ดอกเบี้ยแพงเพราะสร้างเพื่อการพาณิชย์ จริงหรือครับ

คือผมกู้สร้างโกดังขายของครับ โดยส่วนหลังโกดังเป็นพื้นที่อาศัย แต่กู้เป็นกู้สร้างบ้าน ผ่อน25ปี ทีนี้ได้ดอกเบี้ยแพงมาก 6 เดือนแรก 0% เดือนที่ 6-12 6% เดือนที่ 13-24 6.5% นอกนั้น MLR+0.0 ทีนี้เลยถามธนาคารว่าทำไมดอกเบี้ยแพง ธนาคารบอกว่าจากแบบแปลนมันเป็นเพื่อการพาณิชย์(พื้นที่ขายของประมาณ 1300ตรม. พื้นที่บ้านประมาณ400ตรม.) เลยได้ดอกเบี้ยแพง จริงๆแล้วไม่สามารถกู้แบบที่อยู่อาศัยได้ ต้องกู้เพื่อการพาณิชย์ ซึ้งจะได้ดอกแพงกว่า และผ่อนได้ไม่ยาวขนาดนี้ แต่นี่ธนาคารช่วยให้เป็นกู้เพื่ออยู่อาศัย เลยอยากทราบว่ามันจริงหรือครับ แล้วอย่างนี้จะรีไฟแนนท์เป็นกู้เพื่ออยู่อาศัยได้ไหมครับ คือคิดจะไปรีไฟแนนท์กับออมสินที่ดอก 3.45% 3 ปีอ่ะครับ จะสามารถทำได้ไหมครับ

ขอบคุณครับ

By: ลูกร้านวัสดุก่อสร้าง
Since: 11 ก.ค. 55 18:53:04

5 thoughts on “ดอกเบี้ยแพงเพราะสร้างเพื่อการพาณิชย์ จริงหรือครับ

  1. admin Post author

    อาคารเพื่การพานิชย์ปกติจะให้กู้ 7-10 ปี
    ดอกเบี้ยคนละเรทกับที่พักอาศัยอยู่แล้วครับ

    By: umibozu
    Since: 11 ก.ค. 55 19:15:30

  2. admin Post author

    จัดการระบบคลังสินค้าดีๆ เดี๋ยวนี้ไม่ต้องมีโกดังใหญ่โตหรอกครับ

    By: ชีวิตคือชีวิต
    Since: 11 ก.ค. 55 23:12:40

  3. admin Post author

    เป็นตามนั้นล่ะครับ ของคุณจะเข้าเกณฑ์สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์แบบเต็มๆด้วยซ้ำไป
    ผมมองว่าคุณได้ดอกเบื้ยที่ถูกแล้วนะครับ
    ปกติกู้เพื่อการพาณิชย์ จะอยู่ที่ 7 ปี
    ดอกเบื้ยปกติตั้งแต่เดือนแรก ไม่มี 0% หรือต่ำกว่า MLR ให้ด้วยซ้ำไป
    ยิ่งถ้าไม่ใช่ลูกค้าชั้นดี จะโดน MLR+1 หรือ 2% นะครับ

    จริงวัสดุก่อสร้าง เป็นธุรกิจที่เงินหมุนเวียนสูงครับ มันก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกู้ยาวๆสักเท่าไหร่
    ทั่วไป แบงก์จะแนะนำให้กู้ 2 แบบ
    ทั้งส่วนเงินกู้ตายตัว 7 ปี ซึ่งมักจะใช้สำหรับการลงทุนอาคารและทรัพย์สินถาวร
    และเงินกู้เบิกเกินบัญชี สำหรับซื้อสินค้าหมุนเวียน

    ขนาดโกดังร้านวัสดุก่อสร้างพื้นที่รวมๆไม่ถึง 1 ไร่ สมัยนี้ก็ไม่ถือว่าใหญ่แล้วครับ
    เนื่องจากวัสดุมีหลายเกรด และมีความหลากหลายเพิ่มขึ้น ต้องใช้พื้นที่เก็บมากกว่าร้านสมัยก่อนเยอะ
    ต่อให้มีการจัดการที่ดีอย่างไร ก็ต้องใช้พื้นที่เก็บมากโขอยู่
    เนื่องจากการแข่งขันด้านราคา ที่ร้านขนาดใหญ่ทุบราคาร้านเล็กๆ
    ดังนั้นทางรอดคือการสั่งซื้อแบบล็อตใหญ่

