่ 4 โซน แล้วช่างก็บอกมาพอ เพราะมีมากโซนนิดนึงก็ดี เผื่ออีกหน่อยทำอะไรเพิ่ม
ติดมาปีนึง ก็โอเค ไม่มีปัญหาอะไร ดีกว่าจ้างคนสวน ซึ่งไม่ค่อยยอมรดน้ำหรือรดแบบขอไปทีนะค่ะ ประหยัดเวลา และเงินด้วย เสียน้ำเพิ่มไม่มากเลย
ขอ save ไว้อ่านยามสมองเฟรซๆ กว่านี้หน่อย อ่านตอนนี้กลับไปกลับมาย่อหน้าละ 2-3 รอบ
ก็รู้สึกว่าไม่มีอะไรในหัวเลยแฮะ
น่าเอา สเปก สปริงเกอร์ มาลง จะ บอกได้ชัดเจนกว่านี้
ที่บ้าน ใช้ หัวพ่นฝอยเป็นส่วนใหญ่ เลยใช้ร่วมกับ ปั๊มน้ำบ้านได้ แบบ ตั้งเวลา 2 โซน พอให้ดินเปียกทั่วๆได้
แต่ถ้าใช้เป็น หัวฉีด สนาม ไม่รอด
เพิ่งทำระบบ มินิิสปริงเกอร์เอง เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา ขอให้ความเห้นหน่อยนะครับ
ถ้าพ.ท. 10*16 ถ้าแบ่งเป็น 2 แนวคงต้องใช้ มินิสริงเกอร์ รัศมี 2.5เมตร วางแถวตามแนวยาว แนวละ 4-5 ตัว วางท่อ PE ขนาด 25มม.
ที่บ้านผมตั้งปั๊มแยก เป็นปั๊มจีนแบบมีสวิตแรงดัน ราคาแค้ไม่ถึงพันห้า แล้วต่อเข้าก๊อกสนาม ที่ก๊อกสนามต่ออุปกรณ์ตั้งเวลารดน้ำแบบทางเดียว ราคาไม่ถึงพันบาท
ตั้งเวลาให้รดวันละ 2 ครั้งทุก 6โมงเช้า-เย็น ครั้งละ 15นาที ต่อมินิสปริงเกอร์ ร่วมกับหัวน้ำหยด ประมาณ 20 หัว
ลองใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงนะครับ
ของซื้อที่ Super Product โอเคนะครับค่อนข้างครบ ยกเว้นท่อ PE ที่ีขาดตลาด ที่ร้านบอกว่าโดนเหมาไปทำ ฮูล่า ฮูป
อ่านแล้วงง ก็ขอโทษนะครับ วันนี้ง่วงมาก
มานั่งอ่านตั้งแต่เมื่อวานแล้วครับ
แต่ขี้เกียจพิมพ์เลยลองนั้งสเกตซ์แบบบนกระดาษเล่นๆ
ขออภัยรูปใหญ่ไป
มาแล้ว ตำแหน่งหัว กับแนวท่อ
สมมติว่าพื้นที่เป็นสนามหญ้าโล่งๆนะครับ
conceptual design
รายการอุปกรณ์คร่าว
ไม่ได้มาแย้งกับพี่ๆข้า้งบนนะครับ
คิดว่ามาเสริมข้อมูลกันก็พอ
ความคิดเห็นที่ 15-17 ของคุณ Eddy_DT_545 ถือว่าเป็นคำเเนะนำที่ถูกต้องครับ เพียงเเต่วิธีคิดเเต่ละคนไม่เหมือนกัน คล้ายๆการทำการบ้านวิชาคำนวณ เเต่ละคนมีวิธีคิดไม่เหมือนกันครับ
สำหรับผม การเพิ่มโซนให้มากกว่า 2 โซน ในสนามหญ้าบ้านคุณ เข่นเพิ่มเป็น 4-5 โซนเพื่อสามารถใช้งานปั้มน้ำที่ใช้งานตามบ้านทั่วๆไป เช่น ขนาด 250-300 วัตต์ ได้นั้น ผมกลับไม่เเนะนำให้ทำเเบบนั้นครับด้วยเหตุผลคือ
1. การซอยพื้นที่รดน้ำ โดยเพิ่มโซนการรดน้ำให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ใช้ร่วมกับปั้มน้ำในบ้านได้นั้น มีข้อเสีย มากกว่าข้อดีครับ
– ยิ่งคุณซอยพื้นที่รดน้ำ โดยเพิ่มโซนการรดน้ำให้มากขึ้น ต้นทุนค่าไฟฟ้ากลับเเพงกว่า เพราะปั้มน้ำใช้เวลาทำงานนานขึ้นเป็นเท่าตัว หรือ มากกว่า
– เวลาคุณใช้ปั้มน้ำรดน้ำสวนในบ้านโดยการซอยพื้นที่เพื่อเพิ่มโซน ทำให้ใช้เวลานานขึ้น( สมมุติ 4 โซนๆละ 15 นาที=60 นาที หรือ 1 ชั่วโมง หมายความว่าการใช้น้ำในบ้านคุณโดยเฉพาะชั้นบนจะมีปัญหามากๆทุกครั้งที่มีการรดน้ำ อย่างน้อยๆคือ 1 ชั่วโมง
– ปั้มน้ำที่ใช้งานในบ้าน จะมีการเสื่อมชำรุดมากกว่าปั้มน้ำทั่วไปที่ใช้งานกันครับ( ปั้มน้ำประเภท โฮมปั้มตัวเล็กๆทำงานต่อเนื่อง 1 ชั่วโมงวันเว้นวัน ผมว่ามันโหดร้ายไปหน่อย )
– ต้องเพิ่มต้นทุนค่าท่อที่ซอยเเยกโซนเพิ่มขึ้น,เพิ่มโซลินอลย์วาล์ว,เดินสายไฟคอนโทรลเพิ่ม เเละ เปลี่ยนตู้ควบคุมระบบรดน้ำอัตโนมัติใหม่ เผลอๆอาจจะเเพงกว่าปั้มน้ำขนาด 1 เเรงม้า ที่เเยกออกมาเสียอีกครับครับ?
