เราทำเรื่องกู้บ้านกับแบงค์เขียวไว้ เมื่อเกือบ 4 ปีที่แล้ว
ทราบเงื่อนไขตอนกู้บ้านดีว่า บังคับทำประกันอัคคีภัย โดยจะหักบัญชีปีละครั้ง
มาปีนี้ ค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น เราเลยลองโทรไปถาม บ. เมืองไทยประกันภัย
ว่าทำไมเบี้ยประกันรายปีถึงเพิ่มขึ้น
เจ้าหน้าที่แจ้งว่า เป็นการเพิ่มความคุ้มครองในเรื่องภัยพิบัติ
และเป็นการบังคับทำ ไม่สามารถขอยกเลิกความคุ้มครองตรงนี้ได้
ในส่วนตรงนี้ ทางธนาคารหรือบริษัทประกัน ไม่คิดที่จะแจ้งลูกค้าก่อนเหรอคะ
หรือว่าพอลูกค้าทำเรื่องตัดบัญชีรายปีไว้ จะตัดเท่าไหร่ก็ได้หรอคะ
เราเข้าใจว่าแบงค์เขียวและบริษัทประกัน เป็นบริษัทเครือเดียวกัน
เพราะฉะนั้น ขอฝากคอมมเมนต์เรื่องนี้ผ่านทางคุณ K8888 ด้วยละกันค่ะ
By: dslr-like
Since: 15 พ.ย. 55 13:46:24
เรื่องนี้ถือเป็นความบกพร่องของประกันครับ ที่ไม่แจ้งลูกค้าก่อน
ประกันภัยพิบัตินี่ถ้าบ้านที่อยู่อาศัยบังคับทำขั้นต่ำ 20,000 บาท สูงสุด 100,000 บาท
ถ้าอยากจ่ายน้อยก็ทำแค่ 20,000 บาทได้ครับ ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันจะพิจารณา
นอกจากประกันภัยพิบัติแล้วบางบริษัทยังมี option เพิ่มภัยธรรมชาติด้วย
เพราะประกันภัยพิบัติเค้าจะจ่ายค่าทดแทนต่อเมื่อรัฐบาลประกาศว่าภัยที่สร้างความเสียหายนั้นเป็นภัยพิบัติ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ความเร็วลม 120km/hr ขึ้นไป แผ่นดินไหวมากกว่า 7 ริคเตอร์ ฯลฯ)
ดังนั้นถึงบ้านคุณเสียหายแต่รัฐบาลไม่ประกาศ ประกันก็ไม่จ่ายนะครับ
ดังนั้นบางบ้านจะเลือก option เพิ่มภัยธรรมชาติเข้าไปด้วย เพราะจะจ่ายตามความเสียหายทันที
By: s7014249
Since: 15 พ.ย. 55 16:26:24
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ
เราโทรไปหา cc เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้ข้อมูลอะไรเราได้มากนัก
แค้าบอกว่าภัยพิบัติกับภัยธรรมชาติคือตัวเดียวกัน
แต่ภัยธรรมชาติเพิ่มเรื่อง ภัยลูกเห็บเข้ามา
By: dslr-like
Since: 15 พ.ย. 55 16:45:29
ผมแนะนำเปลี่ยนธนาคารดีกว่าครับ ผมก็เคยทำกับธนาคารเขียวมาก่อนเหมือนกัน และก็อารมณ์เสียกับเรื่องตัดเงินค่าประกันโดยไม่แจ้งล่วงหน้าเช่นเดียวกัน แต่ของผม สามปีจ่ายครั้ง ซึ่งเค้าจะไปตัดกับบัญชีเงินค่าผ่อนห้องเหมือนกัน
ซึ่งปรากฎว่าอีตอนตัดดันไม่แจ้งลูกค้าว่าจะตัดเดือนไหนเมื่อไหร่ ก็เท่ากับว่าหักผ่านบัญชีไม่ได้ ลูกค้าก็เลยซวยเข้าไปอีกโดนเบี้ยปรับไปอีกเด้ง โทรไปก็ตอบไม่รู้เรื่องโยนไปมา กับบริษัทประกัน พอได้เรื่องตามหากแผนที่รับผิดชอบได้แล้ว พนง. ก็พูดจาแย่มาก ไล่ให้กลับไปอ่านสัญญาให้ดี ๆ
ผมก็เลยปรี๊ดแตก เดือนต่อมาก็หาย้าย แบงค์หนีเลยทีเดียว เรื่องแย่ ๆ ที่ผมเจอก็ยังมีอีกนะครับ พนง สินเชื่อเคยแจ้งไว้ว่าา ผมสามารถจ่ายเงินค่าห้องตรงเข้าบัญชีเงินกู้ได้เลย ไม่ต้องเอาเงินไปใส่ในบัญชีออกทรัพย์เพื่อรอตัดได้ ผมก็จ่ายแบบตรงเข้าบัญชี 2 เดือนติด แบบจ่ายเกิดเพราะว่าสามารถจ่ายเท่าไหร่ก็ได้ แต่มีขั้นต่ำกำหนด อยากให้หมดเร็ว แต่พอบิลมาถึงก็งง ๆว่า จ่ายไปตั้งเยอะ แต่ทำไมเงินต้นลดนิดเดียว ส่วนดอกก็เท่าเดิม เงินมันหายไปไหน
โทรไปถาม CC บอกว่า ในระบบถ้าตัดเงินจาก ออมทรัพย์ไม่ได้ จะถือว่าเป็นการผิดนัดชำระ จะคิดเบี้ยปรับทันที เท่ากับผมเสียค่าโง่ ให้กับธนาคารเขียวไปเยอะมากครับ เข็ดเลยกับความไม่จริงใจ ตุกติกเยอะเกินไปหน่อยนะครับผมว่า
By: เนจิ แห่ง โคโนหะ
Since: 15 พ.ย. 55 17:08:35
คุณ K888 เงียบ
สงสัยไม่ช๊อต !!!
