คือแฟนไปโปะดอกเบี้ยบ้านมาครับ ปกติผ่อนอยู่เดือนละ 16000 แต่คราวนี้เอาเงินก้อนไปโปะซะแสนนึง
แฟนก็มาถามผมว่าเขาคิดดอกเบี้ยยังไง โปะวันนี้จะดีเท่าวันที่ครบกำหนดชำระหรือป่าว ผมก็บอกว่าเท่ากัน (อันนี้ความคิดส่วนตัว + เคยถามพนักงานแบงค์สาขานึง) แต่ก็อยากรู้จริงๆว่าใช่หรือป่าวก็เลยให้แฟนลองถามพนักงานสาขาห้าง seacon ดู
ปรากฏว่าพนักงานบอกว่าถ้าเอาเงินมาโปะในวันครบกำหนดชำระ เช่น ต้องจ่ายทุกวันที่ 25 ก็โปะวันที่ 25 จะได้ลดดอกมากกว่า
ซึ่งถ้าโปะวันนี้คือวันที่ 23 จะต้องเสียดอกเบี้ย 5000 ผมก็เลย งง ไปใหญ่เพราะสาขานึงบอกว่าค่าเท่ากัน
ตกลงเป็นอย่างไรกันแน่ครับ
By: justiriuz
Since: 23 ก.ย. 55 19:21:24
โปะหลังวันจ่าย เป็นเงินต้นทั้งหมด
By: หนูหริ่ง (chaleambui)
Since: 23 ก.ย. 55 19:42:06
ยิ่งโปะเร็วยิ่งดีค่ะ ดอกเบี้ยคิดเป็นรายวัน
By: แมว
Since: 23 ก.ย. 55 19:43:05
เหมือยเคยได้ยินมาค่ะ ว่าต้องโปะในวันครบกำหนด ไม่งั้นก็จะต้องเสียดอกอย์่ดีค่ะ เพราะดอกเบี้ยเค้าคิดรายวันค่ะ
By: tlove
Since: 23 ก.ย. 55 20:08:29
ตามหลักเหตุผล น่าจะยิ่งเร็วยิ่งดี เพราะดอกเบี้ยต่อปี
น่าจะต้องหารด้วยจำนวนวัน เพราะมันลดต้นลดดอก
หรือไงคะ??
By: Kim-Ha
Since: 23 ก.ย. 55 20:08:56
ควรโปะหลังวันดิวจ่ายครับ
By: Prattling
Since: 23 ก.ย. 55 20:09:13
ตัดรอบวันไหน พรุ่งนี้โปะ เพิ่มเลย ค่า ดอกเบี้ยบ้านคิดเป็นรายวัน
By: bemars
Since: 23 ก.ย. 55 20:16:09
เอางี้สมมติว่ารายงวดคุณต้องจ่ายทุกวันที่ 30 จำนวนเงิน
10000 บาท เป็นต้น 3000 บาท เป็นดอก 7000 บาท
แล้วคุณไปโปะวันที่ 20 จำนวนเงิน 20000 บาท
จะโดนตัดเป็นต้น 18000 บาท เป็นดอก 2000 บาท
พอถึงวันที่ 30 ที่ต้องจ่ายรอบปกติ เงินงวด 10000 บาท
จะโดนตัดเป็นต้น 9020 บาท เป็นดอก 980 บาท (เนื่องจากจ่ายดอกไปส่วนนึง
แล้วเมื่อรอบที่ไปโปะ) และ รวมดอกเบี้ยของเดือนนี้ลดลงจากปกติ 20 บาท
(เนื่องจากต้นลดลงเมื่อวันที่20)
ตัวเลขสมมตินะคะ
เวลาคิดจริง การคิดดอกเบี้ยคิดตามวันเทียบบัญญัติไตรยางค์ได้เลย
By: แมว
Since: 23 ก.ย. 55 20:29:59
ว้ายพิมพ์ผิด อายจัง
สรุปว่าช่วงวันที่ 30 ดอกจะลดลงเนื่องจากได้จ่ายส่วนนึงไปแล้ว เมื่อวันที่ 20
และดอก 2 รอบรวมกันจะน้อยลง (น้อยกว่า 7000) เพราะเราได้ทำให้ต้นลดลง
ไปส่วนนึงในวันที่ 20 ที่เราไปโปะ
ทำให้สับสนหรือเปล่าเนี่ย ขอโทษที พิมพ์ในมือถึอไม่ค่อยถนัด
By: แมว
Since: 23 ก.ย. 55 20:39:57
สรุปง่ายๆว่าโปะก่อนวันตัดยอดได้ ดอกเบี้ยลดลง ใช่มั๊ยคะ??
