เนื่องมาจากเสาปูนที่บ้านแตกร้าว
แต่ก็ไม่ได้คิดมากอะไร อยู่กันมา ก็น่าจะเกิน 7-8 ปีได้
ก็ไม่พบว่ามันแตกร้าวเพิ่ม
แต่ปีที่แล้ว น้ำท่วมเสา ถึงบริเวณรอยร้าว
และพบว่าปูนแตกร้าวเพิ่มจากเดิม
ก็เลยหาข้อมูล ได้มาว่า
ต้องกระเทาะเนื้อปูน ดูสภาพเหล็กของเสา
แล้วประเมินความเสียหายเอา
การซ่อมแซม ก็ทำความสะอาดชิ้นงาน
อาจใช้ epoxy (อะไรก็ไม่รู้) ซ่อมแซม
และใช้ปูน non-shrink เพิ่มเติม
แต่การประเมิน
ควรต้องหาวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะทางด้านนี้
มาประเมินความเสียหาย
แต่ว่า ใครมีเทคนิค หรือ ข้อมูลดีๆ
ที่จะทำให้รู้ว่า เราไม่ถูกหลอก
ด้วยวิศวกรแอบอ้างได้บ้าง
เช่น ใครมีประสบการณ์กับบริษัทอะไรที่เข้าข่าย
ไม่จริงใจ หลอกลวง ทำไม่ได้อย่างที่พูด
หรือมีอะไรแนะนำเพิ่มเติม
ถ้าผิดกฏ ก็ behind the scene
ให้ผมหน่อยนะ
By: กุ้ยเหลียง
Since: 18 มิ.ย. 55 11:53:02
ตอนติดต่อก็ขอนามบัตร
ได้ชื่อนามสกุล ก็ไปค้นในเว็บของสภาวิศวกรได้ ว่ามีใบอนุญาตทำงานหรือไม่
มีตั้งแต่ ภาคีคุมงานอย่างเดียว ภาคีปกติ สามัญ วุฒิวิศวกร อะไรทำนองนี้
By: KittySP
Since: 18 มิ.ย. 55 13:05:22
ลองติดต่อ วิศวกรรมสถาน ที่อยู่แถว ๆ หน้ารามตรงวัดเทพลีลาดูซิ ที่อาจารย์ที่ชอบออกตอนน้ำท่วม ตอนโฮบเวลล์ถล่มนะ ว่าเขามีวิศวกรอาสาหรือเปล่า
By: HHJ1
Since: 18 มิ.ย. 55 16:33:34
ถูกต้องครับ ตาม คห. 2 ครับ
ที่นั่นมีวิศวกรอาสา น่าจะให้แนะนำได้
การซ่อมแซม ไม่ยุ่งย่ากครับ
แต่ต้องเป็นคนทำงานเฉพาะทาง ทางด้านนี้
เพราะเครื่องไม้เครื่องมือจะครบครัน และพร้อมกว่า
By: HiPex
Since: 18 มิ.ย. 55 19:02:06
ขั้นตอนตามนี้ครับ
1 ค้ำยันโครงสร้างด้วยสกรูแจ็ค (รับน้ำหนักได้ประมาณ 20 ตัน/ตัว) ค้ำอย่างน้อย 2 ตัว/เสา 1 ต้น
2 สกัดคอนกรีตออกจนถึงเหล็กเสริม
3 ทำความสะอาดเหล็กเสริม ขัดขุมสนิมออกจนหมด
4 เคลือบเหล็กโดยอีพอกซีชนิดพิเศษ (สำหรับเคลือบสนิมเหล็กโดยเฉพาะ)
5 เสริมเหล็กเพิ่มเพื่อทดแทนเหล็กที่เสียหายจากสนิม
6 หล่อคอนกรีตกลับคืนสภาพเดิม (ต้องระวังเรื่องคอนกรีตตรงรอยต่อเสากับคาน หล่อไม่ดีจะเกิดช่องว่างตรงนั้น)
7 บ่มคอนกรีตจนได้อายุ ตามประเภทโครงสร้าง ประมาณ 3 – 4 สัปดาห์
8 ถอดค้ำยันออก – ฉาบตกแต่งผิว
ความยากของงานจะอยู่ตรงขั้นตอนที่ 1 , 2 และ 6 หากทำไม่ดีอาคารอาจเกิดความพิบัติได้ ครับ
** การซ่อมแซมควรอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของผู้เชี่ยวชาญ ครับ
By: KOoKkY&KRiTtY
Since: 19 มิ.ย. 55 19:48:46