คือเป็นตึก 3 ชั้น 3 คูหา มี 9 ห้อง (มีห้องน้ำทุกห้อง) ตอนแรกก็จะมีถังพักข้างล่างเล็ก ๆ แล้วมีปั้มส่งขึ้นไปแท้้งใหญ่บนดาดฟ้า แล้วปล่อยน้ำจากแท้งลงมาแต่ละห้องทั้ง 9 ห้อง แต่ทางผู้รับเหมาบอก ทำแบบนี้มันดูแลรักษาแท้งยาก (เพราะอยุ่ดาดฟ้า) แล้วห้องชั้น 3 น้ำก็จะอ่อน เพราะแท้งอยุ่สูงขึ้นไปไม่เยอะ เขาเลยบอกให้เอาแท้งไว้ที่ชั้น 1 แล้วใช้ปั้มยิงเข้าท่อตรงเข้าทุกห้องแทน
เลยขอรบกวนท่าน ๆ อ่ะคับ ว่าแบบไหนมันน่าจะเวิร์คกว่ากัน ?
คำค้นหา:
- https://www thaider com/homepro/8519
ผมเคยทำวิธีแรกกับตึกแถวสูง5ชั้น น้ำที่ชั้น4ก็แรงนะครับไม่ได้รู้สึกว่ามันด้อยกว่าชั้นล่างๆเท่าไร ส่วนเรื่องดูแลแรักษานี่ผมไม่รู้เพราะที่เคยทำชั้นดาดฟ้าที่วางแทงค์ก็ขึ้นไปเดินเล่นได้คือขึ้นไปดูได้ง่ายแถมทำหลังคากันแดดกันฝนให้แทงค์ด้วย(ถ้าไม่ทำตอนกลางวันแดดแรงๆน้ำจะร้อนมาก)
แต่ถ้าใช้วิธีที่2คุณน่าจะต้องใช้ปั้มตัวใหญ่ไม่งั้นน่าจะไม่ไหวห้องน้ำตั้ง9ห้องแถมสูงด้วย แถมถ้าจังหวะเปิดใช้จุดเดียวปั้มจะทำงานตัดบ่อย(เนื่องจากตัวใหญ่)ไม่เกิน3-4วิก็ตัดที น่าจะเสี่ยงเสียเร็ว
สำหรับผมผมว่าวิธีแรกดีกว่า วิธีที่สองน่าจะเหมาะกับพวกบ้านไม่เกิน2ชั้น
ตึกแค่สามชั้น เก้าห้อง
เอาถังไว้บน ต้องมีถังสองชุด ปั๊มสองชุดไม่อัตโนมัติและอัตโนมัติ มีระบบลูกลอยไฟฟ้า เดินท่อสองระบบ
ปั๊มที่ชั้นบน ขนาด ๒๐๐ว. ต่อลงชั้นสามสอง ขนาดไม่ต้องใหญ่นักก็ได้ เพราะเป็นการปั๊มลง
ชั้นล่างลงตรง ไม่ต้องผ่านปั๊ม
แบบนี้ลงทุนครั้งแรกแพงกว่า ค่าไฟระยะยาวถูกกว่า
แบบปั๊มชั้นล่าง ปั๊มต้องมีขนาดใหญ่ แรงดันจึงจะพอเพียง ขนาดท่อเมนต้องใหญ่พอด้วยคือ = ๑" หรือ ๑ ๑/๒" ไปทุกชั้น แล้วค่อยต่อท่อแยก ถ้าทำท่อในตึกเป็น Loop ด้วยยิ่งดี
ขนาดปั๊ม แนะนำปั๊มกรุนฟอส รุ่น ch2-50pt และต้องมีถังสำรองน้ำด้วย
การลงทุนครั้งแรกถูกกว่า ค่าไฟระยะยาวน่าจะแพงกว่าเล็กน้อย
ควรทำท่อสองระบบให้เฉพาะชั้นล่างไว้ด้วย แบบให้ชั้นล่างใช้น้ำตรงได้ เผื่อน้ำแรงจะได้ให้ชั้นล่างใช้น้ำประปาตรงไม่ผ่านปั๊ม
ทำท่อในตึกเป็น Loop คืออย่างไรครับ
คุณต้นโพธิ์ต้นไทร ช่วยอธิบายเพิ่มเิติมหน่อย
ดาดฟ้าจะมีห้องบันได เอาถังน้ำตั้งบนหลังคาคลุมห้องบันได เลือกตำแหน่งเสาที่ตรงลงมาฐานราก
น้ำชั้นสามจะแรงกว่าการตั้งถังที่ดาดฟ้า หากยกระดับน้ำได้สูงพอ ก็ไม่ต้องใช้ปั๊มเพิ่มแรงดัน ระดับที่ว่า ไม่ควรต่ำกว่า ๗ เมตร
"""ทำท่อในตึกเป็น Loop คืออย่างไรครับ คุณต้นโพธิ์ต้นไทร ช่วยอธิบายเพิ่มเิติมหน่อย"""
