วันเสาร์ใช้ปลั๊กพ่วงเพื่อเสียบปั๊มน้ำกับเครื่องดูดฝุ่น แต่พอจะถอดปลั๊กปั้ม
ไม่ได้มองว่าปลั๊กเครื่องดูดฝุ่นถูกดึง (ตอนลากเครื่อง) จนขาปลั๊กลอยขึ้น
มือก็เลยโดนไปเต็มๆ พอรู้สึกชาที่แขนวูบหนึ่ง Safe t cut ก็ตัด
ก็เลยสงสัยว่าในกรณีที่บ้านที่มีทั้งสายดินและ Safe t cut หากโดนช๊อต
อะไรมันจะต้องทำงานก่อนกัน เพราะเท่าที่ฟังมาหากเดินสายดิน ถ้าไฟรั่ว
หรือช็อตเราไฟจะวิ่งลงดินเราจะไม่ถูกดูด หรือยังไม่ทันรู้สึกว่าถูกไฟดูด
หรือ
แม้ว่าจะเดินสายดินเมื่อเราถูกไฟช๊อต เราก็ยังรู้สึกชา แต่แป๊บเดียว
เดี๋ยวไฟมันก็จะวิ่งผ่านเราลงสายดินไปเอง
ถ้าเป็นแบบนั้นการติด Safe t cut ก็ไม่จำเป็น แต่ที่ผมเจอ ผมถูกช็อต
Safe t cut ตัดทันที ซึ่งจะเป็นไปได้ไหมว่าสายดินที่ช่างไฟยืนยันว่า
ต่อเข้ากับโครงเหล็กหลังคาของบ้าน (แล้วโครงหลังคานี้ก็เชื่อมกับเหล็ก
คสล ในเสาวิ่งลงดิน) มันไม่ถูกต้อง แต่ตอนเทสช่างก็เทสด้วยการเปิด
สว่านไฟฟ้า โดยเค้าบอกว่าถ้าไม่มีสายดินสว่านก็จะไม่ทำงาน และผมก็
เคยลองใช้ปลั๊กพ่วงของ Btichino รุ่นที่มีไฟแสดงสายดิน มันก็มีไฟโชว์
ว่าต่อสายดินเรียบร้อย
รบกวนท่านที่มีความรู้ด้านนี้ให้ความกระจ่างด้วยครับ
ขอบคุณครับ
บ้านมีสายดิน ถ้าเราไปสัมผัสสาย L โดนตรง ก็ถูกดูดอยู่ดีครับ
เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวเราลงดินโดยตรง
สายดินจะช่วยได้ในกรณีที่มีไฟรั่วที่ส่วนโลหะของเครื่องไฟฟ้า
ถ้าเราไปสัมผัสส่วนนั้นกระแสก็จะไม่ดูดเรา เพราะมันจะไหลลงดินไปเกือบหมด
กรณีตัวตัดไฟรั่ว เค้าจะใช้หลักการตรวจจับกระแสที่ไหลผ่านสาย L กับ N
ซึ่งโดยปกติมันจะต้องเท่ากัน แต่ถ้ามันรั่วไปทางอื่น กระแสไหลไม่เท่ากัน
มันก็จะทำงานโดยการตัดวงจรนั้นๆโดยอัตโนมัติ
ปกติสายดินไม่ควรต่อโดยผ่านโครงสร้างอาคารอย่างที่ช่างทำให้คุณครับ
มันควรจะฝัง กราวน์ร็อด แยกต่างหาก
เพราะหากวันร้ายคืนร้ายเกิดมีกระแสไหลผ่านมากๆ
โครงสร้างอาคาร ก็จะมีความต่างศักย์เมื่อเทียบกับดิน
อันตรายครับ
ขอบคณเจ้าของกระทู้ด้วยค่ะ รู้สึกว่ามีประโยชน์มากเลย โดยเพาะผุ้ที่จะสร้างบ้านพอดี
ช่วงนี้ผมก็โดนไฟดูดเบาๆบ่อยๆ จับอะไรก็โดนเรื่อยๆ ไม่รู้เป็นไง
เรื่องสายดินจะว่ากันไปหลายคนที่เป็นวิศวกรไฟฟ้า ก็ยังเข้าใจไม่ตรงกันเลยบางที
