ต่อท่อน้ำบายพาสเแบบนี้ได้มั๊ยครับ

ต่อท่อน้ำบายพาสเแบบนี้ได้มั๊ยครับ เอาไว้เผื่อไฟดับ ขอบคุณครับ

คำค้นหา:

  • เช็ควาล์ว
  • เช็ควาล์ว ราคา
  • การต่อเช็ควาล์ว

20 thoughts on “ต่อท่อน้ำบายพาสเแบบนี้ได้มั๊ยครับ

  1. ต้นโพธิ์ต้นไทร

    ท่ิอบายพาส ควรจะต่อคร่อมถังและปั๊ม โดยมีบอลวาวล์หรือเช็ควาวล์ช่วยให้น้ำไม่ไหลย้อน

    ดูตามบล๊อคข้างบน หรือจิ้ม my Blog เราก็ได้
    แต่เราไม่สนับสนุนให้มีบายพาสปั๊มตรงจากท่อประปา

    ข้อควรระวังในการต่อท่อบายพาส
    – วาวล์ที่รับแรงดันสูงหลังปั๊ม ให้ใช้บอลวาวล์ทองเหลืองระดับซันว่าขึ้นไป ห้ามใช้บอลวาวล์pvc
    – เช็ควาวล์มีให้เลือกสองแบบ เช็ควาวล์แบบสวิง น้ำจะไหลผ่านได้ดีกว่าเช็ควาวล์สปริง แต่แบบสวิงต้องต่อด้วยความระมัดระวัง ห้ามถอดฟองน้ำที่ผู้ผลิตยัดไว้ภายในมาเขย่าเล่นป๊อกแป๊ก และควรซื้อของเกรดดีๆเช่นยี่ห้อ Kitz , ANA , SANWA มาใช้
    – ท่อหลังถัง ไปจนถึงปั๊มถึงจุดต่อเข้าบ้าน ควรใช้เป็นท่อ ๑" ท่อในบ้านหากมีขนาด ๑"ด้วยยิ่งดี

  2. พระจันทร์เกเร

    ^
    ^
    ^
    อ่านหัวข้อกระทู้ปุ๊ป ก็รู้เลยว่าเดี๋ยวเซียนปั๊มประจำห้องชายคา จะต้องเข้ามาให้คำตอบแน่ๆ

    คุณต้นโพธิ์ต้นไทร  ไม่ทำให้ผิดหวังจริงๆ

  3. devil_club

    ต้องคารวะ คุณต้นโพธิ์ต้นไทร จริงๆๆ

  4. pinhead2000

    การต่อระบบท่อประปาทำระบบ บายพาส ไม่ต้องผ่านปั้มน้ำ ใช้สำรองเวลาไฟฟ้าดับ หรือ ปั้มน้ำชำรุด

    คำเเนะนำข้างบนทั้งหมด จากประสบการณ์งานช่างของผมๆให้เกรดคือ สอบตก

    จริงๆผมได้เคยเเสดงความคิดเห็นเเจ้งเตือนหลายๆครั้งเเล้วว่า การเเนะนำทำระบบ บายพาส โดยใช้ตัวอุปกรณ์เช็ควาล์ว อย่างเดียวล้วนๆเพื่อที่จะให้ระบบ บายพาส ทำงานเเบบอัตโนมัติ  บอกตามตรงนะครับมันเสี่ยงมากๆที่เช็ควาล์วจะปิดไม่สนิท ด้วยเหตุผลดังนี้ครับ