จากปั๊มชั้นล่าง ใส่เช็ควาวล์ ใส่สามทางออกไปยังห้องน้ำทั้งสามแนว
ต่อท่อตรงขึ้นทั้งสามแนว
ที่ชั้นสาม ต่อท่อบรรจบถึงกันไว้
มองๆจะคล้ายๆเลข 8 วางนอน
ปั๊มตัวที่ว่า มีขนาดเพียง ๔๕๐ว. มีสามใบพัด(ถ้าจำไม่ผิด) เพื่อช่วยรีดส่งน้ำให้น้ำแรงดีมาก
บ้านแม่ผมก็ใช้วางแทงค์บนดาดฟ้า แทงค์น้ำตัวล่างวางชั้นลอย
แรกสุดเลยวางบนดาดฟ้า ห้องผมอยู่บนสุด น้ำก็เลยอ่อนซะ แต่พอยกขึ้นไปวางบนหลังคาบันได น้ำก็แรงขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ละครับ แต่ท่อออกจากแทงค์ผมขนาด 2" นะครับ ยิ่งของ จขกท ห้องน้ำตั้ง 9 ห้อง ถ้าใช้น้ำเวลาไล่เลี่ยกัน ถ้าใช้ท่อเล็ก น้ำจะอ่อนเลยนะครับ แล้วก็อย่าลืมทำเป็นแทงค์สองชุดด้วยละครับ
ส่วนเอาปั้มจ่ายน้ำจากชั้นล่างเข้าห้องน้ำ 9 ห้อง ผมว่าจะลำบากหน่อยทั้งค่าไฟในระยะยาว
อ่านกระทู้แท็งค์น้ำ ปั้มน้ำแล้ว ได้ความรู้ใส่สมองเยอะทุกทีเลย โดยเฉพาะท่านต้นโพธิ์ ต้นไทร จอมยุทธจริงๆ เอ๊ะเดี๋ยวนี้เขาพูดว่าเทพซินะ ขอบคุณทุกท่านครับ
เรื่องค่าไฟ คิดได้สองแง่ แง่แรกแบบที่ปกติเราๆคิดกันว่าปั๊มบนดินตัวเดียวค่าไฟระยะยาวแพงกว่าแบบบั๊มสองที่บนล่าง เพราะต้องใช้ปั๊มที่มีวัตต์สูง กินไฟมาก ราคาแพง
แต่ปั๊มกรุนฟอสรุ่นที่เราเสนอ เป็นปั๊มที่กำลังเครื่องไม่มากไปนัก มีหลายใบพัดช่วยรีดส่งน้ำให้น้ำแรงขึ้น จึงใช้กำลังไฟ(วัตต์)ต่ำได้
ในกรณีปั๊มไว้ชั้นล่างตัวเดียว ที่เราเสนอปั๊มกรุนรุ่นCH2-50PTนี้ที่มีกำลังปั๊ม ๔๕๐ ว. หากชั้นล่างใช้น้ำประปาตรง เท่ากับใช้ปั๊มแค่ ๖ ห้อง
หรือคิด ๙ห้องเหมือนๆกันเลยก็ได้
แต่หากคิดแบบปั๊มล่าง ๑ ตัว ปั๊มบนลงมาอีกตัว
ปั๊มตัวล่างก็ต้องใช้ปั๊มไม่อัตโนมัติ ขนาดครึ่งแรงม้าหรือ ๓๗๕ว. ปั๊มขึ้นดาดฟ้า ปั๊มดาดฟ้าปั๊มลงอีกตัว ขนาด ๑๕๐ว. รวมกัน = ๓๗๕+๑๕๐ = ๕๒๕ ว.
แถมยังต้องทำถัง ๑-๒ชุด ระบบลูกลอยไฟฟ้าอีกหลายตัง
น่าคิด
เอาแท้งค์ไว้บนหลังคาดาดฟ้าก็ดีครับชั้น3 น้ำจะแรงขึ้น ของผมใช้ปั๊มตัวเดียวชั้นล่าง มิซู CP-255G-1 ใช้มา 13 ปีแล้วครับ ท่อส่งน้ำลงมาขนาด
1 นิ้วครึ่งแล้วมาแยกลดขนาดตามชั้นๆละ 5 ห้อง ใช้ฝักบัวได้สบายแต่ถ้าต้องการน้ำแรงๆแบบปั๊มอัตโนมัติที่ชั้น 3 จะไม่แรงขนาดนั้นครับ
และติดตั้งลูกลอยไฟฟ้าทั้งแท้งค์บนและล่าง ลูกลอยไฟฟ้าที่ชั้นล่างเพื่อ
ป้องกันเวลาที่น้ำประปาไม่ไหลหรือไหลช้าแล้วน้ำหมดปั๊มจะได้ไม่ทำงาน
ขอบคุณทุกท่านมาก ๆ ครับ เด๋วจะลองไปคุยกะท่านผุ้รับเหมาดูว่าทำได้ไหม
ขอขอบคุณด้วยครับ