เข้าไปเยี่ยมชมบล็อคคุณรอบรั้วมา เห็นภาพเดินท่อน้ำในคาน ดังรูป( รูปนี้เอามาจากบล็อค คุณรอบรั้ว ขออนุญาตมา ณ ที่นี้ด้วยครับ )
ไม่ทราบว่าจะมีปัญหาอะไรกับคานหรือไม่
แล้วถ้าเราจะร้อยสายไฟหรือท่ออย่างอื่นๆแบบในรูปได้หรือไม่ครับ โดยแยกกันคนละท่อ ขอบคุณครับ
คำค้นหา:
- การวางท่อส้วม
- แบบไฟฟ้าบ้านสองชั้น
- การเดินท่อส้วม
- การเดินท่อประปาแบบลอย
- ท่อเดินสายไฟ
- วิธีวางท่อส้วม
- การเดินท่อแบบฝัง
ร้อยได้ปกติครับ
แต่ส่วนใหญ่เค้าจะไม่เจาะ เค้าจะใช้วิธีตัดท่อเท่าความกว้างของคาน แล้วใส่ไว้ในแบบก่อนเทปูน
ศัพท์ช่างเรียกว่า สลีฟท่อ
การ sleeve ท่องานระบบ จะวางตำแหน่งและขนาดสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้นะครับ
ขนาดใหญ่สุดไม่เกินหนึ่งในสามของคาน คานลึกอย่างน้อย 40 cm ระยะระหว่างท่อเท่ากับ 3d ท่อต้องมีเหล็กกันแตกด้วย
หากทำคานแล้วเสี่ยงมากต่อการคอริ่งไม่ควรทำ
ตามรูป ระดับที่ท่อทะลุต้องเป็นที่ระดับกลางคาน ถ้าอยู่บนหรือล่างไปจะมีผลให้คานเสียกำลังไปบางส่วน (ถ้าทะลุที่ระดับกลาง จะมีผลต่อกำลังความแข็งแรงน้อยมาก)
วิธีการทำงาน ตาม คห 1 ครับ จะสะดวกกว่า
– ท่อน้ำดี ท่อไฟที่ไม่ใช่เมน ทำได้ โดยให้ทะลุที่ระดับกลางคาน
– ที่ต้องระวังคือ ท่อน้ำทิ้ง ท่อส้วม ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าน้ำดี แต่ก็ทำได้ถ้ามีการเสริมเหล็กช่วย โดยเฉพาะท่อส้วมควรปรึกษาวิศวกร
ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ งานระบบท่อวางลอดใต้ท้องคานจะดีกว่า ระดับฝ้าเพดานจะต่ำลงมานิดหน่อยเท่านั้นเอง เพราะส่วนใหญ่ที่เห็น ฝังท่อก่อนเทคอนกรีตก็ทำกันแบบลวกๆทั้งนั้น เหล็กเสริมพิเศษรอบท่อก็ไม่ค่อยจะใส่กัน
กลางคานคือยังไงครับ ในรูปผมว่าไม่ตรงกลางนะ
ตรงกลาง = ระหว่างบน-ล่าง หรือ ซ้าย-ขวา หรือทั้งสองอย่างครับ
แล้วถ้าเราใช้เป็นท่อน้ำแบบเป็นเหล็ก ยังนี้ก็ไม่ต้องเสริมเหล็กใช่ไหมครับ
แคร๊กเมื่อไร งานเข้าแหง่ๆ
กลางระหว่าง บน กับ ล่างครับ
ท่อเหล็กหรือพีวีซี ไม่ต่างกันครับ เพราะท่อเหล็กไม่ได้ช่วยให้คานแข็งแรงขึ้นแต่อย่างใด
ถ้าสามารถลอดใต้ท้องคานก็จบครับ ถ้าติดเรื่องระดับ จำเป็นต้องทะลุคาน ก็ต้องระวังกันหน่อย
ตามรูปวางตำแหน่งต่ำไป ท่อสีฟ้าคงติดเหล็กเสริมล่างเลย นานไป สนิมกินเหล็กเสริม