    -เช็ควาล์วสปริง มันปิดกั้นน้ำให้น้ำไหลทางเดียวได้ดีกว่าเช็ควาล์วเเบบ สวิง เเต่การใช้เช็ควาล์วสปริง ติดตั้งในทิศทางเเนวนอนเป็นการติดตั้งไม่ถูกวิธีครับ เพราะเมื่อคุณใช้งานประปาไปเรื่อยๆ ตัวเช็ควาล์วเเบบสปริงมักจะมีปัญหาที่ตัวเเผ่นไดอะเเฟรมที่สปริงดันปิดอยู่ มันทรุดเเละเเผ่นไดอะเเฟรมเอียงเเฉลบทำให้ปิดกั้นน้ำไม่สนิท ทำให้ระบบปั้มน้ำอัตโนมัติที่ใช้งานอยู่มีปัญหา ปั้มน้ำทำงานตัดต่อตลอดเวลาเหมือนปั้มน้ำเสียชำรุด,พาลไปคิดว่าระบบท่อประปาในบ้านมีจุดรั่วซึม ไล่ตรวจเช็คหาจุดที่คิดว่ามีปัญหาก็หาไม่เจอ เผลอๆพาลไปโทษว่าปั้มน้ำยี่ห้อไม่ดี  ทั้งๆที่ต้นเหตุปัญหามาจากการเเนะนำเลือกใช้อุปกรณ์ประปาผิดหน้าที่ เเละ คิดว่ามันใช้เวิร์ค ( ตอนนี้มีคนทำลิงค์กระจายไปทั่ว คนที่ไม่รู้เรื่องงานประปาเข้ามาอ่าน เเละ เห็นมีรูปเเนะนำประกอบก็คิดว่ามันถูกหลักวิชาช่าง ? )

     สิ่งที่ควรรู้ไว้นะครับ เช็ควาล์ว ที่ขายๆกันไม่มีร้านไหนกล้ารับประกันว่า สามารถปิดกั้นน้ำได้เหมือนก็อกบอลวาล์ว,เกตวาล์วที่สามารถปิดกั้นน้ำได้ 100% เป็นเวลานานๆเป็นเดือนๆเป็นปีๆเหมือนพวกวาล์วปิด-เปิดทั่วๆไป  สำหรับผมมักเเนะนำให้ใช้วาล์วปิด-เปิด ใช้ร่วมกับตัวเช็ควาล์วเพื่อป้องกันน้ำย้อนไหลกลับควบคู่กัน

      สมมุติว่าบ้านคุณไฟฟ้าดับ,ปั้มน้ำชำรุดมีปัญหา คุณก็เเค่เดินมาเปิดวาล์วในส่วนระบบบายพาสเท่านั้น เเละ เมื่อทางการไฟฟ้าจ่ายกระเเสไฟฟ้ามาเหมือนเดิม หรือ คุณซ่อมปั้มน้ำเสร็จใช้งานได้ดีเหมือนเดิม คุณก็ค่อยมาปิดวาล์วระบบบายพาสกลับไปครับ ( คุณคิดว่ากรณีไฟฟ้าดับนานๆ หรือ ปั้มน้ำชำรุดจนคุณต้องถอดยกไปซ่อม โอกาสที่คุณจะเดินมาเปิดใช้ระบบบายพาส ภายใน 1-2 ปี คุณอาจจะไม่เคยเปิดใช้ระบบบายพาสเลยก็ได้ครับ )

     อีกอย่าง เช็ควาล์ว เป็นอุปกรณ์ประปาเเบบหนึ่งที่ควรมีการใช้งานบ่อยๆ มากกว่า ที่คุณจะกำหนดให้ใช้ ตัวเช็ควาล์วให้มันนอนหลับนิ่งๆเเบบให้รอพร้อมจะทำงานป้องกันน้ำย้อนไหลกลับ ถ้าใช้ลักษณะนี้ผมกลับมักเจอเช็ควาล์วตาย หรือ ทำงานได้หน่อยเช็ควาล์วก็มีปัญหา น้ำไหลย้อนกลับออกมาได้จากขี้ตะกรันที่ติดตายที่หน้าเเผ่นไดอะเเฟรม เเละ คราบฝุ่นผงที่มากองอยู่ที่หน้าเเผ่นไดอะเเฟรม  สิ่งที่เราควรทำความเข้าใจ เเละ หน้าที่อุปกรณ์ประปาเหล่านี้คือ

    วาล์ว มีหน้าที่ ปิด-เปิด ให้น้ำไหลผ่านได้ดีกว่าอุปกรณ์ประปาชนิดอื่นๆ

    เช็ควาล์ว มีหน้าที่ยอมให้น้ำไหลทางเดียว ไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับได้

     ดังนั้นเราควรเลือกใช้อุปกรณ์ประปาให้เหมาะสมกับงาน หากอ่านความคิดเห็นนี้เเล้วยังไม่เชื่อก็โปรดกรุณาไปปรึกษาช่างวิชาชีพงานระบบประปา หรือ ร้านที่รับงานติดตั้งระบบประปา เสียก่อนที่คุณจะติดตั้งระบบ บายพาส งานประปาเเบบผิดๆไปครับ

