ขอความรู้ค่ะ
ระหว่างรอคิวสร้างบ้าน เอาแปลนมาดู สงสัยค่ะทำไมต้องใช้เสาเข็มคู่ ใช้เสาเข็มใหญ่ต้นเดียวไม่ได้หรือคะ
คือใช้เป็นบางจุด ช่วงที่ระยะห่างของเสา5.5 เมตร และมีระเบียงปลูกต้นไม้ เสาเข็มก็เป็นแบบเข็มเจาะ (0.35x20m)
เคยอ่านบล็อกของสมาชิกบางท่าน ก็ใช้เข็มคู่บางจุดเหมือนกันเพื่อความแข็งแรง แต่เป็นเข็มตอก
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
เท่าที่ทราบนะครับอาจไม่ถูกทั้งหมด
ขึ้นอยู่กับการรับน้ำหนักในบริเวณนั้นครับ
การออกแบบจะออกมาเป็นน้ำหนักต่อตารางเมตร และส่งต่อไปยังเสาเข็ม
โดยกำหนดเสาเข็มว่าสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ไม่น้อยว่า กี่ตันต่อต้น
โดยมี Factor Safety ประกอบด้วย และเมื่อถ่ายน้ำหนักมาแล้ว
เกินกว่า 1 ต้นจะรับได้ก็ต้องให้เป็น ฐานรากเข็มคู่ หรือเข็มกลุ่มตามน้ำหนัก
ที่รับครับ ส่วนเข็มตอกหรือเข็มเจาะขึ้นอยู่กับความสะดวกและความพร้อม
ของหน้างานครับ การคำนวนออกแบบสามารถทำได้เหมือนกัน
(เส้นผ่านศูนย์กลางของเข็มมีผลต่อการรับน้ำหนักด้วย)
1. กรณีน้ำหนักออกแบบเกิน กำลังปลอดภัยของเสาเข็ม 1 ต้น
2. ออกแบบมีการรับ moment ซึ่งมักจะเป็นเสาขอบอาคาร หรือเสาใดๆที่มี moment สูงๆ
3. ตอกเข็มผิดจากแบบ เยื้องศูนย์เยอะ เลยต้องตอกเพิ่มเพื่อถ่ายแรง
ยืนสองขา ดีกว่ายืนขาเดียวแน่นอนครับ
ใช้ได้เหมือนกันครับ แต่ว่า สองต้นก็ดีกว่าเยอะ แถมฐานรากกว้างกว่าด้วย
จากที่ จขกท ว่ามา เสาต้นที่ว่า น่าจะเป็นเสากลางบ้าน
ขอบคุณทุกท่านค่ะ
มันไม่ใช่เสากลางบ้านค่ะ เป็นเสาด้านข้างเสาคู่สามต้น
เสากลางบ้านก็มีค่ะแต่เป็นต้นเดียว
จขกท. เป็นคนละเอียด ดูแบบแปลนเป็น แถมเข้ามาถามหาความรู้
ตอบคำถามแล้วกัน ส่วนการจัดวางเสาเข็ม ต้องถามผู้ออกแบบ
สงสัยค่ะทำไมต้องใช้เสาเข็มคู่ ใช้เสาเข็มใหญ่ต้นเดียวไม่ได้หรือคะ
แนวคิดการออกแบบเป็นดังนี้ครับ ปลอดภัยและประหยัด
– เข็มใหญ่แพงกว่าเข็มเล็ก
– งานขนาดเล็ก หรือเสาเข็มไม่กี่ต้น ควรใช้เข็มขนาดเดียว เพราะผู้รับเหมามีค่าใช้จ่ายในส่วนของการเคลื่อนย้ายปลอกเข็มเจาะ
นั่นคือ ถ้าใช้เข็มใหญ่ ก็ต้องใช้ทุกหลุม ซึ่งอาจจะไม่ประหยัด เมื่อเทียบกับใช้เข็มขนาดเล็ก ซึ่งมีหลุมละต้นเดียวบ้างสองต้นบ้าง ตามน้ำหนักที่จะต้องรับ
ส่วนตัวชอบเข็มสองต้นมากกว่า เพราะเข็มต้นเดียว แกนของเสากับแกนของเข็มมีโอกาสที่จะไม่ตรงกันได้ ขึ้นกับฝีมือของช่าง แล้วก็งานย่อย(งานเล็ก)ส่วนใหญ่ช่างจะวางใจลำบาก
เป็นไปตาม 1, 2 และ 6 ครับ
ขอบคุณค่ะ
แสดงว่าเพื่อความประหยัดทำนองเหมาโหลถูกกว่าสินะคะ
คห. 8 ไม่ใช่เพื่อความประหยัดเสียทีเดียวครับ
เรียกว่าเพื่อความเหมาะสมดีกว่าครับ
ผมเคยออกแบบอาคาร โดยใช้เข็มต่างขนาดกัน
เพื่อให้เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้เต็มประสิทธิภาพ
และประหยัดจำนวนเสาเข็ม
โดยคาดว่าจะใช้ทีมเสาเข็มเจาะ 2 ชุด
ทำงานแยกขนาดเสาเข็มกัน และจะสามารถทำงานได้รวดเร็ว
แต่ในการก่อสร้างจริง เจ้าของอาคารจ้างบริษัทเสาเข็ม
ซึ่งมีชุดอุปกรณ์ขนาดเดียว ประกอบข้อเสนอในเรื่องราคา
และการพูดคุยส่วนตัวระหว่างบริษัทเสาเข็มกับเจ้าของอาคาร
ทำให้เจ้าของอาคารต้องขอให้ผมแก้ไขขนาดเสาเข็มใหม่