รบกวนครับ ค่าก่อสร้าง 12000 กับ 13000 ต่างกันเยอะมั้ย

อยากทราบว่าค่าก่อสร้าง 12000 กับ 13000 และ  13000 กับ 14000 ต่างกันแบบนี้ มีความแตกต่างกันมากมั้ยครับ

เพราะถ้า พื้นที่ 200 ตรม.  ถ้า 12000 ก็เท่ากับ 2,400,000
13000 ก็ 2,600,000
14000 ก็ 2,800,000
ราคาก็ต่างกันอยู่สองแสนบาท  
และถ้าราคา 14000-15000 นี่ ถือว่าของที่ได้ในบ้านนี่ถือว่าโอเคมั้ยครับ พอดีจ้างสถาปนิกออกแบบน่ะครับ แต่ยังไม่ได้รายละเอียดอะไร

รบกวนด้วยครับ

By: fillerneck
Since: วันออกพรรษา 55 15:57:09

6 thoughts on “รบกวนครับ ค่าก่อสร้าง 12000 กับ 13000 ต่างกันเยอะมั้ย

  1. admin Post author

    จริงๆ การคิดค่าก่อสร้างต่อตารางเมตรมันเป็นวิธีคิดแบบหยาบๆ น่ะค่ะ จริงๆ มันควรพิจารณาจาก BOQ ทั้งฉบับมากกว่าวา 2.4 / 2.6 / 2.8 อะไรที่ต่างกัน แล้วคุณพอใจกับอะไร

    ค่าก่อสร้างมันมีหลายจุด ยกตัวอย่างคือแบบหลังคา ถ้าแบบหลังคาซับซ้อนมากก็มีราคามาก ในขณะที่พื้นที่เท่ากัน แต่เป็นหลังคาปั้นหยาสี่เหลี่ยมธรรมดา ราคาก็ถูกกว่า แต่เจ้าของบ้านอาจจะชอบแบบหลังก็ได้ เป็นต้น

    ดู BOQ ดีกว่าค่ะ แล้่วให้คนทำชี้มาให้เห็นเลยว่าส่วนที่ต่างนั้น ต่างกันตรงไหน

    By: AntiSpam (อันตราคนี)
    Since: วันออกพรรษา 55 16:58:49

  2. admin Post author

    จริงครับ แค่คร่าว ๆ จริง ๆ

    ตอนทำใบเสนอราคา ถอดแบบออกมา มักจะแพงกว่าหลักแสนเชียว
    เพราะแต่งโน่น เติมนี่

    By: panda_ch
    Since: วันออกพรรษา 55 17:03:41

  3. admin Post author

    พอทำจริงๆคงมีเพิ่มเติมมาอีกแน่เลยครับ ราคานี้คงแค่คราวๆ ไม่รวมเฟอร์นิเจอร์ แนะนำเริ่มจากราคาถูกก่อนแล้วค่อยเพิ่มเติมทีหลังจากดูแบบร่างแล้ว ถ้ามีงบมากก็จัดเต็มเลยครับ

    By: นายศิรินทร์ คณาวรงค์ (kten)
    Since: วันออกพรรษา 55 17:13:18

  4. admin Post author

    .
    .
    .
    .
    ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าการสร้างบ้านที่ออกแบบแล้วสร้างมี 2 แนวทาง
    .
    1. สร้างโดยถือเงินหรือตั้งใจว่าจะสร้างไม่เกินเท่านั้นเท่านี้บาทแล้วให้สถาปนิกออกแบบ
    .
    2. สร้างโดยเอาความต้องการเป็นหลักส่วนงบประมาณจะออกมาเท่าไรว่ากันอีกที

      แต่ทั้งเจ้าของบ้านและสถาปนิกต้องคุยกันตอนร่างแบบนะครับว่าราคาประมาณมันไปเท่าไรแล้ว

