บ้านเป็นอาคารพานิชย์ 3ชั้นต้องการวางถังน้ำขนาด 750 ลิตร ไว้ชั้น 3
คำถามมีดังนี้คะ่
1. จะรบกวนอาคารหรือไม่ รับน้ำหนักไหวไหม
2. จะต้องติดตั้งป้มน้ำไว้ที่ไหน
3. ทำอย่างไรให้น้ำไหลลงมาได้ตามแรงโน้มถ่วงโดยไม่ต้องใช้ปั้มน้ำจ่าย
4. มีวิธีตั้งลูกลอยต่ำๆ ใกล้ๆก้นถัง แต่เวลาปั้มน้ำปั้มได้เต็มถัง เมื่อใช้น้ำ
น้ำลดลงไหลมาตามแรงโน้มถ่วงโดยไม่ต้องปั้มจะช่วยประหยัดไฟ
และเมื่อน้ำลดลงต่ำถึงลูกลอยลดลงก็จะปั้มน้ำขึ้นไปเก็บไว้เต็มถังอีก
จะมีวิธีทำอย่างที่กล่าวมานี้ได้หรือไม่
1. จะรบกวนอาคารหรือไม่ รับน้ำหนักไหวไหม
– อาคารพาณิชย์ ผู้รู้ท่านบอกไว้ว่าพื้น ออกแบบมาให้รับน้ำหนักได้ไม่เกิน ๒๕๐ กก./ตร.ม. เท่านั้น
ถังน้ำ ๗๕๐ ล. มีน้ำหนัก ๗๕๐ กก.
ตึกอื่นๆที่ทำกัน ทำไมไม่พัง – มันอาจจะยังไม่ถึงเวลา
2. จะต้องติดตั้งป้มน้ำไว้ที่ไหน
– มักจะติดไว้ที่ชั้นล่าง ส่งน้ำผ่านท่อขนาด ๑" ขึ้นไป
3. ทำอย่างไรให้น้ำไหลลงมาได้ตามแรงโน้มถ่วงโดยไม่ต้องใช้ปั้มน้ำจ่าย
– ก็ต่อท่อลงมา
แต่ที่ชั้นสามและสอง น้ำจะเบามาก ชั้นสามอาจใช้ไม่ได้เลย
จึงต้องติดปั๊มอัตโนมัติอีกตัวที่ชั้นสาม
4. มีวิธีตั้งลูกลอยต่ำๆ ใกล้ๆก้นถัง แต่เวลาปั้มน้ำปั้มได้เต็มถัง เมื่อใช้น้ำ
น้ำลดลงไหลมาตามแรงโน้มถ่วงโดยไม่ต้องปั้มจะช่วยประหยัดไฟ
และเมื่อน้ำลดลงต่ำถึงลูกลอยลดลงก็จะปั้มน้ำขึ้นไปเก็บไว้เต็มถังอีก
จะมีวิธีทำอย่างที่กล่าวมานี้ได้หรือไม่
– ตั้งลูกลอยตามปกติดีกว่า ให้น้ำเต็มถังไว้เสมอ
ความเห็นส่วนตัว
ถ้าเป็นบ้านตึกธรรมดา คนอยู่ไม่กี่คน ห้องน้ำอย่างมากชั้นละ ๑ห้อง
ตั้งถังทรงสูงขนาด ๗๐๐ล. และปั๊มอัตโนมัติไว้ที่ชั้นล่างตัวเดียว
ส่งน้ำผ่านท่อเมน ๑" เข้าตึกจะง่าย , ดีกว่า , ให้น้ำแรงกว่า รายจ่ายน้อยกว่า ค่าไฟก็ไม่ได้มากกว่าแบบวางถังชั้นสามเลย
ใช้ปั๊มขนาด ๒๕๐ – ๓๐๐ ว.ก็พอ
ข้อ 1.อยู่ที่ ว่าการออกเเบบตอนก่อสร้างได้เผื่อน้ำหนักถังน้ำไว้หรือไม่ถ้าหากไม่ก็อย่าไปวางเลยครับ ไม่ปลอดภัย
น้ำ 1 ลิตร หนัก = 1 กก. นะครับ
น้ำ 750 ลิตร หนัก = 750 กก. เชียวนะ
ตาม มาตรฐาน เขาเผื่อน้ำหนักจร นอกเหนือ จากน้ำหนักตายตัวของตัวโครงสร้างเอง จะถูกออกเเบบ ไว้ที่ 150 กก./ตร.ม. เเต่ในที่นี้ถ้าเป็นส่วนพักอาศัยก็จะเผื่อน้ำหนักกระเบื้องเข้าไปอีก 50 กก./ตร.ม. รวมเป็น 200 กก/ตร.ม.เเล้วก็จะมี ค่าเซฟตี้เข้าไปอีกประมาณ 10-15 %
เเต่ในกรณีดาดฟ้า จะไม่เผื่อน้ำหนักกระเบื้องเข้าไป 50 กก./ตร.ม