อ่านไปอ่านมาเริ่มงงและสับสนเบาๆ
By: IsThisIt?
Since: 23 ก.ย. 55 20:52:01
รอฟังด้วยคนค่ะ จ่ายก่อนรึวัน due ดี
By: บังเอิญผ่านมาเจอ (NokNerd)
Since: 23 ก.ย. 55 21:07:40
อืมตกลงยังไงหว่า เริ่ม งง เช่นกัน
By: justiriuz
Since: 23 ก.ย. 55 23:11:14
สรุปตามที่เคยถามมานะคะ
สมมติผ่อนเดือนละ 10000 ดอกเบี้ย 5000
ครบกำหนดวันนี้แต่เดือนนี้อยากจ่าย20000
มันจะไปตัดดอกเบี้ยก่อน 5000 ที่เหลือจึงจะตัดต้นค่ะ
ดังนั้นคิดว่าจะคุ้มมากแค่ไหนขึ้นกับดอกเบี้ยคงค้างค่ะ
By: หนวกบอดใบ้
Since: 23 ก.ย. 55 23:30:30
ดอกเบี้ยคิดรายวันครับ
ยิ่งจ่ายเร็ว ยิ่งลดดอกเร็ว
ดังนั้นจะไปกำเงินรออยู่ทำไม
งวดต่อไปดอกจะน้อยกว่างวดที่แล้ว
และเงินที่จ่ายก็จะไปลดเงินต้นได้มากกว่างวดปกติด้วยครับ
By: กำธร
Since: 24 ก.ย. 55 00:21:17
ส่วนตัวนะครับ ถ้าโปะเยอะ ยิ่งเร็วยิ่งดี
โปะไม่เยอะ โปะไปพร้อมกับเงินงวดก็ได้
ถ้าแสนนึง เป็นผมโปะทันทีที่ตัดสินใจได้
เพราะหักดอกไปนิดเดียว ที่เหลือไปหักต้น เพื่อให้ดอก
ต่อเดือนลดลงทันที ถ้าสมมุติแค่หมื่นเดียว ผมจะรอไปโปะ
พร้อมกับเงินงวด เมื่อถึงวันครบกำหนดจ่าย
By: Ibeye
Since: 24 ก.ย. 55 01:19:03
โปะทันทีเมื่อมีเงิน ดอกเบี้ยคิดเป็นรายวันอยู่แล้ว
ยิ่งเงินโปะเยอะ ยิ่งทำให้ยอดดอกเบี้ยที่คิดวันต่อๆ ไปน้อยลง
เราทำแบบนี้ตลอด 3 ปีกว่า ตอนนี้ปิดหนี้ไปแล้ว
By: Pat_Girl
Since: 24 ก.ย. 55 07:37:38
อาทิตย์ที่แล้วเพิงไปโปะมาของไทยพาณิชย์แสนนึง
ต้นลดไปเก้าหมื่นเจ็ดพันนิดหน่อยเสียดอกไปสองพันกว่าดีใจมาก
ปรกติของเราจ่ายค่าบ้านวันที่ยี่สิบสี่วันที่โปะคือวันที่ห้า
ที่ดีใจเพราะว่าปรกติเสียดอกเกือบเท่าต้น
By: ดาวสีส้ม
Since: 24 ก.ย. 55 08:25:13
การโปะค่าผ่อนบ้าน จขกท จะต้องศึกษาให้ถ่องแท้ชัดเจน 2 เรื่อง คือ
1. สัญญาระหว่าง จขกท กับ ธนาคารหรือสถาบันการเงิน (ผู้ให้กู้) กำหนดเงื่อนไขเรื่องนี้ไว้อย่างไร ซึ่งจะเป็นผลถึงเรื่่องที่ 2 คือ
2.การโปะเงินได้ผลดี – เสียอย่างไรขออธิบายตามประสบการณ์ของตัวเองให้อ่านกัน หากผิดพลาดอย่างไร ขอผู้รู้ช่วยทักท้วง จะได้เป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ด้วย 1. หลักทั่วไปของการผ่อนบ้าน มีว่า จำนวนเงินที่ชำระแต่ละงวดที่ตกลงกันจะถูกแบ่งเป็น 2 จำนวน จำนวนแรกจะนำไปชำระดอกเบี้ยก่อน เพราะเป็นรายได้ของธนาคารที่ได้จากผู้ผ่อนแต่ละงวด (เดือน) หักดอกเบี้ยแล้ว เหลือเท่าไรก็ยกไปเป็นเงินต้นงวดหน้า (เดือนหน้า) และคำนวณดอกเบี้ยอีก ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบกำหนดตามสัญญาจะเห็นว่า ดอกเบี้ยงวดแรก ๆ จะเป็นเงินสูงมาก เพราะสูตรการคำนวณ ดอกเบี้ย = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน (คำนวณเป็นวัน ๆ ) x จำนวนวันงวดท้าย ๆ ดอกเบี้ยจะลด เพราะตัวคูณ คือ เงินต้นลดลง
จึงต้องศึกษาสัญญาให้กระจ่าง เพราะอาจมีเงื่อนไขต่าง ๆ พ่วงเข้ามา เช่น ให้ธนาคารเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ หรือ จำนวนวันที่คำนวณดอกเบี้ย มักจะคิดว่าแต่ละเดือนต้องชำระเท่าไร ความจริงคือ ธนาคารคำนวณดอกเบี้ยเป็นวัน ไม่ใช่เป็นเป็นเดือน
ที่แนะนำให้ศึกษาสัญญาให้ถี่ถ้วนก่อนทำสัญญา เพราะเคยมีผู้ท้วงว่า เงินต้นลด แต่ดอกเบี้ยทำไมไม่ลด ?