  5. ต้นโพธิ์ต้นไทร

    อันว่าเช็ควาวล์สปริงนั้น หน้าสัมผัสปิดเปิดเป็นแผ่นยาง ซึ่งหากจะปิดแบบเอียงๆ มันก็จะปิดเอียงๆ แต่ก็ปิดสนิทตลอดเวลาแบบเอียงๆ แต่ก็ปิดเต็มหน้าตลอดเวลา ทำให้ปิดน้ำอยู่

    ทุกครั้งที่มีน้ำไหลผ่าน หรือย้อนกลับ เช็ควาวล์จะทำงานทุกครั้ง ยางได้ขยับอยู่ตลอดเวลา ยางไม่มีโอกาสตายได้ง่ายๆ แต่ยังไงๆก็มีโอกาสตายในที่สุด
    พอเช็ควาวล์มีปัญหา ยุคนี้ใช้ท่อpvc ก็สามารถตัดต่อได้ง่าย ไม่ยาก หากฝังปูนก็ต่อที่จุดใหม่ไปเลย
    เดี๋ยวจะได้ทำรูปใหม่ เพิ่มบอลวาวล์เข้าไป ขยายความเรื่องเช็ควาวล์ไว้ด้วย

    ระบบนี้ ออกแบบมาให้ทำงานอัตโนมัติ ไม่ต้องคอยปิดเปิดวาวล์บ่อยๆ เผลอๆลืมปิดวาวล์บายพาสตอนไฟมา ปั๊มทำงานจนไหม้ จึงออกแบบมาให้ใช้แต่เช็ควาวล์

    เราเรียนเราจบช่างท่อและประสานโดยตรงมา

    เดี๋ยวจะได้ทำรูปใหม่ เพิ่มบอลวาวล์เข้าไป ขยายความเรื่องเช็ควาวล์ไว้ด้วย

    แต่ก็ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะ จะได้แก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาลงในรูปต่อไป

  6. พฤหัสที่12

    ผมก็ว่าเช็ควาล์วแบบสปริงมีโอกาส ค้างเสื่อม ชำรุด ทำให้น้ำไหลย้อน/รั่วกลับได้
    อย่างที่เคยเจอ/ริ้อในระบบนิวมเมติกส์ ครั้นจะให้คอนโทรลด้วยโซลินอยด์ หรือก็เกินไป
    บ้านเก่าเมื่10กว่าปีก่อน ไม่มีเช็ควาล์วเพราะไม่มั่นใจ ใช้บอลวาล์ว6หุน
    – สมัยนี้น่าจะเป็นเซรามิควาล์ว ดีกว่ามั้ย?

    ที่ใหม่ไม่มีปั๊ม น้ำแรงใช้ได้อยู่แล้ว

  7. like_that

    ผมติดเช็ควาล์วแบบสปริงแนวนอนหลังบอลวาล์วอีกที
    แต่เปิดบอลวาล์วไว้ตลอดเป็นบายพาสอัตโนมัติแบบของน้าต้นนี่แหละ
    ไม่รู้ว่ามันปิดกั้นน้ำได้ 100 เปอร์เซนต์หรือเปล่า
    เปิดค้างแบบนี้อยู่มา 11 ปีแล้วไม่เคยปิด แต่ยังไม่มีปัญหาอะไรผิดปกติกับปั๊ม
    ไม่กี่วันมานี้ลองหมุนบอลวาล์วดูปรากฎว่าแข็งจนปิดเปิดด้วยมือไม่ได้
    เลยไปซื้อเกทวาล์วมาเปลี่ยนแทน ตอนตัดต่อท่อเปลี่ยนวาล์วก็ไม่ได้ปิดปั๊ม
    เพราะอยากรู้ว่าเช็ควาล์วมันยังดีอยู่หรือเปล่า เพราะเห็นว่าเราติดผิดแนว
    ก็ไม่เห็นว่ามีน้ำรั่วซึมย้อนกลับมาจนเป็นหยดได้นะ คิดว่ามันคงยังทำงานดีอยู่
    สรุปเอาเองว่ามันไม่เสียง่ายๆ นะ แต่ถ้าทำใหม่น่าจะติดแนวตั้งตามตำรา
    ส่วนบอลวาล์วจากที่สำรวจก๊อกสนามรอบบ้านอีก 10 กว่าตัว
    พบว่าตัวที่ไม่เคยเปิดปิดบ้างเลยนานๆ หลายๆ ปี
    วันไหนอยากจะเปิดขึ้นมาก็พบมันแข็งค้างไปแล้วจนแรงคนเปิดไม่ได้

