รั้วกำแพงอิฐบล็อค เวลาเดินคาน เขาใส่เหล็กเสริมกันหรือเหล็กคอม้าไหมครับ
แล้วคานรั้วอิฐบล็อคที่ทำเป็นกำแพงล้อมที่ดิน
กับคานรั้วอิฐบล็อคที่กั้นระหว่างบ้านห้องแถว หรือทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งรอบๆคาน มีการเทพื้นคอนกรีตไว้หน้าบ้าน
คานจะรับน้ำหนักต่างกันไหมครับ
คำค้นหา:
- คานคอม้า
- การเทคานรั้ว
- คานรั้ว
น่าจะขึ้นอยู่กับพื้นดินถ้าดินแน่น รั้วไม่สูงมาก คานก็คงไม่ต้องใส่คอม้าครับ แต่ถ้าดินถมไม่นาน และรั้วสูง ก็คงต้องใส่คอม้า และฐานเสารั้วต้องแข็งแรงปลอดภัยแน่นอน บางที่ดินถมต่างกัน ดินที่จะทำรั้วสูงกว่าดินข้างเคียง ต้องทำให้มั่นคง ใส่เสาดึงคาน ดึงเสาด้วยไม่งั้นทรุดเอาง่ายๆ หรือเผลอๆล้มทั้งแถบครับ เคยบางที่มานะครับ
คานทุกตัวที่มีน้ำหนักมากระทำจะต้องใส่เหล็กเสริมเพื่อรับแรง เนื่องจากคอนกรีตรับแรงดึงได้น้อยมาก ซึ่งในทางการออกแบบจะถือว่าคอนกรีตไม่สามารถรับแรงดึงได้ครับ ดังนั้นจึงต้องใส่เหล็กเสริมช่วยในการรับแรง โดยเหล็กเสริมในคานจะประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่1คือเหล็กที่วิ่งเป็นเส้นตรงขนานกับความยาวคานมีหน้าที่รับแรงดัด(Moment) ส่วนที่2คือเหล็กคอม้าที่วิ่งตามยาวแล้วมีการหักเฉียงประมาณ 45องศา อันนี้มีหน้าที่รับแรงเฉือน(Shear)โดยปัจจุบันเหล็กคอม้านี้ไม่มีการใส่แล้วเนื่องจากการทำงานยากแล้วรับแรงเฉือนได้ไม่ดีจึงเปลี่ยนมาใส่เป็นเหล็กปลอกในคานแทน ถึงแม้ว่ากำแพงจะมีความสูงไม่มากแต่ก็ควรใส่เหล็กMinimumเพื่อกันรอยร้าว
แล้วแต่ผลการออกแบบและคำนวณครับ
ส่วนใหญ่ผมจะไม่ออกแบบให้มีเหล้กคอม้า
เพราะค่อนข้างยุ่งยากสำหรับช่างเหล็ก
แต่จะใช้เหล็กเสริมพิเศษแทน
แต่ถ้าปริมาณรั้วยาวมาก การใช้เหล็กเสริมพิเศษ
อาจจะทำให้เปลืองเหล็กมากเกินไป
ก็อาจจะพิจารณาออกแบบให้ใช้เหล้กคอม้าครับ
ไม้ต้องครับ เสริม 9 มม. 5 เส้น ข้าง 4 ล่าง 1 พอ คาน 15×30 จัดปาย
รั้ว@ 2.50 ม. ครับ