และเรื่อง safe-t-cut ก็เหมือนกัน การติดตั้ง sate-t-cut ใช้สำหรับการป้องกันกระแสไหลผ่านตัวเราให้ไม่เกิน 30mA ซึ่งหากเกินค่านี้ในช่วงเวลาหนึ่งก็จะทำอันตรายให้แก่ชีวิตเราได้ Sate-t-cut ก็เลยเอามาทำและให้มันตั้งได้หลากหลายค่ามากขึ้นแทนที่จะ fix ที่ 30mA ก็บอกว่าสามารถตั้งค่าได้เริ่มจาก 10-30mA แล้วแต่เราจะตั้งค่าไว้ แต่ก็ต้องแลกมากับการที่ตัดกันกระจุยกระจายแค่ทำอะไรนิดๆหน่อยๆก็ตัด(หลายท่านอาจผ่านประสบการณ์นี้มาบ้าง) ซึ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไปก็มีขายเรียกว่า RCBO หรือ RCD แต่พวกนี้จะตัดที่ 30mA เท่านั้น( IEC Standard) ในความคิดผม RCBO หรือ RCD นี้ก็เพียงพอแก่การ Safe ชีวิตของเราแล้ว
ส่วนสายดินและสายตัวนำลงดินนั้น มีมากมายหลายรูปแบบ แต่บ้านเราอย่างที่เข้าใจกัน และตามมาตรฐานการไฟฟ้านั้น Ground หรือสายดิน ต้องเชื่อมต่อกับ neutral ที่ตู้เมนหลักเท่านั้น และ ground แต่ละอุปกรณ์ก็จะต้องมาเชื่อมต่อที่ ground bar ที่ตู้นี้ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องต่อ ground ที่โครงอุปกรณ์ลงดินแยกอีกจุด
ส่วนเรื่องการต่อground กับส่วนของโครงสร้างที่เป็นเหล็กต้องแน่ใจจริงๆว่ามีโครงสร้างเหล็กมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าจริงๆ กล่าวคือโครงสร้างดังกล่าวต่องมีการต่อถึงกันตลอดจนถึงดินซึ่ง โครงสร้างที่เป็นเหล็กนี้ต้องเชื่อมต่อกับระบบ Ground ที่มีการตอกหลักดินไว้และวัดได้ตามค่าที่กำหนด ค่าความต้านทานดินไม่เกิน 5 Ohm การต่อส่วนของโครงสร้างที่เป็นโลหะยังรวมไปถึง ท่อน้ำ รางไฟฟ้า เสา โครงหลังคา เหล็กคาน เป็นต้น
ซึ่งในกรณีของเจ้าของกระทู้การต่อ ground เข้ากับโครงสร้างไม่แน่ใจว่าเป็นการเอา โครงสร้างมาร่วมกับ ground ของระบบ หรือเอาโครงสร้างเป็น ground เองเลย หากเป็นกรณีหลังต่อไปอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ หากแค่จุดใดจุดหนึ่งของโครงสร้างไม่มีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าก็จะกลายเป็นGroundลอยทันที
# 3 ไฟดูดอย่างที่ว่ามันเป็นไฟฟ้าสถิตย์ ที่มากับหน้าหนาวครับ แค่สะดุ้ง นิด ๆ ครับ
ที่ว่ามากันหน้าหนาวเพราะหน้าหนาวอากาศแห้งครับไฟฟ้าสถิตย์จะเกิดขึ้นง่าย
และถ้าทำอะไรเกี่ยวกับ ไอระเหย วัตถุไวไฟ ก็ระวังให้มากครับ
