โลกนี้ไม่ยุติธรรม……ว่าด้วยเรื่อง…….สถาปนิก


งานในออฟฟิศ ตำแหน่งเหมือนกัน(สถาปนิก)
การศึกษาเท่ากัน
นายสั่งให้สเกตช์แบบโปรเจ็คใหม่ ต่อนบ่ายวันหนึ่ง
คนแรก(เป็นผู้หญิง) สมมติชื่อเอ
ทำงานตั้งแต่บ่ายยันเที่ยงคืน ดราฟท์งานเกินมนุษย์ หาที่มาที่ไป case study,กฏหมาย,site analysis …… เพียบ


แต่…อีกคน (ชาย)สมมติชื่อบี มาทำตอนเช้า นั่งดูดบุหรี่ คิดจริงจังอยู่ 2 ชม. เปิดหนังสือ กินกาแฟ ฟังเพลง สเก็ตช์ๆ

นายมาตรวจงาน เอ พรีเซนต์ใหญ่โต ที่มาที่ไปๆๆๆๆ นายนั่งสัปหงก(ครึ่ง ชม.)
พอจบ นายบอก เออ เก่งๆ ทำงานเร็วจัง ไม่ได้นอนเลยใช่มั้ย

บี เอาแบบที่สเก็ตช์ ให้ดู ประมาณนี้ครับ นายถามนิดหน่อย (5 นาที)

นายเห็น เฮ่ย สวยว่ะ เออ ดีๆ

สรุป คุณบี เดี๋ยวทำตามคุณละกัน คุณดูแลโปรเจ็คนี้เลย
 ส่วนเอ reference คุณแน่นดี แต่ดีไซน์คุณเชยไปหน่อยอ่ะ
…เอางี้ละกัน
เอเดี๋ยวช่วย บีดูเรื่องกฎหมายนะ แล้วก็ช่วยเคลียร์แบบด้วย คุณทำงานเร็วดี

เอ จึงทำงานหนักต่อไป..

20 thoughts on “โลกนี้ไม่ยุติธรรม……ว่าด้วยเรื่อง…….สถาปนิก

  1. โสดจัง

    ของแบบนี้อยู่ที่ความชอบ

    และการตีโจทย์ให้แตก

  2. ต้นโพธิ์ต้นไทร

    นิ้วมือ ๕ นิ้วยังยาวไม่เท่ากันเลย

  3. กระต่ายหลังยาว

    นั่นแหละ คือความยุติธรรมของทุกอาชีพ
    ว่าใครตีโจทย์ของลูกค้าได้มากกว่ากัน

  4. ar

    อย่างนี้ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นเรื่องของความยุติธรรมเท่าไหร่นะครับ เหมือนเป็นเรื่องของความสามารถ ประสบการณ์ และรสนิยมมากกว่า เลียนแบบกันได้ยากจริงๆ

  5. like_that

    ออฟฟิศนี้นายเข้าใจใช้คน
    ดูวิธีทำงานของนายไว้เยอะๆ
    อย่ามัวนั่งโทษโชคชะตาฟ้าลิขิต

  6. เคราครึ้ม

    ถ้านายสั่ง" เฮ่ย ไปเสกตช์ดู แล้วทำฟีสมาคร่าวๆหน่อยซิ" คำว่ายุติธรรมค่อยน่าใช้กับหัวกระทู้หน่อยครับ

  7. jomjonbupa

    ก็โทษฟ้าโทษดินต่อไปครับ
    สงสัยเจ้านายคุณจะไม่ได้เรื่องเพราะเดี๋ยวนี้ คงจะใช้ Put the right man on the right job ไม่ได้แล้ว
    จะต้องใช้ Put the right job on the right man ควบคู่กันไปด้วย

    Put the right man/woman on the right job
    By jj oracle
    หัวใจของการสรรหาและคัดเลือกคือ การเลือกคนให้ถูกกับงาน หรือที่เรียกกันติดปากว่าในภาษาอังกฤษว่า “Put the Right Man/Woman to the Right Job” ปัญหาคือจะเลือกอย่างไรจึงจะได้คนที่เหมาะกับงาน

    ตามหลักแล้วเราจะต้องรู้ก่อนว่างานนั้นต้องทำอะไร เพื่อให้ได้ผลงานอย่างไร ซึ่งเรามีข้อมูลส่วนนี้ในรูปเอกสารเรียกว่า แบบบรรยายลักษณะงาน หรือ Job Description ที่เราเรียกย่อ ๆ ว่า JD ที่พอเรียกแล้วบางทีก็นึกว่าเป็น เจดีย์ไปก็มี (ยิ่งตอนไปวิเคราะห์งานกับกรมศิลปากรละก็ บรรยากาศทำให้คิดว่าเป็นเจดีย์จริง ๆ) แบบบรรยายลักษณะงานเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นมาจากการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูลของงานตำแหน่งนั้น ๆ