เทคนิคการซอยพื้นที่รดน้ำ โดยเพิ่มโซนการรดน้ำให้มากขึ้น มันเหมาะกับการเเก้ปัญหาในพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่อง ไฟฟ้า ที่ไม่สามารถใช้งานปั้มน้ำขนาดใหญ่ตั้งเเต่ 2 เเรงม้าขึ้นไปได้มากกว่าครับ
เดี๋ยวให้แฟนมาตอบรายละเอียดเรื่อง ขนาดหัวสปริงเกอร์ หรือ พวกอุปกรณ์นะค่ะ (ช่วงนี้กำลังเร่ง เก็บงาน ในบ้านกับรอบบ้านค่ะ คาดว่า อาทิตย์นี้ น่าจะเสร็จได้ค่ะ) เสร็จแล้วจะมาลงที่สวนข้างบ้านต่อเลยค่ะ
รอนิดนึงนะค่ะ
ยังไงก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านสำหรับคำแนะนำ
เดี๋ยวก็อปปี้ลง MS word จะได้อ่านทีเดียวค่ะ
ขอบคุณครับพี่ pinhead ที่เห็นด้วย
ผมก็ลองผิดลองถูกมามากเหมือนกันครับพี่
สำหรับพื้นที่ขนาดนี้ ระบบแบบนี้น่าจะโอเคและประหยัด
คุณสมบัติไม่ด้อยมากและไม่หรูเกินไป
ที่สำคัญอายุการใช้งานและมีความคุ้มค่ามากกว่าทำระบบถูกๆแล้วแป๊บก็เสีย
แบบนั้นผมว่าไม่ทำดีกว่า
ทั้งนี้แล้วแต่ว่าใครจะเห็นคุณค่าความสำคัญของเงินมากน้อยขนาดไหน
ส่วนเรื่องการแบ่งโซนมีปัจจัยหลายๆอย่าง
สำหรับระบบรดน้ำทั่วๆไป
ตลาดสปริงเกอร์เขาจะทำตลาดวาล์วไฟฟ้าขนาด 1 นิ้ว
อัตราการไหล ไม่เกิน 6 ลบ.ม./ชม
ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็กๆ ตามแบบของ จขกท.นี่แหละครับ
บ้านเล็กๆรดหญ้า รดต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่มไปด้วยกันก็พอไหว ที่เหลือก็รดมือเอา
สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ขนาดของวาล์วก็จะใหญ่ขึ้นเช่น 1 1/2" หรือ 2"
และถ้าเจ้าของบ้านมีกำลังก็ควรจะแบ่งโซนเป็น รดหญ้า รดไม้พุ่ม รดต้นไม้ใหญ่ รดมอส รดเฟิร์น หรืออะไรก็ตามแต่
จะเป็นการให้น้ำได้ตามความต้องการของพืชแต่ละชนิด ประหยัด คุ้มค่าการลงทุนแน่นอน
จำนวนโซนก็จะเยอะตาม ทั้งนี้รูปแบบสวนจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของระบบสปริงเกอร์
ขอบคุณทุกคนมากนะครับ
การวางผัง สปริงเกล ที่ร้านแนะนำ เหมือนกับที่ Eddy_DT_545 เขียนแนะนำไว้
สอบถามเพิ่มเติมครับ ถ้าเป็นไปตามที่ คุณ Eddy_DT_545 คำนวณไว้ ว่า ถ้าเปิดนาน 5 นาที จะใช้น้ำ 600 ลิตร ถ้าแท็งน้ำผมขนาด 1100 ลิตร อย่างนี้ผมยังพอใช้แท็งน้ำเดิม แต่ต่อ ปั้มดูดตรงเข้าสวน ได้หรือเปล่าครับ
ถ้าน้ำไหลเข้าถังได้เร็วไม่ต้องเพิ่มถังครับ
บางบ้านน้ำไหลเข้าถังเร็ว
เปิดสปริงเกอร์เสร็จระดับน้ำในถังแทบจะไม่ลดเลย
ถึงไหลเข้าช้าเราก็ตั้งเวลาให้รดน้ำเวลาอื่นได้ไม่ต้องตรงกับเวลาที่เราใช้น้ำเยอะๆ
ครับ จัดการตรงนี้ดีกว่าไปซื้อถังเพิ่ม
ปริมาณใ้น้ำจริงๆส่วนใหญ่จะไม่ถึงที่คำนวนหรอกครับ ไม่ต้องกังวล
ยกเว้นลืมปิดน้ำ แบบนั้นความจุเท่าไหร่ก็ไม่พอ
การต่อก็ต่อสามทางตรงด้านออกของถังน้ำและใส่วาล์วกันกลับ(check valve)
ทั้งด้านที่ต่อไปปั๊มเดิม กับด้านที่ต่อไปปั๊มสปริงเกอร์ด้วย