แนวรอยเลื่อนแม่ทา ที่ลากยาวจากลำปาง ถึงแถวสันกำแพง ดอยสะเก็ดเชียงใหม่ มีความเสี่ยงแค่ไหน

แนวรอยเลื่อนแม่ทา ที่ลากยาวจากลำปาง ถึงแถวสันกำแพง ดอยสะเก็ดเชียงใหม่ มีความเสี่ยงแค่ไหน สันกำแพงมีน้ำพุร้อนที่บอกถึงแนวรอยเลื่อน และดอยสะเก็ดมีเขื่อนแม่กวง แถวนั้นหมู่บ้านจัดสรรกำลังขึ้นกันมาก
อันตรายที่เกิดจากเขื่อนแตก กับพื้นที่ย่านนั้น หากไหวๆ อ.สันทราย ดอยสะเก็ด สันกลาง สันต้นเปา บ่อสร้าง สันกำแพง ไชยสถาน แถวนั้นเป็นที่ราบทั้งหมด ไม่เห็นมีมาตราการใดๆมาวางแผนป้องกันเวลาเกิดเหตุเลย

By: ?
Since: 21 เม.ย. 55 16:50:28

2 thoughts on “แนวรอยเลื่อนแม่ทา ที่ลากยาวจากลำปาง ถึงแถวสันกำแพง ดอยสะเก็ดเชียงใหม่ มีความเสี่ยงแค่ไหน

  1. admin Post author

    แผ่นดินไหว ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ชัดเจน
    รอยเลื่อนในประเทศไทย ไม่ใช้รอยเลื่อนขนาดใหญ่ มีโอกาสไหวได้บ้าง
    แต่ตามสถิติ จะไม่มีไหวรุนแรงมากเกิน 5-6 ริกเตอร์
    เขื่อนเท่าที่ทราบ็สร้างให้ทนแรงได้พอควร(ตามสถิติที่มี)
    ว่ากันตามทฤษฎี โอกาสเป็นไปได้น้อย

    แล้วจะให้เขามีมาตรการณ์อะไรล่ะครับ
    อาคารสูงในเขตภาคเหนืออยู่ในเขตควบคุมอยู่แล้ว
    เพราะถือว่าอยู่ในเขตที่มีความเสี่ยง แต่ตอนจะสร้างจริง
    เข้มงวดกันแค่ไหน ใต้โต๊ะเพราะเลือกเอาสะดวกกันแค่ไหน
    อันนี้คงไปโทษใครไม่ได้นอกจากเจ้าของอาคารเอง

    แผนการณ์อพยพคนหากเกิดเหตุอย่าไปหวังพึ่งรัฐ
    ภูเก็ตมีศูนย์เตือนภัยยังรถติดทั้งเมือง
    คนในพื้นที่นั้นแหละต้องร่วมมือกันศึกษาความเป็นไปได้
    หาทางหนีทีไล่หาจุดรวมพลที่เหมาะสมเอง
    หรือไม่มีใครทำก็ตัวคุณเองนั่นแหละ
    เขื่อนแตกจริงจะไปทางไหนดีที่สุด ตัวคุณต้องรู้
    รอคนอื่นมาช่วยรับรองไม่รอดแน่

    By: umibozu
    Since: 21 เม.ย. 55 17:26:04

  2. admin Post author

    น่าจะเริ่มมีแล้ว
    http://www.dailynews.co.th/thailand/51200

    วันนี้ (21 เม.ย.) นายคมสัน สุวรรณอัมพา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่าเย็นวานนี้ (20 เม.ย.) เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.5 ริคเตอร์จุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศพม่า ละติจูด 20.18 ลองติจูด 98.54 อยู่ห่างอ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 75 กม. ทำให้ประชาชนหลายพื้นที่รับความรู้สึกสั่นไหวเล็กน้อย แต่ตรวจสอบแล้วไม่พบทรัพย์สิน โบราณสถานเสียหาย สำหรับภัยแผ่นดินไหวนั้นเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ ในส่วนของ จ.เชียงใหม่เคยเกิดแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2549 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ที่ อ.แม่ริม และวันที่ 24 มี.ค. 54 ขนาด 6.7 ริคเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศพม่า เป็นสัญญาณเตือนว่า พื้นที่ จ.เชียงใหม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต เพราะอยู่ท่ามกลางรอยเลื่อน 2 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน ผ่าน อ.ฝางและ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และรอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอ.เชียงดาว อ.แม่แตง อ.ดอยสะเก็ด อ.สันทราย อ.แม่ออน รวม 7 อำเภอและเข้าสู่จ.ลำพูน

    ดังนั้นสำนักงานป้องกันและปราบปรามสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานหลายภาคส่วน ได้เตรียมแผนรับมือหากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในจ.เชียงใหม่ โดยเตรียมอุปกรณ์ กำลังพล และแผนปฏิบัติงานไว้ ร่วมปฏิบัติการฝึกซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากแผ่นดินไหว มาแล้วหลายครั้ง โดยฝึกการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นตามแผนฯ และบูรณาการการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยและนักท่องเที่ยวในภาวะฉุกเฉิน โดยมีแผนปฎิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหวหน่วยงานท้องถิ่นคือ อบต.ต้องเข้าช่วยเหลือทันทีในระดับพื้นที่ ตามด้วยกำลังของอำเภอและจังหวัดตามลำดับ

    By: ?
    Since: 22 เม.ย. 55 15:50:39

Leave a Reply