เครื่องสำรองไฟฉุกเฉิน

ขอคำแนะนำ เครื่องสำรองไฟฉุกเฉิน สำหรับปั๊ลม ขนาด 40 วัตต์ ที่ใช้กับบ่อปลา ครับ อยากให้ใช้ได้ ประมาณ 10 ชม.

ไม่แน่ใจว่าควรใช้แบบไหนดี ขอบคุณครับ

By: sa
Since: 28 ก.ย. 55 09:25:29

3 thoughts on “เครื่องสำรองไฟฉุกเฉิน

  1. admin Post author

    ผมเห็นในอินเตอร์เน็ตมีจำหน่ายอยู่ ทั้งใช้ถ่าน ใช้แบตเตอรี่ 6v หรือ 12v
    มีทั้งแบบเปิดปิดด้วยมือ และอัตโนมัติ ลองสอบุามจากคนขายดูครับ
    ปั๊มลม dc ครับ แต่ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าคุณต้องการลมกี่ลิตรต่อนาทีครับ
    ตัววัตต์ของระบบ 220 โวลต์กับวัตต์ของ 12 โวลต์มันไม่น่าจะเท่ากัน

    By: นายยศ
    Since: 28 ก.ย. 55 10:02:45

  2. admin Post author

    อย่าว่าอะไรเลยนะ ผมว่า อธิบายสิ่งที่จะใช้งานให้มันชัดเจนกว่านี้ได้ไหม เห็นถามมา 2 รอบแล้ว คือคำว่า ปั้มลม 40 วัตต์ มันประมาณไหน ต่อไฟอะไร 220V หรือยังไง แล้วจริง ๆ มันกินไฟแค่ไหนกันแน่ เห็นกระทู้ก่อนบอก 60 วัตต์ ถ้าไม่ชัดเจนก็จะกลายเป็นขี่ช้างจับตั๊กแตนไปซะเปล่า ๆ

    ตอนแรกที่ผมเห็นในคำถามแรก บอกแค่ว่าเป็นปั้มลม 60 วัตต์ ก็ถ้าบอกว่าปั้มลมแบบนั้น ก็นึกไปถึงเครื่องปั่นไฟไปเลย แต่มาอ่านกระทู้นี้ กำลังคิดว่าเอาแค่ UPS สักตัว ถ้ากลัวสำรองไฟไม่นานพอก็พ่วงแบตเข้าไปอีกสักลูก น่าจะพอแล้วนะ

    By: บ้านฉัน
    Since: 28 ก.ย. 55 10:46:26

  3. admin Post author

    การใช้เครื่องสำรองไฟฉุกเฉินนั้นจะสนใจ 2 เรื่องคือ กำลังวัตต์ที่จ่าย กับ ระยะเวลาที่สำรองไฟได้แบบจ่ายเต็มกำลัง  ซึ่ง 40 วัตต์ที่ให้มานั้นถือว่าน้อยมาก แค่ใช้เครื่องสำรองไฟที่ใช้กับคอมพิวเตอร์เล็กๆ ก็เพียงพอ แต่ปัญหาคือ ระยะเวลาสำรองที่ ไม่ยาวนัก เพราะแบตเตอรี่เล็กนิดเดียว ต้องพ่วงแบตเพิ่มจำนวนมากๆ  เน้นว่ามากๆ เพราะจขกท.ต้องการนานถึง 10 ชั่วโมง   ลองประมาณคร่าวๆ ดูก็ได้ ปกติหม้อแบตเตอรี่ จะมีค่าสนใจ 2 ค่าคือ แรงดันไฟฟ้า กับ ขนาด มีหน่วยเป็น AH หรือ แอมแปร์ชั่วโมง ทำนองว่า จ่ายไปได้นาน 1 ชั่วโมง ถ้าจ่ายด้วยกระแสตามที่กำหนด เช่น 10 AH ก็คือจ่ายได้ 10 แอมป์ นาน 1 ชั่วโมงเป็นต้น แต่ทางปฏิบัติจะได้น้อยกว่านั้นมาก คือน้อยกว่าครึ่ง เพราะอยู่ที่ประสิทธิภาพของสารเคมีในหม้อแบตเตอรี่ และการอัดไฟจนเต็ม ว่าเต็มแค่ไหน ไม่ค่อยทราบแน่ชัดนัก

    สมมติว่า คุณใช้ไฟ 12 โวลต์ 40 วัตต์ คำนวณหากระแสไฟฟ้าได้เป็น 40/12 = 3.33 แอมป์ ถ้าใช้หม้อแบต 7 AH (ปกติจะใช้ขนาดนี้ใน เครื่องสำรองไฟสำหรับคอมพิวเตอร์)  จะสำรองได้ตามทฤษฎี 7/3.33 = 2 ชั่วโมง แต่ทางปฏิบัติอาจได้เพียงชั่วโมงเดียว  และยิ่งถ้าคุณแรงดันปั๊มลม เป็น 220 โวลต์  การแปลงแรงดันจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าครึ่ง ซึ่งอาจสำรองได้เพียง 20 – 30 นาที คุณต้องเพิ่มแบตเตอรี่ให้มากกว่านี้ เช่น ต้องการ 10 ชั่วโมง ก็คือ 30 เท่าของแบตเตอรี่ขนาด 7 AH ซึ่งก็คือ หม้อแบตเตอรี่ขนาด 210 AH ซึ่งทางปฏิบัติต้องใช้ แบตเตอรี่ของ รถ 10 ล้อ ขนาด 70 AH จำนวน 3 ลูกมาต่อขนานกัน!  ซึ่งปัญหาจะเกิดอีกว่า อัตราการประจุไฟของหม้อแบตขนาดใหญ่ นี้จะมากกว่า การประจุด้วยเครื่อง สำรองไฟคอมพิวเตอร์เล็กๆ    คุณอาจต้องใช้เครื่องสำรองไฟขนาดใหญ่ หรือไม่ก็ใช้วงจรประจุไฟเอง และแปลงไฟเอง โดยคุณต้องทำวงจรสลับไฟ เมื่อไฟฟ้าดับเอง ไม่งั้น ราคาเครื่องสำรองไฟขนาดใหญ่นี้ จะตกเป็นแสนบาท!

    By: mirage_II
    Since: 30 ก.ย. 55 01:00:27

Leave a Reply