  8. ก้นกบ

    ที่บ้าน น้ำประปา แรงพอสำหรับชั้น 1 แต่ไม่ใจสำหรับชั้นสอง

    ระบที่บ้าน ชั้นล่าง ปกติใช้น้ำประปา แต่สามารถ สวิตช์มาใช้แรงดันจากปั๊มน้ำได้ ช่วยประหยดค่าไฟพอควร

    ส่วนชั้นบน ใช้แรงดันจากปั๊มน้ำ อย่างเดียว

    มี บอลวาล์เป็นตัว เปิด ปิดให้ระบบ แล้วมี สปริงเช็ควาล์ ติดตั้งแนวตั้ง เพื่อคอยกันน้ำจากแรงดันปั๊มไหลกลับถัง พักน้ำ

  9. pinhead2000

    เช็ควาล์วเเบบ สปริง ยอดนิยมยี่ห้อ YORK ( ของ NR ) อิตาลี เเต่ต่อมาย้ายมาผลิตใน จีน ระวังยี่ห้อนีมีของปลอมด้วยครับ

  10. pinhead2000

    ฝั่งขาเข้า ของตัวเช็ควาล์ว สังเกตง่ายด้านนี้จะเป็นฝั่งที่มีความลึกตื้นกว่าอีกด้านหนึ่ง เเละ  จะมีเดือยพลาสติกโผล่ยื่นออกมา

    หากคุณสังเกตให้ดี จะเห๋นว่าเช็ควาล์วเเบบสปริง เมื่อคุณคิดตั้งในเเนวดิ่ง เดือยเเกนเเผ่นไดอะเเฟรมที่มีหน้าที่ปิด-เปิดกั้นน้ำให้ไหลได้ทิศทางเดียว เเกนเดือยพลาสติกจะอยู่ตรงกลางระหว่างรูบูชบังคับ

    การติดตั้งเช็ควาล์ว วิธีที่ถูกต้องคุณควรที่จะติดตั้งในเเนวดิ่งเท่านั้นครับ

  11. pinhead2000

    ในกรณีคุณเอาเช็ควาล์วเเบบ สปริง มาใช้งานในทิศทางเเนวนอน มันจะมีปัญหาในระยะยาว มีความเสี่ยงที่เช็ควาล์วจะปิดไม่สนิทได้ด้วย 1-2 สาเหตุใหญ่ๆ

    สาเหตุเเรก จากทางกายภาตตัวเช็ควาล์วเเบบ สปริง  ที่คุณติดตั้งใช้เเบบไม่ถูกวิธี เช่น คุณติดตั้งใช้เช็ควาล์วในเเนวนอน คุณจะสังเกตในรูป

    -ตัวเเกนเดือยจะทรุดตกลงมาที่รูเเกนบูช   เวลาใช้งานมันก็จะสีถูไปถูมาอยู่ด้านเดียว จนเเกนเดือยพลาสติกสึกเริ่มเบี้ยวไม่กลม พอไม่กลมก็ฝืดเเละ เเผ่นไดอะเเฟรมเริ่มขยับตัวดิ้นไปดิ้นมาไม่ได้เหมือนเดิม สุดท้าย………น้ำรั้วซึมมาอีกฝั่งหนึ่งได้เป็นบางครั้ง เหมือนผีหลอก เป็นๆหายๆ  ผมเคยหาสาเหตุที่ปั้มน้ำทำงาน เเต่หาสาเหตุไม่เจอ ทดลองเปลี่ยนสลับปั้ม หาจุดรั่วของท่อชนิดขุดเปิดดูเกือบทั้งระบบ กว่าจะเจอว่าเป็นที่เช็ควาล์วที่ระบบ บายพาส ที่ช่างประปาคนที่มาติดตั้งทำไว้เล่นเอาผมเสียเวลาไปเกือบ 2-3 วัน

