รายการที่ขอชดเชยกรณีบ้านถูกน้ำท่วม คุณตาฝากผมมาถามเพื่อนๆครับว่า ที่บ้านคุณตาถูกน้ำท่วม สามารถขอชดเชยสิ่งของอะไรได้บ้างครับ ขอบคุณทุกคำแนะนำครับ
ต้นโพธิ์ต้นไทร December 8, 2010 at 5:57 am อะไรเสียหาย ซื้อมาเท่าไหร่ ค่าซ่อมเท่าไหร่ แจ้งไปให้หมด ชดเชยต่อบ้านสูงสุด ดูเหมือนไม่เกิน สามหมื่นบาท
antanoy December 8, 2010 at 5:57 am ^ เพิ่งรู้นะเนี่ย เข้าใจว่าสามารถขอชดเชยได้ 5,000 เท่านั้นเอง งั้นตอนแจ้งก็ต้องแจ้งให้ละเอียดสิเนอะ .. แล้วเราไม่มีใบเสร็จราคาของที่ซื้อมา ต้องใช้หลักฐานอะไรแทนรึเปล่าคะ รูปถ่ายคงได้แต่หลังน้ำท่วม ไม่รู้ยังอยู่มั้ยเพราะเคลียร์ทิ้งไปก็เยอะแล้วอ่ะ
ต้นโพธิ์ต้นไทร December 8, 2010 at 5:57 am เกณฑ์จ่ายชดเชย ‘ช่วย’ เกษตรกรน้ำท่วม !! ครม.ศก สรุปเกณฑ์ช่วยน้ำท่วม เพิ่มจ่ายเงินชดเชยนาข้าว พืชสวน พืชไร่อีก 55 % ย้ำบ้านเสียหายทั้งหลังจ่าย 3 หมื่นบาท นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้ สั่งการในที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ( รศก. ) ให้เร่งการเบิกจ่ยเม็ดเงินชดเชยให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบรายละ 5 แสนบาทให้เร็วทัชี่สุดภายในสัปดาห์นี้ โดยกระทรวงเกษตรได้เสนอขอกับงบประมาณ 1.48 หมื่นล้านบาท โดยขณะนี้มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย 8.84 ล้านไร่ แยกเป็นพื้นที่ปลูกข้าว 6.9 ล้านไร่ , พืชไร่ 1.5 ล้านไร่ และพืชสวน 4.8 แสนไร่ นอกจากนี้ยังอนุมัติเพิ่มเงินชดเชยผลผลิตที่เสียหายอีก 55% ทำให้นาข้าวได้รับเงินชดเชยไร่ละ 2,098 บาท พืชไร่ ไร่ละ 2,921 บาท , พืชสวนและอื่นๆ ไร่ละ 4,908 บาท และพืชสวน และไม้ยืนต้น ที่ยังไม่ตาย ฟื้นฟูได้ไร่ละ 2,454 บาท สำหรับประมง แยกเป็น ปลา 3,406 บาทต่อไร่ ไม่เกินรายละ 5 ไร่ , กุ้ง ปู หอยได้ 9,098 บาทต่อไร่ รายละไม่เกิน 5 ไร่ , สัตว์น้ำที่เลี้ยงในกระชัง บ่อ ตารางเมตรละ 257 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร ด้านปศุสัตว์ กรณีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์เสียหาย แบ่งเป็นแปลงหญ้าสาธารณะ ช่วยเหลือเรื่องเมล็ดพืชอาหารสัตว์ไม่เกนไร่ละ 2 กิโลกรัม , แปลงหญ้าส่วนตัวของเกษตรกรให้รายละไม่เกิน 20 ไร่ และให้เมล็ดพืชอาหารสัตว์ไม่เกินไร่ละ 2 กิโลกรัม กรณีสัตว์ตายหรือสูญหาย เช่น โค ไม่เกิน 2 ตัว กระบือไม่เกิน 2 ตัว สุกรไม่เกินรายละ 10 ตัว เป็ดพันธุ์ไข่และพันธุ์เนื้อ ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว ไก่พื้นเมืองไม่เกินรายละ 300 ตัว ไก่ไข่ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว สำหรับเรื่องชดเชยกรณีบ้านเสียหายทั้งหลัง ชดเชย 3 หมื่นบาท เสียหายบางส่วนจ่ายไม่เกิน 2 หมื่นบาท ซึ่งนายกฯ ได้ย้ำในที่ประชุมว่าให้พยายามสื่อสารเรื่องนี้ให้ประชาชนได้เข้าใจว่าใน เบื้องต้นจะจ่ายเงินชดเชยที่ระดับนี้ก่อน
