อาคารพาณิชย์ 1-2 คูหา เสียภาษีป้าย หรือ ภาษีโรงเรือน ปีละเท่าไร? 8 Replies ขอบคุณครับ By: bo Since: 22 ก.ค. 55 20:27:06
admin Post authorAugust 8, 2012 at 10:31 am ภาษีป้ายแล้วแต่ขนาดกว้าง x ยาว ถ้ามีภาษาต่างประเทศจะแพงขึ้น ถ้าเป็นตู้ไฟที่เห็นได้ทั้ง 2 ด้าน คิดเป็น 2 ป้าย ถ้ามีสัญญลักษณ์ logo ราคาแพงขึ้นอีก ส่วนภาษีโรงเรือนจำไม่ได้ครับ By: รู้ใจไม่รู้หน้า Since: 22 ก.ค. 55 21:35:34 Log in to Reply ↓
admin Post authorAugust 8, 2012 at 10:31 am ภาษีป้ายคำนวณตามพื้นที่ขนาดป้ายเป็น ตร.ซม. ป้ายภาษาไทยล้วนคิด 3 บาท ต่อพื้นที่ป้าย 500 ตร.ซม.ป้ายภาษาไทยปนภาษาต่างประเทศ รูปภาพ สัญลักษณ์ คิด 20 บาทต่อพื้นที่ 500 ตร.ซม.ป้ายที่มีภาษาไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้ภาษาต่างประเทศคิด 40 บาทต่อพื้นที่ 500 ตร.ซม. กรณีป้ายที่มองเห็นได้ 2 หน้า คิดเป็น 2 ป้าย ภาษีโรงเรือนถ้าเป็นห้องเช่าคิด 1.5 เท่าของราคาเช่าต่อเดือน (อันนี้ไม่แน่ใจ) By: It’s me PanDy Since: 22 ก.ค. 55 22:18:26 Log in to Reply ↓
admin Post authorAugust 8, 2012 at 10:31 am ภาษีโรงเรือนถ้าไม่ใช่เป็นการเช่า เป็นเจ้าของและประกอบธุรกิจ ต้องเสียไหมคะ? By: nelumbo Since: 23 ก.ค. 55 11:20:39 Log in to Reply ↓
admin Post authorAugust 8, 2012 at 10:31 am ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี1. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน1.1 ให้เช่า/ให้ผู้อื่นอยู่อาศัยโดยไม่คิดค่าเช่า1.2 ใช้ประกอบกิจการเพื่อหาประโยชน์อย่างอื่น1.3 ใช้เป็นสำนักงาน/สถานประกอบพาณิชย์1.4 ใช้เป็นท่าเรือเมล์ เรือจ้าง1.5 โรงเรือนที่เจ้าของอยู่เอง แต่ใช้ประกอบการอุตสาหกรรม การพาณิชย์หรือไว้สินค้า/เก็บยานพาหนะเพื่อหาประโยชน์1.6 ทำเป็นโรงเรือนหาประโยชน์ส่วนบุคคล1.7 ใช้เพื่อหาประโยชน์อื่น เช่น สนามมวย บ่อนไก่ สนามแข่งรถ1.8 แพ ให้ผู้อื่นอาศัย/ใช้หาประโยชน์ เช่น ประกอบการค้า ไว้สินค้า/ให้เช่า 2. ที่ดินซึ่งใช้จ่ายต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น2.1 ที่ดินซึ่งใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง เช่น สนามกอล์ฟ สนามเทนนิสลานจอดรถให้เช่า2.2 กำหนดระยะเวลายื่นแบบเพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งทรัพย์สินอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่ให้เช่า ที่ทำการค้าขายที่ไว้สินค้า ที่ประกอบการอุตสาหกรรม ที่ให้ญาติ พ่อแม่หรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัย และที่ใช้ในกิจการอื่นๆ เจ้าของทรัพย์สินต้องชำระค่าภาษีปีละครั้งตามค่ารายปี (โดยกำหนดให้ ค่ารายปี ของปีที่ล่วงแล้วนั้น เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา) ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี1. หากเจ้าของทรัพย์สินอันได้แก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และที่ดินเป็นเจ้าของเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี2. แต่ถ้าที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ เป็นคนละเจ้าของ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ต้องเป็นผู้เสียภาษี ระยะเวลาการชำระภาษีตั้งแต่เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี ขั้นตอนการชำระภาษี1. เจ้าของทรัพย์สิน มีหน้าที่ยื่นแบบพิมพ์เพื่อนแจ้งรายการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือน กุมภาพันธ์ของทุกปี ต่อเจ้าหน้าที่ ณ งานจัดเก็บรายได้ ส่วนการคลัง หลักฐานที่ควรนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่หนังสือแจ้งเตือนของเทศบาลเมือง ใบเสร็จรับเงินปีสุดท้ายหลักฐานประกอบการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) กรณีโรงเรือนรายใหม่ 1. บัตรประจำตัวประชาชน2. สำเนาใบให้เลขหมายประจำบ้าน (สำเนาทะเบียนบ้าน)3. สำเนาใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร4. สำเนาสัญญาซื้อ-ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำเนาโฉนดหรือเอกสารสิทธิอย่างอื่น5. สำเนาสัญญาการเช่า, สำเนาทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์6. สำเนาใบอนุญาตตั้งหรือประกอบกิจการโรงแรม7. หลักฐานแสดงการเริ่มใช้ประโยชน์ของโรงเรือน8. ในกรณีที่มอบหมายให้ผู้อื่นไปทำการแทนให้มีหนังสือมอบอำนาจไปแสดงด้วย9.