ผมไปดูเครื่องทำน้ำอุ่นมา ชอบ pana กับ sharp แต่ทั้งสองตัวนี้ใช้ระบบ ELB ซึ่งเมื่อเซลล์ถอดฝาครอบเครื่องออก จะเห็นกลไกเป็นแบบเบรกเกอร์ตัวเล็กๆติดอยู่ข้างใน รู้สึกไม่ค่อยชอบ(ทั้งที่ตัวเก่าเคยใช้แบบนี้แต่ไม่เคยถอดออกมาดู) ทีนี้เซลล์พาไปดูยี่ห้อฝรั่ง เช่น Stillbel Mazuma พวกนี้จะใช้ระบบ ELSD ซึ่งตัดไฟโดยใช้วงจรไฟฟ้า ดูน่าเชื่อถือดี เลยยังลังเล ข้อติของเครื่องทำน้ำอุ่นของฝรั่งคือรูปทรงไม่ค่อยสวย ส่วนใหญ่น่าจะทำในจีน อยากขอความเห็นหน่อยครับ ขอบคุณครับ
คำค้นหา:
- elsd
- elcb
- วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น
- elcb ราคา
- elcb คือ
- elsd คือ
- ซ่อมเครื่องทําน้ําอุ่น
- elsd คืออะไร
- elsd เครื่องทําน้ําอุ่น
- elb เครื่องทําน้ําอุ่น
ผมว่าระบบไหนก็ตัดไฟได้เหมือนกันครับ
เลือกยี่ห้อที่มั่นใจได้ว่า เมื่อถึงเวลาตัดมันต้องตัดดีกว่า ไม่ใช่ถึงเวลาตัดดันทำเฉยซะงั้น
ให้ความเห็นไม่ได้เหมือนกันค่ะ ว่าอันไหนดีกว่า แต่ขอยกตัวอย่างที่บ้าน
ที่บ้านชั้นล่างใช้เครื่องทำน้ำอุ่น national รุ่นมีเบรคเกอร์อยู่ข้างใน ปรากฎว่าตอนนี้ไฟรั่วและเบรคเกอร์ไม่ทำงาน (อาจจะเป็นเพราะติดตั้งนานแล้ว และห้่องน้ำชั้นล่างนี่ก็ไม่ค่อยมีคนใช้งาน) ดีที่วันก่อนแฟนลองเช็คกระแสไฟ และเปิดน้ำอุ่นดู ถึงรู้ว่าไฟรั่ว (ตอนนี้ก็กำลังมองหาเครื่องทำน้ำอุ่นใหม่อยู่เหมือนกัน)
ส่วนข้างบนใช้เครื่องทำน้ำร้อน stillbell ติดเบรคเกอร์ต่างหาก (ทุกห้องนอน) ใช้มานานเกิน 12 ปีแล้วค่ะ เครื่องยังไม่มีปัญหา
อาจจะเป็นเพราะว่าเครื่องทำน้ำร้อนมันบึกบึนกว่าเครื่องทำน้ำอุ่นหรือเปล่าก็ไม่รู้นะคะ
ELB กับ ELCB เหมือนกัน ชื่อเต็ม Earth Leakage Curciut Breaker
ELSD คือ Earth Leakage Sensing Device
ELCB ก็จัดเป็นแบบหนึ่งของ ELSD แต่มีข้อดีตรงที่ว่าในการตัดวงจรเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว ELCB จะตัดไฟออกจากการเครื่องทั้งหมด
ส่วน ELSD ที่ใช้กันอยู่ในเครื่องรุ่นปัจจุบันในหลายยี่ห้อนั้น จะตัดการทำงานของแผงวงจรควบคุมเท่านั้น ความหมายคือยังคงมีไฟจ่ายเข้าเครื่องอยู่ ซึ่งสมัยก่อน ELSD จะมีการต่อ Power relay ไว้ด้วย เพื่อตัดไฟออกจากการเครื่องทั้งหมด แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว
ที่เคยเห็น เครื่องทำน้ำร้อน จะไม่มีระบบ ตัดไฟ รั่ว
ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่น จะมี ระบบตัดไฟรั่ว ครับ
มี 2 แบบ เป็นแบบ breaker ยี้ห้อ ญี่ปุ่น จะใช้แบบนี้