คีรีบูนปีกบาง December 8, 2010 at 5:57 am ...... ... เท่าที่บรรดาผู้ใหญ่บ้าน.. กำนัน…ไปประชุมมา .. เบื้องต้นหน่วยเหนือแจ้งว่า .. บันไดเงินช่วยเหลือ..ตอนนี้มี 3 ขั้น 1. ช่วยทุกครัวเรือนเท่ากันหมดจำนวน 5,000 .- บาท ( ห้าพันบาทถ้วน ) ….. รายละเอียดคือ.. มีน้ำท่วมขังเกิน 7 วันขึ้นไป .. คำว่าท่วมขังของเขาคือ.. สูงแค่ตาตุ่มหรือสูงท่วมหัวคือ.. ท่วมขัง ตรงนี้บรรทัดฐานคือ.. ท่วมขังเหมือนกัน ( ในความหมาย ) การยื่นหนังสือขอเงินช่วยเหลือ.. บรรเทา นั้น หน่วยงานในท้องที่เช่น เขต , อบต. , เทศบาล จะมีแบบฟอร์มให้กรอกว่ามีอะไรเสียหายบ้างเป็นมูลค่าเท่าไร.. เช่น…. ตู้เย็น.. มูลค่า 5,500 บาท เครื่องซักผ้า… มูลค่า 11,000 บาท ที่นอน.. มูลค่า 3,000 บาท ตู้เสื้อผ้า … มูลค่า 2,700 บาท ******** รวมเป็นมูลค่าความเสียหาย 22,200 บาท ******** นั่นคือ.. การกรอกเอกสารหลักฐานที่ระบบราชการต้องมีเท่านั้น.. มิได้หมายความว่าบ้านไหนเสียหายมากได้มากแต่อย่างใด …. กรอกไปเป็นล้านก็จะได้พื้นฐานเท่ากันหมดคือ 5,000 บาท ( คิดพื้นฐานง่ายๆ ถ้าเราไปคิดว่าเราเสียหายมากต้องได้มากนั้น .. ถามกลับว่า.. มิต้องหาคณะกกรรมการหาช่างมาเดินประเมินทีละบ้านหรือ.. แบบนั้นคงโต้เถียงกันตายชาติกว่า .. กว่าจะจบกันได้ ) 2. ขั้นที่สอง .. ช่วยเหลือขั้นที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท ( สามหมื่นบาทถ้วน ) กรณีนี้หมายความว่าจ่ายเพิ่มให้อีกสามหมื่นบาท .. สำหรับบ้านพักอาศัยที่เสียหายหลักๆ บางส่วนจนใช้การไม่ได้ … เช่น .. บันไดหลุดออกไปเพราะโดนกระเเสน้ำหรือสิ่งของมาชนจนหลุดไป .. แต่ต้องหลุดไปทั้งส่วนหรือทั้งกระบิ.. ไม่ใช่หลุด – พังเเค่ขั้นสองขั้น หรือ.. หลังน้ำลดบ้านเกิดการทรุดตัว เสาบางต้นทรุดอย่างเห็นได้ชัด ( ตรงนี้หน่วยเหนือเองก็ยังไม่กระจ่างว่าจะพิสูจน์กันอย่างไร แบบไหน ) 3. ขั้นที่สาม… ช่วยเหลือขั้นสาม .. เป็นเงิน 100,000 บาท ( หนึ่งแสนบาทถ้วน ) … สำหรับบ้านที่ท่วมแบบ. .." มิดหลังคา " .." ถึงหลังคา " .. สำหรับการยื่นเอกสารนั้นหน่วยงานท้องถิ่นมีหน้าที่ที่จะต้องออกสำรวจ เพื่อให้เจ้าของบ้านแต่ละหลังได้กรอกแบบฟอร์มพร้อมหลักฐานพื้นฐาน คือ.. สำเนาบัตรประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน จากนั้นจะต้องมีผู้ใหญ่บ้าน, คณะกรรมการชุมชน หรือตัวเเทนท้องถิ่น ที่จัดตั้งและรับรองด้วยองค์กรรัฐเซ็นยืนยันว่าเราเสียหายจริง.. หนังสือนั้นนั้นจึงจะสมบูรณ์ .. เพราะด้วยปรากฏว่า.. มีคนที่บ้านบ่ได้ถูกน้ำท่วม.. แต่ขอ " ตามน้ำ……… ตามเงิน " .. ยื่นเอกสารว่าบ้านฉันท่วมด้วยเยอะมาก .. จึงต้องใช้ผู้รับรองนั่นเอง ( คงเป็นการกลั่นกรองเบื้องต้น ) หน่วยงานหลายหน่วยงานประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง … ด้วยสาเหตุหลายๆ อย่าง.. ให้คุณตาหรือผู้ที่ประสบภัยติดต่อ.. " ผู้ใหญ่บ้าน ".. โดยด่วน เพราะนั่นคือ.. ผู้ใกล้ชิดที่เป็นตัวเเทนของรัฐที่สุดของชาวบ้านแล้วกระมัง เพื่อคุณตาจะได้ยื่นเอกสารที่ผมกล่าวถึงมาต่อไป .. ........