ในกรณีที่โรงเรือนมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคนให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมลงลายมือชื่อในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.ร.ด.2)ในฐานะผู้รับประเมินทุกคน หรือมอบอำนาจ ให้คนใดคนหนึ่งก็ได้ การมอบต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย 2. พนักงานเจ้าหน้าที่งานทะเบียนทรัพย์สินตรวจหากถูกต้องครบถ้วนตามทะเบียนทรัพย์สิน(ผท.4) พนักงานเจ้าหน้าที่จะมอบเอกสารให้ นำไปยังงานผลประโยชน์ ตามกลุ่มอักษรชื่อ (อักษรตัวแรกของชื่อเจ้าของทรัพย์สิน) เอกสารหลักฐานเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หนังสือแจ้งเตือนหรือหลักฐานการชำระภาษีในปีที่ผ่านมา เพื่อยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.ร.ด.2) 3. พนักงานเจ้าหน้าที่งานผลประโยชน์ ลงทะเบียนรับแล้ว จะทำการประเมินภาษีว่าเจ้าของทรัพย์สินจะต้องเสียเท่าไรและแจ้งการประเมินให้ทราบ 4. เมื่อเจ้าของทรัพย์สิน ได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8) แล้วต้องชำระค่าภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ ได้รับแจ้งการประเมินการชำระภาษีเจ้าของทรัพย์สินอาจชำระภาษีเป็นเงินสด เช็คเงินสด ได้ในวันยื่นแบบพิมพ์ (ภ.ร.ด.2) แต่หากไม่อาจจะชำระ ในวันที่ยื่นแบบพิมพ์ ภ.ร.ด.2 หรือไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์หรือใกล้เคียง ก็สามารถชำระโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับ ใบเสร็จรับเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการนี้ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว 5. ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดถือเป็นค่าภาษีค้างชำระ ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ต่อเดือนของค่าภาษีที่ค้าง คือเดือนแรก ร้อยละ 2.5เดือนที่สองร้อยละ 5เดือนที่สาม ร้อยละ 7.5เดือนที่สี่ ร้อยละ 10 ซึ่งเป็นค่าเพิ่มที่สูงที่สุด บทกำหนดโทษ1. เจ้าของทรัพย์สินที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการแห่งทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ภายในกำหนดมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท2. ผู้ใดโดยรู้แล้วหรือจงใจละเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่แจ้งรายการเพิ่มเติมเมื่อเรียกร้อง ไม่นำพยานหลักฐาน.มาแสดงหรือไม่ตอบคำถาม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซักถามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท3. ผู้ใดยื่นข้อความเท็จให้ถ้วยคำเท็จ แสดงพยานหลักฐานเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือหาทางให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงการคำนวณค่ารายปี มีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การคำนวณการประเมินค่ารายปีและอัตราภาษีภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดจากค่ารายปีของทรัพย์สินในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี เช่น บ้านให้เช่าในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาท คิดค่ารายปีได้ 12,000 บาท (1,000 x 12 เดือน) ค่าภาษีจะเท่ากับ 1,500 บาท หลักฐานที่ต้องนำไปสำเนาโฉนดที่ดิน หรือ สัญญาซื้อขายโรงเรือนบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านหนังสือมอบอำนาจ (กรณีมีผู้อื่นมายื่นแบบ ภ.ร.