ส่วนทางยาวไม่รู้ เห็นคานแต่นั้น
ขอบคุณค่ะคุณ N416 ที่เข้าไปดูบล็อคแล้วตั้งกระทู้ถามปัญหาให้
ตอนเห็นคานนี้ก็รู้สึกตะหงิดๆเหมือนกัน ทั้งบ้่านมีคานนี้คานเดียวที่โดนเจาะ ได้โทรไปปรึกษาวิศวกรแล้ว ว่า ไม่ควรเจาะไม่ว่ากรณีใดๆ แต่ถ้าเจาะไปแล้วก็แก้ไขอะไรไม่ได้ ไม่ว่าจะเดินท่อใหม่ลอดใต้คานแล้วซ่อมคานก็ไม่แตกต่าง คือปล่อยเอาไว้อย่างนั้น สำคัญที่ตอนเจาะใช้สว่านแบบไหนเจาะ ถ้าเป็นสว่านมือทั่วๆไปแรงกระแทกไม่มาก ก็สะเทือนไม่มาก แต่ถ้าเป็นสว่านใหญ่แบบที่เจาะถนนก็ทำให้คานสะเทือนมากอันนั้นเรื่องใหญ่ เพราะทำลายความแข็งแกร่งของคานอย่างมาก
ส่วนเรื่องที่มีคนห่วงเรื่องเหล็กเสริมว่านานไปจะเป็นสนิมเพราะโดนเจาะ วิศวกรบอกไม่ต้องกังวล โอกาสที่จะเกิดน้อยมาก
สรุปว่า วิศกรบอกว่าไม่ต้องกังวลเรื่องการรับน้ำหนัก เพราะบ้านหลังนี้คำนวณคานไว้เผื่อเยอะแล้ว ก็เลยโล่งใจไปมาก
ต้องขออภัยเจ้าของภาพ ผมไม่ได้มีความประสงค์จะทำให้เกิดความไม่สบายใจแต่อย่างใด
การที่วิศวกรตอบแบบนั้น ควรขอให้ทำคำตอบเป็นลายลักษณ์อักษรลงนามกำกับพร้อมหมายเลขใบประกอบวิชาชีพ เก็บเอาไว้อ้างอิงในอนาคต จะอ้างว่าเพื่อความสบายใจ กินได้นอนหลับก็ได้
แล้วส่งเรื่องให้สภาวิศวกรพิจารณา เพราะการที่บอกว่า ได้คำนวณคานเผื่อไว้เยอะนั้น ไม่ถูกต้อง
วิศวกรจะต้องทำงานโดยคำนึงถึงความประหยัด ปลอดภัย ไม่ว่าจะได้รับค่าจ้างในการทำงานหรือไม่ ไม่งั้นจะกลายเป็นการเอาเรื่องผลประโยชน์ มาบดบังจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ
เรื่องที่ช่างผู้รับเหมาเจาะคานเพื่อฝังท่อนั้น วิศวกรที่ออกแบบไว้ก็บอกว่าไม่ควรทำ (วิศวกรที่ออกแบบไม่ใช่ทีมเดียวกับผู้ัรับเหมา) เรื่องที่จะให้วิศวกรทำคำตอบเป็นลายลักษณ์อักษรลงนามกำกับ เราคิดว่าเขาคงไม่รับรองให้ ในเมื่อเขาก็ออกแบบไว้ถูกหลักแล้ว แต่ผู้รับเหมาละเลยเอง เราได้ถามทางแก้ปัญหา เขาก็ว่า แก้ไขไปก็ไม่แตกต่างเพราะโดนเจาะเสียแล้ว เราเองก็ไม่มีความรู้ด้านนี้มากนัก จึงอยากรบกวนวิศวกรท่านใดก็ได้ เสนอทางแก้ปัญหาให้ด้วยค่ะ ขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาเสนอความคิดเห็น
ตอบคุณรอบรั้ว
