ผมคิดค่าไฟฟ้าแอร์แบบนี้ ทำไมบิลค่าไฟมันไม่ตรงเลยครับ

แอร์ที่คอนโด 14,000  BTU.  คอมแอร์ทำงานวันละ 5 ชม. คูณ 30 วัน

โดย แอร์ 14,000  บีทียู   หารด้วย 1000  คูณ 293 ได้เท่ากับ 4120 วัตต์

วิธีคิด
4,120 x 5 x 30 = 20.51 กิโลวัตต์
คูณค่าไฟสัก 3.5 บาท / กิโลวัตต์ คูณ 30 วัน

ตกค่าไฟ 2,154 บาท

**** แต่บิลมาไม่เคยเกินเดือนละ 1,000 บาท ทุกเดือน  ทั้งที่ยังไม่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆเลย   … ผมคิดอะไรผิดไปหรือเปล่าครับ ???

คำค้นหา:

  • คิดค่าไฟแอร์
  • คํานวณค่าไฟแอร์
  • วิธีคิดค่าไฟแอร์
  • วิธีคิดค่าไฟ แอร์

8 thoughts on “ผมคิดค่าไฟฟ้าแอร์แบบนี้ ทำไมบิลค่าไฟมันไม่ตรงเลยครับ

  1. สหายสายธาร

    คอมเพรสเซอร์ไม่ได้ทำงานยาวนาน 5 ชั่วโมง

  2. kphaitha

    น่าจะผิดนะครับ…..คุณเปิดแอร์วันล่ะกี่ ช.ม. ครับ
    การเปิดแอร์ 5 ชม ไม่ได้หมายความว่า คอมทำงาน 5 ชั่วโมง
    แต่ถ้าคุณตอบว่าเปิดแอร์ 10 ชม. และเดาว่า คอมทำงาน 5 ชั่วโมงก็ไม่ถูก
    ครับ…เพราะเราไม่สามารถมานั้งจับเวลาได้หรอกว่า Com ทำงานกี่ ชม.
    และอีกอย่าง….เปิดแอร์ 10 ชม.เหมือนกันทุกวันก็ไม่ได้หมายความ
    ว่า คอม แอร์จะทำงานเท่ากันทุกวันมันก็จะขึ้นอยู่กับสถาพอากาศภายนอก
    ด้วยว่าเป็นอย่าไร อากาศร้อน  ฝนตก อากาศเย็น มีผลต่อการรักษาอุณหภูมิ
    ภายในห้องทั้งสิ้น รวมทั้งระยะเวลาการทำงานของ คอม…..แอร์ด้วย
    ตกลงรู้ได้ไงครับว่า คอม แอร์ทำงาน 5 ชม.ต่อวัน

  3. นายสันทัด

    "แอร์ 14,000  บีทียู   หารด้วย 1000  คูณ 293 ได้เท่ากับ 4120 วัตต์ "

    ไปเอาสูตรนี้มาจากไหน?

    แอร์ 14,000  บีทียู   ถ้า EER = 11  แอร์ของคุณจะกินไฟ 14,000/11 = 1,272.7 watt

    ใช้งาน 5 ชม. จะกินไฟ = 1.2727 x 5 x 30 = 190.9 Kw หรือ 191 หน่วย เท่านั้นครับ

  4. KanichiKoong

    เปิดวันละ 5 ชม. ใช่ว่าคอมจะเดินทั้ง 5 ชม. นะครับ เว้นแต่ห้องมีความเย็นรั่วออกหรือใช้แอร์ขนาดเล็กกว่าห้อง
    ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม ที่ส่งผลต่อระยะเวลาการทำงานของคอมเพรสเซอร์ เรามิอาจทราบระยะเวลาที่ชัดเจนได้ครับ
    ต่างช่วงเวลาของแต่ละวัน แต่ละฤดูกาล และภาระความร้อนในห้อง ล้วนมีผลต่อการทำงานของคอมเพรสเซอร์ทั้งนั้น

    งงเช่นกัน กับสูตร (แอร์ 14,000  บีทียู   หารด้วย 1000  ได้เท่ากับ 4120 วัตต์)
    ***คูณ 293*** 293 มาจากไหนหรือ และ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงแอร์ขนาด 14,000 BTU กินไฟ 4,120 W ก็ควรเลิกใช้อย่างยิ่งครับ
    สูตรที่ถูกต้อง ดูตามที่คุณสันทัดบอกครับ

    ถ้าหากใน1เดือน สมมติว่าแอร์คุณเดินเต็มกำลังตลอด กินไฟ 191 หน่วย
    ผมก็จะลองคิดค่าไฟฟ้าโดยประมาณของแอร์เครื่องนี้ตามอัตราก้าวหน้าให้ดู

    แอร์ใช้ไฟ 191 หน่วย
    150 หน่วยแรกที่แอร์ใช้  150 x 1.8047 = 270.705 บาท
    หน่วยที่ 151 – 191 ของแอร์ = 40 หน่วย  40 x 2.7781 = 111.124 บาท
    270.705 + 111.124 = 381.829 ปัดเศษตามการคิดของการไฟฟ้าฯ ค่าไฟฐานก็จะอยู่ที่ 382 บาท
    บวก ค่าบริการรายเดือนสำหรับการใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย 40.90 บาท
    382 + 40.90 = 422.90 ปัดเป็น 423 บาท

    ค่า Ft. เดือน ก.ย. – ธ.ค. 53 อยูที่ 92.55 สตางค์/หน่วย  แอร์กินไฟ 191 หน่วย = 191 x 0.9255 = 176.77
    ค่า Ft. ที่ต้องจ่าย 177 บาท

    ค่าไฟฐาน + ค่า Ft. (423 + 177) = 600 บาท
    Vat. 7 % = 42 บาท
    600 + 42 = 642 บาท

    ถ้าแอร์เครื่องนี้คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดที่เปิดใช้งาน ค่าไฟในแต่ละเดือนเฉพาะแอร์เครื่องนี้ โดยประมาณจะอยู่ที่ 642 บาทครับ

  5. TJ (tjaigon)

    สูตรของ จขกท. ไม่ได้ผิดครับ(1 BTU/H = 0.2928104 Watt)
    แต่ยังไม่หมดครับ ยังมี ERR มาเกี่ยวข้องด้วย

    1 BTU = 1055.056 Joule
    1 Watts = 1 Joule/sec
    1 Hour = 3600 sec
    ถ้าค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์(PF) เป็น 1 จะได้ 1 VA = 1 Watt = 1 Joule/sec
    จากค่าในเบื้องต้นจะได้ว่า
    1 BTU/H = 0.2928104 Watt
    14000 BTU/H =  4099.3456 Watt
    สำหรับเครื่องปรับอากาศ จะมีค่า EER หรือ COP เข้ามาเกี่ยวข้อง
    ถ้าเครื่องปรับอากาศมีค่า EER = 11 BTU/H.W หรือ COP = 3.2209 W/W (11×0.2928104=3.2209)
    แอร์ 14000 BTU/H จะใช้ไฟฟ้า 4099.3456/3.2209 = 1272.73 W

    ***เอาลัดๆ เลยก็แบบ คคห.3 ครับ

  6. kphaitha

    ยากไปป่าว…ครับ…เอาง่ายๆ ก็ดูที่ Power consumption ซิครับ

Comments are closed.