ด.2 แทน)ทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบอนุญาต ปลูกสร้างอาคาร ใบเสร็จรับเงินปีที่ ผ่านมา ใบอนุญาตสะสม อาหาร ใบอนุญาตประกอบกิจการค้า หนังสือ รับรองห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือ งบดุล ค่าภาษี1. ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปี2. อัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี ค่าภาษี = ค่ารายปี x 12.5 % กำหนดการชำระภาษีเมื่อเจ้าของทรัพย์สินได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8) แล้วต้องไปชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับจากวันถัดจากที่ได้รับแจ้งการประเมินมิฉะนั้นจะต้องเสียภาษีเพิ่ม ดังนี้1. ถ้าชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนด ให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง2. ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีค้าง3. ถ้าเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีค้าง4. ถ้าเกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง – การผ่อนชำระค่าภ­าษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องมีวงเงินค่าภาษีที่จะขอผ่อนตั้งแต่ 9,000 บาทขึ้นไป ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โดยแบ่งออกเป็น 3 งวด ๆ ละเท่า ๆ กัน (งวดละ 30 วัน) ***ถ้าไม่ชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มภายใน 4 เดือน นายกเทศมนตรีมีอำนาจออก คำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด หรือขาย ทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระ ค่าภาษี เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีเงิน เพิ่มค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายโดยมิต้อง ขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด – ระยะเวลาการให้บริการ โดยประมาณ 15 นาทีต่อราย ไม่รวมเวลาขั้นตอน สอบสวน (ถ้ามี) By: ton_na_999 Since: 23 ก.ค. 55 12:43:27 Log in to Reply ↓
admin Post authorAugust 8, 2012 at 10:31 am ขอบคุณ คุณ ton_na_999 ค่ะ รบกวนถามอีกนิด กรณีเช่า เอาค่าเช่าเป็นฐานในการคำนวน แต่ของเราเป็นเจ้าของ จะเอาตัวเลขอะไรมาประเมินคะ? By: nelumbo Since: 23 ก.ค. 55 13:06:11 Log in to Reply ↓
admin Post authorAugust 8, 2012 at 10:31 am ขอบคุณทุกคำตอบครับ อยากทราบ เหมือน คุณ nelumbo ด้วยล่ะครับเพราะ ที่บ้าน เป็นอาคารพาณิชย์ (อยู่มาจะ 40 ปี) ตอนนี้ จด หสม. แต่ก็ยังไม่ได้ แจ้งอยากจดเป็น บริษัท หจก. จะได้น่าเชื่อถือหน่อย แต่กลัวเรื่องภาษีโรงเรือน By: boSince: 23 ก.ค. 55 19:29:00 Log in to Reply ↓
admin Post authorAugust 8, 2012 at 10:31 am จากที่ศึกษามานะครับ ผิดถูกขออภัย..ภาษีโรงเรือน ถ้าอยู่ต่างจังหวัด อบต.จะเป็นคนประเมิน ภาษีให้เราครับ…ในกทม. ผมไม่ทราบ น่าจะทางเขต การประเมินจะคำนวณจากรายได้ ทั้งหมดต่อปีมาคำนวณครับคุณใช้พื้นที่นั้น ประกอบกิจการ ธุรกิจอะไรก็ตาม เพื่อหารายได้… หลักการเดียวกันเลยครับสมมุติทำอู่ซ่อมรถ รายได้เดือนละ 1,000 บาท คิดค่ารายปีได้ 12,000 บาท (1,000 x 12 เดือน) ค่าภาษีจะเท่ากับ 1,500 บาท เพราะงั้นในปีแรกๆ ต้องทำรายได้ให้ต่ำเข้าไว้…ภาษีโรงเืรือน เก็บตั้ง ร้อยละ 12.5 % ถือว่าโหดมากโดยส่วนใหญ่ก็จะไปพูดคุยกันนอกรอบ….ถ้าคุยกันรู้เรื่องก็อาจจะไม่ต้องจ่ายถึง ร้อยละ 12.5 % ครับ.. รายได้การเก็บภาษี อบต. ส่วนใหญ่ก็มาจากภาษีตัวนี้ละครับเป็นไง ครับภาษีตัวนี้…โหดเอาเรื่องเลยใช่ไหม….นี่ละครับ Thailand only By: ton_na_999 Since: 24 ก.ค. 55 05:27:58 Log in to Reply ↓
admin Post authorAugust 8, 2012 at 10:31 am ขอบคุณ คุณ ton_na_999 ครับ By: boSince: 24 ก.ค. 55 23:41:15 Log in to Reply ↓
ภาษีป้ายแล้วแต่ขนาดกว้าง x ยาว
ถ้ามีภาษาต่างประเทศจะแพงขึ้น
ถ้าเป็นตู้ไฟที่เห็นได้ทั้ง 2 ด้าน คิดเป็น 2 ป้าย
ถ้ามีสัญญลักษณ์ logo ราคาแพงขึ้นอีก
ส่วนภาษีโรงเรือนจำไม่ได้ครับ
By: รู้ใจไม่รู้หน้า
Since: 22 ก.ค. 55 21:35:34
ภาษีป้ายคำนวณตามพื้นที่ขนาดป้ายเป็น ตร.ซม.