  12. pinhead2000

    2.ในตัวเช็ควาล์วฝั่งขาออก ในตัวเช็ตวาล์วจะออกเเบบเป็นห้องเเชมเบอร์ ที่มีขนาดใหญ่กว่ารูเกลียว เเละ รูหน้าสัมผัสเเผ่นไดอะเเฟรม

    กรณีคุณใช้งานในเเนวดิ่งจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่อง ตะกอนฝุ่นผงสกปรก มานอนกองที่ด้านหลังเเผ่นไดอะเเฟรมเท่าไร เพราะเมื่อเช็ควาล์วทำงานน้ำที่ผ่านจะดันตะกอนฝุ่นผงสกปรก เหล่านั้นออกไปเอง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเศษผงมาติดที่บ่าหน้าสัมผัส เเผ่นไดอะเเฟรมเหมือนคุณติดตั้งในเเนวนอน

    อย่างในรูปที่เเนบ ผมมักจะเจอประจำๆที่เช็ควาล์วมีการรั่วซึม จนปั้มน้ำทำงานตัดต่อ บ่อยๆทั้งๆที่ไม่มีการใช้น้ำ  เกิดจากเศษตะกอนฝุ่นผงสกปรกเข้าไปติดที่หน้าบ่าสัมผัส เพราะขี้ตะกอนในระบบประปาคุณมักจะมากองสะสมในจุดอับชองระบบประปาในบ้าน( ยิ่งระบบ บายพาส ที่อยู่ใกล้ปั้มน้ำ เป็นจุดที่ตะกอนฝุ่นผงสกปรกมาสะสมมากจุดหนึ่งครับ

  13. pinhead2000

    ในรูปจะเห็นเศษตะกอนฝุ่นผงสกปรกเข้าไปติดอยู่ข้างในที่ฝั่งด้านขาออก ที่ยังล้างออกไม่หมด ( เเนะนำใช้เเปรงพู่กัน )

  14. pinhead2000

    รูปนี้ เช็ควาล์วของใหม่เเต่เก่าเก็บ เอามาให้เปรียบเทียบครับ

    ในวงการงานระบบประปาจึงไม่มีใครกล้ารับประกันว่า ตัวเช็ควาล์วมันสามารถทำหน้าที่ปิดกั้นน้ำได้เหมือนก็อกบอลวาล์ว,เกตวาล์วที่สามารถปิดกั้นน้ำได้ 100% เป็นเวลานานๆเป็นเดือนๆเป็นปีๆเหมือนพวกวาล์วปิด-เปิดทั่วๆไป  

    ส่วนพวกเรื่อง วาล์วติดตายหมุนปิดเปิดไม่ได้ที่บ่นๆกัน จริงๆก็อก,วาล์วระบบประปา โดยเฉพาะพวกก็อกน้ำประเภท บอลวาล์ว ส่วนใหญ่มาจากการที่คุณใช้บอลวาล์วคุณภาพต่ำ เเละ ไม่มีดูเเลการบำรุงรักษาเลยครับ ( โดยทั่วๆไปควรที่จะมีหมุนปิด-เปิด บ้างอย่างน้อยทุกๆ 3 เดือน ) ไม่มีเวลาดุเเลว่อมบำรุงเเนะนำให้ใช้วาล์วประเภท เกตวาล์ว เเบบการประปาใช้งานที่มิเตอรืน้ำ จะดีกว่าครับพวกนั้นใช้วิธทดเเรงผ่านหลักการ สกูรเกลียวทดกำลัง

  15. wishsine (wishsine)

    อ้าว …… พอดีท่อบายพาสตัวเช็ควาวล์เสีย (ต่อแบบแนวดิ่ง) นึกว่าต่อแบบนี้ทำให้เช็ควาวล์เสียก็เลยมาต่อใหม่แบบแนวนอน สรุปแล้วเราก็ต่อผิดหลักน่ะซิ ไม่ทราบว่าจะมีอายุการใช้ยาวหรือเปล่าครับ เริ่มกังวลเหมือนกัน ใครรู้ช่วยบอกหน่อย …… งงๆๆ ไปหมดแล้ว แต่ก็ดันลืมต่อบอลวาวล์อีกตัวซะได้ …..

Comments are closed.