คีรีบูนปีกบาง December 8, 2010 at 5:57 am ..... เพิ่มเติมว่า .. แม้เเต่หน่วยงานท้องถิ่นเอง… ผู้ใหญ่บ้านเองก็ดี .. ยังมึนกับกฎเกณฑ์ที่ว่า.. รัฐจะเอายังไงแน่.. จ่ายเท่าไร.. อย่างไร .. ผู้ใหญ่บ้านวิ่งรอกประชุมจนขาขวิด.. ชนิดประชุมทีก็เปลี่ยนทีนึง.. ไป ๆ เรื่อย .. เช่น.. เรื่องที่นา ชาวนาจำนวนมากทำนาอยู่ในที่ ๆ ไม่ได้อยู่ในเขตที่บ้านตัวเองอยู่อาศัย.. แล้วจะเเจ้งที่ใคร ??? ผู้ใหญ่บ้านที่ตนอาศัย..มีบ้านเลขที่ หรือ.. ผู้ใหญ่บ้านที่ตนเองไปทำนาอยู่ … ไหนจะกรณี.. เช่าที่เค้าทำนาอีก .. ผู้ใหญ่บ้านก็ไม่กล้าเซ็นเพราะกฎเกณฑ์เปลี่ยนรายวัน.. ..... .. .
อะไรเสียหาย ซื้อมาเท่าไหร่ ค่าซ่อมเท่าไหร่ แจ้งไปให้หมด
ชดเชยต่อบ้านสูงสุด ดูเหมือนไม่เกิน สามหมื่นบาท
^ เพิ่งรู้นะเนี่ย เข้าใจว่าสามารถขอชดเชยได้ 5,000 เท่านั้นเอง งั้นตอนแจ้งก็ต้องแจ้งให้ละเอียดสิเนอะ .. แล้วเราไม่มีใบเสร็จราคาของที่ซื้อมา ต้องใช้หลักฐานอะไรแทนรึเปล่าคะ รูปถ่ายคงได้แต่หลังน้ำท่วม ไม่รู้ยังอยู่มั้ยเพราะเคลียร์ทิ้งไปก็เยอะแล้วอ่ะ
เกณฑ์จ่ายชดเชย ‘ช่วย’ เกษตรกรน้ำท่วม !! ครม.ศก สรุปเกณฑ์ช่วยน้ำท่วม เพิ่มจ่ายเงินชดเชยนาข้าว พืชสวน พืชไร่อีก 55 % ย้ำบ้านเสียหายทั้งหลังจ่าย 3 หมื่นบาท นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้ สั่งการในที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ( รศก. ) ให้เร่งการเบิกจ่ยเม็ดเงินชดเชยให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบรายละ 5 แสนบาทให้เร็วทัชี่สุดภายในสัปดาห์นี้ โดยกระทรวงเกษตรได้เสนอขอกับงบประมาณ 1.48 หมื่นล้านบาท โดยขณะนี้มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย 8.84 ล้านไร่ แยกเป็นพื้นที่ปลูกข้าว 6.9 ล้านไร่ , พืชไร่ 1.5 ล้านไร่ และพืชสวน 4.8 แสนไร่
นอกจากนี้ยังอนุมัติเพิ่มเงินชดเชยผลผลิตที่เสียหายอีก 55% ทำให้นาข้าวได้รับเงินชดเชยไร่ละ 2,098 บาท พืชไร่ ไร่ละ 2,921 บาท , พืชสวนและอื่นๆ ไร่ละ 4,908 บาท และพืชสวน และไม้ยืนต้น ที่ยังไม่ตาย ฟื้นฟูได้ไร่ละ 2,454 บาท
