ถ้าถังเก็บน้ำอยู่ห่างจากจุดที่เราจะใช้น้ำมาก ปั้มน้ำตัวนี้สเปคพอหรือไม่ครับ

ถังเก็บน้ำอยู่ห่างจากจุดที่จะใช้น้ำมาก (จะใช้รดน้ำต้นไม้ 100 ต้น แบบมินิสปริงเกอร์) ห่างประมาณ 50 เมตร ผมจะใช้ปั้ม (สเปคตามรูป) ได้ไหมครับ เพราะผมดูจากสเปคแล้ว มันมีแต่ปริมาณน้ำ/นาที และ HEAD บอก ผมไม่รู้ว่าระยะห่างจากถังเก็บน้ำมันจะมีผลหรือไม่ครับ เพราะส่วนมากเราจะทำถังเก็บน้ำใกล้กับปั้มน้ำไปยังจุดที่เราจะจ่ายน้ำ

ปล.รูปไม่ค่อยชัด ขออภัยครับ

By: Piboonsak
Since: 14 พ.ค. 55 09:59:26

9 thoughts on “ถ้าถังเก็บน้ำอยู่ห่างจากจุดที่เราจะใช้น้ำมาก ปั้มน้ำตัวนี้สเปคพอหรือไม่ครับ

  1. admin Post author

    พอ

    แต่ท่อควรใหญ่กว่า ๑.๕"ไว้

    By: ต้นโพธิ์ต้นไทร
    Since: 14 พ.ค. 55 10:28:36

  2. admin Post author

    ถามน้าต้นหน่อยครับ
    จุดที่เค้าเดินท่อเมนไว้ให้ เค้าฝังดินไว้ คงแก้ไขไม่ได้ (ตอนแรกคิดจะทำแทงค์น้ำขึ้นอีกอัน แต่ด้วยงบมันน้อย เลยคิดเปลี่ยนมาใช้โอ่ง ติดปัญหาเรื่องขนย้ายอีก เลยไม่ได้ทำ)
    ท่อเมนที่เดินไว้ขนาด 1 นิ้ว เดี๋ยวผมต่อเข้าปั้มและวางเมนในระบบเป็น 1.5 นิ้วหมด คงพอช่วยได้ คำถามที่อยากถามครับ

    จุดที่ผมจะต่อนั้น เค้าต่อน้ำใช้อยู่ก่อนแล้ว 1 จุด ถ้าผมจะต่อจากจุดเดิม ผมก็เอาข้อต่อ 3 ทาง มาใส่ แล้วใส่ เช็ควาวล์ เข้ากับจุดจ่ายน้ำเดิม (จุดจ่ายน้ำเดิม ไม่ต้องการแรงจากปั้ม) แต่เดิมน้ำมันไหลไม่ค่อยแรง ถ้าใส่เช็ควาวล์แล้วเป็นไปได้หรือไม่ครับ ว่าถ้าแรงดันน้ำไม่พอแล้วเช็ควาวล์มันจะไม่เปิดอ่ะครับ

    By: Piboonsak
    Since: 14 พ.ค. 55 10:56:27

  3. admin Post author

    ท่อเมนที่เดินไว้ขนาด 1 นิ้ว เดี๋ยวผมต่อเข้าปั้มและวางเมนในระบบเป็น 1.5 นิ้วหมด

    – ท่อน้ำเข้าเล็กกว่าสเปค แรงเสียดทานในท่อมีมาก อัตราไหล+แรงดันย่อมตกต่ำไปด้วย ส่งผลให้ปั๊มทำงานผิดปกติได้ น้ำเข้าน้อย แล้วจะให้ออกมากได้ฤๅ แถมปั๊มก็อาจพังเร็วได้อีก

    จุดที่ผมจะต่อนั้น เค้าต่อน้ำใช้อยู่ก่อนแล้ว 1 จุด ถ้าผมจะต่อจากจุดเดิม ผมก็เอาข้อต่อ 3 ทาง มาใส่ แล้วใส่ เช็ควาวล์ เข้ากับจุดจ่ายน้ำเดิม (จุดจ่ายน้ำเดิม ไม่ต้องการแรงจากปั้ม) แต่เดิมน้ำมันไหลไม่ค่อยแรง ถ้าใส่เช็ควาวล์แล้วเป็นไปได้หรือไม่ครับ ว่าถ้าแรงดันน้ำไม่พอแล้วเช็ควาวล์มันจะไม่เปิดอ่ะครับ

