แอร์ที่ไม่มีเบอร์ 5 ค่า EER นี่มันต่ำขนาดนี้เลยเหรอเนี่ย

.

คำค้นหา:

  • ค่า eer ดูตรงไหน
  • eer แอร์

16 thoughts on “แอร์ที่ไม่มีเบอร์ 5 ค่า EER นี่มันต่ำขนาดนี้เลยเหรอเนี่ย

  1. วี

    30000 บทย ถ้าเทียบง่าย ๆ ก็ได้แค่เบอร์ 1 เอง
    แต่ยุคก่อนแอร์ใหญ่ขนาดนี้มันไม่มีเบอร์ 5 นี่นา ทำไงได้
    ตอนนี้ 30000 มีเบอร์ 5 แล้วนะครับ แต่ไม่มีเบอร์ 5 ก็ยังมีขายอยู่นะครับ
    เบอร์ 5 จะแพงกว่า 3000 บาทมั้ง
    http://www.mitsubishi-kyw.co.th/f_download.php?file=inverter_160935.pdf

  2. สหายสายธาร

    ต่ำจริงแหะ
    เบอร์ 5 จะอยู่ที่ 10.6 มั๊งถ้าไม่พลาดนะ
    แต่ถ้าเป็น spec ทั่วไปราชการจะกำหนดไว้ประมาณ 11

  3. นายสันทัด

    EER ของแอร์ 2 ตัวนี้ ไม่เหมือนกัน หน่วยต่างกัน

    EER ตัวแรกมีหน่วยเป็น Watt/Watt หรือไม่มีหน่วย เรียกว่า Power Consumption
    EER ตัวที่สองมีหน่วยเป็น Btuh/Watt

    ถ้าจะคิด EER ของแอร์ตัวแรก ในหน่วยเดียวกับปัจจุบัน จะได้ 30,000/3,100 = 9.68 ครับ

  4. วี

    รบกวนคุณนายสันทัดสอนวิธีคิดหน่อยสิครับ

  5. นายสันทัด

    ขออภัย แอร์ตัวแรกทำความเย็นได้ 8.2 Kw หรือ 8.2 x 3,412 = 28,000 บีทียูเท่านั้น

    ค่า EER ของแอร์ตัวแรกจะเป็น 28,000/3,100 = 9.03 ครับ

  6. นายสันทัด

    หน่วยกิโลวัตต์ เป็นหน่วยกำลังไฟฟ้า  1 กิโลวัตต์ เท่ากับ 3,412 บีทียูต่อชั่วโมง หรือ คิดเป็นพลังงาน

    พลังงาน 1 กิโลวัตต์ใน 1 ชั่วโมง หรือ 1 kWh หรือ 1 หน่วยไฟฟ้า ( 1ยูนิต) เท่ากับ 3,412 บีทียู

    แอร์ตัวแรก ทำความเย็นได้ 8.2 กิโลวัตต์ เท่ากับทำความเย็นได้ 8.2 x 3,412 = 27,978.4 บีทียูต่อชั่วโมง
    และใช้กำลังไฟฟ้า 3.1 kW หรือ 3,100 watt ครับ

  7. วี

    ขอบคุณครับ
    แต่คุณนายสันทัดทราบได้ยังไงครับว่ามันคนละหน่วยกัน ต้องแปลงก่อน
    หรือว่าดูจากตัวเลขที่มันต่ำเกินไปจนไม่น่าเชื่อครับ
    เพราะผมพยายามดูทั้งสองฉลากแล้ว
    หน่วยมันก็เหมือนกันนี่นา 55555 ผมงงนะเนี่ย (โง่เรื่องพวกนี้ด้วย อิอิ)

  8. นายสันทัด

    ทั้งสองฉลาก ไม่ได้ระบุหน่วย ที่จริง EER มีหน่วย ปัจจุบันใช้หน่วยเป็น Btuh/Watt
    ส่วนฉลากของแอร์ตัวแรก มีหน่วยของ EER เป็น Watt/Watt ถ้าจะให้มีหน่วยเหมือนกัน ก็เอา 3.412 คูณเข้าไป

    จริงอย่างที่คุณตั้งข้อสังเกต คงต้องดูจากทีตัวเลขมันต่ำเกินไป และลองหาที่มาของมันด้วยการเอากำลังไฟฟ้าเข้าคูณกับ EER ดู
    การไฟฟ้าน่าจะกำหนดให้ระบุความสามารถในการทำความเย็นเป็น บีทียูต่อชั่วโมง
    ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบค่า EER ซึ่งการไฟฟ้าได้กำหนดให้เป็น บีทียูต่อชั่วโมง ต่อวัตต์

    และถ้าเราเอา EER คูณด้วย 1,000 เราก็จะสามารถรู้ได้เลยว่าแอร์ตัวนั้นๆ ทำความเย็นได้กี่บีทียู เมื่อใช้ไฟไป 1 หน่วย หรือ 1 ยูนิต

  9. piya_kasi

    ยุคก่อนมีเบอร์ 5 นั้น
    การระบุประสิทธิภาพของแอร์จะใช้ค่า COP (COEFFICIENT OF PERFORMANCE)คืออัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน มีสูตรคือความสามารถในการทำความเย็นหารด้วยกำลังไฟขาเข้า ซึ่งนานาประเทศ จะใช้ค่านี้
    แต่ของ EGAT(กฟผ) นั้น ตั้งใจจะแสดงให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย เนื่องจากเราจะคุ้นเคยกับขนาดแอร์เป็น BTU แต่เอาเข้าจริงเราจะไม่เคยเห็นตัวเลข BTU แบบเดิมประเภท 30000 บีทียู อีกเลยมีแต่ตัวเลขแบบนี้ทั้งนั้น

  10. วี

    ขอบคุณทุกท่านมาก ๆๆๆๆๆๆ เลยครับ ได้ความรู้ดีมาก
    แล้วก็ขำตัวเอง 5555 เพราะโคตรตกใจกับ eer ของตัวแรกนะเนี่ย มันจะกินไฟอะไรขนาดนั้น(วะ)

    คุณ piya_kasi ครับ ไม่ทราบว่าตารางนี้หาได้จากเว็บไหนครับ อยากได้ครับ

  11. แอบอ่านเงียบๆ

    มันต้องแบบนี้สิ เยี่ยมๆๆๆๆๆ
    แปะๆๆๆๆ ปรบมือให้กับสาระเต็มๆ

  12. กล้วยทอด (arhoo74)

    พรบ. อนุรักษ์พลังงาน ปี 2553 ฉบับที่ 2-4 มีค่ากำหนด EER ไว้ครับ เข้าไปในเวป พพ. ได้เลย

Comments are closed.