สำหรับประมง แยกเป็น ปลา 3,406 บาทต่อไร่ ไม่เกินรายละ 5 ไร่ , กุ้ง ปู หอยได้ 9,098 บาทต่อไร่ รายละไม่เกิน 5 ไร่ , สัตว์น้ำที่เลี้ยงในกระชัง บ่อ ตารางเมตรละ 257 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร
ด้านปศุสัตว์ กรณีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์เสียหาย แบ่งเป็นแปลงหญ้าสาธารณะ ช่วยเหลือเรื่องเมล็ดพืชอาหารสัตว์ไม่เกนไร่ละ 2 กิโลกรัม , แปลงหญ้าส่วนตัวของเกษตรกรให้รายละไม่เกิน 20 ไร่ และให้เมล็ดพืชอาหารสัตว์ไม่เกินไร่ละ 2 กิโลกรัม กรณีสัตว์ตายหรือสูญหาย เช่น โค ไม่เกิน 2 ตัว กระบือไม่เกิน 2 ตัว สุกรไม่เกินรายละ 10 ตัว เป็ดพันธุ์ไข่และพันธุ์เนื้อ ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว ไก่พื้นเมืองไม่เกินรายละ 300 ตัว ไก่ไข่ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว
สำหรับเรื่องชดเชยกรณีบ้านเสียหายทั้งหลัง ชดเชย 3 หมื่นบาท เสียหายบางส่วนจ่ายไม่เกิน 2 หมื่นบาท ซึ่งนายกฯ ได้ย้ำในที่ประชุมว่าให้พยายามสื่อสารเรื่องนี้ให้ประชาชนได้เข้าใจว่าใน เบื้องต้นจะจ่ายเงินชดเชยที่ระดับนี้ก่อน
.
.
.
.
..
.
.
.
เท่าที่บรรดาผู้ใหญ่บ้าน.. กำนัน…ไปประชุมมา ..
เบื้องต้นหน่วยเหนือแจ้งว่า ..
บันไดเงินช่วยเหลือ..ตอนนี้มี 3 ขั้น
1. ช่วยทุกครัวเรือนเท่ากันหมดจำนวน 5,000 .- บาท
( ห้าพันบาทถ้วน ) …..
รายละเอียดคือ.. มีน้ำท่วมขังเกิน 7 วันขึ้นไป ..
คำว่าท่วมขังของเขาคือ.. สูงแค่ตาตุ่มหรือสูงท่วมหัวคือ.. ท่วมขัง
ตรงนี้บรรทัดฐานคือ.. ท่วมขังเหมือนกัน ( ในความหมาย )
การยื่นหนังสือขอเงินช่วยเหลือ.. บรรเทา นั้น
หน่วยงานในท้องที่เช่น เขต , อบต. , เทศบาล
จะมีแบบฟอร์มให้กรอกว่ามีอะไรเสียหายบ้างเป็นมูลค่าเท่าไร..
เช่น….
ตู้เย็น.. มูลค่า 5,500 บาท
เครื่องซักผ้า… มูลค่า 11,000 บาท
ที่นอน.. มูลค่า 3,000 บาท
ตู้เสื้อผ้า … มูลค่า 2,700 บาท
********
รวมเป็นมูลค่าความเสียหาย 22,200 บาท
********
นั่นคือ.. การกรอกเอกสารหลักฐานที่ระบบราชการต้องมีเท่านั้น..
มิได้หมายความว่าบ้านไหนเสียหายมากได้มากแต่อย่างใด ….
กรอกไปเป็นล้านก็จะได้พื้นฐานเท่ากันหมดคือ 5,000 บาท
( คิดพื้นฐานง่ายๆ ถ้าเราไปคิดว่าเราเสียหายมากต้องได้มากนั้น ..
ถามกลับว่า.. มิต้องหาคณะกกรรมการหาช่างมาเดินประเมินทีละบ้านหรือ..