By: Monkey Mia
Since: 16 พ.ย. 55 18:07:03
คุณ dslr-like คะ เพื่อประสานงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องติดต่อกลับ ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ
-ชื่อนามสกุล
-หมายเลขบัญชีเงินกู้ (สินเชื่อบ้าน)
-หมายเลขโทรศัพท์
-เวลาที่ติดต่อสะดวกค่ะ
รบกวนแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมมาที่โลโก้ K-Excellence ค่ะ
By: K8888
Since: 17 พ.ย. 55 06:02:01
ประกันภัยพิบัติ บังคับทำจากรัฐบาลเอง คงเพราะจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินเยียวยาจำนวนมาก เหมือนตอนมหาอุทกภัย โดยโยนไปให้ประกันจ่ายแทน
By: [STYX] บัตรผ่านยังโดนแบน
Since: 17 พ.ย. 55 14:34:50
การประกันภัยพิบัติ (Catastrophe Insurance)
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย : รายละเอียดทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ให้เป็นไปตามรายละเอียดของทรัพย์สินที่เอา
ประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศััย
จำนวนเงินเอาประกันภัย XX,000,000.- บาท
ทุนประกันภัย : ขั้นต่ำ 20,000.- บาท แต่ไม่เกิน 100,000.- บาท
ความคุ้มครอง : ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเนื่องมาจากภัยพิบัติ วงเงิน
จำกัดความรับผิด แต่ละภัยไม่เกิน ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยพิบัติ ต่อความเสียหายแต่ละครั้ง และตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย
ภัยพิบัติ หมายถึง ภัยจากอุทกภัย วาตภัย หรือธรณีพิบัติภัย ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้
1) คณะรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรงตามคำ แนะนำ ของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ
2) จำนวนค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ -ประกันภัยพิบัติมากกว่า 5,000 ล้านบาทต่อหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน 60 วัน โดยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ทั้งนี้ มูลค่าความเสียหายให้เป็นไปตามข้อมูลที่ได้รายงานไปยังสำนักงาน คปภ. หรือ
3) กรณีธรณีพิบัติ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป หรือกรณีวาตภัยความเร็วของลมพายุตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป
ความรับผิดชอบส่วนแรก : 5% ของวงเงินความคุ้มครองภัยพิบัติ
ข้อยกเว้น : ความเสียหายจากอุทกภัยต่อสถานที่ที่เอาประกันภัยที่เกิดขึ้นภายใน 7 วันนับจากวัน
เริ่มความคุ้มครอง โดยที่ในช่วง 7 วันดังกล่าวสถานที่ที่เอาประ-กันภัยจะต้องไม่ประสบอุทกภัยอยู่ก่อนแล้ว โดยข้อยกเว้นนี้จะไม่มีผลบัง-คับเฉพาะกรณีของการต่ออายุประกันภัย และจะต้องไม่เป็นพื้นที่รับน้ำตามประกาศของรัฐบาล
การประกันภัยคุ้มครองทรัพย์สินจากภัยธรรมชาติทั่วไปและภัยพิบัติส่วนเกินกองทุน (General Natural Perils and excess of National Catastrophe Insurance fund Policy)
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย : รายละเอียดทรัพย์สินที่เอาประกันภัยให้เป็นไปตามรายละเอียดของทรัพย์สินที่เอา
ประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด จำนวนเงินเอาประกันภัย XX,000,000.- บาท
ทุนประกันภัย : ไม่เกิน 30% ของทุนประกันอัคคีภัย
ความคุ้มครอง : ภัยจากลมพายุ (Wind Storm) , ภัยจากน้ำท่วม (Flood) , ภัยจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ หรือสึนามิ (Earthquake or Volcanic Eruption or Tidal Wave or Tsunami) , ภัยจากลูกเห็บ (Hail) รวมกันไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย
ความรับผิดส่วนแรก : ขั้นต่ำ 10% ของความเสียหายต่อครั้งและทุกครั้ง
By: ง่วน
Since: 19 พ.ย. 55 12:35:24