ที่ถามอย่างนี้เพราะว่า ผมมองว่า เงินได้ที่เราเอาไปซื้อบ้านและที่ดินนั้น เป็นเงินส่วนที่ได้เสียภาษี
ให้รัฐไปเรียบร้อยแล้ว (โดยเฉพาะบรรดามนุษย์เงินเดือนที่โดนบริษัทหักภาษีไปอยู่ทุกเดือน)
ดังนั้น เมื่อผมขายบ้านและที่ดินและได้เงินกลับคืนมา (ซึ่งเป็นเงินก้อนที่เคยเสียภาษีไปแล้วรอบหนึ่ง)
ทำไมสรรพากรจะต้องมาเก็บภาษี ณ ที่จ่าย อีกรอบหนึ่งละครับ
เท่าที่ได้ค้นคว้ามา ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่กรมที่ดินเรียกเก็บแทนกรมสรรพากรอันนี้ จะคำนวณ
จาก "ราคาประเมิน" ของกรมธนารักษ์ ไม่ใช่ราคาที่ซื้อขายกันจริงๆในตลาด ดังนั้น สมมุติว่า
ผมในฐานะผู้ซื้ออสังหาฯนั้น ซื้อมาในราคา 1 ล้านบาท และขายไปในราคา 2 ล้านบาท
ส่วนต่างที่เกิดขึ้นก็ไม่มีความสัมพันธ์อะไรกับ "ราคาประเมิน" เลยน่ะครับ หรือแม้แต่ผมจะขาย
ไปในราคา 5 แสนบาท ในราคาที่ขาดทุน ก็ยังต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายตรงนี้โดยคิดจาก
"ราคาประเมิน" ของทางราชการอยู่ดี
ที่ตั้งกระทู้นี้ ไม่ได้จะมาร้องเรียนหรือชวนทะเลาะนะครับ อยากให้ช่วยแสดงความเห็นในมุมของ
กฎหมายและมุมของภาษีน่ะครับว่า รัฐท่านมีวิธีคิดอย่างไรจึงได้ตรากฎหมายขึ้นมาแบบนี้น่ะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาช่วยแสดงความเห็นล่วงหน้าครับ
By: QooQ
Since: 22 ต.ค. 55 19:43:35
ภาษีที่เก็บจากเงินฝากประจำ น่าถกมากกว่า เพราะเราทำงานได้เงินมา เสียภาษีเงินได้ไปแล้ว เราเก็บออมตามที่รัฐส่งเสริมให้ฝากออมสินมาตั้งแต่เด็ก ดันเก็บภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากอีก
By: KittySP
Since: 22 ต.ค. 55 20:13:11
ถ้าเช่นนั้นแล้ว vat ละครับ เราก็จ่ายเงินได้ไปแล้วยังต้องจ่าย vat ต่อเลย
ส่วน ภาษีที่เก็บจากดอกเบี้ยผมว่ามันเป็นผลประโยชน์ที่เกิดจากการนำเงินไปลงทุน ให้ได้ผลตอบแทน (แม้จะน้อยยยยย แสนน้อย ก็ตาม) ดังนั้นรัฐเก็บตรงนี้ ผมว่าไม่แปลกนะ
ถ้าเราไม่เอาไป ฝากธนาคาร แล้วเอาไปลงทุนทำธุรกิจ เราจะบอกว่าไม่เสียภาษี จากเงินได้ที่ลงทุนไปมันก็คงแปลกๆ นะ ??
By: วัยละอ่อน
Since: 22 ต.ค. 55 21:22:40
ถ้ามีการซื้อขาย โอนกันเป็นทอดๆ
เขาก็เก็บภาษีได้เรื่อยไปครับ
ทีนี้ ถ้าประเมินแล้ว หากชำระเกินก็ขอคืนได้
หากชำระขาดก็ต้องจ่ายเพิ่มครับ
ส่วน VAT นั้นเก็บหลายทอดก็จริง
แต่รวมทุกทอดแล้ว เป็น 7% เท่านั้น
By: น้าพร
Since: 22 ต.ค. 55 21:47:07
ภาษีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่กรมที่ดิน
สามารถขอคืนได้หากขายเพื่อซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยใหม่
ส่วนที่ต้องเสียเพิ่มคือหลังต่อๆไปซึ่งมองว่าเป็นการซื้อและขายเพื่อการลงทุน
การเสียภาษีน่าจะเป็นกลไกการบริหารรายได้ของรัฐโดยไม่ต่างกับเอกชน
By: not defendant
Since: 22 ต.ค. 55 23:03:01
การซื้อที่ดิน มองว่าเป็นการลงทุนระยะยาว เมื่อขายก็เสียภาษี
ในอัตราเหมาจ่าย ไม่ได้สนใจว่าซื้อมาเท่าไร
เรื่องราคาขาย ราคาประเมิน แต่ก่อนเขาใช้ราคาขาย ก็มีหลายๆคน ใส่ราคาขายต่ำๆ เพื่อเสียภาษีน้อย
แต่ก่อนราคาประเมินก็ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก เมื่อเปลี่ยนมาเก็บภาษีตามราคาประเมินหรือราคาซื้อขายถ้าสูงกว่า ก็ทำให้มีการปรับปรุง ราคาประเมินให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น ก็มีผลดีอยู่เหมือนกัน
By: อิทธิพงษ์
Since: วันปิยมหาราช 55 08:03:42
ไม่ซ้ำซ้อนครับ….
หัก ณ ที่จ่าย เกิดเพื่อ กัน คนไม่ยื่นภาษี ปลายปีครับ… อย่างน้อยก็มี ภาษีตรงนี้ กันไว้…
หาก มีการยื่นก็เอา ไปเป็น เครดิตภาษีไดครับ
By: ตอบหน่อย
Since: วันปิยมหาราช 55 11:39:44
คคห 6
ยื่นภาษีขายที่ดิน ไม่นำมาคำนวณรวมกับ ภาษีเงินได้บุคคลครับ
ตัดไปเลย คือ ตัดจบ รายได้ตรงนั้นก็ไม่ต้อนำมายื่น
ดังนั้น มันไม่ใช่เครดิตภาษีครับ
By: avatayos
Since: วันปิยมหาราช 55 20:26:48
คห.6 และ 7 ถูกทั้งคู่ครับ
การเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตอนการโอนที่ดินนั้น สรรพากรให้สิทธิ์สำหรับผู้ขายบ้านครับว่าจะเลือก
1. ถือว่าการเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จบไปเลยตอนนั้น คือสิ้นปีไม่ต้องนำมารวมการยื่นแบบ ภงด.90 หรือ
2. นำมารวมยื่นภาษีเงินได้บุคคล ใน ภงด. 90 ก็ได้ครับ โดยนำภาษีหัก ณ ที่จ่าย มาเป็นเครดิตภาษีได้
สามารถทำได้ทั้ง 2 วิธี ถูกตามกฎหมายทั้งคู่
แต่คนส่วนใหญ่จะใช้วิธิี 1 กันครับ เพื่อไม่ยุ่งยาก
ทางแก้ก็คือ ถ้าคุณ จขกท ขายบ้านแล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อบ้านหลังใหม่ก็ควรใช้สิทธิขอคืนภาษีเงินได้จะดีกว่า ตาม คห. 4 แนะนำครับ ลองดู http://www.rd.go.th/publish/13656.0.html
By: s_teerayut
Since: 24 ต.ค. 55 10:11:12
ขอบคุณทุกท่านมากครับ ได้มุมมองใหม่ๆมาหลายอย่างเลยครับ
By: QooQ
Since: 24 ต.ค. 55 20:48:03