      ไม่ใช่ออกแบบออกมาออกไปเรื่อยพอทำประมาณราคาออกมาแล้วงบประมาณสูงจนสร้างบ่ได้


    .
    .
    คราวนี้มาพูดถึงราคาก่อสร้างที่วงการหรือคนส่วนใหญ่มักใช้ราคาตลาด, ราคาอ้างอิงมาเป็นตัวตั้งต้น
    .
    เพื่อใช้เป็น " ราคาควบคุม " ในการออกแบบร่างแบบ
    .
    ราคาตามตัวเลข ที่ จขกท อ้างถึงนั้นสามารถเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ครับ
    .
    หมายความว่าเราจะไปมองมุมเดียวไม่ได้ว่าราคาต่อตารางเมตรเราให้เพิ่มขึ้น ตร.ม.ละ เท่านั้นๆ
    .
    แล้วเราจะได้ของดีเพิ่มแค่ไหนยังไง.. มันตอบแบบนั้นแบบใช่เลย.แม่นเลย บ่ได้ครับ
    .
    .
    .
    การคิดราคาประมาณต่อตามเมตรนั้น ณ ตรงนี้สมมุติว่าเป็น 12,000.-บาท ต่อ ตารางเมตร
    .
    .
    .
    .
    หมายถึงว่า.. เปรียบบ้านเป็นขนมชั้นในถาดโลหะตามแผงขายขนมหวานนะครับเอาแค่ขนมมี 4 ชั้น
    .
    ชั้นล่างสุด……….สมมุติเป็นฐานรากงานใต้ดิน
    .
    ชั้นที่สองจากล่าง…..เป็นงานพื้นชั้นล่าง
    .
    ชั้นที่สามจากล่าง…..เป็นงานพื้นชั้นสอง
    .
    ชั้นที่สี่จากล่าง…….เป็นงานหลังคา
    .
    .
    ไอ้ราคา 12,000.-บาทนั้น เขาเอาค่าวัสดุอุปกรณ์, ค่าแรงงาน, กำไรของผู้ทำในแต่ละชิ้น
    .
    เอามารวมกันแล้วถัวเฉลี่ยออกมาเป็น  " ราคาต่อหนึ่งชิ้นสี่เหลี่ยม/ ต่อชิ้นของขนมชั้น "
    .
    ซึ่งตัวเลขที่ได้มันจะมาจากราคาของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้, ความยากง่ายในการทำซึ่งผกผันไปที่ค่าแรง
    .
    แต่ไม่ได้หมายความว่า..ถ้าเราเพิ่มงบประมาณให้เป็น 15,000.-บาทแล้วเราจะได้อุปกรณ์ก่อสร้าง
    .
    แต่ละชนิดที่ดีกว่า..สวยกว่าเสมอไปยิ่งข้อหลังนี่มองกันยากมาก
    .
    เช่น  จขกท ยกตัวอย่างมาที่ความต่างอยู่ที่ระหว่าง ตร.ม. ละ 12,000 กับ 13,000.- บาท
    .
    ความต่างของงบประมาณรวมไปอยู่ที่ 200,000.- บาท
    .
    มันบ่ได้หมายความว่า จขกท. จะได้วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างดีขึ้นทุกส่วนเสมอไปนะครับ
    .
    ยกตัวอย่างอีกที   เช่น..
    .
    เงิน 200,000.- บาท ที่ต่างกันนั้นอาจจะเป็นราคาของอ่างอาบน้ำกุชชี่ใบเดียวก็ได้…แม่นบ่ ?
    ( จากงบพื้นฐานเดิมเป็นอ่างอาบน้ำเหล็กเคลือบธรรมดา )
    .
    หรือเงิน 200,000.-บาทนั้น อาจจะเป็นราคาพื้นปูหินอ่อนแค่ 70 ตารางเมตรก็ได้ ..แม่นบ่ ?
    ( จากงบพื้นฐานเดิมเป็นพื้นกระเบื้องแกรนิตโต้พื้นฐานทั่วไป )
    .
    หรือเงิน 200,000.-บาทนั้น อาจเป็นราคาหลังคาคอนกรีตชนิดเคลือบก็ได้…แม่นบ่ ?
    ( จากงบพื้นฐานเดิมเป็นหลังคาคอนกรีตลอนพื้นฐานทั่วไป )
    .
    .
    .
    .
    แต่..ในอีกมุมมองหนึ่ง  ราคาต่อตารางเมตรที่ต่างกันอาจถัวเฉลี่ยไปที่การตกแต่งบางส่วนก็ได้
    .
    เช่น..อ่ะตรงนั้นฝาผนังปูนฉาบเรียบทาสีธรรมดา.เพิ่มลูกเล่นเป็นทำฝาไม้สังเคราะห์ปิดทับลงไป
    .
    แต่บ่ได้ทำฝาที่ว่าทั้งหลังนะครับทำแค่บางจุด
    .
    อ่ะ..ตรงนี้พื้นเฉลียงหน้าบ้านจากปูกระเบื้องสีเดียวขนาดเดียวเพิ่มลูกเล่นเป็นกระเบื้องสลับหินล้าง
    .
    .
    .
    โดยส่วนตัวผมไม่มีอะไรยืนยันหรือมองได้ชัดเจนว่างบประมาณที่เพิ่มขึ้นต่อตารางเมตรนั้น
    .
    เจ้าของบ้านจะได้อุปกรณ์ที่ใช้สร้าง, ใช้ตกแต่งดีกว่าแค่ไหน  มันมองกันยากครับ..
    .
    .
    .
    แต่พื้นฐานที่ตอบได้ในฐานะนักออกแบบอาชีพ…ในพื้นที่เท่ากัน..เมื่อมีงบประมาณให้เพิ่มขึ้น
    .