ตอบ ก็เพราะจำนวนวันที่คำนวณแต่ละเดือนน้อยมากต่างกัน โดยมากเรามักไม่อ่านสัญญาให้ถี่ถ้วน เพราะยังไง ๆ ก็ต้องกู้ ก็ลงชื่อในสัญญาด้วยความดีใจ กลับไปซื้อของเข้าบ้านสบายใจกว่า เลยมีเรื่องเข้าใจผิดกันภายหลัง ความจริงเรื่องนี้ควรจะอ่านสัญญาให้กระจ่างตั้งแต่อยู่ที่ธนาคาร มีอะไรก็สอบถามกันก่อนลงชื่อ
แต่อย่างว่า พนักงานสินเชื่อธนาคารบางคนยังไม่รู้เรื่องเลย อ้างเสมอว่า เป็นแบบสัญญาสำเร็จรูปของธนาคาร พิมพ์มายังไงพี่ก็เซ็นชื่อก็แล้วกัน ผู้กู้กลัวก็รีบลงชื่อ 2. คำถามที่ถามกันมาก คือ จะโปะเงินต้นอย่างไรดี ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
เรื่องนี้ต้องศึกษาวิธีการคำนวนดอกเบี้ย
อย่างที่เขียนแล้วว่า ธนาคารคำนวณดอกเบี้ยเป็นวัน ๆ สมมุติว่า แต่ละงวด ธนาคารคำนวณดอกเบี้ยถึงวันสุดท้ายของเดือน เดือนนี้มี 30 วัน เราก็เอาเงินไปจ่ายภายใน 15.30 น ของวันที่กำหนด คือวันที่ 30 พอดี กรณีนี้ สมมุติว่าเรามีหนี้ 100,000.00 บาท สัญญากำหนดให้จ่ายงวดละ 10,000.00 บาท คำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่งวดที่แล้ว จนถึงวันที่เราจ่ายเป็นเงิน 1,000.00 บาท (ตัวเลขสมมุติ) เงิน 10,000.00 บาท จะถูกแบ่งเป็น 2 กอง กองหนึ่งธนาคารเก็บเป็นรายได้ค่าดอกเบี้ย 1,000.00 บาท ชำระเงินต้น 9,000.00 บาท เหลือเงินต้นยกไปอีก 91,000.00 บาท แล้วนำ 91,000.00 บาท ไปคำนวนดอกเบี้ยอีก 30 วัน หรือ 31 วันของงวดถัดไป
ทีนี้มาถึงการโปะ
ส่วนตัวเคยผ่อนบ้าน หักบัญชีธนาคาร แต่ถือเป็นงานหลัก คือ หอบเอาเงินสดไปจ่ายอีกจำนวนหนึ่ง ในวันเดียวกับที่ธนาคารหักบัญชี เรียกว่าวันนั้น จ่าย 2 ครั้ง จากการหักบัญชี 1 ครั้ง และจ่ายเงินสดอีก 1 ครั้ง ถ้าตามตัวอย่างก็ สมมุติจ่ายอีก 5,000.00 บาท เงินต้นจะลดลงเหลือ 91,000.00 – 5,000.00 = 86,000.00
ทำแบบนี้จะได้ผล 2 อย่าง1. เงิน 5,000.00 บาท ที่ชำระ จะหักเงินต้น 5,000.00 เต็ม ๆ ไม่มีการแบ่งไปเป็นดอกเบี้ย เพราะดอกเบี้ยคำนวนไปเต็มงวดแล้ว จากยอดจ่าย 10,000.00 บาท2. เงินต้นจะลดลงจากเดิมเหลือ 86,000.00 เป็นผลให้ดอกเบี้ยในงวดถัดไปลดลงเพราะต้นเงินลดลง (ดูตัวอย่างการคำนวนข้างต้น)
ตอนผ่อนบ้าน โปะอีก 100 % แบบนี้ทำให้ประหยัดเวลาไปประมาณ 50 % ของระยะเวลาตามสัญญา และประหยัดดอกเบี้ยอีกมาก ๆ ไม่เชื่อลองนำไปใช้ จะเห็นผล