จึงมีเเค่ 150 กก./ตร.ม เพียวๆ เเต่เป็น น้ำหนักเเบบเเผ่กระจาย
ข้อ2.ควรใช่ปั้ม ร่วมกับถังน้ำบนดินหรือใต้ดินก็ได้ เหมือนระบบ บ้านจัดสรรทั่วไป
ข้อ.3 กรณีของถังน้ำดาดฟ้า ปกติเเล้วน้ำจะไหลลงมาตามเเรงโน้มถ่วงโลกโดยไม่ได้ใช้ปั้มจ่ายอยู่เเล้วครับ เเต่เราจะใช้ปั้มสูบน้ำขึ้นไปบนถังน้ำหลังคา
เเล้วเวลาปล่อยก็ปล่อยตามเเรงโน้มถ่วงโลก
ไม่งงนะครับ
ปั้มสูบน้ำขึ้นไปเก็บบนถังน้ำหลังคา เวลาใช้ ก็ปล่อยลงมาตามเเรงโน้มถ่วงโลก
ข้อ 4. ผมว่าคุณงงกับตัวลูกลอยครับ ลูกลอยเป็นตัวเซ็นเชอร์ของปั้ม
ลูกจะติดอยู่ตรงระดับปากถัง เมื่อปั้มสูบน้ำเข้าถัง เมื่อระดับน้ำในถังสูงขึ้นจะไปยกลูกลอยเมื่อลูกลอยยกมันจะไปตัดไม่ให้ปั้มทำงาน เมื่อเราใช้น้ำน้ำ น้ำในถังลด ระดับลูกลอยก็จะลดตาม มื่อถึงระดับลดสูงสุดลูกลอยก็จะเปิดให้ปั้มทำงาน เพื่อสูบน้ำเข้าถังอีกครั้ง
การที่ตั้งลูกลอยต่ำๆ ใกล้ๆก้นถัง จะเป็นการให้ปั้มทำงานบ่อยขึ้นเสมือนระดับความจุของถังคุณลดลง เปลืองไฟมากขึ้น ปกติเเล้ว เฉพาะกรณีถังน้ำดาดฟ้ายิ่งจุเท่าไหร่ ก็จะใช้ไฟน้อยลงเท่าน้นเนื่องจากปั้มทำงานน้อยลง
………..โชคดีครับ …………………
แนะนำ กระจายโหลดให้ลงเสาสิครับ จะปลอดภัยมากขึ้น
อาจจะทำอุปกรณ์รองถังน้ำ ให้ นน. กระจายลงไป ลงเสาทั้ง 4 ด้าน
หรือก่อน ดำเนินการสอบถามผ้ออกแบบ ก่อน ว่า โหลด เพิ่มอีก 750 kg บวกกับ อุปกรณ์รองถังน้ำ เผื่อเป็น 1 ตันเลยก็ดี
จะมีปัญหาอะไรไหม
เพราะถ้าให้โหลด ลงพื้นเลย อันตรายครับ
-โครงสร้างแต่ละบ้านก็ถูกออกแบบมาไม่เหมือนกัน ยังงัยก็เลือกตำแหน่งวางใกล้ๆ คาน-เสาไว้
-ส่วนเรื่องปล่อยน้ำจากดาดฟ้า บ้านผมทำอยู่ ก็ต้องมีสูงชั้นครึ่งเป็นอย่างน้อย น้ำถึงจะแรงอาบได้น้ำแรงๆ อย่างห้องผมอยู่ชั้น 4 ตอนแรกแทงค์อยู่บนพื้นดาดฟ้า น้ำค่อยมาก แต่ยกขึ้นไปวางบนซุ้มบันได ก็โอเคเลย
-ข้อ 4 ที่ใส่เืงื่อนไขการใช้น้ำ ลูกลอยไฟฟ้าตัวเดียวก็ทำงานอย่างที่ต้องการได้ ตั้งระดับลูกลอยที่ระดับต่ำสุดเพื่อเปิดปั้มน้ำ และตั้งระดับลูกลอยที่ระดับสูงสุดเพื่อปิดปั้มน้ำ
แต่โดยสรุป ถ้าที่บ้านต้องเดินระบบน้ำใหม่ ผมว่า เอาแทงค์ตัวเล็กๆ ไปไว้ที่ชั้นลอย ติดปั้มไว้ชั้นลอย จะไม่เสียพื้นที่ชั้นล่าง กับปั้มน้ำทำงานเบาลงจากการใช้งาน ส่วนชั้นล่างก็ต่อตรงกับประปาได้เลยนะครับ
วางให้น้ำหนักลงเสาได้โดยตรง เช่นวางแนวคานใกล้เสา กระจายน้ำหนักโดยการแยกถังเป็นหลายใบแทน