    ในเอกสารบรรยายลักษณะงาน (หรือในรูปแบบใหม่ใช้คำว่า Role Profile ที่หมายถึงขอบเขตของงานตามตำแหน่ง) จะมีส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงคุณสมบัติของคนที่ดำรงตำแหน่ง ที่เดิมเรียกว่า Job Specification ข้อมูลส่วนนี้แหละที่ใช้สำหรับเลือกคนให้เหมาะสมกับตำแหน่ง

    ข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ที่ดำรงตำแหน่ง (Job Specification) นี้จะกำหนดเกี่ยวกับ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณสมบัติอื่น ๆ ของผู้ดำรงตำแหน่ง ข้อมูลส่วนนี้วิเคราะห์มาจากลักษณะของงานที่ทำ ว่าต้องการความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณสมบัติอื่น ๆ อย่างไร ในกลุ่มของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเราเรียกรวม ๆ ว่า KSAOs โดย K คือ Knowledge หรือความรู้ S คือ Skill หรือทักษะ A คือ Ability หรือความสามารถ และ O คือ Other Characteristics หรือคุณสมบัติอื่น ๆ บางคนอาจใช้คำว่า KSA แทนโดย K ยังเป็น Knowledge และ S ยังเป็น Skill และ A เป็น Attribute หรือ Attitude แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตามก็ไม่ได้แตกต่างอะไรมากนัก

    สมัยใหม่ เราได้ยินผู้คนพูดถึงคำว่า “สมรรถนะ” หรือ Competency เราอาจจะคิดว่า มีการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่ช่วยในการเลือกคนให้เหมาะกับงานมากขึ้น แต่เอาเข้าจริง ๆ เราพบว่าสมรรถนะมักจะหมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ นั่นแหละ ส่วนที่เน้นเพราะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างใหม่คือ “คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม”

    คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ไม่เหมือนกับพฤติกรรมการทำงานทีเดียว ตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าหน้าที่ความรับผิดชอบในงาน คือการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การทำการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เป็นพฤติกรรมในการทำงาน แต่คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมคือการอธิบายว่าเวลาทำการศึกษา วิเคราะห์วิจัยนั้นทำอย่างไร เช่น ทำอย่างขยันขันแข็ง ทำอย่างร่วมแรงร่วมใจ เป็นต้น
    คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่ แต่ใกล้เคียงกับคำว่า “คุณลักษณะ” ที่ในภาคราชการใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานกันมานานแล้ว แต่คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมมีความชัดเจนมากขึ้น เพราะกำหนดเป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้

    “สมรรถนะ” ที่ใช้ในภาคราชการพลเรือน เน้นที่คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมมากกว่า ส่วนของความรู้ทักษะ ความสามารถ เพราะสิ่งนั้นเป็นเรื่องที่เรารู้ และเข้าใจกันดีอยู่แล้ว

    ดังนั้นการเลือกคนให้เหมาะกับงาน นอกจากความรู้ ทักษะ ความสามารถ แล้วคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมยังช่วยให้เลือกคนให้เหมาะกับงานได้มากยิ่งขึ้น…

    ดร. รัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม
    http://jjoracle.wordpress.com/2007/05/09/put-the-right-manwoman-on-the-right-job/

  8. easyboy

    ทำงานหนักกับทำงานเป็น ต่างกันครับ

    เหมือนนักวาดภาพ
    คนหนึ่งวาดปีละภาพสองภาพ ขายได้เป็นแสนเป็นล้าน

    อีกคนวาดทั้งปี วาดแล้ววาดอีก  ขายได้หลักพัน

    แต่ก็นะของอย่างนี้มันเลียนแบบกันไม่ได้ แต่เรียนรู้ได้

    ไม่แน่ต่อไปคุณเออาจเก่งกว่าคุณบีก็ได้  ใครจะรู้

    เพราะเธอชอบค้นคว้าหาความรู้นี่นา

  9. oddy.freebird

    เรื่องนี้มันเรื่องของพรสวรรค์กับพรแสวงนะครับ ม่ใช่เรื่องของความยุติธรรม

  10. สหายสายธาร

    ไอเดียบรรเจิด
    ขีดๆเขียนๆ ก่อนค่อยจับใส่ พรบ. ทีหลัง
    งานผมก็ทำแบบนี้ อย่าเพิ่งเอากรอบมาใส่ให้ตัวเอง จะได้บรรเจิด

    นี่สถาปนิก

    ถ้าวิศวกร ก็ต้องเอากรอบมาใส่ก่อน ไม่งั้นคำนวนหลายรอบ

    วิธีทำงาน นี้ลองดูสิ เพราะสถาปนิก เอ ละเอียดอยู่แล้ว

  11. ! o_o !