วิศวกรพูดถูกแล้วครับ คือเค้าไม่อยากให้ทำ แต่ ผรม.ดังทะลึ่งทำ คานย่อมเสียกำลังแน่นอน แต่จะแก้ไขโดยถอดแป๊ปน้ำออก และอุดปูนกลับเข้าไปก็ไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่เลย
สิ่งที่สำคัญคือ ถ้าการเจาะนั้นตัดเหล็กเส้นด้วย ไม่ว่าเหล็กตามยาวหรือเหล็กปลอกก็ตาม ก็น่ากังวลอยู่บ้าง แต่ถ้าไม่ตัดถูกเหล็กก็ไม่ร้ายแรง ก็ไม่รู้ว่าพี่ ผรม. ท่านซาดิสม์ขนาดไหน
ผมว่าเชื่อวิศวกรผู้ออกแบบก็ดีแล้วครับ เค้ารู้ว่าคานแต่ละตัวเหลือสัดส่วนความปลอดภัยเท่าไหร่ ถ้าเป็นคานหลัก ต้องรัดกุมหน่อย ถ้าเป็นคานรองหรือคานลูก ก็ไม่ต้องซีเรียสมาก
ถ้าดูแล้วไม่มั่นใจ แก้ง่ายครับ ให้ ผรม. เสริมคานเหล็กตัวไอ (ไวด์แฟรงค์) ใต้คานตัวนี้ ให้วิศวกรออกแบบขนาดคานและการยึด แค่นี้จบครับ แต่ต้องดูระดับฝ้าด้วย
เรื่องสนิมต้องระวังไว้ด้วยครับ ถ้าไมทำฝ้าก็ไม่เป็นไร มันรั่วเมื่อไหร่เราก็เห็น ถ้าจะทำฝ้า กรณีนี้ให้ใช้ปูนทราย(เค็มๆหน่อย) อุดเข้าไปตรงรูร่อง บี้ๆให้ปูนเข้าไปลึกๆ ทิ้งแห้ง แล้วทารอบรอยอุดด้วยซีเมนต์กันซึม เผื่อกรณีท่อประปารั่ว น้ำจะไม่เข้าไปในตัวคานทำให้เกิดสนิมได้
วันนี้เลยไปถ่ายรูปซูมใกล้ๆว่าแบบนี้เป็นการเจาะคานภายหลังหรือวางท่อสลีฟไว้ก่อนเทคานและภาพพื้นระเบียงชั้นบนที่ท่อตัวนี้ต้องทะลุลงล่างแล้วหักมาทะลุผ่านคานที่ว่า ใครที่พอจะมองออกช่วยหน่อยค่ะ ถามผู้รับเหมาแล้ว เค้ายืนยันว่าไม่ได้เจาะคาน ได้วางท่อไว้ก่อนเทคาน แต่ก็ไม่มั่นใจค่ะ
รูปนี้ถ่ายจากอีกด้านหนึ่ง
รูปนี้เป็นรูปที่ท่อทะลุมาจากระเบียงชั้นบนแล้วผ่านคานตัวที่ว่า
ส่วนรูปนี้เป็นพื้นห้องน้ำชั้นบนที่ถ่ายจากด้านล่าง จำได้แน่นอนว่ามีการวางท่อสลีฟไว้ก่อนเทพื้นกันซึม แต่เห็นมีตะปูอยู่รอบๆท่อด้วย แถมเป็นสนิมด้วยไม่รู้่ว่านานไปจะมีปัญหากับเหล็กเสริมในพื้นหรือเปล่า
อีกรูปหนึ่ง
#14-15 ดูเหมือนใส่ท่อฝังไว้เลย โดยมีข้อต่อตรงหันออกมาให้ต่อ แต่ขอบข้อต่อบางๆดูไม่ชัด ปูนปิดไว้
#16 ดูเหมือนเป็นการเจาะภายหลัง
#17 เห็นขอบข้อต่อชัดเจน ที่เป็นสนิมน่าจะเป็นตะปู
กรณีที่ฝังท่อหรือ SLEEVE ไว้ใช้ครับ น่าจะกระทบโครงสร้างน้อย
กรณีที่เจาะทีหลังคงต้องอุด ทากันซึมไว้ก็ดี และที่สำคัญถ้าถูกตัดเหล็ก ถือว่าอันตราย ต้องเสริมกำลัง
ปรึกษาผู้ออกแบบดีกว่าครับ ที่คุยนี่เป็นแนวทางคร่าวๆ