ถ้าร่างกายไปโดนขั้ว L-N โดยตรง สายดินก็ไม่ได้ช่วยละครับ เพราะไฟจะวิ่งจาก L ผ่านร่างกายเราเข้า N ทันที
ร่างกายคนปรกติ ก็ไม่ได้เป็นสื่อกรองกระแส แต่ในรายการทีวีเคยมีคนที่สามารถจับขั้ว L กับ N ได้โดยไม่เป็นไรด้วย สงสัยเป็นคนธาตุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า
ถ้าคุณไปแตะขาปลั๊กตรงๆ โดนขา L ของปลั๊กพอดี แบบนี้สายดินไม่มีส่วนช่วยใดๆครับ มีหรือไม่มีสายดินไม่ต่างกัน
และถ้าแย่ไปกว่านั้นคุณไปแตะโดนสองขาปลั๊กพร้อมๆกัน(ไลน์ กับ นิวทรอล)
นั่นเป็นการครบวงจรตามปกติที่เครื่องตัดไฟรั่วทุกยี่ห้อจะไม่ตัดครับ
ไม่มีเครื่องไหนในโลกจะตัดกรณีนี้ได้ด้วย แบบนี้โดนไฟดูด 100%
แต่ก็ยังพอโชคดีหากคุณไม่ได้ใส่รองเท้าทำให้ไฟบางส่วนไปครบวงจรลงพื้นได้ แบบนี้เครื่องตัดไฟจึงรู้ว่ามีการรั่วไหลจึงตัดไฟได้ แต่ถ้าใส่รองเท้าอย่างดีถือเป็นการตัดเส้นทางลงดินเครื่องตัดไฟจะไม่พบไฟรั่วและไม่ตัด
ตอบกันดีมากๆครับ ผมไม่ขอตอบแต่ขอบอกว่าไปดูข้างบ้านทำบิวอิน ดันไปเหยียบสายไฟพ่วงของช่างที่มีฉนวนขาดอยู่ เกือบตายครับ สุดท้ายล้มหงายหลังลงมา ถ้าไม่ล้มคงซีเบ้งไปแล้ว….
ท่าน จขกท.ต้องอ่านให้ดีๆครับ ที่ท่านเข้าใจนั้นผิดหมดครับ
เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป ถ้าไม่มีปัญหาอะไร เวลาเราจับตัวถังของมันเวลาใช้งานตามปรกติ ก็จะไม่โดนไฟดูด
ตัวอย่างเช่นหม้อหุงข้าว ตู้เย็น ปั๊มน้ำ …
แต่ถ้าฉนวนภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นขาด อาจทำให้สายไฟมาแตะตัวถัง
ซึ่งจะทำให้ มีไฟฟ้ามาจ่อรออยู่ที่ตัวถัง เมื่อเราไฟจับก็จะโดนไฟดูด
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดิน (สังเกตุที่ปลั๊กจะมี 3 ขา) เค้าจะต่อตัวถังเข้ากับสายดิน
ถ้าไฟรั่วมาโดนตัวถัง ฟิวส์จะขาดหรือ safety cut ตัดไฟเสียก่อนที่เราจะไปจับตัวถังเคริ่องใช้ไฟฟ้านั้น
สายดินในบ้าน จึงมีประโยชน์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีปลั๊กสายดินต่อเข้ากับตัวถังเอาไว้
ส่วน Safety Cut นั้น เอาไว้ตัดไฟในกรณีที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน เช่นไฟรั่วลงตัวถังที่ต่อสายดินเอาไว้ หรือกรณีไฟดูดคน ซึ่งคนจะต้องโดนไฟดูดก่อน safety cut จึงจะตัด
กรณีที่เจ้าของกระทู้โดนไฟดูดนั้น ถ้าไม่ได้ safety cut ตัดไฟเสียก่อน อาจจะได้รับอันตรายมากกว่านี้ก็ได้