ป้ายภาษาไทยล้วนคิด 3 บาท ต่อพื้นที่ป้าย 500 ตร.ซม.
ป้ายภาษาไทยปนภาษาต่างประเทศ รูปภาพ สัญลักษณ์ คิด 20 บาทต่อพื้นที่ 500 ตร.ซม.
ป้ายที่มีภาษาไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้ภาษาต่างประเทศคิด 40 บาทต่อพื้นที่ 500 ตร.ซม.
กรณีป้ายที่มองเห็นได้ 2 หน้า คิดเป็น 2 ป้าย
ภาษีโรงเรือนถ้าเป็นห้องเช่าคิด 1.5 เท่าของราคาเช่าต่อเดือน (อันนี้ไม่แน่ใจ)
By: It’s me PanDy
Since: 22 ก.ค. 55 22:18:26
ภาษีโรงเรือน
ถ้าไม่ใช่เป็นการเช่า
เป็นเจ้าของและประกอบธุรกิจ ต้องเสียไหมคะ?
By: nelumbo
Since: 23 ก.ค. 55 11:20:39
ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี
1. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
1.1 ให้เช่า/ให้ผู้อื่นอยู่อาศัยโดยไม่คิดค่าเช่า
1.2 ใช้ประกอบกิจการเพื่อหาประโยชน์อย่างอื่น
1.3 ใช้เป็นสำนักงาน/สถานประกอบพาณิชย์
1.4 ใช้เป็นท่าเรือเมล์ เรือจ้าง
1.5 โรงเรือนที่เจ้าของอยู่เอง แต่ใช้ประกอบการอุตสาหกรรม การพาณิชย์หรือไว้สินค้า/เก็บยานพาหนะเพื่อหาประโยชน์
1.6 ทำเป็นโรงเรือนหาประโยชน์ส่วนบุคคล
1.7 ใช้เพื่อหาประโยชน์อื่น เช่น สนามมวย บ่อนไก่ สนามแข่งรถ
1.8 แพ ให้ผู้อื่นอาศัย/ใช้หาประโยชน์ เช่น ประกอบการค้า ไว้สินค้า/ให้เช่า
2. ที่ดินซึ่งใช้จ่ายต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
2.1 ที่ดินซึ่งใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง เช่น สนามกอล์ฟ สนามเทนนิสลานจอดรถให้เช่า
2.2 กำหนดระยะเวลายื่นแบบเพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งทรัพย์สินอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่ให้เช่า ที่ทำการค้าขายที่ไว้สินค้า ที่ประกอบการอุตสาหกรรม ที่ให้ญาติ พ่อแม่หรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัย และที่ใช้ในกิจการอื่นๆ
เจ้าของทรัพย์สินต้องชำระค่าภาษีปีละครั้งตามค่ารายปี (โดยกำหนดให้ ค่ารายปี ของปีที่ล่วงแล้วนั้น เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา)
ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี
1. หากเจ้าของทรัพย์สินอันได้แก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และที่ดินเป็นเจ้าของเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี
2. แต่ถ้าที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ เป็นคนละเจ้าของ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ต้องเป็นผู้เสียภาษี
ระยะเวลาการชำระภาษี
ตั้งแต่เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี
ขั้นตอนการชำระภาษี
1. เจ้าของทรัพย์สิน มีหน้าที่ยื่นแบบพิมพ์เพื่อนแจ้งรายการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือน กุมภาพันธ์ของทุกปี ต่อเจ้าหน้าที่ ณ งานจัดเก็บรายได้ ส่วนการคลัง
หลักฐานที่ควรนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่
หนังสือแจ้งเตือนของเทศบาลเมือง ใบเสร็จรับเงินปีสุดท้าย
หลักฐานประกอบการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) กรณีโรงเรือนรายใหม่
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาใบให้เลขหมายประจำบ้าน (สำเนาทะเบียนบ้าน)
3. สำเนาใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร
4. สำเนาสัญญาซื้อ-ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำเนาโฉนดหรือเอกสารสิทธิอย่างอื่น
5. สำเนาสัญญาการเช่า, สำเนาทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์
6. สำเนาใบอนุญาตตั้งหรือประกอบกิจการโรงแรม
