กู้ซื้อบ้านชื่อเดียว แต่ตอนโอนต้องการเพิ่มชื่อในโฉนด 2 คน

ตอนซื้อบ้านใช้ชื่อพี่สาวเป็นคนกู้ทำสัญญาคนเดียว ตอนนี้ช่วยกันจ่ายโปะไปจนหมดแล้ว ธนาคารนัดจะไปโอน ต้องการเพิ่มชื่อในโฉนด ตัวเราเองและแม่ลงไปด้วย สามารถทำได้หรือเปล่าคะ

ถ้าได้ต้องโอนเป็นชื่อคนกู้ก่อนแล้วค่อยมาเพิ่มชื่อใช่ไหมคะ
แล้วค่าใช้จ่ายจะต้องเสียอย่างไร
จะมีกรรมสิทธฺ์ในที่ดินและบ้านเท่าๆกันหรือเปล่า

ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

By: MiReDo
Since: 1 มิ.ย. 55 22:27:33

คำค้นหา:

  • เพิ่มชื่อในโฉนดที่ดิน ค่าธรรมเนียม

3 thoughts on “กู้ซื้อบ้านชื่อเดียว แต่ตอนโอนต้องการเพิ่มชื่อในโฉนด 2 คน

  1. admin Post author

    เราเคยแต่กู้สอง แต่ตอนโอน โอนเป็นชื่อคนเดียวอ่ะค่ะ  ปกติธนาคารจะโอนลอยให้นะคะ เสร็จแล้วก็ไปที่ดินกันเอง เวลารับโอนก็รับทั้ง2 คน แล้วก็เปลี่ยนเป็นชื่อคนเดียว

    ตรงนี้จะคิดราคาหาร 2 แล้วคิดภาษีซื้อขาย ค่าธรรมเนียมตามราคาหาร 2 อ่ะค่ะ

    ของคุณก็คงเหมือนกัน นะคะ คงคิดราคาหาร 2 แล้วคิดค่าธรรมเนียมตามนั้น แต่ของเราโชคดีที่ตอนนั้นภาษีทีดินยังถูกอยู่ เลยเสียไปหมื่นกว่าบาทเอง

    By: I know who am i
    Since: 2 มิ.ย. 55 20:03:11

  2. admin Post author

    สงสัยคำถามของคุณมาก  ถ้าเป็นไปตามที่คุณบอกมา แสดงว่าพี่สาวยังไม่มีชื่อในโฉนด   มันจะเป็นไปได้อย่างไรที่ธนาคารจะให้กู้โดยที่คนกู้ยังไม่มีชื่อในโฉนด  แล้วพี่สาวจะจำนองเป็นประกันหนี้ได้อย่างไร

    คิดว่าข้อเท็จจริงคงเป็นอย่างนี้มัง  พี่สาวซื้อโดยกู้เงินธนาคาร  วิธีการก็คนขายจะทำการโอนใส่ชื่อพี่สาวเป็นเจ้าของและทำการจดทะเบียนจำนองในเวลาเดียวกันนั่นเอง  ต่อมาชำระหนี้เงินกู้หมด  ธนาคารก็ทำหนังสือยินยอมให้ไถ่ถอนจำนอง  

    ถ้าเป็นอย่างนี้พี่สาวคุณก็เพียงนำเอกสารหลักฐานที่ธนาคารสลักหลังอนุญาตให้ไถ่ถอนจำนอง   พร้อมโฉนดที่รับจากธนาคารไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง  ก็เท่านั้นเอง  เมื่อจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองแล้ว  พี่สาวก็ทำการยกให้แม่หรือคุณ
    ได้ตามประสงค์ (จะจดในประเภทกรรมสิทธิ์รวมไม่มีค่าตอบแทน  เพราะเป็นการให้เข้ามาถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยเสน่หา)  

    การยกที่ดินให้แม่นั้นจำเป็นหรือ  ปกติมักอยากให้แม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินจนตาย
    หากต้องการให้มีสิทธิอาศัยก็จดทะเบียน  "สิทธิอาศัย" ให้แม่ได้ไม่จำเป็นต้องโอนยกให้แม่ (จดแบบนี้เสียค่าธรรมเนียมไม่ถึงร้อยบาท)  ถ้าคิดว่าจะจดทะเบียนให้สิทธิอาศัยแก่แม่ตลอดชีวิตก็จดหลังจากพี่สาวให้คุณถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน  แล้วคุณกับพี่สาวก็ร่วมกันจดทะเบียนให้สิทธิอาศัยแก่แม่คุณ (เสียค่าธรรมเนียมไม่ถึงร้อยบาท) แต่หากโอนให้แม่เมื่อแม่ตายแล้วก็ต้องโอนมรดกส่วนของแม่อีก  เสียค่าธรรมเนียมโอนมรดกร้อยละ 50 สตางค์ของราคาประเมิน  แถมบางทีมีทายาทอื่นมาแย่งต้องแบ่งส่วนกันเปล่าๆ    อีกประการหนึ่งการยกให้แม่ก็ต้องเสียค่าโอนมากขึ้น  เพราะการที่พี่สาวยกให้แม่กับคุณให้มีส่วนเท่ากันหมด  ส่วนที่โอนก็เท่ากับ 2 ใน 3 ส่วน แต่ถ้าให้คุณเข้ามามีสิทธิเพิ่มคนเดียวส่วนที่โอนก็เท่ากับ 1 ใน 2  ค่าโอนก็จะถูกกว่าโอนให้แม่ด้วย

    ค่าโอนต่างๆ นั้นต้องถามสำนักงานที่ดิน  เพราะไม่มีใครบอกได้ว่าต้องเสียเท่าใด   มันต้องรู้ราคาประเมินที่ดิน   ต้องรู้ว่าได้ที่ดินมาอย่างไร  ถือครองกี่ปี
    ถ้าโอนบ้านพร้อมที่ดิน  ก็ต้องดูราคาประเมินว่าเท่าใด  ต้องรู้ว่าปลูกมากี่ปี  ขนาดเท่าใด   หักค่าเสื่อมราคาเท่าใด

    ส่วนเรื่องส่วนแบ่งนั้นขึ้นอยู่กับพี่สาวจะตกลงให้เท่าใดก็ได้  ระบุส่วนลงไปให้ชัดเจน  เช่น ที่ดิน 120 ตารางวา  จะระบุว่า ให้(คุณ) เข้าถือกรรมสิทธิ์รวม 1 ใน 2 ส่วน    หรือระบุว่า ให้ถือกรรมสิทธิ์รวม 60 ใน 120 ส่วน ถ้าให้แม่ด้วยก็ระบุว่า ให้ แม่ 1 ใน 3 ส่วน  ให้คุณ 1 ใน 3 ส่วน  หรือจะระบุว่า ให้แม่ถือกรรมสิทธิ์รวม 40 ส่วนใน 120 ส่วน  ให้คุณ 40 ส่วนใน 120 ส่วน (พี่สาวก็เหลือ 40 ส่วน)
    ก็ได้

    By: หมอที่ดิน
    Since: 2 มิ.ย. 55 20:22:18

  3. admin Post author

    ขอบคุณคุณ  I know who am i และ หมอที่ดิน มากๆค่ะ

    By: MiReDo
    Since: 3 มิ.ย. 55 00:34:51

Leave a Reply