ที่แนะนำให้ศึกษาสัญญาให้ดี เพราะบางธนาคารอาจให้เราโปะระหว่างงวดได้โดยเงินที่โปะนั้นจะหักเงินต้นอย่างเดียว ไม่แบ่งไปคำนวณดอกเบี้ย ก็เป็นผลดีสำหรับผู้กู้
จึงแนะนำให้อ่านสัญญาให้กระจ่างและถี่ถ้วน
By: กื้อ
Since: 24 ก.ย. 55 10:56:18
ผมไม่รู้ว่าธนาคาคิดดอกเบี้ยอย่างไรนะ แต่หลักมันคือ ดอกเบี้ยคิดเป็นวัน แต่สัญญาก็คือสัญญา ดังนั้นตอนลงนาม ต้องถามเจ้าหน้าที่เลยว่า เรื่องการคำนวนดอกเบี้ยอยู่ข้อไหน (ปกติเรา ๆ จะอ่านไม่หมดหรอก) ศึกษาให้เข้าใจ จะได้เกิดประโยชน์สูงสุด
By: neptune
Since: 24 ก.ย. 55 20:22:26
ลองโป๊ะดูแล้วจะรู้ครับ เค้าจะพิมพ์แจ้งหลังทำรายการเสร็จว่าต้นลดเท่าไหร่
เสียดอกเท่าไหร่ หนี้เหลือเท่าไหร่
ผมโป๊ะของกสิกร ไม่ตรงกับวันตัดยอด เค้าก้อลดแต่เงินต้นครับ ไม่หักดอก
By: ready2
Since: 24 ก.ย. 55 22:55:22
โปะแบบที่คุณกื้อ แจ้งค่ะ เพิ่มเดือนละ 5000 ไม่มีเงินก้อนเลยใช่วิธีนี้นี่แหละ แฮ่ๆ
By: สะใภ้เล็ก
Since: 25 ก.ย. 55 14:29:44
ดอกเบี้ยคิดเป็นรายวัน โปะเร็วที่สุดก็จะตัดต้นมากกว่า
และถ้าใช้วิธีตัดยอดอัตโนมัติทุกเดือนต้องระวังไม่มีเงินในบัญชี
ในวันที่ตัดยอดของเดือนนั้นๆ ระบบอาจจะคิดดอกเบี้ยเนื่องจากไม่ได้จ่าย
ในยอดเดือนนั้นๆ ทางทีีปลอดภัยคือ โปะไปให้เร็วที่สุดและเหลือยอดไว้
ให้ระบบตัดตามงวดที่จ่ายปกติ
By: เพราะมีเธอในโลกใบนี้
Since: 25 ก.ย. 55 21:21:28
เคยใช้ระบบตัดบัญชีมาตลอด เพิ่งมามีปัญหาคือจ่ายในวันสิ้นเดือนพอดี
เผอิญตรงกับวันเสาร์ คอมพิวเตอร์ก็เลยตัดล่วงหน้าไปหนึ่งวันซึ่งเป็น
วันศุกร์ กลายเป็นไม่ได้จ่ายงวดนั้น งวดต่อมาโดนเบี้ยปรับไปสิบกว่า
เปอร์เซ็นต์ ก็เลยต้องโทรไปเคลียร์ค่ะ
เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นมากๆ ที่คอมพิวเตอร์แบงค์ไม่ทำงานวันเสาร์ (มานคงหนีเที่ยวพัทยา) ^^
เดือนที่แล้วจ่ายเข้าบัญชีโดยตรง ตัดดอกเบี้ยน้อยมาก แต่ก็พอคำนวณ
คร่าวๆ ในใจว่าเดือนนี้คงหนัก เฉลี่ยแล้วไม่น่าจะเกินกว่าที่เคยเสีย
ในแต่ละเดือน ถ้าเกินมากหรือขาดมาก คงต้องสงสัยอีกรอบค่ะ
By: Kim-Ha
Since: 26 ก.ย. 55 21:32:51
มีเมื่อไหร่ โปะเมื่อนั้นค่ะ ยิ่งเร็ว ยิ่งดี ดอกเบี้ยบานเร็วมากมาย 🙂
By: sweet_acid
Since: 28 ก.ย. 55 20:44:31