7. หลักฐานแสดงการเริ่มใช้ประโยชน์ของโรงเรือน
8. ในกรณีที่มอบหมายให้ผู้อื่นไปทำการแทนให้มีหนังสือมอบอำนาจไปแสดงด้วย
9.ในกรณีที่โรงเรือนมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคนให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมลงลายมือชื่อในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.ร.ด.2)ในฐานะผู้รับประเมินทุกคน หรือมอบอำนาจ ให้คนใดคนหนึ่งก็ได้ การมอบต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย
2. พนักงานเจ้าหน้าที่งานทะเบียนทรัพย์สินตรวจหากถูกต้องครบถ้วนตามทะเบียนทรัพย์สิน(ผท.4) พนักงานเจ้าหน้าที่จะมอบเอกสารให้ นำไปยังงานผลประโยชน์ ตามกลุ่มอักษรชื่อ (อักษรตัวแรกของชื่อเจ้าของทรัพย์สิน) เอกสารหลักฐานเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หนังสือแจ้งเตือนหรือหลักฐานการชำระภาษีในปีที่ผ่านมา เพื่อยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.ร.ด.2)
3. พนักงานเจ้าหน้าที่งานผลประโยชน์ ลงทะเบียนรับแล้ว จะทำการประเมินภาษีว่าเจ้าของทรัพย์สินจะต้องเสียเท่าไรและแจ้งการประเมินให้ทราบ
4. เมื่อเจ้าของทรัพย์สิน ได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8) แล้วต้องชำระค่าภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ ได้รับแจ้งการประเมินการชำระภาษีเจ้าของทรัพย์สินอาจชำระภาษีเป็นเงินสด เช็คเงินสด ได้ในวันยื่นแบบพิมพ์ (ภ.ร.ด.2) แต่หากไม่อาจจะชำระ ในวันที่ยื่นแบบพิมพ์ ภ.ร.ด.2 หรือไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์หรือใกล้เคียง ก็สามารถชำระโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับ ใบเสร็จรับเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการนี้ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
5. ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดถือเป็นค่าภาษีค้างชำระ ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ต่อเดือนของค่าภาษีที่ค้าง
คือเดือนแรก ร้อยละ 2.5
เดือนที่สองร้อยละ 5
เดือนที่สาม ร้อยละ 7.5
เดือนที่สี่ ร้อยละ 10 ซึ่งเป็นค่าเพิ่มที่สูงที่สุด
บทกำหนดโทษ
1. เจ้าของทรัพย์สินที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการแห่งทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ภายในกำหนดมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
2. ผู้ใดโดยรู้แล้วหรือจงใจละเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่แจ้งรายการเพิ่มเติมเมื่อเรียกร้อง ไม่นำพยานหลักฐาน.มาแสดงหรือไม่ตอบคำถาม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซักถามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
3. ผู้ใดยื่นข้อความเท็จให้ถ้วยคำเท็จ แสดงพยานหลักฐานเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือหาทางให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงการคำนวณค่ารายปี มีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การคำนวณการประเมินค่ารายปีและอัตราภาษี
ภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดจากค่ารายปีของทรัพย์สินในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี เช่น บ้านให้เช่าในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาท คิดค่ารายปีได้ 12,000 บาท (1,000 x 12 เดือน) ค่าภาษีจะเท่ากับ 1,500 บาท
หลักฐานที่ต้องนำไป
สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ สัญญาซื้อขายโรงเรือน
บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน
หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมีผู้อื่นมายื่นแบบ ภ.ร.ด.2 แทน)
ทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบอนุญาต ปลูกสร้างอาคาร ใบเสร็จรับเงินปีที่ ผ่านมา ใบอนุญาตสะสม อาหาร ใบอนุญาตประกอบกิจการค้า หนังสือ รับรองห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือ งบดุล
ค่าภาษี
1. ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปี
2. อัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี
ค่าภาษี = ค่ารายปี x 12.5 %
กำหนดการชำระภาษี
เมื่อเจ้าของทรัพย์สินได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8) แล้วต้องไปชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับจากวันถัดจากที่ได้รับแจ้งการประเมินมิฉะนั้นจะต้องเสียภาษีเพิ่ม ดังนี้
1. ถ้าชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนด ให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
2. ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีค้าง
3. ถ้าเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีค้าง
4. ถ้าเกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง – การผ่อนชำระค่าภ­าษีโรงเรือนและที่ดิน
ต้องมีวงเงินค่าภาษีที่จะขอผ่อนตั้งแต่ 9,000 บาทขึ้นไป ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โดยแบ่งออกเป็น 3 งวด ๆ ละเท่า ๆ กัน (งวดละ 30 วัน)
***ถ้าไม่ชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มภายใน 4 เดือน นายกเทศมนตรีมีอำนาจออก คำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด หรือขาย ทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระ ค่าภาษี เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีเงิน เพิ่มค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายโดยมิต้อง ขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด – ระยะเวลาการให้บริการ โดยประมาณ 15 นาทีต่อราย ไม่รวมเวลาขั้นตอน สอบสวน (ถ้ามี)
By: ton_na_999
Since: 23 ก.ค. 55 12:43:27
ขอบคุณ คุณ ton_na_999 ค่ะ
รบกวนถามอีกนิด กรณีเช่า เอาค่าเช่าเป็นฐานในการคำนวน
แต่ของเราเป็นเจ้าของ จะเอาตัวเลขอะไรมาประเมินคะ?
By: nelumbo
Since: 23 ก.ค. 55 13:06:11
ขอบคุณทุกคำตอบครับ
อยากทราบ เหมือน คุณ nelumbo ด้วยล่ะครับ
เพราะ ที่บ้าน เป็นอาคารพาณิชย์ (อยู่มาจะ 40 ปี)
ตอนนี้ จด หสม. แต่ก็ยังไม่ได้ แจ้ง
อยากจดเป็น บริษัท หจก. จะได้น่าเชื่อถือหน่อย
แต่กลัวเรื่องภาษีโรงเรือน
By: bo
Since: 23 ก.ค. 55 19:29:00
จากที่ศึกษามานะครับ ผิดถูกขออภัย..
ภาษีโรงเรือน ถ้าอยู่ต่างจังหวัด อบต.จะเป็นคนประเมิน ภาษีให้เราครับ…
ในกทม. ผมไม่ทราบ น่าจะทางเขต
การประเมินจะคำนวณจากรายได้ ทั้งหมดต่อปีมาคำนวณครับ
คุณใช้พื้นที่นั้น ประกอบกิจการ ธุรกิจอะไรก็ตาม เพื่อหารายได้…
หลักการเดียวกันเลยครับ
สมมุติ
ทำอู่ซ่อมรถ รายได้เดือนละ 1,000 บาท คิดค่ารายปีได้ 12,000 บาท (1,000 x 12 เดือน) ค่าภาษีจะเท่ากับ 1,500 บาท
เพราะงั้นในปีแรกๆ ต้องทำรายได้ให้ต่ำเข้าไว้…
ภาษีโรงเืรือน เก็บตั้ง ร้อยละ 12.5 % ถือว่าโหดมาก
โดยส่วนใหญ่ก็จะไปพูดคุยกันนอกรอบ….
ถ้าคุยกันรู้เรื่องก็อาจจะไม่ต้องจ่ายถึง ร้อยละ 12.5 % ครับ..
รายได้การเก็บภาษี อบต. ส่วนใหญ่ก็มาจากภาษีตัวนี้ละครับ
เป็นไง ครับภาษีตัวนี้…โหดเอาเรื่องเลยใช่ไหม….
นี่ละครับ Thailand only
By: ton_na_999
Since: 24 ก.ค. 55 05:27:58
ขอบคุณ คุณ ton_na_999 ครับ
By: bo
Since: 24 ก.ค. 55 23:41:15