รอยแครกของรอยไม้งานเฟอร์บิลด์อิน

อยากขอความรู้ครับว่า
พวกงานเฟอร์บิลด์อิน ซึ่งช่างได้ใช้ไม้สองชิ้นมาต่อกัน แล้วโป้วสีพ่นสีทับ
แล้วต่อมา มันเกิดรอยแตก รอย crack ตรงจุดรอยต่อนั้น
วิธีแก้ไขที่ถาวร จะต้องทำอย่างไรครับ (เกรงว่าโป้วสี ทำสีใหม่ เดี๋ยวสักพักจะกลับมาเป็นอีก)

3 thoughts on “รอยแครกของรอยไม้งานเฟอร์บิลด์อิน

  1. เคราครึ้ม

    ขั้นแรก อยู่ที่การออกแบบครับ ผู้ออกแบบต้องคิดไว้ก่อนแล้วว่าตรงนี้ควรต่อไม้เนื่องจากจะประหยัดวัสดุ หรือ ความจำเป็นของขนาดวัสดุในท้องตลาด แล้วค่อยมาคิดต่อว่า จะให้เป้นรอยต่อแบบที่เป้ฯดีซายน์ไปเลย หรือว่าจะเสริมความแข็งแรงรอยต่อ ด้วยการอัดกาวแบบต่างๆหรือแบ็คกิ้งไม้เนื้อแข็งด้านหลัง หรือประกบอัดกาวกับไม้อัดชั้นอะไรสารพัดเทคนิค

    ขั้นที่สอง ถ้าผู้ออกแบบกำหนดมาชัดเจนแล้ว ต้องมาตรวจสอบด้วย ว่าได้ทำตามนั้นจริงหรือเปล่า

    แต่ทั่วไปเห็นเขียนมาคร่าวๆ พอเกิดปัญหา ก็มาสั่งช่างให้โป๊วหรือรื้อออกทำใหม่ คือช่างรับผิดไปเต็มๆ

    อ้อตอบคำถามซะหน่อย ถ้าแตกแล้ว มันมักจะแตกอีกครับ ก็ทำให้มันเป็นรอยต่อไปเลย ในกรณีที่ไม่อยากรื้อทำใหม่ เอาดอกเราเตอร์ตีทำเป็นร่องตัววี กว้างสัก 2 มม.ก็ได้ครับ ทีนี้มันจะร้าวไปตามปลายร่องอย่างที่เราทำล่อไว้ ดูด้วยตาไม่ค่อยออกครับ หลักการเดียวกับที่งานโยธา เค้าตัดจอยท์ที่พื้นคอนกรีตเวลาเทพื้นที่กว้างๆเลย

  2. เก้าอี้ริมหาด ที่ขาดคนนั่ง

    โอกาส crack มีมากอยู่แล้วครับ…
    ส่วนใหญ่ตอนออกแบบจะมีการระบุให้มีการเดินร่องโชว์ไปเลยมากกว่า เหมือน คห.1 ได้กล่าวไว้

  3. thanchanok2nd

    ตามแบบมัณฑนากรกำหนดแนวเซาะร่องไว้แล้วครับ (ไม่ทราบว่าเป็นดีไซน์ หรือกำหนดไว้เผื่อมีการต่อไม้)
    ตอนที่ส่งมอบงาน ผมดูไม่ออกเลยว่าตรงส่วนนั้น ช่างได้ต่อไม้ไว้
    เพิ่งมาเห็นก็เมื่อมันเกิดรอยแครกครับ
    เรื่องนี้ ผมว่าเป็นความไม่ใส่ใจของทีมช่างมากกว่าครับ
    กำลังจะให้ผู้รับจ้างส่งทีมช่างเข้ามาแก้ไขงาน เลยอยากทราบวิธีแก้ไข จะได้มีข้อมูลเอาไว้คุยกับช่างครับ

Comments are closed.