อีกแบบ ELSD เป็น อีเล็กโทรนิค ยี้ห้อแปลกๆ ที่ทำในจีน เวียดนาม จะใช้แบบนี้
จากที่ใ้ช้งานมา ผมฟันธงเลยว่าแบบเป็น breaker ELB มี สเถียรภาพ มีความน่าเชื่อถือมากกว่า แบบ อีเล็กโทรนิคมากๆ ต้นทุนแบบนี้ ถูกมาก แต่มาขายแพง
มักมีในยี้ห้อแปลกๆ ขายตาม home pro home work และมักจะมี sale คอยหลอกล่อว่าอีกแบบไม่ดี ตัดช้า ต่างๆนาๆ ( และมักจะมากับ ฟักบัวสุดหรู ปรับได้หลายแบบ แต่น้ำไหลไม่แรง ) เพื่อให้ได้ค่า com การตั้งราคามักจะตั้งแพงๆ แล้วบอกว่า promotion ลด 50% เช่นยี้ห้อ A ราคา 6900 บาท ลดพิเศษเหลือ 2990 บาท ผมบอกได้เลยว่า สู้ sharp ตัวถูกสุด ขี้เหร่สุดๆ 2700 บาท ยังไม่ได้เลย ครับ
เคยซ่อม control ยี้ห้อ ariston ทำความร้อนได้ แต่ไม่สามารถกด test หรือ ให้ตัดได้ อันตรายมากๆ สาเหตุ opam comparator เสีย 1 ตัว ราคา 2-5 บาท
ไม่มี ELB
ลองให้คนขายแกะ ดู ภายในเทียบดูก็ได้ครับ ไม่ต้องมีความรู้ ก็พอจะดู โหงวเฮง ของเครื่องได้ ครับ
คือ พวกระบบท่อ เป็นท่อทองแดง หรือ สายยาง
ระบบ หม้อต้มเป็นพลาสติก หรือเรียก หรูๆว่า กรีเลียน หรือว่าเป็น ทองแดง
การเดินสายไฟ แผงควบคุม มีการเดินสายหลบแนวท่อ ที่ถ้าเกิดน้ำรั่วแล้วไม่มีทาง โดนสายไฟ หรือ controller
flow rate อัตตราการไหลของน้ำ
อีกอย่างครับ ถ้าจะซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น อย่าไปซื้อที่ HP HW ให้ไปซื้อที่ Lotus Carrfour Big C ครับ ไม่งั้นโดน sale หลอกเละ
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคคห. ด้านบน ทุกประการครับ
เห็นด้วยกับ คห.ข้างบนอีกเสียง
วันก่อนไปดูที่ HP เหมือนกัน ตั้งใจไปถอย Pana แต่เจอเซลล์พูดดิสเครดิตพานาซะเสียหมดเลย
แล้วก็ตามเชียร์ Stillbel จนเราเปลี่ยนใจ ไม่ซื้อ กลับบ้าน ๆ ทนอาบน้ำเย็นมาหลายวันแล้ว เลยว่าจะลองไปดูโลตัสดีกว่า
ยี่ห้อญี่ปุ่นที่คุ้นๆ หู น่าใช้ดีแล้วครับ เหมาะสมกับราคา
จะเป็น pana sharp toshiba hitachi
เครื่องที่บ้าน National ใช้ทุกวันมาถึงวันนี้เกินกว่าสิบห้าปี ยังใช้ได้ดีไม่มีปัญหา
ELCB ยังกดทดสอบได้ปกติ เดินสายดินเรียบร้อย
อุปกรณ์ตัดไฟรั่ว มีความสำคัญที่สุด ผมเชื่อถืออุปกรณ์แบบตัวเหลี่ยมๆสีดำ มากกว่าครับ เพราะใช้งานกันแพร่หลายมากกว่า และทำงานแบบกลไก Mechanic ชัวร์กว่าครับ (แต่ต้องหมั่นกด test เพื่อให้กลไกทำงานบ้าง) ส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ตัวเล็กๆ ยังไงมันก้ไม่ทนทานนับสิบปีหรอกครับ