ฉลากหน้าตู้เย็นที่บอกค่าไฟต่อเดือน ต่อปี เชื่อได้หรือไม่ครับ

เมื่อเดือนที่แล้วซื้อตู้เย็นมามา 14Q ของ Hitachi ครับ มีฉลากหน้าตู้บอกว่าค่าไฟ ตกปีละประมาณ 1500 บาท
   ทีนี้ซื้อมาใด้ครบเดือน บิลค่าไฟก็มา ปรากฎว่าค่าไฟเพิ่มขึ้น ประมาณ300 บาทครับจากแต่เดิมที่ใช้ขนาด 5.5Q
  ก็เลยสงสัยว่า ฉลากนั้นอ้างอิงใด้หรือไม่ครับ

By: shin anjo
Since: 28 เม.ย. 55 13:57:50

6 thoughts on “ฉลากหน้าตู้เย็นที่บอกค่าไฟต่อเดือน ต่อปี เชื่อได้หรือไม่ครับ

  1. admin Post author

    ไม่แน่ใจว่าฉลากหน้าตู้ รวมค่าFtไปรึยัง คิดว่าไม่น่ารวม

    ค่าไฟหน้าร้อนโดยรวม เครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าๆเดิมตอนหน้าหนาวแบบหนาวๆ
    แต่ค่าไฟโดยรวมมากกว่าเดิม เพราะแอร์และตู้เย็นจะทำงานหนักกว่าเดิม
    เพราะมีความร้อนแฝงทำให้แอร์และตู้เย็นทำงานหนักขึ้น

    By: ต้นโพธิ์ต้นไทร
    Since: 28 เม.ย. 55 15:08:58

  2. admin Post author

    ฉลากที่แสดง เชื่อถือได้

    แต่ข้อมูลนั้นๆ ได้มาจาก การทดลองภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เช่น อุณหภูมิห้อง  จำนวนการเปิด ปิดตู้ ความชื้นในอากาศ ฯลฯ ที่จะทำให้ได้ ค่าการกินไฟขั้นต่ำของตู้

    เพราะฉนั้น  ค่าการใช้ไฟฟ้าจริงนั้น แน่นอนว่าจะไม่ตรงตามฉลาก เพราะเงื่อนไขการใช้งานจริงที่เกิดขึ้น

    แต่เราก็สามารถคาดเดาปริมาณการกินไฟของตู้ได้จากฉลากนั้นเอง

    By: r239125
    Since: 28 เม.ย. 55 15:56:21

  3. admin Post author

    … ตามความเห็นที่ 2 เวลาทดสอบเขาจะกำหนดเงื่อนไขไว้ เช่น ปิดเปิดกี่ครั้ง แช่ของจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนว่าไม่เท่ากับที่บ้านเราแน่ ๆ

    … หลัก ๆ คือเอาไว้เปรียบเทียบกัน ภายใต้เงื่อนไขที่เหมือน ๆ กัน

    hoho/

    By: ปลาทูออนไลน์
    Since: 28 เม.ย. 55 16:17:20

  4. admin Post author

    ความร้อนในห้อง(รอบนอกตู้เย็น)ก็มีผลกับค่าไฟ  ยิ่งตอนนี้ร้อนมากด้วยตู้ก็กินไฟมากขึ้น
    ตอนทดสอบเขาควบคุมอุณหภูมิืรอบๆตู้ไว้ครับ ผมจำไม่ได้ว่าเท่าไหร่(เคยอ่านนานแล้ว)แต่รับรองว่าอากาศตอนนี้ร้อนกว่าค่าที่เขาทดสอบแน่ ทำให้ใช้จริงย่อมกินไฟมากกว่าฉลาก

    แต่ไม่ใช่ว่าฉลากเขาโกหก เพียงแต่ถ้าเราหาที่ติดตั้งตู้เย็นให้รอบๆตู้มันได้อุณภูมิต่ำๆั้มันก็จะได้ค่าตามฉลากเขา (และต้องเปิดตู้น้อยๆครั้งด้วย)

    ฉลากพวกนี้ผมดูเอาไว้่เพื่อให้รู้ว่าค่าไฟต่ำสุดมันจะพอๆกับฉลาก
    และมีแต่จะมากกว่านั้นในการใช้จริงแทบทุกเดือน

    By: Ph
    Since: 29 เม.ย. 55 16:38:15

  5. admin Post author

    ความคิดเห็น

    การกินไฟ เป็นบาท เชื่อถือไม่ได้
    การกินไฟ เป็นหน่วย เชื่อถือได้ จึงค่อยไปแปลงเป็นบาท จากค่าไฟ