    – ไม่เข้าใจ ทำไมต้องใส่เช็ควาล์ว ใส่บอลวาล์วธรรมดาไม่ได้หรือ
    เช็ควาวล์สวิง ใช้แรงดันน้ำไม่มาก ประตูก็เปิด สูญเสียแรงดันน้อย
    เช็ควาล์วสปริง น้ำจะสูญเสียแรงดันไปพอสมควร ที่จะเอาชนะสปริงกดลิ้น

    By: ต้นโพธิ์ต้นไทร
    Since: 14 พ.ค. 55 11:58:37

  4. admin Post author

    – ท่อน้ำเข้าเล็กกว่าสเปค แรงเสียดทานในท่อมีมาก อัตราไหล+แรงดันย่อมตกต่ำไปด้วย ส่งผลให้ปั๊มทำงานผิดปกติได้ น้ำเข้าน้อย แล้วจะให้ออกมากได้ฤๅ แถมปั๊มก็อาจพังเร็วได้อีก

    แล้วแบบนี้แก้ไขยังไงครับ ปั้มท่อน้ำเข้ามัน 1.5 นิ้ว เราใช้ข้อลดแค่ต้องเข้ากับออกจากปั้มเท่านั้นใช่ไหมครับ แล้วเมนก็ต้องเปลี่ยนเป็นขนาด 1 นิ้ว ทั้งหมดใช่ไหมครับ เพื่อให้สัมพันกัน

    – ไม่เข้าใจ ทำไมต้องใส่เช็ควาล์ว ใส่บอลวาล์วธรรมดาไม่ได้หรือ
    เช็ควาวล์สวิง ใช้แรงดันน้ำไม่มาก ประตูก็เปิด สูญเสียแรงดันน้อย
    เช็ควาล์วสปริง น้ำจะสูญเสียแรงดันไปพอสมควร ที่จะเอาชนะสปริงกดลิ้น

    ที่ไม่ใส่บอลวาล์วเพราะ จุด เอ คือจุดต่อจากท่อเมน แล้วท่อที่เค้าใช้อยู่นั้น ต่อไปยัง จุด บี ซึ่งจุด เอ และ บี อยู่ห่างกันมาก ถ้าใส่บอลวาล์ว เวลาจะใช้น้ำต้องเดินมาเปิดบอลวาวล์ที่จุด เอ ซึ่งผมไม่อยากเพิ่มภาระให้กับคนที่เค้าใช้น้ำอยู่ก่อนแล้ว เลยอยากจะใส่เช็ควาล์ว เวลาเค้าเปิดก็อกน้ำที่จุด บี น้ำจะได้ไหลได้เลยโดยไม่ต้องเดินมาเปิดบอลวาวล์ที่จุด เอ และอีกอย่าง เวลาเราเปิดปั้มน้ำจะได้ดึงน้ำจากท่อเมนอย่างเดียว เพราะตรงข้อต่อที่จะไปจุด บี เราใส่เช็ควาวล์ไว้แล้ว ไม่รู้เข้าใจหรือเปล่า 555

    By: Piboonsak
    Since: 14 พ.ค. 55 12:33:48

  5. admin Post author

    เพิ่มข้อมูลครับน้ำต้น

    หัวมินิสปริงเกอร์ ปริมาณ 90 ลิตร/ชั่วโมง เปิดครั้งละ 50 หัว

    เท่ากับ 90*50 = 4500 ลิตร/ชั่วโมง  4.5 คิว/ชั่วโมง

    ถ้าข้อมูลที่ผมหามาไม่ผิด

    เส้นผ่านศูนย์กลาง่(มม.)               อัตราการไหลสูงสุด(คิว/ชั่วโมง)
     16                                             1
     20                                             1.7
     25                                             2.6
     32                                             4.3
     63 (ประมาณ 2 นิ้ว)                         16
     75(ประมาณ 3 นิ้ว)                          23
    100(ประมาณ 4 นิ้ว )                          42

