การถอนชื่อผู้กู้ร่วม โดยไม่ถอนกรรมสิทธิ์

เนื่องจากว่าตนเอง กู้ซื้อบ้านร่วมกับพี่ชายเมื่อปีืี่แล้ว
แต่ตอนนี้พี่ชาย รีไฟแนนซ์ โดยใช้ชื่อพี่ชายกู้คนเดียวผ่านแล้ว
จึงอยากจะถอนชื่อตนเองออกจากการกู้ร่วม แต่ไม่ถอนกรรมสิทธิ์ที่มีร่วมกันในโฉนด
เพราะค่าธรรมเนียมที่กรมที่ดินสูงมาก
อยากทราบว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนค่ะ

By: MiniWT
Since: วันเข้าพรรษา 55 23:27:48

8 thoughts on “การถอนชื่อผู้กู้ร่วม โดยไม่ถอนกรรมสิทธิ์

  1. admin Post author

    คุณไม่ได้เป็นหนี้ร่วมคุณก็ไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์นั้นครับเพราะมันจะมีแต่ชื้อพี่ชายคุณคนเดียวในโฉนดครับ

    By: sitteto
    Since: 4 ส.ค. 55 06:42:15

  2. admin Post author

    แบงค์อาจไม่ยอม เว้นแต่ยอดหนี้น้อยกว่าราคาประเมินมาก ลองติดต่อแบงค์

    By: not defendant
    Since: 4 ส.ค. 55 08:57:04

  3. admin Post author

    แบงก์ไม่น่ายอมให้กู้น่ะครับ เพราะลูกหนี้มีหลักประกันเป็นบ้านเพียงบางส่วนเท่านั้นเอง ถ้าพี่ชายคุณผิดนัด แบงก์ยึดบ้านไปขายทอดตลาด ใครจะซื้อต่อล่ะครับ ได้บ้านไปครึ่งหลังเอง

    แบงก์เค้าน่าจะให้คุณเป็นผู้จำนองด้วยน่ะครับ ก็มีสถานะเหมือนเป็นลูกหนี้ร่วมในตัว แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้กู้โดยตรงก็ตาม

    By: philly
    Since: 4 ส.ค. 55 09:22:00

  4. admin Post author

    เชื่อร่วมกันในโฉนด ถ้าไม่ได้กำหนดสิทธิเป็นอย่างอื่น หมายถึง แบ่งกัน 50-50

    ไปกู้แบงค์ คนเดียวก็ไม่ได้

    แต่สมมุตว่าได้ ก็ได้แค่ ครึ่งหนึ่ง ของราคาที่ดิน

    บ้านครึ่งหลัง ไม่เอา

    By: อิทธิพงษ์
    Since: 4 ส.ค. 55 14:46:00

  5. admin Post author

    หลักการคือคุณต้องย้ายมาเป็นผู้ค้ำประกันแทนครับ

    การกู้ธนาคารจะมองความสามารถของผู้กู้ว่าผ่อนไหวไม๊ ถ้าดูท่าทางจะไม่ไหวก็หาคนกู้ร่วม แบบช่วงแรกตามที่คุณบอกไว้

    เมื่อตอนนี้พี่ชายคุณมีความสามารถในการผ่อนเงินกู้เพียงคนเดียวธนาคารก็อาจจะอนุโลมให้ถอนชื่อผู้กู้ร่วมอีกคนได้

    แต่เนื่องจากคุณเป็นผู้ถือกรรมสิทธิร่วมในโฉนดคุณจึงต้องเปลี่ยนมาเป็นผู้ค้ำประกันโดยใช้โฉนดที่คุณมีกรรมสิทธิร่วมเป็นตัวประกัน เผื่อในกรณีที่พี่ชายคุณผ่อนไม่ได้แล้วถูกดำเนินการทางกฎหมาย ธนาคารจะได้สามารถฟ้องได้เต็มมูลค่าของโฉนด (มิใช่แค่ครึ่งเดียว) ถ้าคุณไม่ยอมค้ำประกัน ธนาคารก็น่าจะไม่ยอมนะครับเพราะธนาคารจะเสียเปรียบ

    เป็นผู้ค้ำก็จะถือว่าเสี่ยงน้องลงถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น เพราะผู้กู้จะโดนฟ้องก่อน จนมีการขายทอดถ้ามูลค่าทรัพย์ที่ถูกขายไม่พอชำระหนี้ ผู้ค้ำถึงจะโดนฟ้อง (แต่อาจจะโดนทวงถามตั้งแต่ตอนแรกเผื่อผู้ค้ำกลัวจะได้เอาเงินมาจ่ายช่วยผู้กู้)

    By: นายจืดสนิท
    Since: 4 ส.ค. 55 16:30:48

  6. admin Post author

    ความเห็น 5 ครับ เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่ได้มีความเสี่ยงน้อยลงเลยน่ะครับ แบงก์เค้าฟ้องทั้งลูกหนี้และผู้ค้ำประกันพร้อมกันแหล่ะครับ ไม่ได้ฟ้องใครก่อน ใครหลัง กฎหมายยินยอมให้ฟ้องได้พร้อมกัน จะฟ้องแยกเป็น 2 คดีทำไมให้เสียค่าใช้จ่ายและเวลา

    สัญญาค้ำประกัน มันจะมีอยู่ประโยคนึงน่ะครับว่า ผู้ค้ำประกัน ตกลงยอมรับเป็นลูกหนี้ร่วม ประโยคนี้แหล่ะ ที่ทำให้ผู้ค้ำประกันมีสถานะเป็นลูกหนี้ไปด้วย แม้ว่า จะบอกว่าเป็นผู้ค้ำประกันก็ตาม

    By: philly
    Since: 4 ส.ค. 55 18:06:54

  7. admin Post author

    ขอขอบคุณทุกความเห็นมากนะค่ะ
    เดี๋ยวดิฉันจะลองคุยกับทางแบงก์อีกครั้ง

    แต่การเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ค้ำประกัน ก็คงดีกว่า สถานะการเป็นผู้กู้ร่วม
    ในแง่ที่ดิฉันอยากจะกู้ซื้อบ้านเป็นของตัวเองในอนาคตค่ะ

    By: MiniWT
    Since: 4 ส.ค. 55 21:09:11

  8. admin Post author

    ปัจจุบัน เค้าฟ้องร่วมกันเรยครับ ทั้งผู้กู้ และผู้ค้ำ เพียงแต่ผู้ค้ำ จะเป็นจำเลยที่สอง กรณี โดนฟ้อง ครับ แต่ประเมินจากสถานการณ์ ไม่ทราบว่า ผู้กู้ พี่ชายคุณ เค้ากู้อย่างไร สมมติ บ้านหลังที่กู้ ราคา 2 ล้านบาท กู้เฉพาะส่วน คือ ครึ่งนึง ของราคาหลักประกัน หรือเต็มจำนวนครับ อันนี้จะเป็นประเด็นตอนครอบครองนะครับ ถ้าเป็นอย่างแระ คุณอาจเป็นลักษณะเซ็นยินยอมได้ ในฐานะ ผู้ครอบครองร่วม

    By: C_WIN
    Since: 5 ส.ค. 55 11:31:23

Leave a Reply