    สมัยก่อนร้านวัสดุมีย่านขอบเขตบริการราวๆ 20-30 กม.
    แต่เดี๋ยวนี้แข่งกันใหญ่ครับ ใครมีสินค้ามากกว่า มีของบริการได้ทันที ก็จะได้เปรียบ
    สามารถดึงลูกค้าไกลๆได้ดีกว่า ทำให้ขอบเขตการขายไกลถึง 50-80 กม. ได้ทีเดียว (สำหรับร้านต่างจังหวัด)
    ธุรกิจนี้ จึงไม่ใช่ธุรกิจเล็กๆห้องแถวอีกต่อไป (ยกเว้นว่าขายแต่พวกฮาร์ดแวร์)

    By: kmin
    Since: 12 ก.ค. 55 09:23:51

  4. admin Post author

    มุมมองเพิ่มเติมส่วนตัว ลองรับไว้พิจารณานะครับ (ยาวหน่อย)

    การลงทุนสินทรัพย์ถาวรในธุรกิจ หากเป็นไปได้ ควรทำให้เป็นภาระที่มีระยะกำหนดเวลาแน่นอน
    พูดง่ายๆคือ ผ่อนจ่ายให้สั้นที่สุด เพราะยิ่งนานค่าดอกเบื้ยยิ่งเยอะ
    ซึ่งทำให้ระยะยาวคุณจะแข่งขันด้านราคายาก
    ตอนนี้ผมมองว่าคุณใช้เงินกู้ผิดประเภทอยู่

    โกดัง 1300 ตรม. + ส่วนกั้นที่อยู่อาศัยในตัวอีก 400 ตรม. น่าจะมีค่าก่อสร้างราวๆ 5 ล้านบาท (+-20%)
    หากกู้เพื่อการพาณิชย์ ผ่อนจ่าย 7 ปี คุณจะมีภาระผ่อนคืนราวๆล้านละ 15,000 (= 7.5 หมื่นต่อเดือน)
    ในปีแรก ทุก 15,000 ที่จ่าย จะเป็นดอกเบื้ย 13,xxx และเป็นเงินต้นแค่ 1,xxx เท่านั้น เรียกว่าเห็นแล้วท้อเลย
    ซึ่งขนาดโกดังที่คุณลงทุน มันหมายถึงธุรกิจคุณควรจะรับภาระนี้ไหว
    ถ้าไม่ไหว แสดงว่าคุณกำลังสร้างโกดังที่ใหญ่เกินยอดขายนะครับ ต้องระวัง

    แต่หากคุณกู้แบบที่อยู่อาศัย ดอกเบื้ยและเงินต้นที่ลดลง ก็ไม่ต่างจากนี้เท่าไหร่
    แถมเป็นภาระระยะยาว

    จุดที่ต่างกันคือ การกู้แบบที่อยู่อาศัย มันยาวนานกว่า เงินที่ส่งต่อเดือนอาจต่ำกว่านี้เล็กน้อย
    ข้อดีมันคือ cash flow ในธุรกิจไม่ถูกชักจ่ายคืนแบบเร็วเกินไป ส่งผลให้ยังมีเงินสดเหลือซื้อสินค้า

    แต่ในทางธุรกิจ เราแยกเงินลงทุนที่เป็นการหมุนเวียนสินค้าออกไปต่างหาก คือเงิน OD ซึ่งจ่ายเฉพาะดอกเบื้ยอยู่แล้ว
    หากต้นจะลด ก็ทำโดยการลดสต๊อกสินค้าในช่วงที่ยอดขายต่ำ

    การปลดภาระในส่วนอาคารให้เร็วที่สุดจะเป็นผลดีในระยะยาวของธุรกิจ
    เมื่อพ้นภาระส่วนนี้ไปแล้ว คุณก็ตัดมันออกจากต้นทุนสินค้าได้ ทำให้แข่งราคาได้
    อย่าลืมว่าธุรกิจคุณจะต้องโตไปอีกเรื่อย ยังมีการลงทุนเพิ่มเติมอีกแน่นอน
    ไม่ว่าจะเป็นรถส่งของ ค่าพนักงานที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ
    หากระยะยาวต้องผ่อนโกดัง ผ่อนรถ อะไรพร้อมๆกันยาวๆหลายๆปี จะเหนื่อยมากๆครับ

    ทีนี้ก็ต้องย้อนมาดูว่า หากจ่ายคืนเร็วแล้วจะไม่ไหว ก็ต้องมาหาตัวเลขอีกทีครับ ว่าขนาดไหนเหมาะสม
    เพราะอย่างที่บอก ถ้าไม่ไหว คือใหญ่เกินตัว

    ลองพิจารณาดีๆนะครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับคุณ

    By: kmin
    Since: 12 ก.ค. 55 09:45:47

  5. admin Post author

    ทำการค้าความเสี่ยงมันสูง
    มันแล้วแต่อำนาจต่อรองคุณด้วย

    By: popyim
    Since: 12 ก.ค. 55 11:07:23

Leave a Reply