    คิดกลับกันนะครับ
    ถ้าเกินนาง A มีพรสวรรค์เท่ากับนาย B แต่ยังขยันเหมือนเดิม เจ้านายคงเลือกของนาง A แน่นอนครับ

    โลกนี้มีทั้งพรสวรรค์และพรแสวง
    วัดกันสั้นๆ พรสวรรค์ชนะอยู่แล้ว
    แต่ในระยะยาว ต้องมีทั้งพรสวรรค์และพรแสวงครับ

  12. tzu149

    ในวงการนี้ หญิง มักได้รับโอกาสน้อยกว่า
    (เอะอะก็จะให้เป็นดราฟท์ ทั้งกะปี)
    เห็นมาเยอะ และรู้สึกเห็นใจ

    ไปเดินสาย อินทีเรียร์ซิครับ เวิ่คกว่าสำหรับหญิง

  13. tzu149

    ไม่ก็สอบเทศบาล เขต อบต ให้ได้
    ตอนนี้ก็เอาคืน(ผู้ชาย)ได้แล้ว

    ถึงตอนนั้น จะpornขนาดไหน มาเต๊อะ

    ยิ่งทำงานนาน เส้นดี อาจขึ้นถึงหัวหน้ากองช่าง
    ยิ่งมันส์ เข้าไปใหญ่

    (แต่ต้องตีกอล์ฟเป็นนะ หัวหน้ากองช่างยุคนี้ งานหลักคิอ ตีกอล์ฟ)

  14. คุณปุ๊

    การทำงานมันก็แบบนี้แหละครับ

    ผู้กำกับหนังโฆษณาท่านนึงนั่งขีดๆเขียนๆสตอรี้บอร์ดก่อนพรีเซนลูกค้าแค่5นาที แต่พรีเซนได้สุดยอดครับ ลูกค้าเค้าก็ชอบใจ ตกลงเอาเดี๋ยวนั้นเลย

    ของอย่างนี้มันอยู่ที่ว่ามีของรึป่าว

  15. Nameless Monster

    เขาเรียกว่าใครมีกึ๋นมากกว่ากัน ความขยันไม่ได้หมายความว่างานจะออกมาดีกว่าน่า ลองปรับมุมมองลองหาไอเดียแบบใหม่ๆดีกว่านั่งโทษคนอื่นนะ

  16. Messoforte

    อย่าท้อ พยายามพัฒนาสิ่งที่ขาด
    งานมันสอนเราเสมอ
    อย่าอีโก้จัดมากนัก
    ทำตัวเป็นแก้วที่ว่าง
    หัดเรียนรู้จากคนอื่น

    Work Hard นั้นดี แต่พึง Work Smart ด้วย (นายสั่งให้ Sketch นิ ไปทำอะไรเยอะแยะ)

  17. .......

    ดิชั้นกลับ มองในแง่ดี ซะอีก !!! ทั้ง A และ B ก็เก่งกันคนละอย่าง

    อย่างที่เจ้านายของคุณว่าไว้…ถูกต้องแล้ว Play Safe ที่สุด

    ……..ต่างฝ่ายต่างช่วยกัน งานต้องออกมาดีแน่นอน

  18. ผ่านมาแซว (ไผ่แผ่วพริ้ว)

    ขอออกความเห็นในมุมของ…คนนอกวงการสถาปนิก

    ผมมองว่าสถาปนิก…คือ ผู้สร้างสรรค์ ออกแบบไอเดีย ความคิด และความต้องการของลูกค้า ให้ออกมาเป็นรูปธรรมจับต้องได้

    ดังนั้น หัวใจของอาชีพนี้คือ…ความคิดสร้างสรรค์ และการออกแบบ

    ส่วนเรื่อง "หาที่มาที่ไป case study,กฏหมาย,site analysis" เป็น เรื่องของกระบวนการต่อจากนั้น

    ในเมื่อ
    นาย B มีความคิดสร้างสรรค์ และออกแบบได้ดี
    และ
    น.ส. A หาที่มาที่ไป case study,กฏหมาย,site analysis ได้เก่ง และขยัน

    ถ้าผมเป็น ห.น. ผมก็ต้องทำแบบนี้นั่นแหละ

    หรือ
    ถ้าเปรียบเทียบให้ง่ายในความรู้สึก….
    เวลาคุณจะเลือกแบบบ้านจากสถาปนิก
    คุณเลือกที่ "การออกแบบบ้าน"
    หรือ
    เลือกที่ "ที่มาที่ไป case study,กฏหมาย,site analysis"?

  19. นัยแว่น

    เคยเจอเรื่องแบบนี้ตอนสมัยเรียนครับ ไอ้เราก็เข้าทุกวิชาตั้งใจเรียน ส่วนเพื่อนเข้า ๆ โดด ๆ ตอนเรียนไม่ค่อยสนใจ แต่พอสอบออกมาคะแนนดีกว่าเราซะงั้น !! โลกไม่ยุติธรรมจริง ๆ

  20. jamjung

    พัฒนาสมองดีกว่าพัฒนากำลังครับ
    ปรับปรุงในแนวทางที่ถูกต้องจากประสบการณ์ไม่นาน เออาจเก่งกว่าบีนะเพราะพื้นฐานความรับผิดชอบดี แต่ประสบการณ์อาจด้อยกว่า

Comments are closed.