แบบนั้นคงโต้เถียงกันตายชาติกว่า .. กว่าจะจบกันได้ )
2. ขั้นที่สอง .. ช่วยเหลือขั้นที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท
( สามหมื่นบาทถ้วน )
กรณีนี้หมายความว่าจ่ายเพิ่มให้อีกสามหมื่นบาท ..
สำหรับบ้านพักอาศัยที่เสียหายหลักๆ บางส่วนจนใช้การไม่ได้ …
เช่น ..
บันไดหลุดออกไปเพราะโดนกระเเสน้ำหรือสิ่งของมาชนจนหลุดไป ..
แต่ต้องหลุดไปทั้งส่วนหรือทั้งกระบิ.. ไม่ใช่หลุด – พังเเค่ขั้นสองขั้น
หรือ.. หลังน้ำลดบ้านเกิดการทรุดตัว เสาบางต้นทรุดอย่างเห็นได้ชัด
( ตรงนี้หน่วยเหนือเองก็ยังไม่กระจ่างว่าจะพิสูจน์กันอย่างไร แบบไหน )
3. ขั้นที่สาม… ช่วยเหลือขั้นสาม .. เป็นเงิน 100,000 บาท
( หนึ่งแสนบาทถ้วน ) …
สำหรับบ้านที่ท่วมแบบ. .." มิดหลังคา " .." ถึงหลังคา " ..
สำหรับการยื่นเอกสารนั้นหน่วยงานท้องถิ่นมีหน้าที่ที่จะต้องออกสำรวจ
เพื่อให้เจ้าของบ้านแต่ละหลังได้กรอกแบบฟอร์มพร้อมหลักฐานพื้นฐาน
คือ.. สำเนาบัตรประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน
จากนั้นจะต้องมีผู้ใหญ่บ้าน, คณะกรรมการชุมชน หรือตัวเเทนท้องถิ่น
ที่จัดตั้งและรับรองด้วยองค์กรรัฐเซ็นยืนยันว่าเราเสียหายจริง..
หนังสือนั้นนั้นจึงจะสมบูรณ์ ..
เพราะด้วยปรากฏว่า.. มีคนที่บ้านบ่ได้ถูกน้ำท่วม.. แต่ขอ
" ตามน้ำ……… ตามเงิน " ..
ยื่นเอกสารว่าบ้านฉันท่วมด้วยเยอะมาก ..
จึงต้องใช้ผู้รับรองนั่นเอง ( คงเป็นการกลั่นกรองเบื้องต้น )
หน่วยงานหลายหน่วยงานประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง …
ด้วยสาเหตุหลายๆ อย่าง..
ให้คุณตาหรือผู้ที่ประสบภัยติดต่อ.. " ผู้ใหญ่บ้าน ".. โดยด่วน
เพราะนั่นคือ.. ผู้ใกล้ชิดที่เป็นตัวเเทนของรัฐที่สุดของชาวบ้านแล้วกระมัง
เพื่อคุณตาจะได้ยื่นเอกสารที่ผมกล่าวถึงมาต่อไป ..
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
เพิ่มเติมว่า ..
แม้เเต่หน่วยงานท้องถิ่นเอง… ผู้ใหญ่บ้านเองก็ดี ..
ยังมึนกับกฎเกณฑ์ที่ว่า.. รัฐจะเอายังไงแน่..
จ่ายเท่าไร.. อย่างไร ..
ผู้ใหญ่บ้านวิ่งรอกประชุมจนขาขวิด..
ชนิดประชุมทีก็เปลี่ยนทีนึง.. ไป ๆ เรื่อย ..
เช่น.. เรื่องที่นา
ชาวนาจำนวนมากทำนาอยู่ในที่ ๆ ไม่ได้อยู่ในเขตที่บ้านตัวเองอยู่อาศัย..
แล้วจะเเจ้งที่ใคร ??? ผู้ใหญ่บ้านที่ตนอาศัย..มีบ้านเลขที่
หรือ.. ผู้ใหญ่บ้านที่ตนเองไปทำนาอยู่ …
ไหนจะกรณี.. เช่าที่เค้าทำนาอีก ..
ผู้ใหญ่บ้านก็ไม่กล้าเซ็นเพราะกฎเกณฑ์เปลี่ยนรายวัน..
.
.
.
.
.
.
.
.
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของทุกท่านมากครับ