    ท่อ 1.5 นิ้ว (32มิล) นี้ก็ยังเบียด ๆ เลยครับ แล้วถ้าเราใช้ 1 นิ้ว จะเป็นอย่างไรครับ นน้ำจะไหลไม่ได้ตามสเปคใช่ไหมครับ แบบสเปคระบุคือ 90 ลิตร/ชั่วโมง ถ้าท่อเล็กก็จะเหลือ 70-60 ลิตร/ชั่วโมง ผมเข้าใจถูกไหมครับ

    By: Piboonsak
    Since: 14 พ.ค. 55 12:47:34

  6. admin Post author

    คิดพื้นที่หน้าตัดของท่อดูก็แล้วกัน ประมาณว่า พื้นที่หน้าตัดต่างกันกี่เปอร์เซนต์ อัตราไหลก็ต่างกันเท่านั้นเปอร์เซนต์ล่ะ
    แล้วนี่ ยังมีระยะทางเข้ามาเกี่ยวข้องอีก

    คำแนะนำของเราคือ เดินท่อใหม่ให้ใหญ่กว่า ๑.๕" เท่านั้น
    หรือไม่ก็ต้องมีถังพักน้ำไว้อีกจุดก่อนปั๊ม

    ถ้าทำตามเราบอกตั้งแต่แรกคือหาหัวน้ำหยดแบบไม่ต้องการน้ำมากมาใช้ ปัญหาก็ไม่มากเท่านี้หรอก
    ธรรมชาติของต้นไม้ ไม้ได้ต้องการน้ำจำนวนมาก แต่ห้ามขาดน้ำเท่านั้น ไปให้น้ำมากทีเดียวก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร น้ำมากไป น้ำก็ระเหยทิ้งไปเท่านั้น
    และปลูกมะนาว ให้น้ำหยดโคนต้นก็พอ หยดไปเรื่อยๆ ดินก็ชุ่มเอง สารอาหารเร่งต้นเร่งดอกก็ให้ไปกับน้ำได้เลย

    By: ต้นโพธิ์ต้นไทร
    Since: 14 พ.ค. 55 14:57:28

  7. admin Post author

    H max = A-NPSH-Hv-Hf-Hs
    H max = ระยะดูดน้ำได้สูงที่สุดของปั๊มน้ำ
    A = ค่าแรงดันบรรยากาศ 10.2 m
    NPSH = Net Positive Suction Head
    Hv = แรงดันไอแปรผันตามอุณหภูมิ
    Hs = safety margin 0.5 m.

    ฟันธงคับพี่ ปั๊มพี่เกิด คาวิเตชั่น แน่คับ

    By: เก้ากระบี่เดี่ยวดาย
    Since: 14 พ.ค. 55 19:08:13

  8. admin Post author

    Cavitation คือ อาการที่ปั๊มน้ำสั่น เสียงดัง และจะชำรุดในที่สุด มีสาเหตุมาจากการใช้งานไม่ถูกต้องจากการออกแบบมา
    โดย
    การดูดน้ำที่ต่ำกว่าตัวปั๊มตัวปั๊มเป็นระยะทางและขนาดท่อทางเข้าไม่เหมาะสม จะทำให้ การที่แรงดันบรรยากาศดันน้ำเข้าท่อผ่านไปที่ปั๊มไม่มี แต่ใบพัดจะดึงน้ำทำให้น้ำร้อนกลายเป็นไอ แล้ววิ่งชนกับใบพัด ทำให้เกิดปัญหาตามมา
    ก็แล้วแต่นะคับ ลองดู
    ลองเอาหาข้อมูลเพิ่มได้คับ
    ผมจะแนะนำในเชิงวิชาการ ตามทฤษฎีและตัวเลข คับ

    By: เก้ากระบี่เดี่ยวดาย
    Since: 15 พ.ค. 55 17:43:07

  9. admin Post author

    ขอบคุณครับ ตอนนี้แก้ปัญหา โดยการเอาโอ่งน้ำขนาดใหญ่ มาเป็น บัฟเฟอร์ ครับ จะได้ต่อท่อ 1.5 นิ้วเข้าปั้มน้ำได้ ย้ายโอ่งแค่ประมาณ 100 ม. นี้ หนักเอาเรื่องเลยครับ 6 คนยังแทบแย่ เคยเห็นคนรับย้ายโอ่งเค้าย้ายกันแค่ 2 คนเอง เร็วด้วย 555

    By: Piboonsak
    Since: 16 พ.ค. 55 08:24:38

Leave a Reply