    ต่อกรณีของ บาง ความเห็นที่บอกว่า มีวิธีการทดสอบ แบบนั้นแบบนี้ จึุีงได้ค่า ที่เห็นบนฉลาก
    ผมยอมรับว่า มีวิธีการทดสอบ ควบคุม ผลิต ที่ดีแน่นอนต่อการได้มาซึ่งฉลากเบอร์ห้า

    แต่ผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับฉลากนี้
    เพราะ ในฉลากไม่บอกนี่ครับว่า หรือคู่มือไม่มีบอก เงือนไขไว้ว่า ยังงั้นยังงี้
    และ การทดสอบเป็นแบบนั้นแบบนี้ ก็ไม่มีการเผยแพร่ออกมาก ให้รับรู้อย่างกว้างขวาง

    ผมอาจบอกได้ว่า เป็นการจ่ายเงินเพื่อซื้อมาก็ได้ เพราะ หน่วยงานที่รับรอง … กึ่งเอกชน นี่ครับ
    ( ต้องขอโทษ หาล่วงเกินหรือกล่าวร้าย หรือดูหมิ่น )

    ผมยังคิดว่า อาจจำเป็นต้อง พึ่ง หน่วยงาน สมคบคิดกับผู้บริโภค ( สคบ )
    เพื่อฟ้องร้องว่า ฉลากนั้นๆ คิดรับรองการคิดค่าไฟฟ้า ที่ผมจ่ายไป ไม่ตรงตามที่โฆษณา

    เห็นออกทีวี บอกผมว่า มีฉลากแล้วจ่ายค่าไฟเท่านั้นเท่านี้ ลดค่าไฟเท่านั้นเท่านี้
    <b> แถมยังใช้ฉลากมาแปะบอกผมไว้กันลืม ว่า ใช้แล้วผมต้องจ่ายค่าไฟเท่านี้ ต่อเดือน เหมือนซื้อแล้วเหมาจ่ายค่าไฟสำหรับเครื่องไฟฟ้าอันนี้เท่านี้ตลอดไป

    แต่ในความเป็นจริง ค่าไฟจากสินค้าชิ้นนั้นๆ จ่ายมากขึ้นตลอดเลย
    ทั้งที่ หน่วยงานนั้น รับรองแล้วแท้ๆ เมื่อท่านซื้อแล้วท่านต้องจ่ายค่าไฟเท่านั้นเท่านี้

    ก็ไม่ยักจะเห็นมี หน่วยงานใดออกมาให้สิทธิคุ้มครอง มั่งเลย

    ดังนั้น ผมจึงคิดว่า
    สลากกันลืม เพื่อบอกว่า ค่าไฟเหมาจ่ายเท่านั้นเท่านี้
    จึง เป็นเพียง คชจ เพิ่ม ที่เราท่าน ต้องจ่ายเพิ่ม
    สำหรับ ค่าฟี ที่แบ่งกันจ่าย ให้ หน่วยงาน ที่เป็นผู้ออก ผู้รับรอง

    หน่วยงานนั้น รับอย่างเดียว กับการการออกใบรับรองจิงปะ
    เมื่อเราซื้อ เราต้องจ่ายเพ่ิ่ม กับ คชจ แฝงการขอใบรับรอง
    แทนที่ซื้อแล้วนำใบรับรองมาเป้นส่วนลดค่าไฟ สวนเหมาจ่ายค่าไฟ ที่ต้องจ่ายสำหรับสินค้าเบอร์ห้าพวกนั้น จิงไหม

    คิดต่าง แหวกนิดๆ ไม่โกรธกันนะคับทุกท่าน

    By: LoveU
    Since: 29 เม.ย. 55 20:59:44

  6. admin Post author

    หน่วยใช้ไฟที่ได้ มาจากการทดสอบในสภาพควบคุมอุณหภูมิทั้งภายในและภายนอก โดยไม่มีของภายในและไม่เปิดตู้ 24 ชั่วโมง
    แล้วนำหน่วยที่ได้มาคิดค่าไฟ (ไม่ได้คิดแบบอัตราก้าวหน้า)
    โดยสมมุติฐานที่ว่า การใช้ไฟในสภาพควบคุมประหยัดกว่า การใช้งานจริงก็ควรประหยัดกว่า
    ฉนั้น ในการนำไปใช้งานจริง หากมีการเปิด-ปิดบ่อยๆ หรือเก็บของจนแน่น ก็จะกินไฟมากครับ

    By: ลูกแม่แก้ว
    Since: 30 เม.ย. 55 14:15:55

Leave a Reply