    .
     " แนวโน้มที่จะได้สิ่งที่ดีกว่า..มีมากกว่าครับ "
    .
    .
    .

    By: คีรีบูนปีกบาง
    Since: วันออกพรรษา 55 17:41:36

  5. admin Post author

    อาจารย์ประจำชั้นผมสมัยประถม เคยมาให้ตีราคาเหมาสร้างบ้าน ผมถอดแบบแล้วตีราคาแบบหัวใจสุดๆ เรียกว่าเบียดเนื้อทีเดียว ทั้งลด ทั้งแถม พอบอกราคาครูหายไปเลย  ได้ยินทีหลังครูว่าผมฟันแกแพง กะปล้น กะเอารวยเลย … ผมนี่เสียใจค่อดๆ

    อีกเดือนได้ข่าวว่าครูได้ผู้รับเหมาแล้ว กำลังตอกเสาเข็ม ผู้รับเหมารายนี้เรียกถูกกว่าผมเกือบสี่แสนบาท .. ผมเรียกครูไปสองล้านเก้าแสน ผู้รับเหมาเรียกสองล้านไม่ถึงห้าแสน ผมมั่นใจว่าทำไม่ได้แน่ๆ ค่าของอย่างเดียวถ้าใช้ของตามแบบก็เกินสองล้านกว่าแน่ๆ  ได้แต่ฝากแม่ไปเตือนครูให้ดูของให้ดีๆ ยังหวังลึกๆ ว่าผู้รับเหมาจะไม่ทิ้งงาน

    หลังจากนั้นสามเดือนกว่า บ้านเสร็จครับ …. และในงบประมาณที่ผู้รับเหมาเรียกด้วย

    ผ่านไปสองปี … ผมเข้าไปแก้งานให้ครูไม่น้อยกว่าสิบครั้ง  ค่าใช้จ่ายเกินห้าแสนแล้วครับ สีลอก ปูนฉาบร่อน กร่อน อะแสแอ่น หลังคาโย้ พื้นห้องน้ำชั้นสองร้าว เดินสายไฟใหม่ ฯ  ยังไม่นับรวมงานโครงสร้างที่บูดๆ เบี้ยวๆ ไม่มีความเรียบร้อยอันเนื่องจากความรีบร้อนกลัวค่าแรงจะกินตายของผู้รับเหมาอีก

    ที่เล่ามาจนยาว  แค่จะบอกว่า " ของดีและถูก " ไม่มีครับ …. ดูแบบแล้วคำนวณวัสดุที่ใช้ก่อน จึงจะตอบได้ว่าค่าก่อสร้างเท่าใดจะเหมาะสมครับ

    By: elenor
    Since: วันออกพรรษา 55 18:53:06

  6. admin Post author

    ถูกต้องนะครับบบบบ

    By: บ้านหลังน้อยของผักกาด
    Since: วันออกพรรษา 55 23:04:28

Leave a Reply